ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรมันคาทอลิกในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:The king and the Pope.jpg|thumb|right|300px|[[สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2]] ขณะเข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] ระหว่างเสด็จเยือน[[ประเทศไทย]] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)]]
[[ไฟล์:2019 Pope Francis visit Saint Louis Hospital by Trisorn Triboon D85 2566.jpg|thumb|right|300px|[[สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส]] ที่[[โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์]] ระหว่างเสด็จเยือนประเทศไทย ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019)]]
'''คริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย''' หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกโดยย่อว่า '''พระศาสนจักรในประเทศไทย''' เป็นประชาคมของ[[คริสต์ศาสนิกชน]]นิกาย[[โรมันคาทอลิก]] มีการปกครองตนเองภายใต้การควบคุมของ[[สันตะสำนัก]]<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 468</ref> ตามสถิติคาทอลิกในประเทศไทย พ.ศ. 25632564 มีชาวคาทอลิกอยู่ราว 401405,976727 คน และมีโบสถ์คาทอลิก 578498 แห่ง<ref name="ปฏิทิน25632564"/>
 
== ประวัติการเผยแพร่ ==
บรรทัด 50:
# [[เรอเน แปร์รอส]] (René-Marie-Joseph Perros) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2452 - 2490 (ค.ศ. 1909-1947)
 
ในปี ค.ศ. 1924 มิสซังสยามตะวันออกถูกเปลี่ยนชื่อเป็น'''มิสซังกรุงเทพฯ'''<ref name="Archdiocese of Bangkok">[http://www.catholic-hierarchy.org/diocese/dbank.html Archdiocese of Bangkok]. The Hierarchy of the Catholic Church. เรียกข้อมูลวันที่ 19 ก.พ. พ.ศ. 2554.</ref> มุขนายกแปโรพระคุณเจ้าแปร์รอสยังรั้งตำแหน่งประมุขมิสซัง และมีประมุขมิสซังกรุงเทพฯ สืบทอดต่อมาอีกดังนี้
* 5. [[หลุยส์ โชแรง]] (Louis-August-Clément Chorin) ปกครองมิสซังตั้งแต่ พ.ศ. 2490 - 2508 (ค.ศ. 1947-1965)
* 6. ยอแซฟ [[ยวง นิตโย]] ปกครองมิสซังตั้งแต่ 29 เม.ย. – 18 ธ.ค. พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965)
บรรทัด 56:
ในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) สันตะสำนักได้แยกลาวออกไปตั้งเป็น'''มิสซังลาว''' ต่อมาปี พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) พื้นที่ราชบุรีได้ถูกยกขึ้นเป็นมิสซังเขตผู้แทนพระสันตะปาปา ตามด้วยจันทบุรีก็ได้เป็นมิสซังมิสซังเขตผู้แทนพระสันตะปาปาในปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) ส่วนมิสซังลาวต่อมาเหลือพื้นที่เฉพาะภาคอีสานของไทยแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น'''มิสซังท่าแร่''' ต่อมาในปี ค.ศ. 1953 ได้ตั้งอุบลราชธานีเป็นมิสซังเขตผู้แทนประสันตะปาปาและอุดรธานีเป็นมิสซังเขต[[หัวหน้าจากสันตะสำนัก]] ตั้งเชียงใหม่เป็นมิสซังเขตหัวหน้าจากสันตะสำนักในปี ค.ศ. 1959 ทำให้ในช่วงท้ายยุคโปรปากันดาฟีเด ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยประกอบด้วยมิสซังถึง 7 มิสซังซึ่งมีสถานะเป็นเขตผู้แทนพระสันตะปาปา 5 มิสซัง และเขตหัวหน้าจากสันตะสำนัก 2 มิสซัง
 
ตลอดยุคเขตผู้แทนพระสันตะปาปา การเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มีทั้งช่วงที่เป็นปกติเรียบร้อย และช่วงที่ถูกเบียดเบียน สาเหตุเป็นเพราะนิกายคาทอลิกมีภาพลักษณ์ว่าเป็นศาสนาของชาติตะวันตกและเป็นสัญลักษณ์ของอิทธิพลตะวันตกที่แพร่หลายในสังคมไทย เมื่อการเมืองไทยอยู่ในภาวะตึงเครียดเพราะความขัดแย้งกับชาติฝรั่งเศส คริสตจักรคาทอลิกในสยามซึ่งมีผู้ปกครองมิสซังเป็นคนชาติฝรั่งเศสก็ถูกเบียดเบียนไปด้วย เช่น การรัฐประหารตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มีการกวาดล้างอิทธิพลของฝรั่งเศสในการเมืองไทย ทรัพย์สินของมิสซังสยามได้ถูกยึด มุขนายกพระคุณเจ้าลาโน และมิชชันนารีหลายคนถูกจับขังคุกและทรมานร่างกาย เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติทุกคนจึงถูกปล่อยตัว และคืนทรัพย์สินให้มิสซัง<ref>Luc Colla, ''พระคริสตเจ้าและพระศาสนจักรของพระองค์'', หน้า 48</ref> ต่อมาในปี พ.ศ. (ค.ศ. 1940 - 1941) เกิด[[กรณีพิพาทอินโดจีน]]หรือสงครามระหว่างไทย – ฝรั่งเศส ทำให้คนไทยกลุ่มหนึ่งออกมาต่อต้านฝรั่งเศสรวมทั้งศาสนาคริสต์ด้วย มีชาวคาทอลิกถูกข่มเหงต่าง ๆ การเบียดเบียนที่รุนแรงที่สุดคือ การสังหารชาวอีสานคาทอลิก 7 คนที่หมู่บ้านสองคอน โดยมี[[นักพรตหญิง]] ฆราวาสหญิง และเด็กรวมอยู่ในนี้ด้วย ต่อมาผู้พลีชีพทั้งหมดได้รับประกาศให้เป็น[[บุญราศี]]และเป็น[[มรณสักขีแห่งสองคอน]]
 
นอกจากนี้วิธีการเผยแพร่ศาสนาก็เป็นต้นเหตุสำคัญให้นิกายคาทอลิกถูกต่อต้าน กล่าวคือมิชชันนารีมักใช้วิธีเหยียดหยามศาสนาท้องถิ่น เช่น มีการพิมพ์เผยแพร่หนังสือชื่อ “ปุจฉาวิสัชนา” ซึ่งแต่งโดยมุขนายกลาโน มีเนื้อหาเปรียบเทียบศาสนาคริสต์ – ศาสนาพุทธ ชี้ให้เห็นความเหนือกว่าของศาสนาคริสต์ ดูหมิ่นพุทธศาสนา ทันทีหนังสือเล่มนี้ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกก็สร้างความไม่พอใจให้กับราชการไทย [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ]]ทรงเรียกบาทหลวง 3 คนขึ้นศาลไต่สวน ที่สุดมีพระราชโองการห้ามไม่ให้ใช้ภาษาไทยในการเผยแพร่ศาสนา ห้ามคนไทย มอญ และลาวเข้ารีตศาสนาคริสต์ และห้ามมิให้มิชชันนารีติเตียนศาสนาของคนไทย มิชชันนารีที่ไม่ปฏิบัติตามจะถูกเฆี่ยนแล้วเนรเทศ<ref>มาโนช พุ่มไพจิตร, ''แก่นแท้ศาสนาคริสต์ที่หายไป'', หน้า 120</ref> ส่งผลให้การเผยแพร่ศาสนาแก่คนไทยในยุคนั้นต้องหยุดชะงักไป ต่อมาในรัชกาลที่ 3 มุขนายกพระคุณเจ้าปาลกัว ให้พิมพ์หนังสือนี้ออกเผยแพร่อีก พอถึง พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) สมัยจอมพลสฤษฎิ์ ก็มีการเผยแพร่หนังสือดังกล่าวอีกครั้ง ตำรวจจึงเรียกบาทหลวง 3 คนไปสอบสวน หนังสือถูกยึด ภายหลังก็สงบลง<ref name="ศาสนาคริสต์">เสรี พงศ์พิศ, ''ศาสนาคริสต์'', พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูต เขตมิสซังกรุงเทพฯ, 2545, หน้า 92</ref>
 
แม้คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยจะประสบปัญหาในบางช่วง แต่โดยภาพรวมก็ถือว่ามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ช่วงที่ถูกห้ามเผยแพร่ศาสนาให้คนสยาม ก็ได้แผยแพร่ให้คนต่างชาติในสยามแทนจนเกิดโบสถ์คาทอลิกขึ้นหลายแห่ง เช่น [[วัดคอนเซ็ปชัญ]]ของชาวเขมร [[วัดซางตาครู้ส]]ของชาวจีน เป็นต้น เมื่อได้รับเสรีภาพในการประกาศศาสนาก็ทำให้การดำเนินงานสะดวกขึ้น มีการตั้งโรงเรียน วิทยาลัย และโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่งภายใต้การบริหารงานของ[[คณะนักบวชคาทอลิก]]คณะต่าง ๆ<ref name="ศาสนาคริสต์"/>
บรรทัด 72:
ในระยะแรกบางมิสซังยังมีมุขนายกเป็นชาวต่างชาติอยู่ ต่อมาเมื่อเขตมิสซังมีความพร้อมจึงลาออกเพื่อให้มีมุขนายกใหม่ที่เป็นคนไทย คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยปัจจุบันจึงได้ดำเนินการด้วยคนไทยเองอย่างสมบูรณ์ แต่ยังต้องรายงานและรับนโยบายสำคัญจาก[[สันตะสำนัก]]ด้วยเพื่อความเป็นเอกภาพของคริสตจักรคาทอลิกที่มีอยู่ทั่วโลก
 
คริสตจักรคาทอลิกในประเทศไทยยังได้รับเกียรติจากพระสันตะปาปาในสองเรื่อง คือ [[สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2]] ได้แต่งตั้ง[[อัครมุขนายก]]พระคุณเจ้าไมเกิ้ล [[มีชัย กิจบุญชู]] ประมุขมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ขึ้นเป็น[[พระคาร์ดินัล]]ซึ่งเป็นสมณศักดิ์สูงสุดในคริสตจักรคาทอลิกรองจากพระสันตะปาปา นับเป็นบาทหลวงชาวไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ พิธีสถาปนาจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ต่อมาวันที่ 10-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้เสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้ต้อนรับประมุขแห่งคริสตจักรคาทอลิก ในการนี้ได้ทรงบวชบาทหลวง 23 องค์ด้วย<ref name="กำหนดการเสด็จเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2">[http://www.catholic.or.th/popejohnpaulII/visit/page1.html กำหนดการเสด็จเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2]. [[เขตมิสซังกรุงเทพฯ|มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ]]. เรียกข้อมูลวันที่ 19 ก.พ. พ.ศ. 2554</ref>
 
== การปกครอง ==
ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยมี[[สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย]]เป็นองค์การปกครองสูงสุด<ref>[http://www.dra.go.th/module/attach_media/sheet6620090402112315.pdf องค์การศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย หน้า 161]</ref> มีสมาชิกซึ่งประกอบด้วย[[มุขนายกมิสซัง]]ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ปัจจุบันมี[[พระคาร์ดินัล]]ฟรังซิสเซเวียร์ [[เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช]] เป็นประธานสภาฯ นอกจากนี้สภาฯ ยังได้ตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการฝ่าย และคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อกิจการด้านต่าง ๆ ดังนี้<ref>http://www.cbct.net/2015/index.php/2015-10-27-14-16-04/2015-10-30-08-54-14</ref>
* คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม
* คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
บรรทัด 94:
|- style="background:#cccccc"
|-
! '''ข้อมูล''' || '''พ.ศ. 2555'''<ref name="ปฏิทิน2556">''ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2556/2013'', กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3</ref> || '''พ.ศ. 2556'''<ref name="ปฏิทิน2557">''ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2557/2014'', กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3</ref> || '''พ.ศ. 2557'''<ref name="ปฏิทิน2558">''ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2558/2015'', กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3</ref> || '''พ.ศ. 2559'''<ref name="ปฏิทิน2559">''ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2559/2016'', กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3</ref> || '''พ.ศ. 2560'''<ref name="ปฏิทิน2560">''ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2560/2017'', กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3</ref> || '''พ.ศ. 2561'''<ref name="ปฏิทิน2561">''ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2018/2561'', กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3</ref> || '''พ.ศ. 2563'''<ref name="ปฏิทิน2563">''ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2020/2563'', กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3</ref> || '''พ.ศ. 2564'''<ref name="ปฏิทิน2564">''ปฏิทินคาทอลิก: Catholic Calendar 2021/2564'', กรุงเทพ: สื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย, หน้า 3</ref>
|-
| ชาวคาทอลิก || 363,463 || 367,978 || 369,636 || 379,347 || 380,374 || 379,975 || 401,976 || 405,727
|-
| บาทหลวงประจำมิสซัง || 497 || 504 || 496 || 530 || 533 || 534 || 578 || 576
|-
| บาทหลวงนักบวช || 227 || 289 || 287 || 315 || 323 || 324 || 315 || 398
|-
| [[ภราดาฆราวาส|ภราดา]] || 113 || 113 || 122 || 111 || 111 || 116 || 113 || 128
|-
| [[นักพรตหญิง|ภคินี]] || 1,493 || 1,503 || 1,473 || 1,479 || 1,448 || 1,439 || 1,502 || 1,434
|-
| โบสถ์ || 499 || 501 || 501 || 506 || 515 || 517 || 526 || 498
|-
|}