ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดิอิมพอสซิเบิ้ล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kiss Kitisupor (คุย | ส่วนร่วม)
ที่มาทำนองเพลงสากล
ดิอิมพอสซิเบิ้ล
บรรทัด 31:
 
วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เข้าร่วมการประกวดวงสตริงคอมโบ จัดโดย[[สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย]]ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ปีติดต่อกัน <ref>[http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031103&tag950=03you30211047&show=1 รู้ไปโม้ด.. มติชน]</ref> ในช่วงปี 2512-2515 วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เปลี่ยนชื่อเป็น ดิอิมพอสซิเบิ้ล (The Impossibles) ชื่อนี้ตั้งโดยเศรษฐา ตามชื่อภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ จากสหรัฐอเมริกา คือเรื่อง The Impossibles (1966) <ref>http://www.oknation.net/blog/kilroy/2007/06/02/entry-2</ref><ref>[[:en:The Impossibles (TV series)]]</ref>
 
=== โด่งดัง ===
ช่วงหลังจากชนะเลิศในปีแรก ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในวงเมื่อ สุเมธ แมนสรวง ได้ลาออกไป และทางวงได้ สิทธิพร อมรพันธุ์ จากวงฟลาวเวอร์และได้ [[ปราจีน ทรงเผ่า]] จากวงเวชสวรรค์ เข้ามาร่วมวงแทน ช่วงเวลาดังกล่าว ดิ อิมพอสซิเบิ้ล ได้รับการชักชวนจาก[[เปี๊ยก โปสเตอร์]] ซึ่งเป็น[[ผู้กำกับภาพยนตร์]] ให้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง[[โทน (ภาพยนตร์)|โทน]]
 
หลังจากได้รับการติดต่อให้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์ ทางวงจึงได้บันทึกเสียงผลงานเพลงของตัวเองครั้งแรกในปลายปี พ.ศ. 2512 จากการแต่งของ[[ปราจีน ทรงเผ่า]] และ [[พยงค์ มุกดา]] ในเพลง เริงรถไฟ ,ชื่นรัก และ ปิดเทอม เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยหลังจากภาพยนตร์เรื่องโทน ออกฉายในปี พ.ศ. 2513 และประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้ค่ายหนังสุวรรณ ฟิล์ม ได้ออกอัลบั้มชุด[[เพลงประกอบภาพยนตร์โทน]] ในเวลาต่อมา ซึ่งอัลบั้มดังกล่าวถือเป็นอัลบั้มที่มีผลงานการบันทึกเสียงเสียงครั้งแรกของวงดิ อิมพอสซิเบิ้ล และทำเป็น[[แผ่นเสียง]] โดยมีเพลงของทางวงรวมอยู่ 3 เพลง
 
ดิ อิมพอสซิเบิ้ล ได้รับความสำเร็จอย่างท่วมท้น ระยะเวลานั้นดิอิม เล่นประจำอยู่ที่ The Fox ไนท์คลับ ในศูนย์การค้าเพลินจิตอาเขด แห่งเดียว ส่วนการแสดงตามโรงภาพยนตร์ในรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ไทย หรือการแสดงในรอบเช้า 6.00 นาฬิกา ร่วมกับการฉายภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในยุคนั้น (ภาพยนตร์ไทยเรื่อง [[เก๋า..เก๋า]] พ.ศ. 2549 ได้นำเสนอบรรยากาศของเรื่องการแสดงรอบเช้าของดิอิมด้วย) รวมถึงการแสดงตามเวทีลีลาศทั้งที่สวนลุมพินี สวนอัมพร ซึ่งมีขึ้นประจำทุกวันศุกร์หรือเสาร์ ช่วงปี 2511-2515 กลายเป็นปีทองของวงดิอิมอย่างแท้จริงราวปี พ.ศ. 2516-2518
 
=== ออกแสดงต่างประเทศครั้งแรกและความเปลี่ยนแปลงในวง ===
ดิอิมพอสซิเบิ้ล มีชื่อเสียง และได้ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก ผลงานแผ่นเสียงขายดีที่สุดในยุคนั้น ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในกลางปี 2515 ดิอิมพอสซิเบิ้ล ได้รับทาบทามให้ไปทำการแสดงที่รัฐ[[ฮาวาย]] [[สหรัฐ]] ในครั้งนี้ได้เพิ่มยงยุทธ มีแสง ทรัมเป๊ตจากวงวิชัย อึ้งอัมพร ร่วมวงไปด้วย ตลอดเวลา 1 ปีใน ฮาวาย ดิอิมพอสสิเบิลส์ได้รับความนิยมและความสำเร็จมากมาย เป็นวงดนตรีแรกที่ทำสถิติยอดขายต่อคืนสูงสุดตั้งแต่เปิดทำการของคลับที่แสดงอยู่ชื่อ ฮาวายเอี้ยนฮัท โรงแรมอลาโมอานา (ที่มีศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน) ดิอิมซ้อมหนักมาก พิชัย ทองเนียม มือเบส ขอลาออก เศรษฐาต้องไปเล่นเบส ทำให้ไม่สะดวกในการร้องนำ จึงทำให้เกิดความคิดที่จะเรียก[[เรวัติ พุทธินันท์]](เต๋อ) นักร้องนำวงเดอะแธ้งค์ ซึ่งเคยเล่นสลับที่อิมพอสสิเบิลส์คาเฟ่มาเป็นนักร้องนำแทนเศรษฐา ช่วงที่เต๋อเข้ามาได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นของการบรรเลง โดยได้เน้นเพลงที่มีเครื่องเป่ามากขึ้น และเป็นเพลงที่เหมาะกับการเต้น เช่นเพลงของวง [http://www.towerofpower.com Tower of Power] เป็นต้น ขณะที่แสดงที่นั้นได้มีนักร้องศิลปินดัง ๆ ของโลกมาเปิดการแสดงที่ฮาวาย ทำให้วงดิอิม ได้ใช้ประสบการณ์ในการเข้าชมศิลปินดัง ๆ เหล่านี้มาปรับปรุงการแสดงของวงให้พัฒนาขึ้นตลอดเวลา
 
ดิอิมหมดสัญญาที่ฮาวายในเดือนสิงหาคม 2516 และได้เดินทางกลับเมืองไทยพร้อมกับผู้จัดการวงใหม่ ชื่อจรัล นันทสุนานนท์ (ปัจจุบัน ดร.พุทธจรัล) เพื่อให้มีการจัดการวงในรูปแบบสากลอย่างมีระบบ ต้นเดือนพฤศจิกายน 2516 หลังเหตุการณ์[[วันมหาวิปโยค]] ดิอิม ได้เข้าทำการแสดง ณ เดอะเดนไนท์คลับ [[โรงแรมอินทรา]] ประตูน้ำเป็นเวลา 6 เดือน และที่เดอะเดนนี้เอง ดิอิม ได้สร้างระบบใหม่ในการเข้าชมของวง โดยมีการเก็บค่าชม ก่อนการเข้าไปในคลับ ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกของเมืองไทยและวงดนตรีไทย ในช่วงนี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้ง ได้สมชาย กฤษณเศรณี(ปึ๊ด) มาเล่นเบสแทนเศรษฐา และปรีด์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา(เปี๊ยก)มาเล่นกลองแทนอนุสรณ์ พัฒนกุล ได้ให้เรวัติเป็นนักร้องนำและเล่นออร์แกน เศรษฐาได้กลับไปเป็นนักร้องนำตามเดิม
=== ดิอิมฯ ในยุโรปเหนือ ===
การเดินทางเริ่มขึ้นอีกครั้งหลังหมดสัญญาที่เดอะเดน วงดิอิมได้รับการติดต่อไปแสดงในประเทศแถบสแกนดิเนียเวีย เริ่มจาก[[ประเทศสวีเดน]] [[ฟินแลนด์]] [[นอร์เวย์]] ตั้งแต่เดือน มิถุนายนถึงธันวาคม 2517 จากนั้นกลับเมืองไทย และเปลี่ยนมือเบส ไพฑูรย์ วาทยะกร เข้ามาแทนสมชาย เดือนมิถุนายน 2518 ไปยุโรปอีกครั้ง เริ่มที่สวีเดน ฟินแลนด์ ข้ามไป[[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์]] กลับมาสวีเดนอีกและไปจบที่สวิสในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 กลับเมืองไทย เล่นที่โรงแรมมณเฑียรเหมือนเดิม
 
ในปี 2518 ระหว่างการกลับไปตระเวนแสดงในยุโรปครั้งที่ 2 ดิอิมพอสสิเบิ้ล ได้ทำการบันทึกเสียงเพลงสากลเป็นครั้งแรกของวง ในชื่ออัลบั้ม [[Hot pepper]]
 
=== ยุคปลาย===
หลังจากนี้ถือได้ว่าเกือบเป็นปลายยุคของวง ได้มีการประชุมตกลงที่จะยุบวง หลังจากวงมีอายุรวมกันมาถึง 9 ปี มีการแถลงข่าวยุบวงอย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชนช่วงเดือนเมษายน 2519 หลังจากนั้นได้เดินทางไปเล่นที่โรงแรมมาเจสติค [[กรุงไทเป]] [[ไต้หวัน]] โดยทำสัญญาเดือนต่อเดือน พอเริ่มทำงานหมดเดือนแรก เรวัติออกไปก่อน และได้เดินทางไปทำงานที่สวีเดน 3 เดือน ในไต้หวันทำงานค่อนข้างหนัก เพราะต้องแสดงทั้งกลางวันและกลางคืน (1 มิถุนายน-4 กันยายน 2519) หลังกลับเมืองไทยดิอิมได้แสดงในช่วงสุดท้ายที่คลับโรงแรมแมนฮัตตัน ทอปเปอร์คลับ [[ตึกนายเลิศ]] และที่เดอะฟ๊อกซ์ ชั้นใต้ดินศูนย์การค้า[[เพลินจิต]] โดยทำการแสดงคืนละ 3 แห่ง ในราวเดือนตุลาคม 2519 ก็ได้หยุดทำการแสดงอย่างเป็นการถาวรในนาม ดิอิมพอสซิเบิ้ล วงดนตรีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นตำนานของวงดนตรีสากลแบบสตริงคอมโบ วงดนตรีขวัญใจวัยรุ่นของประเทศไทย
 
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2521 ดิอิมพอสซิเบิ้ล ได้กลับมาบันทึกผลงานเพลงชุดใหม่ ในชื่ออัลบั้ม ''ผมไม่วุ่น'' เขียนเนื้อร้อง ทำนองโดย [[สุรพล โทณะวณิก]] ในอัลบั้มนี้มีเพลงเด่นๆ อย่าง ผมไม่วุ่น , เห็นแล้วหิว , มาจู๋จี๋กันไหม และ เมดเล่ย์อิมพอสซิเบิ้ล ที่เป็นการนำเพลงดังหนังไทยในอดีตคือ [[ชื่นรัก (เพลง)|ชื่นรัก]] , ลำนำรัก, หนาวเนื้อ และ โอ้รัก มารวมทำเป็นเมดเล่ย์ในเพลงเดียว แต่ทว่าไม่ประสบความสำเร็จทางยอดขายเท่าที่ควร ก่อนจะแยกย้ายกันไปอีกครั้ง
 
ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2533 ทางวงได้กลับมาออกอัลบั้มอีกครั้งกับ[[นิธิทัศน์ โปรโมชั่น]] โดยเป็นการนำเอาเพลงในอดีตของวงกลับมาบรรเลงใหม่และเพิ่มเพลงใหม่ลงไปในอัลบั้ม
เส้น 162 ⟶ 140:
* คมกุหลาบ-จากภาพยนตร์เรื่อง คมกุหลาบ (2519)
* ในช่วงปี 2517 บริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ ได้จัดสร้างภาพยนตร์เรื่องเป็นไปไม่ได้ โดยมี[[รงค์ วงษ์สวรรค์]] เป็นผู้เขียนเรื่องและบทภาพยนตร์ มีเพลงประกอบที่สำคัญคือ เพลงเป็นไปไม่ได้ กังวลทะเล ผมเป็นโคบาลไทย และเพลงกุลา(ผลงานของสุรชัย จันทิมาธร) แต่งานสร้างประสบความล้มเหลว ไม่สามารถสร้างให้จบได้
 
=== ผลงานภาพยนตร์ ===
 
* โทน (2513)
* รักกันหนอ (2514)
* หนึ่งนุช (2514)
* ดวง (2514)
* ค่าของคน (2514)
* สะใภ้หัวนอก (2514)
* สวนสน (2515)
* ระเริงชล (2515)
* ลานสาวกอด (2515)
* จันทร์เพ็ญ (2515)
* สายชล (2516)
* ฝ้ายแกมแพร (2518)
* พ่อม่ายทีเด็ด (2520)
* มนต์รักแม่น้ำมูล (2520)
* คนละทาง (2520)
* รักคุณเข้าแล้ว (2520)
* คู่ทรหด (2520)
* แผลเก่า (2520)
* เมืองอลเวง (2520)
* ทรามวัยใจเด็ด (2520)
* ชื่นชีวานาวี (2520)
* วัยเสเพล (2520)
* เก้าล้านหยดน้ำตา (2520)
* 123 ด่วนมหาภัย (2520)
* พ่อครัวหัวป่าก์ (2521)
* คนหลายเมีย (2521)
* รักเต็มเปา (2521)
* คู่รัก (2521)
* 4 อันตราย (2521)
* เพลงรักเพื่อเธอ (2521)
* ใครว่าข้าชั่ว (2521)
* รักเธอเท่าช้าง (2521)
* อีโล้นซ่าส์ (2521)
* โก๋บ้านนอกกี๋บางกอก (2521)
* รักระแวง (2521)
* หอหญิง (2521)
* กาม (2521)
* แตกหนุ่มแตกสาว (2521)
* ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง (2521)
* ยิ้มสวัสดี (2521)
* หัวใจกุ๊กกิ๊ก (2521)
* ผ้าขี้ริ้วหัวเราะ (2521)
* สิงห์สะเปรอะ (2521)
* จำเลยรัก (2521)
* ตึ่งนั้ง (2521)
* แผ่นเสียงตกร่อง (2522)
* ฐานันดร 4 (2522)
* บี้ บอด ใบ้ (2522)
* มนุษย์ 100 คุก (2522)
* นักรักรุ่นกระเตาะ (2522)
* กามเทพหลงทาง (2522)
* น้ำใต้ศอก (2522)
* ชื่นรัก (2522)
* ร้ายก็รัก (2522)
* ลูกทาส (2522)
* รักประหาร (2522)
* อยู่อย่างเสือ (2522)
* พลิกล็อก (2522)
* พ่อกระดิ่งทอง (2522)
* สมบัติเจ้าคุณปู่ (2522)
* วิมานไฟ (2522)
* แดร๊กคูล่าต๊อก (2522)
* ผมรักคุณ (2522)
* ฝนตกแดดออก (2523)
* เดิมพันชีวิต (2523)
* ผีหัวขาด (2523)
* ผิดหรือที่จะรัก (2523)
* ลูกทุ่งดิสโก้ (2523)
* บัวสีน้ำเงิน (2523)
* ถึงอย่างไรก็รัก (2523)
* ทหารเกณฑ์ ภาค 1 (2523)
* กิ่งทองใบตำแย (2523)
* จากครูด้วยดวงใจ (2523)
* ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน (2523)
* เมียสั่งทางไปรษณีย์ (2523)
* หยาดพิรุณ (2523)
* พ่อจ๋า (2523)
* อาอี๊ (2523)
* รุ้งเพชร (2523)
* ยอดตาหลก (2523)
* ทหารเกณฑ์ ภาค 2 (2523)
* สุดทางรัก (2524)
* สิงห์คะนองปืน (2524)
* ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง (2524)
* หาเมียให้ผัว (2524)
* พ่อปลาไหล (2524)
* รักครั้งแรก (2524)
* กามนิต วาสิฎฐี (2524)
* ยอดรักผู้กอง (2524)
* เขยขัดดอก (2524)
* จู้ฮุกกรู (2524)
* คำอธิษฐานของดวงดาว (2524)
* แม่กาวาง (2524)
* ทหารเรือมาแล้ว (2524)
* หญิงก็มีหัวใจ (2524)
* พระเอกรับจ้าง (2525)
* เพชฌฆาตหน้าเป็น (2525)
* ยอดเยาวมาลย์ (2525)
* กระท่อมนกบินหลา (2525)
* รักข้ามรุ่น (2525)
* ตามรักตามฆ่า (2525)
* มนต์รักก้องโลก (2526)
* พระจันทร์สีเลือด (2526)
* พระจันทร์เปลี่ยนสี (2526)
* ล่าข้ามโลก (2526)
* สงครามเพลง (2526)
* รักกันวันละนิด (2526)
* ทุ่งปืนแตก (2526)
* เงิน เงิน เงิน (2526)
* แม่ยอดกะล่อน (2526)
* ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 9 (2526)
* ไอ้แก้วไอ้ทอง (2526)
* แม่ดอกกระถิน (2526)
* ดวงนักเลง (2526)
* 7 พระกาฬ (2526)
* เห่าดง (2526)
* มหาเฮง (2526)
* มดตะนอย (2527)
* เสือลากหาง (2527)
* สัจจะมหาโจร (2527)
* แล้วเราก็รักกัน (2527)
* อีแต๋น ไอเลิฟยู (2527)
* ลูกสาวคนใหม่ (2527)
* เด็กปั๊ม (2527)
* ถล่มเจ้าพ่อ (2527)
* เลดี้ฝรั่งดอง (2527)
* รักสุดหัวใจ (2527)
* หลานสาวเจ้าสัว (2528)
* หยุดโลกเพื่อเธอ (2528)
* รักคือฝันไป (2528)
* ครูสมศรี (2529)
* เจ้าสาวมะลิซ้อน (2529)
* แม่ดอกรักเร่ (2529)
* เฮงได้ เฮงดี รักนี้ (2530)
* พรหมจารีสีดำ (2530)
* ก้อ...โอเคนะ (2530)
* พ่อมหาจำเริญ (2531)
* คนกลางเมือง (2531)
* ครูไหวใจร้าย (2533)
* ห้าวเล็ก ๆ (2533)
* วิมานมะพร้าว (2534)
* ตุ๊ ต๊ะ ต๋อม แต๋ม สุภาพบุรุษตัว ต. (2537)
* มัจจุราชตามล่าข้าไม่สน (2541)
* โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน (2542)
* เก๋า เก๋า (2549)
* คู่แรด (2550)
* บิ๊กบอย (2553)
* ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (2554)
* ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง (2554)
 
=== เพลงที่มีชื่อเสียง ===