ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โพชฌงค์ 7"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลิงค์ อินทรีย์ 5 ผิด
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25:
*ปีติและปัสสัทธิทำลายปฏิฆะและกามราคะอนุสัย บรรลุเป็น[[พระอนาคามี]]
*สมาธิ อุเบกขาและสติทำลายรูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจกุกกุจจะ มานะ อวิชชาอนุสัย บรรลุเป็น[[พระอรหันต์]]
 
ธัมมวิจยะ ความพิจารณาในธรรมจนเห็นชัดตามความเป็นจริงย่อมทำลายสักกายทิฏฐิในตัวตนเสียได้และย่อมทำลายสีลัพพัตตปรามาส การถือมั่นในศีลพรตอย่างผิดๆ ด้วยการเห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกฎแห่งกรรม
 
วิริยะ ความแกล้วกล้าของจิต ที่เพียรพยายามด้วยศรัทธาที่มั่นคง จนประสบผลจากการปฏิบัติจนสิ้นความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือเป็นความศรัทธาในระดับวิริยะ คือมีความแกล้วกล้า(วิร ศัพท์ แปลว่ากล้า ) อันหมายถึงความเพียรอันเกิดจากความแกล้วกล้าเพราะศรัทธา
 
ปีติ ความสุขจากความแช่มชื่นใจของปีติ ย่อมดับสิ้นซึ่งพยาบาทและปฏิฆะความไม่พอใจใดลงเสียได้
 
ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ ย่อมทำให้กามราคะที่เกิดเมื่อเกิดย่อมต้องอาศัยการนึกคิดตรึกตรองในกาม เมื่อสำรวมกายคืออินทรีย์5ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และสำรวมใจไม่ให้คิดตรึกตรองในกาม ย่อมยังกามราคะที่จะเกิดไม่ให้เกิดเสียได้
 
สมาธิ ความตั้งใจมั่น สมาธิระดับอัปปนาสมาธิย่อมกำจัดความฟุ่งซ่านรำคาญใจลงเสียได้ และสมาธิระดับอรูปราคะย่อมทำลายความยินดีพอใจในรูปราคะเสียเพราะความยินดีในอรูปราคะ และสมาธิระดับนิโรธสมาบัติย่อมต้องทำลายความยินดีพอใจในอรูปราคะเสียเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในชั้นนี้ ผู้ปฏิบัติที่สามารถละปฏิฆะและกามราคะได้เด็ดขาด ย่อมบรรลุเป็นพระอนาคามีที่มีปกติเข้าถึงนิโรธสมาบัติได้แล้ว
 
อุเบกขา ความวางเฉย คือวางเฉยในสมมุติบัญญัติและผัสสะเวทนาทั้งหลาย ทั้งหยาบ เสมอกัน และปราณีต จนข้ามพ้นในความเลวกว่า เสมอกัน ดีกว่ากัน ลงเสียได้
 
== ธรรมะที่เกี่ยวข้อง ==