ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติฝรั่งเศส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ปีผิด พระเจ้าหลุยส์ตายวันที่ 21 มกรา 1793 ไม่ใช่ 1893
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
===วิกฤติการคลัง===
[[ไฟล์:Troisordres.jpg|170px|thumb|ภาพล้อเลียน: ฐานันดรที่สาม(ไพร่) กำลังแบกฐานันดรที่หนึ่ง(พระ) และฐานันดรที่สอง(ขุนนาง)]]
ปี 1774 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขึ้นครองราชบัลลังก์ท่ามกลางวิกฤติการคลัง ฝรั่งเศสประสบภาวะขาดดุลงบประมาณติดต่อกันจนรัฐบาลเกือบล้มละลาย<ref>Frey, p. 3</ref> ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีส่วนใน[[สงครามเจ็ดปี]]และ[[สงครามปฏิวัติอเมริกา]]<ref>{{cite web|url=http://www.sparknotes.com/history/european/frenchrev/section1.html|title=France's Financial Crisis: 1783–1788|accessdate=26 October 2008}}</ref> ขุนคลังเอก[[อาน รอแบร์ ฌัก ตูร์กอตูร์โก|ตูร์กอตูร์โก]] ({{lang|fr|''Turgot''}}) พยายามแก้ปัญหาได้บ้าง แต่เนื่องจากไปแตะเรื่องเอกสิทธิ์มากเกินไปจึงถูกพวกในราชสำนักรวมหัวบีบให้เขาลาออกเมื่อพฤษภาคม 1776 จนกระทั่งในปีต่อมา [[ฌัก แนแกร์]] ({{lang|fr|''Necker''}}) นายธนาคารชาวสวิสได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการพระคลังหลวง เนื่องจากแนแกร์นับถือโปรเตสแตนท์ ขณะที่ราชสำนักฝรั่งเศสนับถือโรมันคาทอลิก แนแกร์จึงดำรงตำแหน่งขุนคลังเอกอย่างเต็มตัวไม่ได้<ref name="Hib35">Hibbert, pp. 35, 36</ref>
 
แนแกร์ตระหนักดีว่าระบบอัตราภาษีแบบถดถอยสร้างภาระหนักหนาต่อชนชั้นล่างเกินไป<ref name="Hib35"/> ขุนนางและพระได้รับการยกเว้นภาษีมากมายไปหมด<ref name="Frey2">Frey, p. 2</ref> แนแกร์เห็นว่าประเทศไม่สามารถเก็บเพิ่มอัตราภาษีสูงกว่านี้แล้ว ควรลดรายการภาษีที่ได้รับการยกเว้นของขุนนางและพระ และยังเสนอให้ราชสำนักทำการกู้เงินเพื่อผ่านวิกฤติการคลังครั้งนี้ เขาตีพิมพ์รายงานฉบับหนึ่งเพื่อสนับสนุนความคิดนี้ และเสนอให้ลดอำนาจของกลุ่มสภาอำมาตย์ที่เรียกว่า ''ปาร์เลอมง'' ({{lang|fr|''Parlements''}})<ref name="Hib35"/> สภาอำมาตย์เหล่านี้มีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีอำนาจวินิจฉัยตัดสินคดีความต่างๆ และยังมีอำนาจรับรองนโยบายของรัฐบาลให้เป็นกฎหมาย