ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทรูวิชั่นส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มคำว่า True Film Asia HD
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
=== [[ไอบีซี]]และ[[ยูทีวี]] ===
ทรูวิชันส์ เดิมนั้นมีชื่อว่า '''ยูบีซี''' ซึ่งเกิดจากการรวมกิจการ ของผู้ให้บริการ[[เคเบิลทีวี]] 2 รายใหญ่ในประเทศไทยในขณะนั้นที่ทำสัญญาเข้ารับสัมปทานธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกจากกับ[[อสมท|องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]] (อ.ส.ม.ท.) คือไอบีซี และยูทีวี
 
=== ไอบีซี ===
* '''บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติง คอร์ปอเรชันส์ จำกัด''' '''(ไอบีซี)''' - เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง [[ทักษิณ ชินวัตร|พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร]] ประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท [[ชินวัตร คอมพิวเตอร์]]|บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด]] กับ[[วิลเลียม ไลล์ มอนซัน]] นักธุรกิจ[[ชาวอเมริกัน]] ผู้บริหารบริษัท [[เคลียร์วิว ไวร์เลส|บริษัท เคลียร์วิว ไวร์เลส จำกัด]] จำกัด เข้ารับสัมปทานธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกจาก[[อสมท|องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]] (อ.ส.ม.ท.) โดยให้บริการผ่านคลื่น, [[บริการกระจายสัญญาณแบบหลายจุดหลายช่อง]] ([[เอ็มเอ็มดีเอส]]) ผ่านระบบ[[ไมโครเวฟ]] และ[[โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม]]เครือข่าย[[เคยู-แบนด์]] ทั้งระบบ[[โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก|แอนะล็อก]]และ[[โทรทัศน์ระบบดิจิทัล|ดิจิทัล]] ทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2532 ระยะเวลาสัมปทาน 20 ปี โดยให้บริการทั่วประเทศจนถึงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2552 ภายหลังได้ขยายระยะเวลาสัมปทานไปอีก 5 ปี จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557
 
=== ยูทีวี ===
* '''บริษัท ยูนิเวอร์แซล เทเลวิชัน เคเบิล เน็ตเวิร์ก จำกัด''' '''(ยูทีวี)''' - เป็นบริษัทในกลุ่มเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชัน (ปัจจุบันคือ บมจ.[[ทรู คอร์ปอเรชั่น|ทรู คอร์ปอเรชัน]]) เข้ารับสัมปทานธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกจาก อ.ส.ม.ท. โดยให้บริการ[[โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล|โทรทัศน์ผ่านสาย]][[เคเบิลใยแก้วนำแสง]] และ[[โคแอกเชียล]] ทั้งระบบ[[โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก|แอนะล็อก]]และ[[โทรทัศน์ระบบดิจิทัล|ดิจิทัล]] เฉพาะใน[[กรุงเทพมหานครและปริมณฑล]] ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ระยะเวลาสัญญาสัมปทานรวม 25 ปี
 
=== การรวมกิจการเป็น[[ยูบีซี]] ===
เนื่องจากเกิด'''[[วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540]]''' ทำให้ไอบีซีและยูทีวีต้องหาทางอยู่รอด โดย[[การควบรวมและเข้าซื้อกิจการ|การควบรวมกิจการ]]เพื่อลดค่าใช้จ่าย<ref>http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=4606</ref> โดยสามารถใช้ทรัพยากรของบริษัทในเครือได้อย่างเต็มที่ คือทั้งระบบสัญญาณผ่าน[[ดาวเทียมไทยคม]] และบริการเอ็มเอ็มดีเอสผ่านระบบไมโครเวฟ ของ[[อินทัช โฮลดิ้งส์|กลุ่มชินวัตร]] (ในนามบริษัทยูบีซี (ปัจจุบันเป็น บมจ.ทรูวิชั่นส์)) (แต่ภายหลังออกอากาศด้วยระบบดังกล่าวเพียง 2 ช่องคือ [[ทีเอ็นเอ็น|นิวส์ 24]] และ[[ทรูซีเล็กต์|ช็อปปิงแอตโฮม]] ซึ่งสามารถรับชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ) และระบบเคเบิลใยแก้วนำแสง กับโคแอกเชียล ของกลุ่มเทเลคอมเอเชีย (ในนามบริษัท UBCยูบีซี Cableเคเบิล (ปัจจุบันเป็น บมจ.ทรูวิชั่นส์ เคเบิล))
 
โดยในราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 ไอบีซีเป็นฝ่ายซื้อกิจการยูทีวี โดยวิธีการแลกหุ้น และเปลี่ยนชื่อเป็น '''บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติง คอร์ปอเรชัน จำกัด (ยูบีซี)''' และออกอากาศด้วยชื่อยูบีซีอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 และใช้สัญญาสัมปทานที่ อ.ส.ม.ท. ต่อให้กับไอบีซี และได้ขยายระยะเวลาสัมปทานไปอีก 5 ปี ไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 โดยในยุคแรก ออกอากาศผ่าน[[ดาวเทียม]][[ไทยคม (บริษัท)|ไทยคม 1]] (แต่ปัจจุบันใช้ดาวเทียม[[ไทยคม (บริษัท)|ไทยคม 5]]) แต่หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มชินวัตรก็ขายหุ้นยูบีซีทั้งหมด ให้กับ[[เครือเจริญโภคภัณฑ์]] บริษัทแม่ของ[[เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชัน|เทเลคอมเอเชีย]] และจดทะเบียนเข้าซื้อขายใน[[ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]] โดยใช้ชื่อย่อว่า UBC
 
จากนั้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2549]] กลุ่ม[[เอ็มไอเอช]] ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ถือ[[หุ้นรายใหญ่]] ขายหุ้นทั้งหมดให้กับกลุ่มทรู รวมเป็นหุ้นร้อยละ 98 ทำให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงยุติการซื้อขายหลักทรัพย์ของยูบีซี โดยกลุ่มทรูฯ ประกาศซื้อหุ้นยูบีซีจากผู้ถือหุ้นรายย่อย เมื่อวันที่ 9 มกราคม แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น '''บริษัท ยูบีซี-ทรู จำกัด (มหาชน)''' รวมถึง[[เครื่องหมายการค้า]]ใหม่คือ '''ยูบีซี-ทรู''' ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ต่อมาในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2550 ยูบีซีเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทเป็น '''บริษัท ทรูวิชั่นส์-ยูบีซี จำกัด (มหาชน)''' รวมถึงเครื่องหมายการค้าใหม่คือ '''ทรูวิชั่นส์-ยูบีซี''' ต่อมาลดลงเหลือเพียง '''บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน)''' ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน ตามยุทธศาสตร์หลอมรวม (Convergence) ธุรกิจในกลุ่มทรูฯ ต่อมาได้เพิ่ม '''บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด''' ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเข้ารับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก ประเภทไม่ใช้คลื่นความถี่ จาก[[คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ]] (กสทช.)
เส้น 42 ⟶ 43:
ทรูวิชันส์ได้ทำการทดสอบการออกอากาศ[[โทรทัศน์ความละเอียดสูง]] (ระบบเอชดี, HD) ที่ภาพมีความคมชัดมากกว่าปกติถึง 5 เท่า ระบบเสียงจะเป็น[[ระบบเสียงดิจิทัลรอบทิศทางของดอลบี|ระบบเสียงดิจิทัลรอบทิศทาง]]ของ[[ดอลบี]] โดยออกอากาศครั้งแรกในงาน Bangkok ICT Expo 2007 ที่[[เมืองทองธานี]]<ref>[http://www.blognone.com/node/6334 ทรูวิชันส์พร้อมออกอากาศ HD ในไทย]</ref>
 
ปัจจุบัน ได้แพร่ภาพระบบ HD แล้ว 64 ช่องในระบบเคเบิลใยแก้ว โดยสามารถรับชมได้ทุกแพ็กเกจที่มีช่องระบบเอชดี แต่ต้องเปลี่ยน[[กล่องรับสัญญาณ]] เนื่องจากกล่องรับสัญญาณเดิมไม่สามารถรองรับระบบเอชดีได้ และเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ทรูวิชั่นส์ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อแพ็คเกจแพลตตินั่ม มาเป็น '''แพลตตินั่ม เอชดี''' โดยสามารถรับชมช่องเอชดีได้ฟรี 17 ช่อง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพียงแต่สมาชิกในปัจจุบันต้องแจ้งขอเปลี่ยนกล่องมาเป็นกล่องรับสัญญาณแบบใหม่เท่านั้น
 
=== ระบบภาพ 4K ===
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ทรูวิชั่นส์ได้เพิ่มระบบการส่งสัญญาณภาพแบบใหม่ คือระบบ[[โทรทัศน์ความละเอียดสูงยิ่ง]] (4K หรือ Ultra HD) ที่มีความคมชัดสูงกว่า HD ถึง 4 เท่า และคมชัดกว่าระบบปกติถึง 20 เท่า ให้ทำให้ได้ภาพและรายละเอียดที่สมจริงในทุกอณู โดยเริ่มต้นส่งสัญญาณช่องรายการ[[ฟุตบอลโลก 2018]] เป็นช่องแรกที่ช่องหมายเลข 400
=== การแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ===
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทรูวิชั่นส์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาลิขสิทธิ์ ที่เกิดขึ้นมานาน 23 ปีได้ หรือการแอบลักลอบรับชมรายการของทรูวิชันส์ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมที่ไม่ได้มาจากทรูวิชันส์ (เช่น กล่องดรีมบ็อกซ์) ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมาตั้งแต่ตอนที่ยังเป็น ยูบีซีได้ จนกระทั่งในที่สุด ทรูวิชันส์ได้จึงตัดสินใจเพิ่มมาตรการในการควบคุมระบบการออกอากาศใหม่ทั้งหมด โดยเปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณภาพจากเดิมที่เป็น MPEG-2 มาเป็น MPEG4 แบบเข้ารหัส ในคืนวันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อสมาชิกในกลุ่มแพลตตินั่ม เอชดี, โกลด์, โกลด์ไลท์ และซิลเวอร์ โดยตรง โดยผู้ใช้ในกลุ่มนี้จะต้องมีการแจ้งขอเปลี่ยนกล่องรับสัญญาณภาพมาเป็นรูปแบบใหม่ หรือ TrueVisions HD Plus เพื่อที่จะสามารถรับชมช่องรายการได้ครบตามปกติโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากเดิมที่ต้องเสียค่าเปลี่ยนอุปกรณ์ 1,000 บาท ส่วนผู้ใช้ในกลุ่มทรูโนว์เลดจ์ ทรูไลฟ์ ฟรีวิว และทรูไลฟ์ ฟรีทูแอร์ ยังคงสามารถรับชมช่องรายการได้ตามปกติ โดยไม่ต้องแจ้งขอเปลี่ยนกล่องสัญญาณ (ปัจจุบันยุติออกอากาศในระบบ MPEG-2 แล้ว)
 
=== การอัพเกรดซอฟแวร์เวอร์ชัน ===
เส้น 213 ⟶ 214:
* 23 พฤษภาคม - คสช. ประกาศเรียกผู้ให้บริการ[[โทรทัศน์ระบบดิจิทัล]]ทั้งหมด เข้าพบเพื่อปรึกษาหารือ และรับฟังคำชี้แจงแนวทาง ในการกลับมาออกอากาศ โทรทัศน์ระบบดิจิทัลตามปกติ ในวันที่ 24 พฤษภาคม เวลา 09:00 น.
* 24 พฤษภาคม - คสช. ยกเว้นประกาศฉบับที่ 14/2557 และ 18/2557 แก่ช่อง[[โทรทัศน์ระบบดิจิทัล]]ทั้งหมดโดยอนุโลม จึงสามารถกลับมาออกอากาศตามปกติอีกครั้ง ยกเว้น[[วอยซ์ทีวี]] ที่ยังคงให้ระงับการออกอากาศ ตามประกาศฉบับที่ 15/2557 ต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากมีรายการวิเคราะห์การเมือง ที่มีการเชิญนักวิชาการ อนึ่ง ทุกช่องจะแสดงภาพสัญลักษณ์ที่ คสช.กำหนด ไว้ที่หน้าจอมุมบนทางขวามือของผู้ชม เพื่อเป็นเครื่องยืนยันการอนุโลมให้ออกอากาศ หลังจากที่ คสช.กระทำรัฐประหาร หลังจาก กสทช. กิจการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก จึงมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกสถานีรวมถึงทรูวิชั่นส์งดออกอากาศ (ยกเว้นช่องข่าวต่างประเทศ 14 ช่องในขณะนั้น ที่ยังคงต้องระงับการแพร่สัญญาณชั่วคราว เนื่องจากทรูวิชั่นส์เห็นว่าไม่สามารถควบคุมเนื้อหาข่าวให้อยู่ภายใต้คำสั่ง คสช. ได้เลยแม้แต่นิดเดียว<ref>{{Cite web|title=ทรูวิชั่นส์แจงระงับ 14 ช่องข่าวต่างประเทศ|url=https://www.posttoday.com/economy/news/297058|access-date=2020-12-07|website=https://www.posttoday.com|language=en}}</ref>)
*วันที่ [[13 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2559]] เวลา 19.00 น. ทางสถานีได้มีการแถลงสำนักพระราชวังเรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสวรรคต กสทช. กิจการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก จึงมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกสถานีรวมถึงทรูวิชั่นส์งดออกอากาศรายการตามปกติเป็นระยะเวลา 30 วัน
 
เนื่องด้วย [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ทรงสวรรคต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จึงมีคำสั่งให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องระงับการออกอากาศรายการตามผังรายการปกติเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อเป็นการไว้อาลัย
* 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - พ.อ.นที กล่าวอีกว่า จากการหารือกับผู้ประกอบการจะปรับเข้าสู่ผังรายการปกติภายหลังจากที่ทรงเสด็จสวรรคตครบ 30 วัน โดยจะต้องทยอยปรับเข้ารายการปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเบื้องต้นหลังเที่ยงคืนของวันที่ 18 พ.ย.นี้<ref>[http://www.posttoday.com/digital/462374 กสท.สั่งผู้ประกอบการทีวี ควบคุมเนื้อหารายการสร้างความแตกแยกในสังคม คาด 19 พ.ย.ผังรายการปกติคืนจอ], โพสต์ทูเดย์, 28 ตุลาคม 2559.</ref> รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อช่วงเช้าวันที่ 3 พ.ย. 2559 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้เชิญผู้ประกอบการโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช. เข้ามารับฟังการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติในการออกอากาศรายการ