ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าธรรมเจดีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 30:
{{มีอักษรพม่า}}
 
'''พระเจ้าธรรมเจดีย์''' ({{lang-my|ဓမ္မစေတီ}}, {{IPA-my|dəma̰zèdì|pron}}; c. 1409–1492) กษัตริย์องค์ที่ 16 แห่ง [[อาณาจักรหงสาวดี]] ครองสิริราชสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 1471 ถึง 1492 เป็นหนึ่งในผู้ปกครองที่มีความรู้ความสามารถมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของพม่าและมอญ โดยกล่าวกันว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดากษัตริย์หงสาวดีทั้งหมด<ref name=dgeh-36>Hall 1960: 36–37</ref> เดิมพระองค์เป็นพระ[[ภิกษุ]]มีสมณศักดิ์ว่า ''พระมหาปิฎกธร'' และเป็นผู้ต้านทานอำนาจของ[[อาณาจักรอังวะ]] ในวัยเยาว์พระองค์เป็นที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้และเป็นพระโอรสบุญธรรมของ[[พระนางเชงสอบู]] เมื่อพระชนมายุได้ 48 พรรษา พระองค์พร้อมลูกศิษย์ได้แอบไปช่วยพระนางเชงสอบูจากกรุงอังวะกลับมายัง [[กรุงหงสาวดี]] แต่เพราะความละอายในการกระทำดังกล่าวซึ่งอาจเข้าข่ายล่วงละเมิด[[พระธรรมวินัย]] ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยลาสิกขา พระนางเชงสอบูจึงยกพระธิดาพระองค์หนึ่งให้อภิเษกสมรสพร้อมกับตั้งให้พระองค์เป็น[[รัชทายาท]] เนื่องจากราชวงศ์ในขณะนั้นไร้เชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้ชาย เมื่อพระนางเชงสอบูสละราชบัลลังก์ องค์รัชทายาทได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น ''พระเจ้าธรรมเจดีย์''
 
โดยในช่วงรัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าราชอาณาจักรหงสาวดีเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ถือเป็นยุคทองของอาณาจักรมอญ ภายใต้การปกครองที่ชาญฉลาดของพระองค์ ราชอาณาจักรของพระองค์เงียบสงบและได้รับประโยชน์อย่างมากจากการค้าขายกับต่างชาติ ซึ่งแตกต่างจากอาณาจักรคู่ขัดแย้งอย่างอาณาจักรอังวะ รัชสมัยของพระองค์ถือเป็นช่วงเวลาแห่งสันติสุข ทรงเป็นผู้ปกครองที่อ่อนโยนและมีชื่อเสียงในด้านภูมิปัญญาของพระองค์<ref name=dgeh-36/> ตามพงศาวดารเมื่อครั้งพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่<ref name=geh>Harvey 1925: 117–120</ref> อาณาจักรของพระองค์กลายเป็นศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงของ[[เถรวาท|พุทธศานานิกายเถรวาท]]และมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ[[ศรีลังกา]] พระองค์ได้ส่งสมณทูตไปยัง[[พุทธคยา]] พร้อมกับปฏิรูปศาสนาครั้งใหญ่ภายหลังแพร่กระจายไปทั่วประเทศ<ref name=rlf-64-65>Myint-U 2006: 64–65</ref> พระองค์ยังรักษาความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับ[[ยูนนาน]]