ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏหวันหมาดหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
| combatant2 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช)|อาณาจักรรัตนโกสินทร์]]
| commander2 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]<br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)|พระยาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)|พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยายมราช (บุนนาค ยมนาค)|เจ้าพระยายมราช (บุนนาค)]] <br>
บรรทัด 41:
 
=== กบฏยึดเมืองไทรบุรี ===
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2381 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดอาศัยจังหวะซึ่งทัพเรือของอังกฤษที่รักษาเกาะปีนังนั้นย้ายไปทำการปราบโจรสลัดที่ตรังกานู<ref name=":1" /> ยกทัพเรือจากเกาะสุมาตรามายังเซอเบอรังเปอไร (Seberang Perai) หรือโปร์วินซ์เวลส์เลย์ซึ่งเป็นเขตแดนของอังกฤษ สมทบกับกองกำลังโจรสลัดของหวันมาลี ตนกูมูฮาหมัดซาอัดป่าวประกาศร้องเรียกให้ชาวมลายูผู้สนับสนุนอดีตสุลต่านฯออกมารวบรวมเป็นกองกำลังที่แม่น้ำมุดา (Muda River) และแม่น้ำเมอร์บก (Merbok River) ซึ่งเป็นเขตแตนรอยต่อระหว่างไทรบุรีและโปร์วินซ์เวลส์เลย์ ในเดือนพฤษภาคมตนกูมูฮาหมัดทาอิบ (Tunku Muhammad Taib) ผู้เป็นน้องชายของตนกูซาอัด<ref>https://www.royalark.net/Malaysia/kedah4.htm</ref> นำกองกำลังชาวมลายูตั้งขึ้นที่แม่น้ำเมอร์บกรวมกับทัพของตนกูซาอัดได้กำลัง 1,000 คน ตนกูซาอัดยกทัพมลายูเข้าโจมตีป้อมกัวลาเกอดะฮ์ (Kuala Kedah) หรือป้อมปากน้ำไทรบุรีในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2381 โดยที่ฝ่ายสยามไม่ทันตั้งตัว นำไปสู่'''การรบที่กัวลาเกอดะฮ์''' พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) เจ้าเมืองไทรบุรีรวบรวมกำลังพลจัดตั้งทัพขึ้นประกอบด้วยชาวไทยได้ 200 คน ได้ชาวมลายู 800-900 คน มาตั้งรับ ในชั้นแรกฝ่ายสยามสามารถป้องกันป้อมปากน้ำไทรบุรีไว้ได้ ตนกูซาอัดเข้ายึดป้อมปากน้ำไม่สำเร็จ ต่อมาในเดือนสิงหาคม ตนกูทาอิบได้นำตัวครอบครัวของทหารชาวมลายูซึ่งป้องกันป้อมอยู่ฝ่ายสยาม ประกอบด้วยเด็กสตรีและคนชรามาเดินนำหน้าทัพ เมื่อเด็กสตรีและคนชราเหล่านั้นถูกสังหารในที่รบ ทำให้ทหารฝ่ายมลายูซึ่งอยู่ฝ่ายสยามแปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายกบฏ ตนกูทาอิบจึงเข้ายึดป้อมปากน้ำไทรบุรีได้ พระยาอภัยธิเบศร์และทัพสยามจึงล่าถอยกลับเข้าเมืองอาโลร์เซอตาร์ ทัพฝ่ายมลายูของตนกูซาอัดและตนกูทาอิบเข้ายึดเมืองอาโลร์เซอตาร์ได้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2381 พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) รวมทั้งพระเสนานุชิต (นุช) ปลัดเมืองไทรบุรีผู้เป็นน้องชายและครอบครัวหลบหนีไปยังกูปังบาซู และหลบหนีต่อไปจนถึงเมืองพัทลุงในที่สุด
 
=== การรบฝั่งอันดามัน ===
[[ไฟล์:Sherard Osborn.jpg|thumb|238x238px|กัปตันเชอราร์ด ออสบอร์น (Sherard Osborn) ผู้นำเรือรบอังกฤษจำนวนสี่ลำเข้าปิดปากน้ำเมืองไทรบุรีใน พ.ศ. 2381 ต่อมาได้เป็นผู้สำรวจ[[ขั้วโลกเหนือ]]]]
เมื่อยึดเมืองอาโลร์เซอตาร์ไว้ได้แล้ว ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2381 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดจึงส่งหวันมาลี หรือเจ๊ะหมัดอาลี ยกทัพเรือไปยึดเมืองปะลิส ยึดเกาะลังกาวี และยกทัพเรือจำนวน 95 ลำ 1,000 คน<ref name=":2">กรมศิลปากร. ''จดหมายหลวงอุดมสมบัติ''. พุทธศักราช ๒๕๓๐.</ref> เข้าโจมตีเมือง[[ตรัง]] ซึ่งเป็นสถานที่ต่อเรือของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) นำไปสู่'''การยึดเมืองตรัง''' พระสงครามวิชิตเจ้าเมืองตรังนำทัพออกสู้รับกับทัพของหวัดมาลีที่ปากน้ำพระม่วงและเขาราชสีห์<ref name=":2" />แต่ชาวมลายูซึ่งอยู่ด้านหลังเขาโจมตีกระหนาบหลังทำให้ทัพของพระสงครามวิชิตแตกพ่ายไป หวันมาลีจึงสามารถเข้ายึดเมืองตรังได้ กวาดต้อนผู้คนเมืองตรังไปอยู่ที่เกาะลังกาวี
 
เมื่อเข้ายึดไทรบุรีได้แล้ว ฝ่าายกบฏนำโดยตนกูซาอัดได้เชิญตนกูอับดุลเลาะฮ์ (Tunku Abdullah) ผู้เป็นบุตรชายคนโตของอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันมาเข้าร่วมขบวนการในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2381 โดยตนกูอับดุลเลาะฮ์ตั้งอยู่ที่บ้านตะพานช้างหรืออาลูร์กานู (Alur Ganu) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2382 หวันมาลียกทัพเรือเข้าโจมตีเมือง[[สตูล]]ปล้นสะดมนำอาหารเสบียงไป<ref name=":2" />