ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามเก้าทัพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ|สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์|สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[พระองค์เจ้าขุนเณร]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์)]] <br>
[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี)]] <br>
เส้น 38 ⟶ 37:
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
 
'''สงครามเก้าทัพ''' หรือ'''สงครามพม่า-สยาม พ.ศ. 2328-2329''' (Burmese-Siamese War 1785-1786) เป็นสงครามระหว่าง[[ราชวงศ์คองบอง|อาณาจักรพม่า]]กับ[[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช)|อาณาจักรรัตนโกสินทร์]]ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] หลังจากการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีได้เพียงห้าปี [[พระเจ้าปดุง]]กษัตริย์แห่งพม่า[[ราชวงศ์โก้นบอง]]มีพระราชโองการให้ยกทัพเข้าโจมตีอาณาจักรสยามเป็นจำนวนเก้าทัพมาจากหลายทิศทาง ฝ่ายสยามถึงแม้มีกำลังพลน้อยกว่าแต่สามารถต้านทานการรุกรานของพม่าได้สำเร็จ ทำให้ฝ่ายพม่าต้องปราชัย สงครามเก้าทัพเป็นการรุกรานของพม่าครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ และนำไปสู่[[สงครามท่าดินแดง]]ในปีต่อมาพ.ศ. 2329 สงครามเก้าทัพและสงครามท่าดินแดงเป็นการรุกรานของพม่าครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายใน[[ประวัติศาสตร์ไทย]]
 
== เหตุการณ์นำ ==
เส้น 128 ⟶ 127:
 
== ผลลัพธ์และบทสรุป ==
การรุกรานของพม่าในครั้งสงครามเก้าทัพนี้มีความแตกต่างจากการรุกรานในครั้งก่อนหน้า ฝ่ายพม่าจัดทัพเข้ามาหลายช่องทาง แต่การที่ฝ่ายพม่าจัดทัพเข้ามาหลายเส้นทางทำให้ยากที่จะประสานร่วมมือกันหรือเดินทางให้มาถึงที่หมายพร้อมกัน<ref name=":1" /> อีกทั้งปัญหาที่สำคัญสำหรับพระเจ้าปดุงและทัพฝ่ายพม่าคือภาวะขาดแคลนเสบียง เป็นสาเหตุสำคัญ<ref name=":12" />ที่ทำให้สงครามในครั้งนี้พม่าต้องประสบกับความปราชัย
 
หลังจากที่สงครามเก้าทัพสิ้นสุดลง มีการปูนบำเหน็จผู้ที่มีความชอบต่างๆในสงครามครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีพระราชโองการให้แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ขึ้นเป็น[[กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข]]หรือ"กรมพระราชวังหลัง" คุณหญิงจันและคุณหญิงมุกแห่งเมืองถลาง ผู้นำกำลังป้องกันการรุกรานของพม่า ได้รับการแต่งตั้งเป็น[[ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร|''ท้าวเทพกระษัตรี''และ''ท้าวศรีสุนทร'']]ตามลำดับ พระยาอุไทยธรรม (บุนนาค) ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยายมราช เจ้ากรมพระนครบาลแทนที่พระยายมราชคนเดิมที่ถูกปลดจากตำแหน่งไป สำหรับอดีตเจ้าพระยาธรรมธิกรณ์ (บุญรอด) และอดีตพระยายมราช (ทองอิน) นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเห็นว่าเป็นผู้มีความชอบมาแต่ครั้งอดีต และรู้ธรรมเนียมในกรมวังและกรมพระนครบาลอย่างดี แม้มีความประมาทในการสงคราม จึงทรงแต่งตั้งอดีตเจ้าพระยาธรรมธิกรณ์ (บุญรอด) เป็น''พระยาศรีธรรมาธิราช''ช่วยราชการกรมวัง และทรงแต่งตั้งอดีตพระยายมราช (ทองอิน) เป็น''พระยามหาธิราช'' ช่วยราชการกรมพระนครบาล ตามลำดับ