ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
| พระปรมาภิไธย = พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์บรากังซา|บรากังซา]]
| วันพระราชสมภพ = [[13 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2310]]<br />[[ลิสบอน]] [[ประเทศโปรตุเกส]]
| วันสวรรคต = [[10 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2369]]<br />[[ลิสบอน]] [[ประเทศโปรตุเกส]] <br /> (พระชนมายุ 58 พรรษา)
| พระอิสริยยศ =เจ้าชายแห่งโปรตุเกส<br>ดยุคแห่งบรากังซา<br>ดยุคแห่งเบฌา<br>เจ้าชายแห่งบราซิล<br>เจ้าชาย ผู้สำเร็จราชการแห่งโปรตุเกส<br>พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสและแอลการ์ฟ<br>พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ<br>จักรพรรดิแห่งบราซิล (เพียงในพระนาม)
| ทรงราชย์ = [[20 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2359]] – [[10 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2369]]
บรรทัด 55:
ในเวลานั้น ข่าว[[การปฏิวัติฝรั่งเศส]]ได้สร้างความสับสนและความหวาดกลัวแก่บรรดาราชวงศ์ต่าง ๆ ที่กำลังมีอำนาจอยู่ในยุโรป การสั่งสำเร็จโทษ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส]]ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 โดยคณะปฏิวัติได้เร่งให้เกิดการตอบสนองจากนานาประเทศอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2336 ได้มีการลงนามในอนุสัญญาฉบับหนึ่งระหว่างโปรตุเกสกับสเปน และในวันที่ 26 กันยายน โปรตุเกสก็ดำเนินการเป็นพันธมิตรกับบริเตนใหญ่ ข้อตกลงทั้งสองกำหนดให้มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสสมัยปฏิวัติ และนำทหารโปรตุเกส 6,000 นายเข้าสู่[[สงครามพิเรนีส]] (พ.ศ. 2336-2338) ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเข้ารุกรานดินแดน[[รูซียง]]ของฝรั่งเศส และจบลงด้วยความปราชัยโดยกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสสามารถยึดครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสเปนได้ เหตุการณ์นี้ได้สร้างปัญหาที่ละเอียดอ่อนทางการทูตเนื่องจากโปรตุเกสจะไม่สามารถทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศสได้หากไม่ยุติความเป็นพันธมิตรกับอังกฤษซึ่งมีส่วนพัวพันกับผลประโยชน์ต่าง ๆ ในดินแดนโพ้นทะเล ดังนั้นโปรตุเกสจึงต้องแสวงหาความเป็นกลางซึ่งก็เป็นไปอย่างเปราะบางและตึงเครียด<ref>Strobel, Thomas. ''A "Guerra das Laranjas" e a "Questão de Olivença" num contexto internacional''. GRIN Verlag, 2008, pp. 3–4. In Portuguese.</ref><ref>Souza, Laura de Mello e. ''O sol e a sombra: política e administração na América portuguesa do século XVIII''. Companhia das Letras, 2006, p. 394 In Portuguese.</ref>
 
หลังจากพ่ายแพ้สงครามพิเรนีส สเปนได้ยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับโปรตุเกสและหันไปสร้างสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสภายใต้[[สนธิสัญญาบาเซิล]] ด้วยอังกฤษมีแสนยานุภาพเกินกว่าฝรั่งเศสจะโจมตีโดยตรงได้ ฝรั่งเศสจึงวางแผนที่จะจัดการโปรตุเกสซึ่งยังคงเป็นพันธมิตรกับอังกฤษแทน<ref name="Andrade"/> ในปี พ.ศ. 2342 เจ้าชายฌูเอาทรงเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศอย่างเป็นทางการในฐานะ[[เจ้าชายผู้สำเร็จราชการ]]ในพระนามของพระราชมารดา<ref name="Dicionário">Amaral, Manuel. [http://www.arqnet.pt/dicionario/joao6.html "João VI"]. In: ''Portugal – Dicionário Histórico, Corográfico, Heráldico, Biográfico, Bibliográfico, Numismático e Artístico'', Volume III, 2000–2010, pp. 1051–1055. In Portuguese.</ref> ในปีเดียวกัน[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1|นายพลนโปเลียน โบนาปาร์ต]]ได้ก่อ[[ดีซุอิตบรูว์แมร์|รัฐประหาร]]ในฝรั่งเศสและบีบบังคับสเปนให้ยื่นคำขาดแก่โปรตุเกสให้ยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับอังกฤษและให้ยอมอ่อนน้อมต่อผลประโยชน์ของนโปเลียน เมื่อเจ้าชายฌูเอาทรงปฏิเสธ ความเป็นกลางของประเทศจึงไม่อาจอยู่รอด กองทัพสเปนและฝรั่งเศสเข้ารุกรานโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2344 เกิดเป็น[[สงครามออเรนจ์]] (War of the Oranges) ความพ่ายแพ้จากสงครามทำให้โปรตุเกสยอมลงนามใน[[สนธิสัญญาบาดาโคซ]] และตามมาด้วย[[สนธิสัญญามาดริด]] ซึ่งโปรตุเกสต้องยกเมือง[[โอลีเบนซา]]ให้สเปน และต้องยกอำนาจเหนือดินแดนอาณานิคมบางแห่งให้ฝรั่งเศส<ref>{{cite book|contribution=War of the Oranges|title=Encyclopædia Britannica|year=2005}}</ref><ref>{{cite book|first=António Pedro|last=Vicente|title=Guerra Peninsular: História de Portugal Guerras e Campanhas Militares|trans_title=Peninsular War: History of Portuguese Wars and Military Campaigns|year=2007|publisher=Academia Portuguesa da História/Quidnovi|location=Lisbon, Portugal|language=Portuguesept}}</ref> เพราะผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การเคลื่อนไหวอย่างคลุมเครือและการทำข้อตกลงลับจึงเป็นลักษณะเด่นของสงครามนี้ โปรตุเกสในฐานะผู้เล่นที่อ่อนแอที่สุดไม่สามารถหลีกเลี่ยงการต่อสู้อันต่อเนื่องนี้ได้<ref name="Andrade">Andrade, Maria Ivone de Ornellas de. "O reino sob tormenta". In: Marques, João et alii. ''Estudos em homenagem a João Francisco Marques, Volume I''. Universidade do Porto, sd, pp. 137–144. In Portuguese.</ref> ในขณะเดียวกัน เจ้าชายฌูเอาต้องทรงเผชิญหน้ากับศัตรูในประเทศของพระองค์เอง เจ้าหญิงการ์โลตา โคอากีนา พระมเหสีของพระองค์ซึ่งทรงมีความจงรักภักดีต่อสเปนบ้านเกิดของพระนางมากได้ทรงริเริ่มแผนการถอดถอนพระสวามีออกจากตำแหน่งเพื่อยึดพระราชอำนาจมาไว้ในพระหัตถ์ของพระนางเอง ซึ่งก็เป็นความพยายามที่ล้มเหลวในปี พ.ศ. 2348 ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถต้องเสด็จออกจากราชสำนักไปประทับที่[[พระราชวังหลวงเกลุช]] ส่วนเจ้าชายผู้สำเร็จราชการก็เสด็จไปประทับที่[[พระราชวังหลวงมาฟรา]]<ref name="Schwarcz">Schwarcz, Lília Moritz; Azevedo, Paulo Cesar de & Costa, Angela Marques da. ''A longa viagem da biblioteca dos reis: do terremoto de Lisboa à independência do Brasil''. Companhia das Letras, 2002, pp. 479–480. In Portuguese.</ref><ref name="Arquivo">[http://www.historiacolonial.arquivonacional.gov.br/cgi/cgilua.exe/sys/start.htm?infoid=730&sid=95&tpl=printerview ''Aclamação de d. João'']. Arquivo Nacional, 2003. In Portuguese.</ref>
 
===การเดินทางสู่บราซิล===