ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฝาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:CoburgPhaya LakeUt WierConcrete weir on Ping River at Chiang Mai.jpg|250px|right|thumb|ฝายพญาอุต เป็นฝายคอนกรีตกั้นกลางตลอดช่วงตามขวางของแม่น้ำปิง ในจังหวัดลำพูน]]
[[ไฟล์:Rock Weir on Ping River at Chiang Mai.jpg|250px|right|thumb|ฝายชะลอน้ำหินทิ้งและแท่งคอนกรีต ซึ่งกั้นตลอดช่วงตามขวางของแม่น้ำปิง ในจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันฝายแบบนี้ค่อนข้างหาได้ยาก เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยฝายคอนกรีต ซึ่งดูแลรักษาง่ายกว่ามาแทนที่]]
 
'''ฝาย''' เป็น[[โครงสร้าง]]ทางภูมิปัญญาทางการ[[ชลประทาน]]มีลักษณะเป็น[[เขื่อน]]น้ำล้นใช้สำหรับการเปลี่ยนขนาดและรูปแบบการไหลของ[[แม่น้ำ]] ประโยชน์โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก เมื่อน้ำบริเวณต้นน้ำมีปริมาณความสูงน้อยกว่าความสูงของฝายมักน้ำจะถูกใช้ในการป้องกันน้ำท่วม กักเก็บไว้ แต่เมื่อระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นน้ำจะไหลข้ามไปยังท้ายน้ำ ซึ่งฝายจะพบในชุมชนหรือเมืองที่ตั้งบริเวณต้นที่ราบกึ่งชันที่น้ำไหลค่อนข้างแรง และบริหารทรัพยากรแต่จะไม่พบในที่ราบลุ่มต่ำ เพราะน้ำไหลช้าจึงไม่มีความจำเป็นต้องจัดทำฝายในการชะลอน้ำ
 
ฝาย ถือเป็นภูมิปัญญาของคนในอดีต โดยชาวบ้านท้องถิ่นจะทำการสร้างฝายลงลุ่มน้ำสาขาย่อย เช่น ห้วย ลำธาร หรือลงลุ่มน้ำหลักเช่นแม่น้ำ โดยนิยมสร้างเป็นฝายที่ยาวตลอดช่วงตามขวางของแม่น้ำ จากนั้นจึงสร้างคลองหรือลำเหมือง มาเชื่อมต่อใกล้บริเวณท้ายฝาย ประโยชน์สำคัญของฝายในอดีต คือ การชะลอ บริหารและกักเก็บน้ำเพื่อนำน้ำไปทำการชลประทานเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันทางภาครัฐก็มีการนำแนวคิดมาใช้เพื่อการป้องกันน้ำท่วมด้วย
เมื่อน้ำบริเวณต้นน้ำมีปริมาณความสูงน้อยกว่าความสูงของฝายน้ำจะถูกกักเก็บไว้ แต่เมื่อระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นน้ำจะไหลข้ามไปยังท้ายน้ำ
 
การแบ่งประเภทของฝายมีการแบ่งหลากหลายรูปแบบ เช่นแบ่งตามระยะเวลาการใช้งานเป็น (1) ฝายถาวร และ (2) ฝายชั่วคราว หรือแบ่งตามลักษณะวัสดุ เช่น (1) ฝายโครงสร้างไม้ (2) ฝายหินทิ้ง (3) ฝายหินก่อบนดินถมอัดแน่น (4) และฝายคอนกรีต<ref>ปราโมทย์ ไม้กลัด. คู่มืองานเขื่อนดินขนาดเล็กและฝาย. สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน กรมชลประทาน, 2524.</ref> โดยปัจจุบันจะพบว่าฝายคอนกรีต เข้ามาแทนที่ฝายท้องถิ่นแบบเดิม
 
== ปัญหาจากการสร้างฝาย ==
ถึงแม้การสร้างฝาย จะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมายาวนาน แต่ในปัจจุบัน การสร้างฝายได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งการสร้างฝายคอนกรีต ซึ่งเป็นฝายทึบตันตลอดช่วงทำให้น้ำช่วงลึกไม่สามารถระบายออกได้ จึงทำให้เกิดการไม่หมุนเวียนของน้ำ ทำให้น้ำเน่า เพราะขาดออกซิเจน อีกทั้งยังกันการไหลออกของดินตะกอน หรือ ทราย ซึ่งชะล้างจากที่สูงลงมาไม่สามารถระบายออกไปยังแม่น้ำได้ จำเป็นต้องขุดลอกประจำ อีกทั้งยังทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของน้ำในช่วงหน้าฝายลดลงไปด้วย ซึ่งอาจเป็นผลเสียแก่ระบบนิเวศน์ที่อื่น เช่นเดียวกับทำลายวงจรชีวิตปลา ที่ไม่สามารถว่ายทวนกระแสน้ำไปวางไข่ได้<ref>VANCHAITAN. (2019). [https://onetonion.com/2019/06/04/%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9A/#:~:text=%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3,%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%20%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87 ฝายไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน],</ref> แม้ทางหน่วยงานบางที่จะสร้างบันไดปลาโจนมา เพื่อให้เป็นทางเข้าออกของปลา แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก ทำให้พันธ์ุปลาบางชนิดสูญหายไป<ref>สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (2004). [http://www.livingriversiam.org/3river-thai/pm/pm_a/a42.htm คิดถึงปลาร้าเต็มไห ในวันแปรรูป]</ref>
 
รูปแบบฝายในอดีตที่เป็นวัสดุจากไม้ จากหินทิ้ง จึงเป็นรูปแบบที่สอดคล้องไปกับธรรมชาติมากกว่า เพราะยังพอมีรูปหรือช่องให้ดินตะกอน ทราย หรือ ปลา สามารถว่ายทวนกระแสน้ำออกไปได้ อีกทั้งยังระบายน้ำช่วงลึกของฝาย ยังหมุนระบายออกได้เช่นกัน แต่ถึงอย่างไรก็ดี ฝายแบบนี้ต้องดูแลรักษามาก เพราะเมื่อผ่านช่วงหน้าฝนที่น้ำไหลแรง ก็จะทำให้ฝายพังทลาย ต้องมาดูแลรักษาทุกปี อีกทั้งประสิทธิการกักน้ำ ไม่สูงมากเท่าฝายคอนกรีต
 
== ดูเพิ่ม ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ฝาย"