ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พญาภูคา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 50:
มีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับองค์พระธาตุซึ่งปรากฏในสมุดข่อย กล่าวว่า<ref>https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1112593</ref> เมื่อครั้งที่พญาภูคาต้องการจะสร้างเมืองขึ้นใหม่ให้แก่บุตรบุญธรรม จึงได้ให้ผู้คนไปหาชัยภูมิสร้างเมืองใหม่ จนกระทั่งได้ที่บริเวณแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่พอพระทัย แล้วสร้างเมืองขึ้นใหม่ ตั้งให้ขุนฟองเป็นผู้ครองเมือง ขนานนามว่า “เมืองวรนคร” พญาภูคาทรงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา ประสงค์จะสร้างเจดีย์ไว้ใกล้กับเมืองใหม่ จึงได้ให้ผู้คนไปหาบริเวณที่เหมาะสมเพื่อสร้างเจดีย์ จึงพบบริเวณที่ดินเป็นลานกว้างมีบ่อน้ำอยู่ตรงกลางกว้างประมาณ 1.5 เมตร
 
พญาภูคาได้เสด็จไปดูและนำไม้รวกแหย่ลงไปในบ่อนั้น ปรากฏว่าไม้ที่แหย่ลงไปขาดเป็นท่อน ๆ เมื่อเห็นอัศจรรย์จึงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์ครอบบ่อน้ำ ซึ่งสร้างขึ้นแบบธรรมดาขนาดกว้าง 7 เมตร สูง 20 เมตร พร้อมกับสร้างวิหารหลังหนึ่งอยู่ในแนวเดียวกับองค์เจดีย์เมื่อสร้างเจดีย์แล้วเสร็จในปี พ.ศ.1826 จึงไดได้เชิญนายญาณะ อุปสมบทเป็นเจ้าอาวาส ทำพิธีฉลองพร้อมเมืองใหม่ ในตอนกลางคืนของงานฉลองนั้นได้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น ปรากฏแสงไฟเรืองรองพุ่งออกมาจากยอดพระธาตุ เมื่อเห็นดังนั้น พญาภูคาจึงได้ตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดพระธาตุเบ็งสกัด” หลังจากนั้นมาสมัยขุนฟองครองเมืองวรนคร ท่านก็ได้บำนุบำรุงวัดพระธาตุเบ็งสกัดจนสิ้นรัชสมัย
 
เมื่อเข้าไปในบริเวณวัดพระธาตุเบ็งสกัด จะพบโบราณสถานของวัด ได้แก่ พระวิหาร ซึ่งสร้างอยู่ติดกับองค์เจดีย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นวิหารปิดมีหลังคา 2 ชั้น 2 ตับ มุงด้วยแป้นเกล็ดเป็นศิลปะแบบไตลื้อ ส่วนองค์เจดีย์เป็นงานสถาปัตยกรรมของช่างชาวน่าน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยของพญาภูคา ประมาณปี พ.ศ.1826 องค์พระธาตุได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยของพญาอนันตยศ มีการบูรณะลายทองเสาวิหารและเพดาน แท่นพระประธาน รวมถึงสร้างกำแพงแก้วรอบองค์พระธาตุ เมื่อปี พ.ศ.2400 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2487 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดพระธาตุเบ็งสกัดให้เป็นโบราณสถานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 61 ตอนที่ 65 ต่อมาในปี พ.ศ.2533 คณะกรรมการหมู่บ้านโดยนายสุชาติ พลจร ผู้ใหญ่บ้านแก้ม ได้ทูลเกล้าถวายฏีกาแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อขอพระราชทานจัดหาทุนทรัพย์ซ่อมแซมพระวิหารซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก จนกระทั่งปี พ.ศ.2536 กรมศิลปากร ได้ทำการตรอวจสอบตรวจสอบและทำโครงการบูรณะวิหารวัดพระธาตุเบ็งสกัด จนได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2538 หากมีโอกาสเดินทางไปยังอำเภอปัว จังหวัดน่าน ลองแวะไปนมัสการองค์พระธาตุเบ็งสกัด สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวไตลื้อแห่งเมืองปัว
 
บทความโดย