ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่
บรรทัด 16:
 
=== โทรทัศน์ขาวดำระบบ[[สหรัฐ]] (2498-2510) ===
โดยในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ก็เริ่มทดลองส่งแพร่ภาพโทรทัศน์ไปพลางก่อน จากห้องส่งของ[[สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท.]] ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติจัดสรรให้ บจก.ไทยโทรทัศน์ ดำเนินการเพื่อระดมทุนทรัพย์สำหรับบริหารงาน และเพื่อฝึกฝนบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ พร้อมทั้งเตรียมงานส่วนอื่นไปด้วย จนกว่าจะก่อสร้างอาคารที่ทำการพร้อมติดตั้งเครื่องส่งเสร็จสมบูรณ์ ระหว่างนั้น คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เลือกใช้ ระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้น 30 อัตราภาพ ซึ่งใช้อยู่ในสหรัฐ เป็นผลให้ บจก.ไทยโทรทัศน์ จัดซื้อเครื่องส่งขนาด 10 กิโลวัตต์ ของบริษัท เรดิโอ คอร์ปอเรชั่น ออฟ อเมริกา (Radio Corporation of America) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อย่อว่า อาร์.ซี.เอ. (RCA) มาใช้สำหรับการออกอากาศ และวางแผนดำเนินการแพร่ภาพ ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมาก (Very High Frequency; VHF) ทางช่องสัญญาณที่ 4 ซึ่งเมื่อรวมกับชื่อสถานที่ตั้งสถานีฯ ดังกล่าวข้างต้น ในระยะต่อมา ผู้ชมทั่วไปจึงนิยมเรียกชื่อลำลองว่า ''ช่อง 4 บางขุนพรหม'' และเริ่มแพร่ภาพในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งตรงกับ[[วันชาติ (ประเทศไทย)|วันชาติไทย]]ในสมัยนั้น โดยมี[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล แปลก พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด ''[[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4]]'' ({{lang-en|Thai Television Channel 4}} [[อักษรย่อ|ชื่อย่อ]]: ไทย ที.วี. ชื่อรหัส: HS1-TV) ขึ้นเป็นแห่งแรกของ[[ประเทศไทย]] และเป็นช่อง​แรกช่องเดียว​แห่งแรกของทวีปเอเชีย บนภาคพื้นเอเชียแผ่นดินใหญ่ (Asia Continental)
 
ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์|จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] [[ผู้บัญชาการทหารบก]]ในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง ''คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก'' ประกอบด้วย [[ไสว ไสวแสนยากร|พลเอก ไสว ไสวแสนยากร]] ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการ และ[[การุณ เก่งระดมยิง|พันเอก (พิเศษ) การุณ เก่งระดมยิง]] เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำ''โครงการจัดตั้ง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]]'' พร้อมทั้งวางแผนอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงให้อำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผล ตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ [[24 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน คณะกรรมการดังกล่าว ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีฯ ภายในบริเวณ[[กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์]] สนามเป้า [[ถนนพหลโยธิน]] แขวงสามเสนใน [[เขตพญาไท]] โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนก่อสร้างและจัดหาอุปกรณ์ เป็นจำนวน 10,101,212 บาท
 
เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก]]'' (ชื่อรหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.) เริ่มต้นออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์เป็นแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ด้วยรถตู้ถ่ายทอดนอกสถานที่ ซึ่งที่จอดไว้หน้าหน้า[[สวนอัมพร|อาคารสวนอัมพร]] โดยแพร่ภาพขาวดำ ด้วยระบบ 525 เส้น 30 อัตราภาพ ผ่านคลื่นวิทยุความถี่สูงมากเช่นกัน แต่ออกอากาศทางช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งของบริษัทปายแห่งอังกฤษ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ ทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีกได้ 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ สำหรับเนื้อหาที่แพร่ภาพนั้น นอกจากไทยทีวีช่อง 4 จะนำเสนอรายการสนทนา ตอบคำถามชิงรางวัล และการแสดงต่าง ๆ รวมถึงละคร ซึ่งออกอากาศตามปกติแล้ว รัฐบาลยังสั่งให้นำเสนอรายการพิเศษ ในโอกาสที่สำคัญต่างๆ หลายครั้งเช่น แถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี, ถ่ายทอดการประชุม[[สภาผู้แทนราษฎรไทย|สภาผู้แทนราษฎร]]หลายครั้ง รวมทั้งถ่ายทอด[[งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ]]ด้วย ส่วน ททบ.7 นำเสนอ[[สารคดี]] [[ภาพยนตร์]][[ต่างประเทศ]] และเกมโชว์เปิดแผ่นป้ายชิงรางวัล ร่วมกับรายการพิเศษ เช่นถ่ายทอดการฝึกทหารยามปกติในชื่อ "การฝึกธนะรัชต์" เป็นต้น
 
คณะรัฐมนตรีลงมติเมื่อปี พ.ศ. 2502 อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยงานระดับกอง สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ ขึ้นในส่วนภูมิภาค ภายใต้ชื่อว่า "ศูนย์ประชาสัมพันธ์เขต" (ปัจจุบันคือ [[สำนักประชาสัมพันธ์เขต]]) พร้อมทั้งเริ่มจัดตั้ง [[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค|สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย]] ภายในที่ทำการของศูนย์ประชาสัมพันธ์เขตทั้งสามแห่ง ด้วยงบประมาณ 25 ล้านบาท ซึ่งทยอยเริ่มออกอากาศ ตั้งแต่ราวเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2505 และใช้เครื่องส่ง 500 วัตต์ แพร่ภาพด้วยระบบขาวดำ 525 เส้น 30 อัตราภาพเช่นเดียวกับในส่วนกลาง ประกอบด้วย สทท.[[จังหวัดลำปาง]] ใน[[ภาคเหนือ]] ทางช่องสัญญาณที่ 8, สทท.[[จังหวัดขอนแก่น]] ใน[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] ทางช่องสัญญาณที่ 5 และ สทท.[[จังหวัดสงขลา]] ใน[[ภาคใต้]] ทางช่องสัญญาณที่ 9 ต่อมาภายหลัง กรมประชาสัมพันธ์ทยอยดำเนินการปรับปรุงเครื่องส่งให้เป็นระบบสีทั้งหมด ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 12 แห่ง คือ ภาคเหนือ ที่[[จังหวัดเชียงใหม่|เชียงใหม่]]และ[[จังหวัดพิษณุโลก|พิษณุโลก]], ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่นและ[[จังหวัดอุบลราชธานี|อุบลราชธานี]], [[ภาคกลาง]] ที่[[จังหวัดกาญจนบุรี|กาญจนบุรี]], [[ภาคตะวันออก]]ที่[[จังหวัดจันทบุรี|จันทบุรี]], ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา [[จังหวัดยะลา|ยะลา]] [[จังหวัดภูเก็ต|ภูเก็ต]] [[จังหวัดตรัง|ตรัง]] [[จังหวัดนครศรีธรรมราช|นครศรีธรรมราช]] และ[[จังหวัดสุราษฎร์ธานี|สุราษฎร์ธานี]]
 
อนึ่ง ไทยทีวีช่อง 4 และ ททบ.7 เคยร่วมกันถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ 2 รายการ ซึ่งที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ คือ[[เอเชียนเกมส์]][[เอเชียนเกมส์ 1966|ครั้งที่ 5]] และ [[ซีเกมส์|กีฬาแหลมทอง]][[กีฬาแหลมทอง 1967|ครั้งที่ 4]] ซึ่งและนั่นนำไปสู่การจับมือกันก่อตั้ง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]] เพื่ออำนวยการปฏิบัติงานระหว่างสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทั้งหมดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ซึ่งมีภารกิจสำคัญในระยะแรกคือ การถ่ายทอดการส่งมนุษย์ ขึ้นสู่ยานอวกาศ[[อะพอลโล 11]] ของ[[นาซา]] ใน[[สหรัฐ]] ไปลงบนพื้นผิว[[ดวงจันทร์]]เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2512, ถ่ายทอดสด[[เอเชียนเกมส์ 1970|เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 6]] ซึ่งที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ รวมถึงการถ่ายทอดสดพระราชดำรัสของ[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] หลังเกิด[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] จากหอตึกพระสมุด [[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลา 19:30 น. และเวลา 23:30 น. ตามลำดับ เป็นต้น
 
=== เปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์สีระบบยุโรป (2510-2517) ===
บรรทัด 44:
สืบเนื่องจาก[[เหตุการณ์ 6 ตุลา|เหตุการณ์นองเลือด]] 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 [[สรรพสิริ วิรยศิริ]] ซึ่งขณะนั้นเป็นกรรมการผู้จัดการ บจก.ไทยโทรทัศน์ นำกล้องภาพยนตร์ออกถ่ายทำข่าวบริเวณ[[ท้องสนามหลวง]] โดยเฉพาะส่วนหน้า[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] แล้วกลับไปล้างฟิล์มและตัดต่อด้วยตนเอง เพื่อนำออกเป็นรายงานข่าว ทั้งทางไทยทีวีสีช่อง 9 และวิทยุ ท.ท.ท. อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง จึงทำให้เขา, ราชันย์ ฮูเซ็น และลูกน้องอีก 2-3 คนถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งใน บจก.ไทยโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 9 และวิทยุ ท.ท.ท. กอปรกับประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติยุบเลิก บจก.ไทยโทรทัศน์เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 แล้วจึงมี[[พระราชกฤษฎีกา]]จัดตั้ง ''[[องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย]]'' ({{Lang-en|The Mass Communication Organisation of Thailand}}; ชื่อย่อ: อ.ส.ม.ท.; M.C.O.T.) ให้เป็น[[รัฐวิสาหกิจ]] ในสังกัด[[สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)|สำนักนายกรัฐมนตรี]] ประกาศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม โดยให้รับโอนกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของ บจก.ไทยโทรทัศน์ มาดำเนินงานต่อไป ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน ปีเดียวกัน ซึ่งถือเป็นวันสถาปนา อ.ส.ม.ท. ส่งผลให้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 เปลี่ยนชื่อเป็น ''สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.'' โดยอัตโนมัติ
 
เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2521 อ.ส.ม.ท. อนุมัติให้ขยายต่ออายุสัญญาสัมปทานกับบีอีซีของไทยทีวีสีช่อง 3 ออกไปอีก 10 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2523 ถึง 25 มีนาคม พ.ศ. 2533 และในปี พ.ศ. 2521 นั้นเอง ททบ.ร่วมกับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ เช่าช่องสัญญาณ[[ดาวเทียมปาลาปา]]ของ[[อินโดนีเซีย]] เพื่อถ่ายทอดสัญญาณของช่อง 7 สี จากกรุงเทพมหานครไปสู่สถานีเครือข่ายทุกภูมิภาคเป็นสถานีแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเช่าสัญญาณ[[ดาวเทียมนานาชาติ]] (อินเทลแซท) ถ่ายทอดภาพข่าวจากทั่วโลกมายังประเทศไทย พร้อมทั้งจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ<ref name="profile1"/> ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์ของกองทัพบกอนุมัติให้ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ทำการแก้ไขอายุสัญญาเช่าช่อง 7 สี ออกไปอีก 12 ปี เป็นเวลารวม 27 ปี จนถึงปี [[พ.ศ. 2539]] อนึ่ง หลังจากที่วงการบันเทิง จัดให้มีรางวัลผลงานภาพยนตร์ดีเด่น ต่อมาวงการโทรทัศน์ ก็มีการสถาปนา งานประกาศผลและมอบรางวัล ผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ ''[[รางวัลเมขลา|เมขลา]]'' โดย[[สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย]] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 และ''[[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ|โทรทัศน์ทองคำ]]'' โดยชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ และ[[จำนง รังสิกุล|มูลนิธิจำนง รังสิกุล]] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และสถาบันทั้งสองยังดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้งเป็นต้นแบบให้แก่อีกหลายรางวัล ซึ่งทยอยก่อตั้งขึ้นอีกในระยะหลัง
 
=== กำเนิดโทรทัศน์แห่งชาติ (2528-2535) ===
15 มกราคม พ.ศ. 2528 [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43|คณะรัฐมนตรี]]มีมติให้กรมประชาสัมพันธ์จัดทำ''โครงการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ'' เพื่อทำหน้าที่เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อ[[การศึกษา]] เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของ[[ราชการ]]สู่[[ประชาชน]] และเพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมไปถึงการเสริมสร้างความเข้าใจอันดี ระหว่าง[[รัฐบาล]]กับประชาชน ตลอดจนเป็นแม่ข่ายให้แก่โทรทัศน์ส่วนภูมิภาค ในเครือข่ายเครือกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ โดยกรมประชาสัมพันธ์เริ่มดำเนินการดังกล่าว ด้วยการเคลื่อนย้ายเครื่องส่งโทรทัศน์สี จากสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ที่[[อำเภอเด่นชัย]] [[จังหวัดแพร่]] เข้ามาติดตั้งภายในอาคารในศูนย์ระบบโทรทัศน์ ที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพมหานคร เพื่อทดลองออกอากาศ ผ่านคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมากช่วงสูง ทางช่องสัญญาณที่ 11 เมื่อราวต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2528 ภายใต้ชื่อ ''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย|สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์]]'' (สทท.11)<ref>[http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=11397 ขุดกรุ:จากสถานี HS1PJ ถึงโทรทัศน์สีสเตอริโอ]* (บางส่วน) จากเว็บไซต์รถไฟไทยดอตคอม</ref> ก่อนจะแพร่ภาพเป็นประจำทุกวัน ระหว่างเวลา 16:30 - 21:00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2529
 
ทั้งนี้ระหว่างปี พ.ศ. 2528 - 2531 บริษัท แปซิฟิก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น [[แปซิฟิกอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น|บริษัท แปซิฟิกอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด]]) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดย[[ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา]] เจ้าของกิจการนิตยสารดิฉัน ตอบรับคำเชิญของประมุท สูตะบุตร ผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. คนแรก ที่ขอให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการนำเสนอข่าว 9 อ.ส.ม.ท. หรือของ[[สำนักข่าวไทย]] โดยกำหนดให้[[อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง]] เป็นผู้ประกาศในรายการ "ข่าวรับอรุณ" ซึ่งเป็นรายการข่าวภาคเช้าที่ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาค[[เอเชียอาคเนย์]]ตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 และมอบหมายให้[[สมเกียรติ อ่อนวิมล]] อาจารย์ประจำ[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะรัฐศาสตร์]] [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และพิธีกรรายการความรู้คือประทีปในขณะนั้น เป็นหัวหน้าผู้ประกาศข่าวภาคค่ำ ร่วมด้วย[[กรรณิกา ธรรมเกษร]] ซึ่งเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 9 อยู่เดิม จนกระทั่งกลายเป็นผู้ประกาศข่าวคู่ซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดของยุคนั้น รวมทั้งสร้างชื่อเสียงให้แก่[[ผู้ประกาศข่าว]]และ[[ผู้สื่อข่าว]]หลายคน
 
ต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติจัดโครงการช่วยเหลือกรมประชาสัมพันธ์ แบบให้เปล่าภายใต้วงเงิน 2,062 ล้าน[[เยน]] (ขณะนั้นคิดเป็นประมาณ 300 ล้านบาท) ผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการ จัดซื้อและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 ถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2531 รวมประมาณ 9 เดือน เนื่องจากงบประมาณของกรมประชาสัมพันธ์มีข้อจำกัด รวมทั้งเครื่องส่งโทรทัศน์มีกำลังต่ำ โดยระหว่างนั้น สทท.11 ต้องหยุดออกอากาศชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน และในวันที่ 16 กรกฎาคม ปีเดียวกัน อ.ส.ม.ท. ทำสัญญาขยายเครือข่ายโทรทัศน์ทั่วประเทศร่วมกับบีอีซีเพื่อดำเนินการจัดตั้งสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์พร้อมทั้งอุปกรณ์ออกอากาศร่วมกันระหว่างไทยทีวีสีช่อง 3 และไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. จำนวนทั้งหมด 31 แห่ง ในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531 - กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เพื่อแลกกับการขยายต่อสัมปทานออกไปอีก 30 ปี ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2533 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นผลให้ทั้ง 2 ช่องสามารถออกอากาศครอบคลุมถึงร้อยละ 89.7 ของพื้นที่ประเทศไทย คิดเป็นศักยภาพของการให้บริการถึงร้อยละ 96.3 ของจำนวนประชากร<ref name="history"/><ref name="managermag"/> โดยรับสัญญาณจากสถานีส่งหลักในกรุงเทพมหานครผ่านช่องสัญญาณดาวเทียมอินเทลแซต และเครื่องรับสัญญาณไมโครเวฟจาก[[ดาวเทียมสื่อสาร]]ของไทย
 
ต่อมาในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เวลา 10:00 น. [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารที่ทำการ สทท.11 [[ถนนเพชรบุรีตัดใหม่]] อย่างเป็นทางการ<ref>[http://www.ohmpps.go.th/documents/BR2531020/pdf/T0011_0006.pdf ข่าวพระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530-กันยายน พ.ศ. 2531 บทที่ 11 หน้า 6] จาก[[เว็บไซต์]][[สำนักราชเลขาธิการ]]</ref> จากนั้นเป็นต้นมา สทท.11 จึงกำหนดให้วันดังกล่าว เป็นวันคล้ายวันสถาปนาสถานีฯ ต่อมาจึงเริ่มกลับมาออกอากาศข่าวภาคเช้า ข่าวภาคค่ำ รายการเพื่อการศึกษา และรายการประเภทอื่น ไปยังสถานีเครือข่ายส่วนภูมิภาค ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบัน อนึ่งก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 เวลา 09:25 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารที่ทำการ [[อ.ส.ม.ท.]] บนเนื้อที่ 14 ไร่ บน[[ถนนพระราม 9]] ซึ่งมีห้องส่งโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด ในประเทศไทยขณะนั้น<ref>[http://www.ohmpps.go.th/documents/BR2524013/pdf/T0010_0010.pdf ข่าวพระราชกรณียกิจ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523-กันยายน พ.ศ. 2524 บทที่ 10 หน้า 10] จาก[[เว็บไซต์]][[สำนักราชเลขาธิการ]]</ref>
 
=== กำเนิดโทรทัศน์เสรี ยุครุ่งเรืองของรายการข่าว (2535-2540) ===
บรรทัด 61:
โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดสรรช่องสัญญาณที่ 26 ในย่านยูเอชเอฟเพื่อเปิดประมูลสัมปทาน ให้เข้าดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์เสรีเมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งผู้ชนะได้แก่ กลุ่มบริษัท สยามทีวี แอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ที่มี[[ธนาคารไทยพาณิชย์]]เป็นองค์กรนำ จึงเข้าเป็นผู้ดำเนินโครงการสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าว โดยมีการก่อตั้งบริษัท สยาม อินโฟเทนเมนต์ จำกัด ขึ้นใหม่เพื่อเป็นนิติบุคคลผู้ดำเนินกิจการนี้ และร่วมลงนามในสัญญาสัมปทานกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ [[3 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน โดยตั้งชื่อสถานีโทรทัศน์ว่า ''[[สถานีโทรทัศน์ไอทีวี]]'' และเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 โดยวางนโยบายให้ความสำคัญกับรายการข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ กลุ่มสยามอินโฟเทนเมนต์ มอบหมายให้เครือเนชั่นซึ่งเข้าร่วมถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 เช่นเดียวกับนิติบุคคลผู้ถือหุ้นรายอื่น เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดรายการข่าว พร้อมทั้งส่ง[[เทพชัย หย่อง]] มาดำรงตำแหน่งบรรณาธิการข่าวคนแรกของไอทีวี เพื่อฝึกอบรมผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าว ส่งผลให้ข่าวไอทีวีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รวมถึงได้รับรางวัลมากมาย ตลอดระยะเวลา 11 ปีเศษของสถานีฯ
 
เป็นที่น่าสังเกตว่า นับแต่ช่วงเวลาก่อนหน้านี้ ผู้ชมให้ความสนใจรายการประเภทสนทนาเชิงข่าว (news talk) กระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในยุคดังกล่าว อาทิ ''[[สนทนาปัญหาบ้านเมือง]]'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2524 โดยกรมการทหารสื่อสารเป็นเจ้าของรายการ ออกอากาศทาง ททบ.5 และช่อง 7 สี, ''มองต่างมุม'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2532 โดยมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์เป็นเจ้าของรายการ [[เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง|ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง]] เป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทาง, ''เนชั่นนิวส์ทอล์ก'' (เดิมจะให้ชื่อว่า "เฟซเดอะเนชั่น; Face the Nation" แต่เมื่อเริ่มออกอากาศจริง ก็เปลี่ยนเป็นชื่อดังกล่าว) ซึ่งเริ่มจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2536 โดย[[แน็ทค่อน มีเดีย|บริษัท แน็ทค่อน มีเดีย จำกัด]] ในเครือ[[หนังสือพิมพ์]][[เดอะ เนชั่น (ประเทศไทย)|เดอะเนชั่น]] ([[เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น|บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)]] ในปัจจุบัน) เป็นเจ้าของรายการ [[สุทธิชัย หยุ่น]] เป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., ''ตรงประเด็น'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2536 โดย[[สำนักข่าวไทย]]ของ อ.ส.ม.ท. เป็นเจ้าของรายการ ถวัลย์ศักดิ์ สุขะวรรณ ผู้อำนวยการสำนักข่าวไทยขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินรายการ และออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., ''กรองสถานการณ์'' ซึ่งเริ่มจัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2536 โดย[[สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์]]เป็นเจ้าของรายการ สมฤทธิ์ ลือชัย กับอดิศักดิ์ ศรีสม เป็นผู้ดำเนินรายการ ออกอากาศทาง สทท.11 เป็นต้น
 
=== ยุคปรับตัวเพื่ออยู่รอด (2540-2550) ===
{{โครง-ส่วน}}
ในปี พ.ศ. 2541 ททบ.5 จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม[[ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก]] ออกอากาศ 177 ประเทศทั่วโลก และในวันที่ [[1 กรกฎาคม]] ปีเดียวกัน ไอบีซีและยูทีวีได้ควบรวมกิจการจัดตั้งเป็น[[ยูบีซี]] สำหรับการออกอากาศนั้น ทั้งสองก็ได้ออกอากาศต่อไปในนามของยูบีซี แต่ในกรณีสัมปทานนั้นยูบีซีได้ใช้สัญญาสัมปทานของกับ อ.ส.ม.ท. ที่นั้น ยูบีซีได้ให้ต่อใช้สัมปทานที่ทำกับไอบีซีเดิม (ระยะเวลาสัญญา 25 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2557) ต่อมาวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติให้แปลงสภาพ อ.ส.ม.ท. เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัดในชื่อ [[อสมท|บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)]] (บมจ.อสมท) โดยมีผลเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547
 
=== ล้มโทรทัศน์เสรี - ตั้งโทรทัศน์สาธารณะ (2550-2556) ===
{{โครง-ส่วน}}
เมื่อปี พ.ศ. 2547 คณะ[[อนุญาโตตุลาการ]]ลดอัตราสัมปทานแก่ไอทีวี ให้ชำระเป็นเงิน 230 ล้านบาทต่อปี พร้อมกับอนุญาตให้ไอทีวีแก้ไขสัดส่วนการออกอากาศ รายการสาระต่อรายการบันเทิง จากร้อยละ 70 ต่อ :30 เป็นร้อยละ 50 ต่อ :50 รวมถึงการปรับโครงสร้างภายใน[[ไอทีวี|บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)]] ซึ่งเปลี่ยนชื่อจากสยามอินโฟเทนเมนต์ เมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อให้ไอทีวีสามารถอยู่รอดทางธุรกิจได้
 
ทว่า[[ศาลปกครองสูงสุด ]]กลับวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่ง ของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ส่งผลให้ บมจ.ไอทีวี ต้องจ่ายค่าสัมปทาน สำหรับเช่าสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเป็นเงิน 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับเพิ่มสัดส่วน ให้รายการข่าวและสาระ เป็นร้อยละ 70 ต่อรายการบันเทิง ร้อยละ 30 ตามเดิมด้วย นอกจากนี้ บมจ.ไอทีวี ยังต้องชำระค่าปรับ จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการ ที่ไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน คิดเป็นร้อยละ 10 ของค่าสัมปทานแต่ละปี คิดเป็นรายวัน วันละ 100 ล้านบาท นับแต่เริ่มปรับผังรายการ เป็นระยะเวลา 2 ปี
 
อย่างไรก็ตาม บมจ.ไอทีวี ก็ไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทาน และคำค่าเสียหายดังกล่าว ให้กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ ในที่สุดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 มติคณะรัฐมนตรีสั่งให้จึงมีมติยกเลิกสัญญาสัมปทานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับ บมจ.ไอทีวี พร้อมทั้งสั่งให้ยุติการออกอากาศสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อเวลา 24.00 น. วันเดียวกัน โดยมอบหมายให้[[กรมประชาสัมพันธ์]] เข้ากำกับดูแลการออกอากาศและรับโอนกิจการสถานีโทรทัศน์ โดยให้ชื่อใหม่ว่า ''[[สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี]]'' ซึ่งออกอากาศในวันถัดไป (คือวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 เวลา 00.00 น.) ในเวลาต่อมา ก็ยังได้มีการจัดตั้งสำนักงานบริหารกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟเฉพาะกิจ (หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ) ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานที่เข้ามารับผิดชอบในการดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ในช่วงเวลาเฉพาะกิจ ไปจนกว่าที่จะมีความแน่นอนในการดำเนินกิจการ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2550<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/075/13.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้แปลงสภาพภารกิจการดำเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ของกรมประชาสัมพันธ์ เป็นสำนักงานบริหารกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ เฉพาะกิจ(หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ) พ.ศ. 2550] สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2560</ref>
 
หลังจากพระราชบัญญัติ[[องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย]] พ.ศ. 2551 ลงประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551 แล้ว<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/008/1.PDF พระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๑], เล่ม ๑๒๕, ตอน ๘ก, ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑</ref> สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ทำหนังสือถึงกรมประชาสัมพันธ์ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรมประชาสัมพันธ์จึงออกหนังสือคำสั่งที่ 25/2551 ให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ยุติการออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 00.08 น. ของวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551<ref>[http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=151541&NewsType=1&Template=1 คำสั่งกรมประชาสัมพันธ์ ที่ 25/2551 เรื่อง ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบ ยู เอช เอฟ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551] [[เดลินิวส์]]ออนไลน์ 14 มกราคม 2551 21:01 น.</ref> และเพื่อให้ ส.ส.ท. ดำเนินการออกอากาศอย่างต่อเนื่อง ด้วยจึงมีการโอนกิจการสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีไปไว้ให้เป็นหน่วยงานในสังกัดของ ส.ส.ท. ตามความในมาตรา 57 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว พ.ร.บ. ส.ส.ท. ในวันเดียวกันที่มีการเปลี่ยนผ่านการออกอากาศของทางสถานีฯ พร้อมกับเชื่อมต่อรับสัญญาณการออกอากาศชั่วคราวจากอาคาร สทท. ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ (ปัจจุบันคืออาคารที่ทำการ[[สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์]]และ[[เอ็นบีทีเวิลด์|สถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีเวิลด์]]) จนถึงวันที่ 31 เดือนและปีเดียวกันมกราคม โดยใช้เวลาเพียง 16 วัน<ref>[http://www.thairath.co.th/online.php?section=newsthairathonline&content=75202 ปิดฉากทีไอทีวีคืนนี้ เชื่อมสัญญาณช่อง 11] [[ไทยรัฐ]]ออนไลน์ 14 มกราคม 2551 21:41 น.</ref> ในชื่อ''[[สถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอส]]'' ซึ่งต่อมาได้เริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ''[[สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส]]''
 
=== เปลี่ยนผ่านสู่ระบบโทรทัศน์ดิจิทัล (2556-ปัจจุบัน) ===
{{บทความหลัก|โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย|การยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในประเทศไทย}}
ตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 กำหนดให้เริ่มต้นรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินด้วยระบบดิจิทัล ภายในเวลา 4 ปี นับแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555 ซึ่งประกาศแผนแม่บทฉบับดังกล่าว และสืบเนื่องด้วย แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (กรอบการดำเนินงานอยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2555 - 2559) มีการกำหนดยุทธศาสตร์ และระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านการออกอากาศ[[โทรทัศน์ภาคพื้นดิน]]จาก[[โทรทัศน์ระบบแอนะล็อก|ระบบแอนะล็อก]] ไปสู่[[โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล|ระบบดิจิทัล]] ซึ่งสามารถออกอากาศ[[โทรทัศน์ความละเอียดสูง]]ได้ โดยให้เริ่มรับส่งสัญญาณด้วยระบบดิจิทัลภายใน 4 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการผลิตอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภายใน 3 ปี, ให้มีมาตรการสนับสนุนอุปกรณ์รับสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล สำหรับผู้มีรายได้น้อยภายใน 3 ปี และให้มีจำนวนครัวเรือนในเมืองใหญ่ ที่สามารถรับสัญญาณวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลได้ ไม่น้อยกว่า 80% ภายใน 5 ปี<ref name="nbtc">กสทช. "การเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัล." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://digital.nbtc.go.th/index.php/articles-en/18-future-digital 2556. สืบค้น 27 ธันวาคม 2556.</ref>
 
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) จึงได้ประชุมภายในหลายครั้งจนได้หลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการจัดการบริหารช่องและคลื่นความถี่อย่างชัดเจน แต่ภายหลังได้มีการปรับลดจำนวนช่องลงเพื่อความเหมาะสม และมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขอยู่ตลอด จนในที่สุดข้อกำหนดทั้งหมดได้ถูกบันทึกเอาไว้ในประกาศของ[[คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ]] (กสทช.) เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556 โดยอนุมัติช่องรายการดิจิทัลทีวีทั้งหมด 48 ช่อง และเริ่มจำหน่ายซองเอกสารเงื่อนไขการประมูลช่องในวันที่ 10 - 12 กันยายน พ.ศ. 2556 เพื่อเตรียมความพร้อมในการและประมูลที่มีขึ้นในช่วงวันที่ 26 และ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งการประมูลในวันนั้น ทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศกว่า 50,862 ล้านบาท
 
จากนั้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557 กสทช. เชิญบริษัทซึ่งผ่านการประมูลทั้งหมด มาประชุมเพื่อตกลงร่วมกัน ในการเลือกหมายเลขช่องที่ใช้ออกอากาศ ส่วนช่องที่ประมูลได้ใบอนุญาต โดยให้ผู้ที่ประมูลชนะด้วยมูลค่าเงินสูงสุดได้เลือกหมายเลขก่อนตามลำดับ และวันที่ 27 มกราคม ปีเดียวกัน กสทช. จึงประกาศหมายเลขช่องของแต่ละบริษัท และช่องทีวีดิจิทัลส่วนมากได้เริ่มทดลองออกอากาศในระบบดิจิทัลเมื่อวันที่ 1 เมษายนปีเดียวกัน ระหว่างนี้ กสทช. ได้เตรียมการเปลี่ยนผ่านโดยการแจกคูปองทีวีดิจิทัลทั่วประเทศ สำหรับนำไปใช้แลกซื้อหรือเป็นส่วนลดสำหรับอุปกรณ์รับชมทีวีดิจิทัล 3 อย่าง คือ [[กล่องรับสัญญาณ]]รุ่น [[DVB-T2]], โทรทัศน์ที่สามารถรับสัญญาณดิจิทัลได้ในตัว หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น [[สายอากาศ]]<ref>{{Cite web|url=https://www.sanook.com/hitech/1392269/|title=เริ่มแจกคูปองทีวีดิจิตอลแล้ว!! ล็อตแรก 21 จังหวัด|author=[[สนุก.คอม]]|website=www.sanook.com|date=20 ตุลาคม 2557|accessdate=26 กรกฎาคม 2563}}</ref> ก่อนจะเริ่ม[[การยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในประเทศไทย|การยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก]] โดยเริ่มจากไทยพีบีเอสในปี พ.ศ. 2558 โดยในปี พ.ศ. 2561 สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีเดิมส่วนใหญ่ได้ยุติการออกอากาศทีวีแอนะล็อก กสทช. จึงกำหนดให้วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นวันยุติออกอากาศทีวีแอนะล็อกอย่างเป็นทางการ ยกเว้นไทยทีวีสีช่อง 3 ที่ทำสัมปทานไว้กับ [[อสมท|บมจ.อสมท]] ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขสัมปทานได้ และไม่สามารถยุติการออกอากาศทีวีแอนะล็อกก่อนเวลาได้ แต่ก็มีการแยกตราสัญลักษณ์ออกจากกัน และสถานีวิทยุโทรทัศน์สาเหตุดังกล่าวจึงทำให้ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ยุติการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเป็นช่องสุดท้ายใน เมื่อเวลา 00:01 น. ของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งครบ 50 ปีตามสัญญาสัมปทาน และถือเป็นการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ<ref name=":1">{{Cite web|url=https://mgronline.com/business/detail/9630000029771|title=ช่อง 3 ยุติแอนะล็อก ยกสินทรัพย์คืน อสมท|author=[[ผู้จัดการออนไลน์]]|website=mgronline.com.com|date=24 มีนาคม 2563|accessdate=7 กรกฎาคม 2563}}</ref> และถือเป็นการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัลโดยสมบูรณ์แบบประเทศไทย รวมระยะเวลาในการออกอากาศโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกในประเทศไทยทั้งสิ้น {{Age in years, months and days|1955|6|24|2020|3|25|year=|month=|day=}}
 
== อ้างอิง ==