ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามตีเมืองทวาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
'''สงครามตีเมืองทวาย''' สงครามระหว่างสยามกับ[[ราชวงศ์คองบอง|อาณาจักรคองบอง]]ที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2330 และเป็นครั้งแรกที่รัชกาลที่ 1 ได้ยกกองทัพรุกรานเข้าไปถึงดินแดนของพม่าคือเมืองทวาย หลังจาก[[สงครามท่าดินแดง]] เมื่อ พ.ศ. 2329 รัชกาลที่ 1 จึงยกกองทัพไปเพื่อตอบโต้พม่าโดยเข้ายึดเมืองทวายแต่ด้วยเส้นทางที่สูงชันและยากลำบากในการเคลื่อนทัพทำให้กองทัพต้องขาดแคลนเสบียงอาหารรัชกาลที่ 1 จึงยกกองทัพกลับกรุงเทพมหานคร
 
== สงครามตีเมืองทวายครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2331 ==
 
=== เหตุการณ์นำ ===
หลังจากที่ฝ่ายสยามสามารถต้านทานการรุกรานของพม่าได้ในสงครามเก้าทัพและสงครามท่าดินแดง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯและกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทมีพระราชดำริ<ref name=":0">[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา]]. '''พงษาวดารเรื่องเรารบพม่า ครั้งกรุงธน ฯ แลกรุงเทพ ฯ'''.</ref>ที่ยกจัดทัพยกเข้าไปในดินแดนของพม่า แต่ในพ.ศ. 2330 พระเจ้าปดุงมีพระราชโองการให้โปมะยุง่วนหรืออาประกามนีเจ้าเมืองเชียงแสนยกทัพเข้ายึดเมืองฝางและเตรียมการเข้าโจมตีหัวเมืองล้านนา พระยาแพร่ชื่อมังไชยยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงแสน จับกุมตัวโปมะยุง่วนส่งให้แก่[[พระเจ้ากาวิละ|พระยากาวิละ]]เจ้าเมืองลำปาง พระยากาวิละจึงนำทั้งโปมะยุง่วนเจ้าเมืองเชียงแสนและพระยาแพร่มังไชยส่งลงมาถวายที่กรุงเทพฯ โปมะยุง่วนให้การว่าฝ่ายพม่ากำลังเตรียมทัพเข้ารุกรานเมืองลำปางและหัวเมืองล้านนาอีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯจึงมีพระราชโองการให้กรมพระราชวังบวรฯเสด็จขึ้นเหนือแต่งตั้งพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่และฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่เป็นเมืองร้างมาตั้งแต่พ.ศ. 2319 เพื่อป้องกันทัพของพม่าที่จะมาจากเชียงแสน
 
=== การจัดเตรียมทัพฝ่ายไทย ===
ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯมีพระราชโองการให้จัดทัพเข้ายกไปโจมตีเมืองทวาย โดยยกทัพจากกาญจนบุรีเข้าโจมตีเมืองทวายโดยตรงผ่านทางด่านวังปอ (ผ่านทางเขาท่าตะกั่ว [[แม่น้ำแควน้อย]] [[จังหวัดกาญจนบุรี]]) ซึ่งเป็นเส้นทางภูเขาสูงชัน ผ่านเมืองกลิอ่องแล้วเข้าเมืองทวาย กองกำลังฝ่ายไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 20,000 คน ประกอบด้วย;<ref name=":1">[[เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค)|ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา]]. '''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑'''. พิมพ์ครั้งที่ ๖.</ref>
 
* [[เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์)]] สมุหนายก [[เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี)]] สมุหกลาโหม และ[[เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)|พระยายมราช (บุนนาค)]] เป็นทัพหน้า
* พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯเสด็จเป็นทัพหลวง
** [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย|สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร]] เป็นยกกระบัตรทัพ
** [[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)|พระยาพระคลัง (หน)]] เป็นเกียกกาย
* [[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์|สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์]] เป็นทัพหลัง
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯเสด็จยกทัพออกจากกรุงเทพฯทางชลมารค เมื่อยกทัพเสด็จมาถึงยังท่าตะกั่ว ริมแม่น้ำน้อย จึงเสด็จยกทัพขึ้นบกตั้งทัพหลวงที่ท่าตะกั่ว และมีพระราชโองการให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) และพระยายมราช (บุนนาค) ยกทัพหน้าจำนวน 10,000 คน ล่วงหน้าไปก่อนไปทางด่านวังปอ จากนั้นจึงเสด็จยกทัพหลวงตามไป
 
=== การจัดเตรียมทัพฝ่ายพม่า ===
กองทัพพม่าที่ยกเข้ามารุกรานแหลมมลายูและภาคใต้ของไทยตั้งแต่สงครามเก้าทัพ ถึงพ.ศ. 2330 ยังคงปักหลักอยู่ที่เมืองทวาย<ref name=":1" /> มีแม่ทัพใหญ่คือแกงหวุ่นแมงยี พระเจ้าปดุงทรงแต่งตั้งแมงจันจาให้มาเป็นเจ้าเมืองทวายคนใหม่ แทนที่เจ้าเมืองทวายคนเดิมชื่อว่าทวายหวุ่น เมื่อฝ่ายพม่าเมืองทวายทราบว่าฝ่ายไทยกำลังยกทัพข้ามมาทางด่านวังปอ แกงหวุ่นแมงยีจึงมีหนังสือไปทูลพระเจ้าปดุงเรื่องข่าวทัพไทย และมีคำสั่งให้จัดเตรียมทัพตั้งรับทัพไทย;
 
* นัดมิแลง แม่ทัพพม่า ตั้งรับทัพของฝ่ายไทยที่ด่านวังปอ จำนวน 3,000 คน
* ทัพพม่าจำนวน 1,000 คน ตั้งรับทัพฝ่ายไทยที่เมืองกลิอ่อง
* ทวายหวุ่น เจ้าเมืองทวายคนก่อน ตั้งรับทัพฝ่ายที่ ที่ทุ่งระหว่างเมืองกลิอ่องและเมืองทวาย จำนวน 2,000 คน
* แกงหวุ่นแมงยี และแมงจันจาเจ้าเมืองทวาย อยู่รักษาเมืองทวาย
 
=== การรบ ===
ทัพหน้าของเจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน) เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) และพระยายมราช (บุนนาค) ยกทัพข้ามผ่านเทือกเขาตะนาวศรี ให้พระยาสุรเสนาและพระยามหาอำมาตย์นำทัพหน้าจำนวน 5,000 คน ล่วงหน้าไปก่อน เข้าโจมตีทัพของนัดมิแลงที่ด่านวังปอในวันศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือนสาม (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2331)<ref name=":1" /> พระเสนานนท์นำทัพฝ่ายไทยเข้าโจมตีฝ่ายพม่าก่อน พระเสนานนท์ถูกปืนของฝ่ายพม่าที่ขาซ้าย พระมหาอำมาตย์จึงยกทัพเข้าโจมตีฝ่ายพม่า ฝ่ายพม่าสามารถต้านทานได้พระยามหาอำมาตย์ถอยกลับออกมา พระยาสุรเสนาและพระยาสมบัติบาลถูกปืนของพม่าเสียชีวิตในที่รบ '''การรบที่ด่านวังปอ'''กินเวลาร่วมสองสัปดาห์ จนกระทั่งเจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาจึงยกทัพเข้าช่วยกองหน้าของพระยามหาอำมาตย์ในวันแรม 10 ค่ำ เดือนสาม นัดมิแลงแม่ทัพพม่าไม่สามารถต้านการฝ่ายไทยได้อีกต่อไปถึงพ่ายแพ่ถอยร่นไปยังเมืองกลิอ่อง เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาจึงเข้ายึดด่านวังปอได้สำเร็จแล้วส่งม้าเร็วมากราบทูลฯที่ทัพหลวง
 
เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนายกทัพหน้าลงไปยังเมืองกลิอ่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯจึงเสด็จยกทัพหลวงขึ้นตามไปยังด่านวังปอ เส้นทางข้ามเทือกเขาตะนาวศรีที่ด่านวังปอเป็นเส้นทางที่สูงชันและกันดาร การยกทัพหลวงข้ามด่านวังปอเป็นไปด้วยความยากลำบาก จะทรงช้างที่นั่งขึ้นไปไม่ได้ ต้องผูกราวตามต้นไม้แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาท<ref name=":0" /><ref name=":1" />ยึดราวเหนี่ยวพระองค์ขึ้นไปแต่เช้าจนเที่ยงจึงถึงยอดเขา บรรดาช้างศึกต้องใช้งวงดึงตัวเองขึ้นเขาไป ช้างบางเชือกพลัดตกจากเขาพร้อมกับควาญช้างถึงแก่ความตาย อุปกรณ์สรรพาวุธต้องนำลงจากหลังช้างและใช้กำลังคนแบกขึ้นเขาไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯจึงตรัสว่า "''ไม่รู้ว่าทางนี้เดินยากพาลูกหลานมาได้ความลำบากยิ่งนัก''"<ref name=":1" /> การเสด็จนำทัพลงเขาอีกฝั่งหนึ่งนั้นก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน
 
เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนายกทัพลงไปจนถึงเมืองกลิอ่อง เมื่อทัพหลวงเสด็จถึงด่านวังปอแล้ว จึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาเร่งโจมตียึดเมืองกลิอ่องให้ได้โดยเร็ว เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาจึงยกทัพเข้าตีเมืองกลิอ่องในวันขึ้น 2 ค่ำ เดือนสี่ (มีนาคม พ.ศ. 2331) นำไปสู่'''การรบที่เมืองกลิอ่อง''' ทวายหวุ่นและนัดมิแลงซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองกลิอ่องออกสู้รบกับฝ่ายไทย การรบดำเนินตั้งแต่เช้าจนกลางคืน ทวายหวุ่นและนัดมิแลงไม่อาจต้านทานฝ่ายไทยได้อีกต่อไปจึงเปิดประตูเมืองด้านหลังถอยทัพกลับไปยังเมืองทวาย เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาจึงเข้ายึดเมืองกลิอ่องได้สำเร็จอีกเมืองหนึ่ง
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯมีพระราชโองการให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนายกทัพไปโจมตีทัพของทวายหวุ่นที่ทุ่งระหว่างเมืองกลิอ่องและเมืองทวายให้แตกพ่ายในหนึ่งวัน ทวายหวุ่นได้ตั้งค่ายชักปีกกาไว้ก่อนแล้ว ฝ่ายพม่าปราชัยและถอยกลับเข้าไปยังเมืองทวาย แกงหวุ่นแมงยีและแมงจันจาเจ้าเมืองทวาย เกรงว่าชาวเมืองทวายจะกบฏหันไปเข้าไปฝ่ายไทย<ref name=":0" /> จึงละทิ้งเมืองทวายไปตั้งทัพอยู่นอกเมืองให้ทัพฝ่ายไทยเข้ายึดเมืองทวายได้โดยง่าย ฝ่ายทัพของเจ้าพระยารัตนาพิพิธและเจ้าพระยามหาเสนาเข้าประชิดเมืองทวายวันที่แรม 9 ค่ำเดือนสี่ ไม่เห็นมีทหารพม่าขึ้นประจำการที่เชิงเทินป้อมปราการของเมือง เกรงว่าจะเป็นอุบายของฝ่ายพม่า<ref name=":1" />ที่ให้ฝ่ายไทยเข้ายึดเมืองทวายแล้วฝ่ายพม่าจึงล้อมเมืองทวายอีกทีหนึ่ง จึงยังไม่เข้ายึดเมืองทวายแต่ตั้งทัพอยู่นอกเมืองเช่นกัน ฝ่ายแกงหวุ่นแมงยีและแมงจันจาเห็นว่าฝ่ายไทยไม่เข้ายึดเมืองทวายและชาวเมืองทวายยังไม่ไปเข้าพวกฝ่ายไทย จึงยกทัพกลับเข้ารักษาเมืองทวายอีกครั้ง
 
== สงครามตีเมืองทวายครั้งที่สอง พ.ศ. 2335 ==
 
== กบฏเมืองทวาย พ.ศ. 2336 ==
 
== อ้างอิง ==
<references />
[[หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับไทย]]
[[หมวดหมู่:สงครามในคริสต์ศตวรรษที่ 18]]