ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ่างล้างบาป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 22:
ใน[[นิกายออร์ธอด็อกซ์ตะวันออก]] (Eastern Orthodox) พิธีรับศีลจุ่มจะจุ่มลงในน้ำสามครั้งแม้แต่สำหรับทารก (การพรมจะอนุญาตในบางกรณีเท่านั้น “[[:en:List of Latin phrases (F–O)#I|in extremis]]”) ฉนั้นอ่างศีลจุ่มของนิกายออร์ธอด็อกซ์ตะวันออกจึงมักจะใหญ่กว่าทางตะวันตกและจะมีลักษณะเหมือน[[ถ้วยศักดิ์สิทธิ์]] (chalice) ซึ่งสำคัญตรงที่ว่าหลังจากที่ทารกรับศีลแล้วก็จะทำพิธีรับศีลมหาสนิท (Holy Communion) ต่อ อ่างศีลจุ่มก็มักจะทำจากหินหรือไม้ ระหว่างทำพิธีก็จะจุดเทียนสามแท่งรอบอ่างสำหรับพระตรีเอกภาพ น้ำที่ใช้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า “Theophany Water” เป็นน้ำที่ผ่านการเจิมระหว่างวันสมโภช Epiphany ในวันที่ ุ6 มกราคมของทุกปีเพื่อฉลองการมาปรากฏตัวของ[[พระเยซู]]ในร่างของมนุษย์ การเจิมก็จะเป็นสองขั้นๆ แรกจะเจิมอ่างศีลจุ่ม ขั้นที่สองจะเจิมน้ำที่ใช้ในอ่าง
 
ใน[[นิกายโรมันคาทอลิก]]โดยเฉพาะหลังจากจากการประชุมสภาวาติกันครั้งที่ 2 (Second Vatican Council) เมื่อปี ค.ศ. 1962-1965 ก็กล่าวถึงนโยบายการทำพิธีศีลจุ่ม ปัจจุบันนโยบายของสถาบัน[[นิกายโรมันคาทอลิก|คาทอลิก]]จะสนับสนุนการมีอ่างศีลจุ่มที่เหมาะการรับศีลแบบที่ให้ทารกหรือเด็กจุ่มลงไปได้ทั้งตัวหรืออย่างน้อยก็เป็นที่ที่สามารถราดรดน้ำผู้ใหญ่ให้เปียกได้ทั้งตัวได้ อ่างศีลจุ่มควรจะตั้งอยู่ที่ที่มองเห็นง่าย สะดวกต่อการทำพิธี และมีน้ำไหล
 
==อ้างอิง==