ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Welovethepope (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Marnoymoji
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47:
 
== การดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ==
เมื่อ[[สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16]] ทรง[[การสละตำแหน่งพระสันตะปาปา|สละตำแหน่ง]]เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และได้เปิดทางให้มีการเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่ จึงได้มีการจัด[[การประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปา]] โดยกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 หลังจากการลงคะแนนเสียงครั้งที่ 5 โดยพระคาร์ดินัลผู้มีสิทธิ์ออกเสียงจำนวน 115 ท่าน ผลปรากฏว่าพระคาร์ดินัลคอร์เค เบร์โกเกลียว [[อัครมุขมณฑลบัวโนสไอเรส|อัครมุขนายกอาร์ชบิชอปแห่งบัวโนสไอเรส]] ประเทศอาร์เจนตินา ได้รับเลือก และทรงเลือกพระนาม "Franciscus" ซึ่งหมายถึงนักบุญ[[ฟรังซิสแห่งอัสซีซี]]<ref>Michael Martinez, [http://www.cnn.com/2013/03/13/world/pope-name/index.html?hpt=hp_t1 CNN Vatican analyst: Pope Francis' name choice 'precedent shattering'], [[CNN]] (13 March 2013). Retrieved 13 March 2013.</ref><ref>{{cite web|author=David Batty |url=http://www.guardian.co.uk/world/2013/mar/13/pope-francis-assisi-seagull-sistine |title=Pope named after Francis of Assisi heralded by gull atop Sistine chimney &#124; World news |publisher=The Guardian |date= |accessdate=2013-03-13}}</ref><ref>{{cite web|url=http://news.blogs.cnn.com/2013/03/13/cardinals-elect-new-pope/ |title=Argentina's Bergoglio becomes Pope Francis – This Just In - CNN.com Blogs |publisher=News.blogs.cnn.com |date= |accessdate=2013-03-14}}</ref> นับเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกจาก[[ทวีปอเมริกา]]และ[[คณะเยสุอิต]]<ref>{{cite web|title=New pope chosen: Argentine Jorge Mario Bergoglio who becomes Pope Francis|publisher = CTV News|url=http://www.ctvnews.ca/world/new-pope-chosen-argentine-jorge-mario-bergoglio-who-becomes-pope-francis-i-1.1193437|date= 13 March 2013|accessdate=21 August 2018}}</ref>
 
ในวันที่ทรงได้รับเลือกตั้ง [[สันตะสำนัก]]ประกาศว่าพระนามอย่างเป็นทางการของพระองค์คือ "ฟรานซิส" ไม่ใช่ "ฟรานซิสที่ 1" พระองค์จะมีพระนามว่าฟรานซิสที่ 1 ก็ต่อเมื่อในอนาคตมีสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสที่ 2<ref>Emily Alpert, [http://www.latimes.com/news/world/worldnow/la-fg-wn-vatican-pope-francis-name-20130313,0,1309501.story Vatican: It's Pope Francis, not Pope Francis I], ''[[Los Angeles Times]]'' (13 March 2013). Retrieved 13 March 2013.</ref>
 
==การเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ==
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 11 อาคารรวมจิตเพียรธรรม [[โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์]] [[สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย]] นำโดยพระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ [[เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช]] ประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกประเทศไทย และพระอัครสังฆราช พอลอาร์ชบิชอปพอล ชาง อิน-นัม เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย ได้ออกแถลงการ เรื่องสมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส จะเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของรัฐบาลไทย ในโอกาสฉลอง 350 ปี มิสซังสยาม<ref>https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_1668930</ref>
 
สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส เสด็จถึง ณ [[ท่าอากาศยานดอนเมือง]] วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 เวลา 12.30 น. ด้วยสายการบิน[[อาลีตาเลีย]] (สายการบินประจำชาติอิตาลี) ได้รับการต้อนรับจากคณะพระสังฆราชทั้ง 11 สังฆมณฑล ทรงทำภารกิจหลายประการในประเทศไทย อาทิ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 เสด็จฯ เข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว]]และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี|สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี]] ณ [[พระที่นั่งอัมพรสถาน]] เสด็จฯ เข้าเฝ้า[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)|สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก]] ณ [[วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร]] และเสด็จฯ ทรงประกอบพิธี[[มิสซา]] ณ [[สนามกีฬาแห่งชาติ]] เป็นต้น<ref>{{cite news |last= |first= |date=21 พ.ย. 2562 |title=โป๊ปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชมีพระราชดำรัส 'โรมันคาทอลิก-พุทธจักรไทย' แน่นแฟ้นงดงาม |url= https://www.thaipost.net/main/detail/50803|work=ไทยโพสต์ |access-date=15 สิงหาคม 2563}}</ref> จนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 เสด็จออกจากประเทศไทย ด้วยสาย[[การบินไทย]] เพื่อเสด็จต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น<ref>https://www.bbc.com/thai/thailand-50527501</ref>