ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามตีเมืองทวาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
สงครามตีเมืองทวายครั้งที่สอง พ.ศ. 2335
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล ความขัดแย้งทางทหาร
|date = พ.ศ. 2330
|place = เทือกเขาตะนาวศรี
|result = สยามถอยทัพกลับ
|combatant1 = [[ราชวงศ์คองบอง]]
|combatant2 = [[ราชวงศ์จักรี]]
|commander2 = [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] <br> [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]]
}}
 
'''สงครามตีเมืองทวาย''' สงครามระหว่างสยามกับ[[ราชวงศ์คองบอง|อาณาจักรคองบอง]]ที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2330 และเป็นครั้งแรกที่รัชกาลที่ 1 ได้ยกกองทัพรุกรานเข้าไปถึงดินแดนของพม่าคือเมืองทวาย หลังจาก[[สงครามท่าดินแดง]] เมื่อ พ.ศ. 2329 รัชกาลที่ 1 จึงยกกองทัพไปเพื่อตอบโต้พม่าโดยเข้ายึดเมืองทวายแต่ด้วยเส้นทางที่สูงชันและยากลำบากในการเคลื่อนทัพทำให้กองทัพต้องขาดแคลนเสบียงอาหารรัชกาลที่ 1 จึงยกกองทัพกลับกรุงเทพมหานคร
 
== สงครามตีเมืองทวายครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2331 ==
{{กล่องข้อมูล ความขัดแย้งทางทหาร
 
|conflict = สงครามตีเมืองทวายครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2331
|partof = สงครามตีเมืองทวาย
|date = มกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2331
|place = [[เทือกเขาตะนาวศรี]] เมือง[[ทวาย]]
|result = สยามถอยทัพกลับ
|combatant1 = [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] [[ราชวงศ์คองบอง|อาณาจักรพม่า]]
|combatant2 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช)|อาณาจักรรัตนโกสินทร์]]
|commander1 = [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] [[พระเจ้าปดุง]] <br> [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] แกงหวุ่นแมงยี <br> [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] แมงจันจา <br> [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] ทวายหวุ่น <br> [[ไฟล์:Flag of Burma (Alaungpaya Dynasty).svg|25px|border]] นัดมิแลง
|commander2 = [[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]<br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย|สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์|สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)|พระยายมราช (บุนนาค)]] <br>
|strength1 = มากกว่า 6,000
|strength2 = 20,000
}}
=== เหตุการณ์นำ ===
หลังจากที่ฝ่ายสยามสามารถต้านทานการรุกรานของพม่าได้ในสงครามเก้าทัพและสงครามท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯและกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทมีพระราชดำริ<ref name=":0">[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา]]. '''พงษาวดารเรื่องเรารบพม่า ครั้งกรุงธน ฯ แลกรุงเทพ ฯ'''.</ref>ที่ยกจัดทัพยกเข้าไปในดินแดนของพม่า แต่ในพ.ศ. 2330 พระเจ้าปดุงมีพระราชโองการให้โปมะยุง่วนหรืออาประกามนีเจ้าเมืองเชียงแสนยกทัพเข้ายึดเมืองฝางและเตรียมการเข้าโจมตีหัวเมืองล้านนา พระยาแพร่ชื่อมังไชยยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงแสน จับกุมตัวโปมะยุง่วนส่งให้แก่[[พระเจ้ากาวิละ|พระยากาวิละ]]เจ้าเมืองลำปาง พระยากาวิละจึงนำทั้งโปมะยุง่วนเจ้าเมืองเชียงแสนและพระยาแพร่มังไชยส่งลงมาถวายที่กรุงเทพฯ โปมะยุง่วนให้การว่าฝ่ายพม่ากำลังเตรียมทัพเข้ารุกรานเมืองลำปางและหัวเมืองล้านนาอีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯจึงมีพระราชโองการให้กรมพระราชวังบวรฯเสด็จขึ้นเหนือแต่งตั้งพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่และฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่เป็นเมืองร้างมาตั้งแต่พ.ศ. 2319 เพื่อป้องกันทัพของพม่าที่จะมาจากเชียงแสน
เส้น 36 ⟶ 44:
 
=== การรบ ===
 
==== การรบที่ด่านวังปอ ====
ทัพหน้าของเจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) และพระยายมราช (บุนนาค) ยกทัพข้ามผ่านเทือกเขาตะนาวศรี ให้พระยาสุรเสนาและพระยามหาอำมาตย์นำทัพหน้าจำนวน 5,000 คน ล่วงหน้าไปก่อน เข้าโจมตีทัพของนัดมิแลงที่ด่านวังปอในวันศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือนสาม (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2331)<ref name=":1" /> พระเสนานนท์นำทัพฝ่ายไทยเข้าโจมตีฝ่ายพม่าก่อน พระเสนานนท์ถูกปืนของฝ่ายพม่าที่ขาซ้าย พระมหาอำมาตย์จึงยกทัพเข้าโจมตีฝ่ายพม่า ฝ่ายพม่าสามารถต้านทานได้พระยามหาอำมาตย์ถอยกลับออกมา พระยาสุรเสนาและพระยาสมบัติบาลถูกปืนของพม่าเสียชีวิตในที่รบ '''การรบที่ด่านวังปอ'''กินเวลาร่วมสองสัปดาห์ จนกระทั่งเจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาจึงยกทัพเข้าช่วยกองหน้าของพระยามหาอำมาตย์ในวันแรม 10 ค่ำ เดือนสาม นัดมิแลงแม่ทัพพม่าไม่สามารถต้านการฝ่ายไทยได้อีกต่อไปถึงพ่ายแพ่ถอยร่นไปยังเมืองกลิอ่อง เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาจึงเข้ายึดด่านวังปอได้สำเร็จแล้วส่งม้าเร็วมากราบทูลฯที่ทัพหลวง
 
หลังจากยึดด่านวังปอได้แล้ว เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนายกทัพหน้าลงไปยังเมืองกลิอ่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯจึงเสด็จยกทัพหลวงขึ้นตามไปยังด่านวังปอ เส้นทางข้ามเทือกเขาตะนาวศรีที่ด่านวังปอเป็นเส้นทางที่สูงชันและกันดาร การยกทัพหลวงข้ามด่านวังปอเป็นไปด้วยความยากลำบาก จะทรงช้างที่นั่งขึ้นไปไม่ได้ ต้องผูกราวตามต้นไม้แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาท<ref name=":0" /><ref name=":1" />ยึดราวเหนี่ยวพระองค์ขึ้นไปแต่เช้าจนเที่ยงจึงถึงยอดเขา บรรดาช้างศึกต้องใช้งวงดึงตัวเองขึ้นเขาไป ช้างบางเชือกพลัดตกจากเขาพร้อมกับควาญช้างถึงแก่ความตาย อุปกรณ์สรรพาวุธต้องนำลงจากหลังช้างและใช้กำลังคนแบกขึ้นเขาไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯจึงตรัสว่า "''ไม่รู้ว่าทางนี้เดินยากพาลูกหลานมาได้ความลำบากยิ่งนัก''"<ref name=":1" /> การเสด็จนำทัพลงเขาอีกฝั่งหนึ่งนั้นก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน
 
==== การรบที่เมืองกลิอ่อง ====
เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนายกทัพลงไปจนถึงเมืองกลิอ่อง เมื่อทัพหลวงเสด็จถึงด่านวังปอแล้ว จึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาเร่งโจมตียึดเมืองกลิอ่องให้ได้โดยเร็ว เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาจึงยกทัพเข้าตีเมืองกลิอ่องในวันขึ้น 2 ค่ำ เดือนสี่ (มีนาคม พ.ศ. 2331) นำไปสู่'''การรบที่เมืองกลิอ่อง''' ทวายหวุ่นและนัดมิแลงซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองกลิอ่องออกสู้รบกับฝ่ายไทย การรบดำเนินตั้งแต่เช้าจนกลางคืน ทวายหวุ่นและนัดมิแลงไม่อาจต้านทานฝ่ายไทยได้อีกต่อไปจึงเปิดประตูเมืองด้านหลังถอยทัพกลับไปยังเมืองทวาย เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาจึงเข้ายึดเมืองกลิอ่องได้สำเร็จอีกเมืองหนึ่ง
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯมีพระราชโองการให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนายกทัพไปโจมตีทัพของทวายหวุ่นที่ทุ่งระหว่างเมืองกลิอ่องและเมืองทวายให้แตกพ่ายในหนึ่งวัน ทวายหวุ่นได้ตั้งค่ายชักปีกกาไว้ก่อนแล้ว ฝ่ายพม่าปราชัยและถอยกลับเข้าไปยังเมืองทวาย แกงหวุ่นแมงยีและแมงจันจาเจ้าเมืองทวาย เกรงว่าชาวเมืองทวายจะกบฏหันไปเข้าไปฝ่ายไทย<ref name=":0" /> จึงละทิ้งเมืองทวายไปตั้งทัพอยู่นอกเมืองให้ทัพฝ่ายไทยเข้ายึดเมืองทวายได้โดยง่าย ฝ่ายทัพของเจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาเข้าประชิดเมืองทวายวันที่แรม 9 ค่ำเดือนสี่ ไม่เห็นมีทหารพม่าขึ้นประจำการที่เชิงเทินป้อมปราการของเมือง เกรงว่าจะเป็นอุบายของฝ่ายพม่า<ref name=":1" />ที่ให้ฝ่ายไทยเข้ายึดเมืองทวายแล้วฝ่ายพม่าจึงล้อมเมืองทวายอีกทีหนึ่ง จึงยังไม่เข้ายึดเมืองทวายแต่ตั้งทัพอยู่นอกเมืองเช่นกัน ฝ่ายแกงหวุ่นแมงยีและแมงจันจาเห็นว่าฝ่ายไทยไม่เข้ายึดเมืองทวายและชาวเมืองทวายยังไม่ไปเข้าพวกฝ่ายไทย จึงยกทัพกลับเข้ารักษาเมืองทวายอีกครั้ง
 
==== การประชิดเมืองทวาย ====
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯเสด็จยกทัพจากด่านวังปอผ่านเมืองกลิอ่องเข้าประชิดเมืองทวาย ทรงตั้งค่ายห่างจากทัพหน้าของเจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาประมาณ 50 เส้น<ref name=":1" /> แล้วมีพระราชโองการให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรยกทัพส่วนหนึ่งไปตั้งค่ายอยู่หน้าทัพหลวงเพื่อหนุนทัพหน้า นำไปสู่'''การประชิดเมืองทวาย''' แกงหวุ่นแมงยีและแมงจันจาตั้งมั่นอยู่ในเมืองทวายไม่ออกมาสู้รบ ฝ่ายไทยประชิดเมืองทวายอยู่เป็นเวลาประมาณครึ่งเดือน<ref name=":0" /> เสบียงอาหารซึ่งขนมาอย่างยากลำบากข้ามเทือกเขาตะนาวศรีเริ่มลดลง มีผู้ทูลอาสาขอยกทัพเข้าตีเมืองทวายหลายคน แต่ทรงห้ามไว้เนื่องจากขณะนั้นฝ่ายสยามยังไม่มีเส้นทางถอยทัพที่สะดวก หากพ่ายแพ้ให้แก่ฝ่ายพม่าและฝ่ายพม่ายกทัพติดตามมา ศึกจะมาประชิดทัพหลวงและถอยทัพกลับโดยลำบาก<ref name=":1" />
 
หลังจากที่ทรงประชิดเมืองทวายเป็นเวลาประมาณครึ่งเดือน ฝ่ายพม่ายังไม่ยอมแพ้ เสบียงอาหารลดลง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯจึงทรงตัดสินพระทัยให้เลิกทัพถอยกลับทรงคะมองส่วย ให้ทัพหลวงถอยก่อนจากนั้นทัพหน้าจึงรั้งถอยตามมาทีหลัง ฝ่ายพม่ายกทัพติดตามมาจนถึงสุดเขตแดนเมืองทวายถึงกลับเมืองทวายไป
 
=== บทสรุป ===
สงครามตีเมืองทวายในพ.ศ. 2331 ไม่ประสบผลสำเร็จ เส้นทางเดินทัพของฝ่ายไทยผ่านด่านวังปอข้ามเทือกเขาตะนาวศรีแม้จะตัดเข้าเมืองทวายโดยตรงแต่เป็นเส้นทางที่สูงชันและยากลำบาก ทำให้การขนส่งเสบียงยุทโธปกรณ์เป็นไปด้วยความลำบาก และทำให้ฝ่ายสยามไม่สามารถใช้เส้นทางนี้เป็นช่องทางถอยทัพได้โดยสะดวก
 
== สงครามตีเมืองทวายครั้งที่สอง พ.ศ. 2335 ==
 
=== เหตุการณ์นำ ===
แมงจันจาเจ้าเมืองทวายผู้สามารถต้านทานการรุกรานเมืองทวายของสยามในปีพ.ศ. 2331 ได้สำเร็จ มีความคาดหวังว่า<ref name=":0" />ตนเองจะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะซึ่งมีอำนาจสำเร็จราชการตลอดเมืองทวายมะริดและตะนาวศรี แต่พระเจ้าปดุงทรงแต่งตั้งมังจะเลสูมาเป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะในพ.ศ. 2334 แมงจันจาจึงผิดหวังและไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจปกครองของมังจะเลสูเจ้าเมืองเมาะตะมะคนใหม่ มังจะเลสูจึงกราบทูลพระเจ้าปดุงว่าแมงจันจาเจ้าเมืองทวายมีความกระด้างกระเดื่อง พระเจ้าปดุงจึงทรงปลดแมงจันจาจากตำแหน่งเจ้าเมืองทวายแล้วให้จับกุมแมงจันจาไปไต่สวนที่เมืองอมรปุระ มังจะเลสูจึงแต่งตั้งให้มะรุวอนโบเป็นเจ้าเมืองทวายคนใหม่และให้มะรุวอนโบจับตัวแมงจันจาส่งไปเมืองอมรปุระ เมื่อมะรุวอนโบเดินทางมาถึงเมืองทวายแมงจันจาคุมกำลังคนจำนวน 500 คน ไปสกัดจับมะรุวอนโบที่นอกเมืองทวายและสังหารมะรุวอนโบไปเสีย<ref name=":0" />
 
พระเจ้าปดุงทรงทราบความก็พิโรธให้จับบิดาของแมงจันจาไว้ แมงจันจาจึงหันมาสวามิภักดิ์ต่อฝ่ายสยามพร้อมกับเจ้าเมืองมะริด แมงจันจาสืบทราบว่ามีพระราชภาคิไนยหญิงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯพระองค์หนึ่ง ทรงถูกจับเป็นเชลยตั้งแต่ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองและตกมาประทับอยู่ที่เมืองทวายนี้ แมงจันจาจึงเชิญพระองค์หญิงพระองค์นั้นมาสอบถามได้ความว่าคือ[[กรมขุนรามินทรสุดา|พระองค์เจ้าชี]] แมงจันจาจึงแต่งทูตถือหนังสือศุภอักษรจารึกแผ่นทองเข้ามาถวายขอสวามิภักดิ์เป็นข้าขอบขันฑสีมาของกรุงเทพฯและขอพระราชทานทัพไทยไปป้องกันเมืองทวาย พร้อมทั้งให้พระองค์เจ้าชีทรงพระอักษรจดหมายมาอีกหนึ่งฉบับถวายฯ ทูตเมืองทวายมาถึงกรุงเทพฯในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2335 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯได้ทรงรับสาส์นของเมืองทวายและทอดพระเนตรสาส์นของพระองค์เจ้าชีแล้ว จึงมีพระราชโองการให้พระยายมราช (บุนนาค) ยกทัพจำนวน 5,000 คน คุมเครื่องยศไปยังเมืองทวายแต่งตั้งให้แมงจันจาเป็นพระยาทวาย
 
=== ได้เมืองทวาย ===
พระยายมราชยกทัพไปถึงเมืองทวาย แมงจันจายังไม่ออกมาพบ พระยายมราชจึงมีคำสั่งให้แมงจันจาออกมาคำนับ แมงจันจาจึงออกจากเมืองทวายมาสวามิภักดิ์ พระยายมราชส่งพระองค์เจ้าชีและชาวกรุงเก่าฯจำนวนหนึ่งมายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯและกรมพระราชวังบวรฯเสด็จยกทัพไปยังเมืองกาญจนบุรี พระองค์เจ้าชีเข้าเฝ้าทั้งสมเด็จฯทั้งสองพระองค์ที่แม่น้ำน้อย ทรงไต่ถามทุกข์สุขความลำบากที่พระองค์เจ้าชีทรงประสบมา<ref name=":1" /> และทรงส่งพระองค์เจ้าชีลงมายังพระนครฯ กรมพระราชวังบวรฯทูลลายกทัพเสด็จไปเมืองทวายเพื่อทรงดูสถานการณ์ เมื่อเสด็จถึงเมืองทวายแล้ว กรมพระราชวังบวรฯมีพระดำริว่าแมงจันจาเจ้าเมืองทวายมิได้สวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพอย่างแท้จริง เมืองทวายตั้งอยู่ห่างไกลมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นอุปสรรคยากที่จะรักษา เห็นสมควรที่จะกวาดต้อนชาวเมืองทวายกลับมาและรื้อกำแพงเมืองทวายลงเสีย<ref name=":1" /> เพื่อไม่ให้ฝ่ายพม่าใช้เป็นฐานที่มั่น จึงมีพระราชบัณฑูรให้พระยายมราชนำความมากราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯที่แม่น้ำน้อย ขอพระราชทานรื้อเมืองทวายกวาดต้อนผู้คนกลับมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯมีพระราชดำริที่จะยกทัพล่วงต่อจากเมืองทวายไปยังเขตแดนเมืองพม่าเพื่อช่วยเหลือชาวกรุงเก่าที่ถูกพม่าจับไปเป็นเชลยให้ได้หวนคืนกลับสู่สยาม<ref name=":1" /> จึงทรงตอบว่า "''พม่ายกมาตีกรุงกวาดต้อนครอบครัวชาวกรุงและพี่น้องขึ้นไปไว้แต่ที่เมืองทวายเมืองเดียวดอกหรือ เมืองอังวะและเมื่องอื่นๆ ไทยชาวกรุงไม่มีหรือ ไม่ช่วยเจ็บแค้นขึ้งโกรธบ้างเลย ได้เมืองทวายไว้ จะได้เป็นเมืองพักผู้คนไว้เสบียงอาหารเป็นกำลังทำศึกต่อไป ห้ามอย่ารื้อกำแพงเมืองและกวดครอบครัว''"<ref name=":1" /> ฝ่ายไทยจึงได้ครอบครองเมืองทวายในที่สุด
 
== กบฏเมืองทวาย พ.ศ. 2336 ==