ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจเอ็นอาร์ คลาสซีเอ็กซ์ 50"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GuJemoeder51 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
GuJemoeder51 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
== การบูรณะ ==
รถจักรไอน้ำได้มีการบำรุงรักษากันมาตลอดจนถึงต้นปี 2554 สภาพรถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824, รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850 และรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 953 สภาพหม้อน้ำโดยเฉพาะเปลือกที่จุดเหนือเตาที่เชื้อเพลิงเผาผลานความร้อนสูง เนื้อเหล็กหนา 5 มม. ปกติหนา 14 มม. และเหล็กยึดรั้งหม้อน้ำขาด ผุกร่อนจำนวนมาก อุปกรณ์ส่วนเคลื่อนไหวรั่ว แหวนแป้นสูบกำลังหักเป็นต้น ทางโรงรถจักรธนบุรี โดย สรจ.ธบ.นาย[[ศรีศักดิ์ ไผ่ศิริ]] ได้รายงานให้ผู้บังบัญชาตามลำชั้นทราบ จึงอนุมัติให้ [[บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด]] มาตรวจสอบหม้อน้ำ โดยการนำของนาย[[อุทัย สุนทรเอกจิต]] กรรมการผู้จัดการ บริษัทมิสซ์-ชาญวิทย์ เป็นผู้เข้ามาตรวจสอบ วิเคราะห์และรายงานผลและยึดโยงกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยเรื่องของหม้อน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง สรุปได้ว่าไม่สามารถเดินรถจักรไอน้ำโดยเฉพาะรถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824, รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850 และ รถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 953 เมื่อไมมีรถจักรไอน้ำใช้การก็ขาดสีสัน ของการรถไฟฯ ประชาชนเรียกร้องต้องการเห็นรถจักรไอน้ำเดินขบวนในวันสำคัญๆ เพื่อให้เยาวชน ลูกหลานรู้เข้าใจ ได้ศึกษาเรียนรู้ระบบหลักการทำงาน รวมทั้งเห็นของจริง โดยนายช่าง[[สิทธิพงษ์ พรมลา]] วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างกล ได้นำเสนอขออนุมัติ ผู้ว่าการรถแห่งประเทศไทยในขณะนั้น คือนาย[[ยุทธนา ทัพเจริญ]] เพื่อบูรณะรถจักรไอน้ำจำนวน 2 คันคือ รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824 และรถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850 ในราคาประมาณ 25 ล้านบาท คำสั่งเฉพาะที่ ชก.ก.102/1144 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 และดูแลงานที่บริษัทเป็นเข้ามาดำเนินรับจ้างซ่อม คือบริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ให้เป็นไปตามสัญญาว่า ซ่อมดัดแปลงและปรับปรุงรถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824 และรถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850 เลขที่ ชก.1/2555/02 ลงวันที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ผู้ว่าจ้าง นายสิทธิพงษ์ พรมลา วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างกล, หัวหน้าชุดดำเนินการครั้งนี้ คือ ผทน.10 นาย[[ปลื้ม เพชรทองเกลี้ยง]], นายอุทัย สุนทรเอกจิต ผู้รับจ้าง (บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด) วันที่ 6 เดือน เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 09.09 น. ทาง บริษัท มิสซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ร่วมกับ โรงรถจักรธนบุรี ทำพิธี บวงสรวง กราบไหว้ ขอขมา รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824 และรถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850 และ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]], [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน|กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน]] และ [[หลวงพ่อโบสถ์น้อย]]ก่อนที่จะทำการรื้อซ่อมรถจักรไอน้ำ สิ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนไปคือ ทางช่างได้ดัดแปลงระบบห้ามล้อใหม่จาก[[ระบบลมดูด]] เป็น[[ระบบลมอัด]] เพื่อความปลอดภัยและจัดสรรรถพ่วงในการทำขบวนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากรถพ่วงส่วนมากของการรถไฟฯ ใช้เป็นระบบลมอัด นอกจากนั้นยังติดตั้งเครื่องปั่นไฟ เพื่อใช้ในการเร่งปฏิกิริยาการทำความร้อนในเตาเผาด้วย
 
== [[ทางรถไฟสายมรณะ]] ==
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 การรถไฟฯ เคยมีการทดสอบการเดินรถ(Running Test) ด้วยรถจักรไอน้ำแบบแปซิคฟิค (Pacific :รถจักรไอน้ำที่มีชุดผังล้อเป็น 4-6-2)รุ่นหลังสงคราม(post war locomotives) แทนที่รถจักรไอน้ำแบบ C-56 Mogul (รถจักรฯที่มีชุดผังล้อแบบ 2-6-0) อันเป็นรถจักรดั้งเดิมที่กองทัพญี่ปุ่นโดยกองพลรถไฟที่ 9 นำมาวิ่งใช้งานตลอดเส้นทาง(ไทย-พม่า/泰緬鉄道)ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และ สงครามมหาเอเชียบูรพา
 
ความตั้งใจเดิมของรฟท.คือนำหัวรถจักร C-56 มาวิ่งทำขบวนพิเศษ กาญจนบุรี-วังโพ ให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศและชาวไทยที่ชื่นชอบประวัติศาสตร์ของเสันทางรถไฟสายนี้ได้ย้อนบรรยากาศ แต่ C-56 ที่รฟท.บูรณะจนสามารถวิ่งได้ ๒ คันนั้นไม่อยู่ในสภาพใช้งานจริงได้ เพราะหม้อน้ำ(Boiler) รวมถึงระบบท่อความดันต่างๆสิ้นอายุการใช้งานมานานแล้ว C-56ทั้งสองคันที่ทางรฟท.(โดยโรงรถจักรธนบุรี)บูรณะขึ้นมานั้นอยู่ในสภาพพอวิ่งโชว์ได้เบาๆถ้าจะให้ใช้งานได้จริงดั่งในอดีตต้องเปลี่ยนหม้อน้ำและระบบท่อความดันใหม่ทั้งหมด ทางรฟท.โดยนายช่างใหญ่(วิศวกร) ของโรงรถจักรธนบุรี ได้ใช้รถจักรแปซิฟิกมาทดสอบวิ่งแทน
 
ในภาพนี้กระผมปีนขึ้นไปถ่ายภาพบนรถลำเลียงน้ำ(Tender)ของหัวรถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 850
 
หัวรถจักรกำลังจะลากจูงขบวนรถผ่านหน้าถ้ำกระแซที่อยู่ทางขวามือ ท่ามกลางความใจหายใจคว่ำของ พขร.และเจ้าหน้าที่รฟท.ที่มีหน้าที่เกื่ยวข้องฯ เพราะความที่หัวรถจักรแปซิคฟิคมีขนาดใหญ่กว่า ยาวกว่า และมีน้ำหนักมากกว่ารถจักร C-56 มาก การเข้าโค้งแคบที่มีแง่หินยื่นลึกเข้ามาในขณะวิ่งอยู่บนสะพานไม้จึงเป็นสิ่งที่น่าหวาดเสียวฯ แม้รถจักรแปซิฟิกจะสามารถลากจูงขบวนรถไปจนถึงวังโพได้ แต่ผลการทดสอบการเดินรถถือว่าไม่ผ่าน โครงการรถไฟท่องเที่ยวนี้ที่สุดแล้วจึงมีอันต้องถึงแก่กาลกริยาไปในที่สุด
 
== รายชื่อหมายเลขรถจักร ==