ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามเมืองถลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 47:
 
== การรบ ==
งะอูเจ้าเมืองทวายและสิงคะดุเรียงเจ้าเมืองมะริดยกทัพเข้าโจมตีเมืองตะกั่วป่า เจยะดุเรียงจอ (Zeya SuriyaThuriya Kyaw)<ref name=":2" /> ยกทัพเข้าตีเมืองตะกั่วป่าและบ้านนาเตย (ตำบลนาเตย [[อำเภอท้ายเหมือง]]) ได้สำเร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2352 ชาวตะกั่วป่าไม่สู้รบ จากนั้นทัพพม่าจึงยกไปที่ปากพระ งะอูจึงมีคำสั่งให้แบ่งทัพออกเป็นสองสายเข้าโจมตีเมืองถลาง ให้สิงคะดุเรียงเจ้าเมืองมะริดยกทัพ 3,000 คน และเจยะดุเรียงจอยกทัพ 3,000 คน เข้าโจมตีเมืองถลาง
 
=== การรบที่ถลาง ===
บรรทัด 73:
 
=== การรบที่ชุมพร ===
ดุเรียงสาระจอยกทัพจำนวน 3,000 คน ยกทัพเข้าโจมตีเมืองระนอง เมืองกระบุรี และเข้ายึดเมืองชุมพรได้สำเร็จ ฝ่ายกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ฯเสด็จยกทัพออกจากกรุงเทพฯในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2352 ไปยังเมืองเพชรบุรี มีพระราชบัณฑูรให้พระยาจ่าแสนยากร (บัว) ยกทัพจากเพชรบุรีเข้าโจมตีทัพของดุเรียงสาระจอที่ชุมพร นำไปสู่'''การรบที่ชุมพร''' พระยาจ่าแสนยากร (บัว) สามารถเอาชนะดุเรียงสาระจอที่ชุมพรแตกพ่ายไปได้ ทัพของพระยาจ่าแสนยากรยกติดตามดุเรียงสาระจอไปจนถึงเมืองตะกั่วป่า ได้ทราบว่าฝ่ายพม่าได้ยึดทำลายเมืองถลางและถอยกลับไปแล้ว ผู้คนชาวเมืองถลางหลบหนีมาอยู่ที่กราภูงาบนฝั่ง จึงมีพระราชบัณฑูรให้พระยาจ่าแสนยากรประจำอยู่ที่ชุมพร คอยรวบรวมราษฎร์ราษฎรที่หลบหนีกระจัดกระจายมาตั้งเมืองถลางอยู่ชั่วคราวอยู่ที่กราภูงา เพื่อที่จะกลับไปฟื้นฟูเมืองถลางขึ้นใหม่อีกครั้ง แล้วกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ฯจึงเสด็จกลับพระนครฯทางชลมารค
 
เมื่อพ่ายแพ้ให้แก่ฝ่ายไทยแล้วดุเรียงสาระจอจึงยกทัพไปสมทบกับทัพของงะซ่านที่เมืองถลาง ต่อมาเมื่อฝ่ายไทยสามารถยึดเมืองถลางคืนได้ทัพพม่าถอยไป ดุเรียงสาระจอจึงถูกอะเติงหวุ่นลงโทษประหารชีวิต
บรรทัด 80:
ฝ่ายพม่าแม้ว่าสามารถยึดเมืองถลางได้ได้แต่สุดท้ายฝ่ายไทยสามารถยึดเมืองถลางคืนฝ่ายพม่าถอยไป เป็นเหตุให้อะเติงหวุ่นลงโทษประหารชีวิตแม่ทัพนายกองไปจำนวนมาก อะเติงหวุ่นอยู่เมืองทวายกดขี่ชาวเมืองได้รับความเดือนร้อนมาก จนมีชาวเมืองทวายพยายามลอบสังหารอะเติงหวุ่นแต่ไม่สำเร็จ<ref name=":2" />
 
เมื่อฝ่ายพม่าสามารถเข้ายึดเมืองถลางได้ เมืองถลางบ้านดอนถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง พระยาถลาง (เทียน) เจ้าเมืองถลางถูกจับตัวเป็นเชลยกลับไปยังพม่า ทำให้ตอนเหนือของเกาะภูเก็ตได้รับความเสียหายมากสูญเสียประชากรและทรัพย์สิน ชาวเมืองถลางจำนวนมากหลบหนีขึ้นฝั่งไปรวมกันที่กราภูงา เมืองถลางย้ายไปอยู่ที่กราภูงาชั่วคราวพระยาถลางคนต่อมาปกครองเมืองถลางที่กราภูงา นำไปสู่การจัดตั้งเมืองพังงาขึ้นในที่สุด เกาะภูเก็ตทั้งเมืองถลางเดิมและเมืองภูเก็ตถูกโอนไปอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เมืองถลางเดิมยังคงเป็นเมืองร้างไปเป็นระยะเวลาสิบห้าปี มีเพียงเมืองภูเก็ตทางตอนใต้ของเกาะที่ยังดำรงอยู่ จนกระทั่งในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] จึงมีการฟื้นฟูเมืองถลางขึ้นที่เกาะภูเก็ตอีกครั้งในพ.ศ. 2367<ref>http://student.cba.ac.th/2560/503/witsanee503/history.html</ref>
 
สงครามพม่าตีเมืองถลางในพ.ศ. 2352-53 นี้ เป็นการรุกรานของพม่าที่เกิดขึ้นจริงครั้งสุดท้ายใน[[ประวัติศาสตร์ไทย]] หลังจากนั้นเมื่อพม่าสูญเสียอำนาจและอิทธพลในพม่าตอนล่างให้แก่อังกฤษใน[[สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง]] (First Anglo Burmese War) ในพ.ศ. 2369 พม่าจึงไม่สามารถใช้ชายฝั่งตะนาวศรีเป็นฐานเข้ารุกรานสยามได้อีก