ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 129:
พระองค์มีประสูติการเจ้าชายชาลส์พระโอรสองค์แรก เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 เป็นเวลาหนึ่งเดือนก่อนที่พระเจ้าจอร์จที่ 6 จะทรงมีจดหมายพระราชทานพระราชานุญาตให้โอรสและธิดาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธทุกพระองค์สามารถใช้บรรดาศักดิ์เป็นเจ้าชายและเจ้าหญิงได้ ซึ่งหากมิเช่นนั้นแล้วจะไม่สามารถใช้บรรดาศักดิ์เป็นเจ้าฟ้าชาย-เจ้าฟ้าหญิงอังกฤษ เพราะในขณะนั้นเจ้าชายฟิลิปได้สละบรรดาศักดิ์ที่มีมาแต่กำเนิดไปหมดแล้วและมีบรรดาศักดิ์เป็นเพียงดยุกเท่านั้น<ref>Letters Patent, 22 October 1948; Hoey, pp. 69–70; Pimlott, pp. 155–156</ref> ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 พระธิดาองค์แรกก็มีพระประสูติกาลโดยมีพระนามว่า เจ้าหญิงแอนน์<ref>Pimlott, p. 163</ref>
 
ภายหลังการอภิเษกสมรส ทั้งสองพระองค์ทรงเช่าพระตำหนักวินเดิลแชมมัวร์เป็นที่ประทับซึ่งใกล้กับ[[พระราชวังวินด์เซอร์]]ไปจนถึงวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2492<ref name=news1/> จากนั้นทรงใช้[[:en:Clarence House|พระตำหนักแคลเรนซ์]]เป็นที่ประทับหลายครั้งระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2494 ในขณะนั้นดยุกแห่งเอดินบะระ พระสวามี ทรงประจำการอยู่ใน[[ราชนาวี|ราชนาวีอังกฤษ]] ณ [[มอลตา]]ซึ่งเป็น[[รัฐในอารักขา]]ของอังกฤษ และประทับอยู่ด้วยกันเป็นช่วง ๆ หลายเดือน ณ วิลลาในหมู่บ้านกวาร์ดามังเจียของมอลตา ซึ่งเป็นบ้านพักของลอร์ดเมาท์แบตเตน พระปิตุลาในดยุกแห่งเอดินบะระ ส่วนพระโอรส-ธิดายังคงประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร<ref>Brandreth, pp. 226–238; Pimlott, pp. 145, 159–163, 167</ref>
 
====พระราชโอรส-ธิดา====
บรรทัด 144:
| [[เจ้าชายหลุยส์แห่งเคมบริดจ์]]
|-
| [[เจ้าชายเฮนรีแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์]] || [[อาร์ชี เมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์]]
|-
| 9 เมษายน พ.ศ. 2548 || [[คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์|คามิลลา แชนด์]] || colspan="2" | ''ไม่มีพระโอรส-ธิดา''
บรรทัด 171:
[[ไฟล์:Coronation of Queen Elizabeth II Couronnement de la Reine Elizabeth II.jpg|thumb|right|200px|พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2]]
[[ไฟล์:Elizabeth and Philip 1953.jpg|thumb|left|200px|พระบรมฉายาลักษณ์วันบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ฉายคู่กับดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามี เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2496]]
ช่วงปี พ.ศ 2494 พระพลานามัยของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 เสื่อมถอยลงและบ่อยครั้งที่เจ้าหญิงต้องเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในครั้งที่เสด็จเยือนแคนาดาและสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ขณะนั้นทรงพบปะกับประธานาธิบดี[[แฮร์รี เอส. ทรูแมน]] ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ [[:en:Martin Charteris, Baron Charteris of Amisfield|มาร์ติน คาร์เตริสชาร์เตริส]] ก็ได้จัดทำร่างพระราชดำรัสในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเผื่อกรณีที่พระเจ้าจอร์จที่ 6 เสด็จสวรรคตขณะเจ้าหญิงทรงอยู่ต่างประเทศ<ref>Brandreth, pp. 240–241; Lacey, p. 166; Pimlott, pp. 169–172</ref> ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2495 เตรียมเสด็จเยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์โดยเสด็จเยือนเคนยาก่อน ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เมื่อเพิ่งเสด็จถึงบ้านพักที่ประทับซากานาลอดจ์ในเคนยา หลังจากที่คืนก่อนหน้าเสด็จไปประทับที่โรงแรมทรีท็อปส์ ข่าวการสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 6 ก็มาถึงและดยุกแห่งเอดินบะระก็ได้ทรงแจ้งข่าวนี้แก่พระราชินีพระองค์ใหม่<ref>Brandreth, pp. 245–247; Lacey, p. 166; Pimlott, pp. 173–176; Shawcross, p.16</ref> [[:en:Martin Charteris, Baron Charteris of Amisfield|มาร์ติน คาร์เตริสชาร์เตริส]] ได้ทูลถามถึงพระปรมาภิไธยที่จะทรงใช้ พระองค์ทรงเลือก "เอลิซาเบธ" เช่นเดิมแน่นอน<ref>Bousfield and Toffoli, p. 72; Charteris quoted in Pimlott, p. 179 and Shawcross, p. 17</ref> พระองค์ทรงประกาศตนเป็น[[พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร|พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพ]]พระองค์ใหม่หลังจากที่ทรงเร่งรีบเสด็จกลับสหราชอาณาจักร<ref>Pimlott, pp. 178–179</ref> จากนั้นจึงเสด็จย้ายเข้าไปประทับ ณ พระราชวังบักกิงแฮมพร้อมกับดยุกแห่งเอดินบะระ<ref>Pimlott, pp. 186–187</ref>
 
ด้วยการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการเปลี่ยนชื่อราชวงศ์ไปเป็น ''[[:en:Mountbatten family|ราชวงศ์เมาท์แบตเตน]]'' ตามนามสกุลของดยุกแห่งเอดินบะระ และให้เจ้าหญิงทรงเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของพระราชสวามี อย่างไรก็ตามสมเด็จพระราชินีแมรี พระอัยยิกา และนายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ เห็นชอบที่จะให้มีการใช้ชื่อราชวงศ์เดิมต่อไป ดังนั้น[[ราชวงศ์วินด์เซอร์]]จึงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดยุกแห่งเอดินบะระทรงบ่นว่า "เป็นบุรุษเพียงคนเดียวในประเทศที่ไม่สามารถให้นามสกุลแก่โอรส-ธิดาของพระองค์ได้"<ref>Bradford, p. 80; Brandreth, pp. 253–254; Lacey, pp. 172–173; Pimlott, pp. 183–185</ref> ในปี พ.ศ. 2503 หลังจากที่พระราชินีแมรีสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2496 และวินสตัน เชอร์ชิลล์ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2498 นามสกุล ''[[:en:Mountbatten-Windsor|เมาท์แบตเตน-วินด์เซอร์]]'' จึงใช้แก่ดยุกฟิลิปและกับรัชทายาทบุรุษฝ่ายพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ไม่ได้ถือบรรดาศักดิ์ใด ๆ <ref>{{London Gazette|issue=41948|supp=yes|startpage=1003|date=5 February 1960|accessdate=19 June 2010}}</ref>
 
ท่ามกลางการตระเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษก [[เจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน|เจ้าหญิงมาร์กาเรต]]กราบทูลพระเชษฐภคินีของพระองค์ว่าประสงค์ที่จะเสกสมรสกับ[[:en:Peter Townsend (RAF officer)|ปีเตอร์ ทาวเซินด์]] พ่อหม้ายลูกติดสองคนซึ่งมีอายุมากกว่าพระองค์ 16 ปี พระราชินีนาถจึงทูลขอให้ทรงรอเป็นเวลาหนึ่งปี ตามคำกล่าวของมาร์ติน คาร์เตริสที่กล่าวว่า "พระราชินีนาถทรงมีความเห็นใจต่อเจ้าหญิงมาร์กาเรต แต่ข้าพเจ้าคิดว่าพระองค์ทรงหวังไว้ว่าเวลาจะช่วยทำให้เรื่องนี้เงียบหายไปในที่สุด"<ref>Brandreth, pp. 269–271</ref> ด้านนักการเมืองอาวุโสต่างต่อต้านแนวคิดการเสกสมรสครั้งนี้และ[[คริสตจักรแห่งอังกฤษ]]ก็ไม่อนุญาตให้มีการสมรสหลังจากที่หย่าร้างไปแล้ว ซึ่งหากเจ้าหญิงมาร์กาเรตทรงเข้าพิธีสมรสแบบทางราชการ (การสมรสโดยปราศจากพิธีกรรมทางศาสนา) ก็เป็นที่คาดหมายให้สละสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติของพระองค์ <ref>Brandreth, pp. 269–271; Lacey, pp. 193–194; Pimlott, pp. 201, 236–238</ref> จนในท้ายที่สุดก็ทรงล้มเลิกแผนการเสกสมรสกับปีเตอร์ ทาวเซินด์<ref>Bond, p. 22; Brandreth, p. 271; Lacey, p. 194; Pimlott, p. 238; Shawcross, p. 146</ref> ในปี พ.ศ. 2503 เจ้าหญิงมาร์กาเรตเสกสมรสกับ[[:en:Antony Armstrong-Jones, 1st Earl of Snowdon|แอนโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์]] ผู้ซึ่งในปีถัดมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น[[:en:Earl of Snowdon|เอิร์ลแห่งสโนว์ดอน]] ทั้งสองหย่าร้างกันในปี พ.ศ. 2521 และเจ้าหญิงมาร์กาเรตก็มิเสกสมรสกับบุคคลใดอีกเลย<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/HistoryoftheMonarchy/The%20House%20of%20Windsor%20from%201952/HRHPrincessMargaret/Marriageandfamily.aspx|title=Princess Margaret: Marriage and family|publisher=Royal Household|accessdate=8 September 2011}}</ref>
 
ทั้งที่สมเด็จพระราชินีแมรีเสด็จสวรรคตในวันที่ 24 มีนาคม แต่แผนการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็ยังคงดำเนินต่อไปตามที่ทรงร้องขอไว้ก่อนเสด็จสวรรคต โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496 <ref>Bradford, p. 82</ref> ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์ โดยยกเว้นการถ่ายทอดพิธีเจิมและ[[พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์]]<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/LatestNewsandDiary/Pressreleases/2003/50factsaboutTheQueensCoronation.aspx|title=50 facts about The Queen's Coronation|date=25 May 2003|publisher=Royal Household|accessdate=14 April 2011}}</ref>{{ref|television|[note 3]}} ฉลองพระองค์ในพระราชพิธีได้รับการออกแบบและตัดเย็บโดยนอร์มัน ฮาร์ตเนลล์ ซึ่งประดับด้วยลายพรรณพืชของประเทศในเครือจักรภพตามคำแนะนำของพระราชินีนาถ อันประกอบไปด้วย<ref>Lacey, p. 190; Pimlott, pp. 247–248</ref> กุหลาบทิวดอร์แห่งอังกฤษ ดอกทริสเติลแห่งสกอตแลนด์ [[กระเทียมต้น]]แห่งเวลส์ ดอกแฌมร็อคแห่งไอร์แลนด์ ดอกแวทเทิลแห่งออสเตรเลีย ใบ[[เมเปิล]]แห่งแคนาดา ใบเฟิร์นสีเงินแห่งนิวซีแลนด์ ดอกโพรทีแห่งแอฟริกาใต้ ดอก[[บัวหลวง]]แห่งอินเดียและศรีลังกา รวมไปถึง[[ข้าวสาลี]] [[ฝ้าย]] และปอกระเจาแห่งปากีสถาน<ref>{{cite web|author=Cotton, Belinda; Ramsey, Ron|url=http://www.nga.gov.au/ByAppointment/|title=By appointment: Norman Hartnell's sample for the Coronation dress of Queen Elizabeth II|publisher=National Gallery of Australia|accessdate=4 December 2009}}</ref>
บรรทัด 185:
ในปี พ.ศ. 2499 [[นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส]] กี มอแล และ[[นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร|นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร]] เซอร์ [[แอนโทนี อีเดน]] ร่วมหารือถึงความเป็นไปได้ที่ฝรั่งเศสจะเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกเครือจักรภพ แนวคิดดังกล่าวได้รับการปฏิเสธและในปีถัดมาฝรั่งเศสก็ร่วมลงนามใน[[สนธิสัญญาโรม]]จัดตั้ง[[ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป]] ซึ่งจะนำไปสู่การก่อตั้ง[[สหภาพยุโรป]]ในภายหลัง<ref>{{cite news|url= http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/6261885.stm|title=When Britain and France nearly married|publisher=BBC|date=15 January 2007|accessdate=14 December 2009|first=Mike|last=Thomson}}</ref> ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2499 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเข้ารุกราน[[อียิปต์]]ใน[[วิกฤตการณ์คลองสุเอซ|ความพยายามทางการทหารที่ล้มเหลว]]ในการยึด[[คลองสุเอซ]] ลอร์ดเมาท์แบตเตนกล่าวว่าพระราชินีนาถทรงต่อต้านการรุกรานครั้งนั้น ซึ่งเซอร์ แอนโทนีปฏิเสธคำพูดดังกล่าวและลาออกในอีกสองเดือนถัดมา<ref>Pimlott, p. 255; Roberts, p. 84</ref>
 
กลไกในการเลือกผู้นำคนใหม่ของ[[พรรคอนุรักษนิยม (สหราชอาณาจักร)|พรรคอนุรักษนิยม]]ที่หยุดชะงักลง หมายความว่าหลังการลาออกของเซอร์ แอนโทนี เป็นพระราชภาระของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่จะต้องทรงเลือกว่าใครควรที่จะเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เซอร์ แอนโทนีได้ถวายคำแนะนำแด่พระองค์ให้ทรงปรึกษากับลอร์ดซอลส์บรี ประธานสภาองคมนตรี ลอร์ดซอลส์บรีและลอร์ดคิลเมียร์ (ขณะนั้นดำรงรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม) ก็ได้ไปปรึกษากับคณะรัฐมนตรี [[วินสตัน เชอร์ชิลล์]] และคณะกรรมธิการ 1922 (1922 Committee) จนในที่สุดก็ได้จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้[[ฮาโรลด์ แมคมิลแลน|เฮโรลด์ แมคมิลแลน]] ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับการถวายคำแนะนำมา<ref>Marr, pp. 175–176; Pimlott, pp. 256–260; Roberts, p. 84</ref>
 
[[วิกฤตการณ์คลองสุเอซ]]และการเลือกผู้สืบทอดตำแหน่งของเซอร์ แอนโทนีนำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในตัวพระราชินีนาถครั้งใหญ่ครั้งแรก ลอร์ดอัลตรินแชมกล่าวหาว่าพระองค์ทรง "กู่ไม่กลับ"<ref>Lord Altrincham in ''[[National Review (London)|National Review]]'' quoted by Brandreth, p. 374 and Roberts, p. 83</ref> ในนิตยสารที่เขาเป็นเจ้าของและเป็นบรรณาธิการเอง<ref>Lacey, p. 199; Shawcross, p. 75</ref> ต่อมาเขาจึงถูกประณามโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงและถูกทำร้ายร่างกายโดยสาธารณชนผู้ตกตะลึงกับคำกล่าวของเขา<ref>Brandreth, p. 374; Pimlott, pp. 280–281; Shawcross, p. 76</ref> หกปีถัดมาในปี พ.ศ. 2506 เฮโรลด์ แมคมิลแลน ลาออกและถวายการแนะนำให้ทรงเลือกเซอร์ อเลค ดักลาส-ฮูม ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนถัดไป ซึ่งพระองค์ก็ทรงทำตามคำแนะนำ<ref name=r84>Hardman, p. 22; Pimlott, pp. 324–335; Roberts, p. 84</ref> ทำให้พระองค์ถูกวิจารณ์อีกครั้งว่าทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามคำแนะนำของรัฐมนตรีเพียงไม่กี่คนหรือเพียงคนเดียวเท่านั้น<ref name=r84/> ในปี พ.ศ. 2508 พรรคอนุรักษนิยมจึงกลับมาใช้กลไกลเลือกตั้งผู้นำพรรคอย่างเป็นทางการ จึงช่วยลดพระราชภาระอันข้องเกี่ยวกับทางการเมืองของพระราชินีนาถลง<ref>Roberts, p. 84</ref>
บรรทัด 197:
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เป็นช่วงที่สหราชอาณาจักร[[การให้เอกราช|มอบเอกราช]]ให้แก่ประเทศแถบ[[ทวีปแอฟริกา]]และแถบ[[ทะเลแคริบเบียน]] มากกว่า 20 ประเทศได้รับเอกราชอันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปกครองตนเอง อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2508 นายกรัฐมนตรีแห่ง[[โรดีเซีย]] เอียน สมิธ ต่อต้านการเปลี่ยนผ่านนี้ โดยประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักรฝ่ายเดียวในขณะที่ยังคงแสดง "ความจงรักภักดีและความอุทิศตน" ต่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แม้ว่าพระองค์จะทรงเพิกเฉยต่อคำประกาศนี้ในทางสาธารณะก็ตาม ซึ่งปฏิกิริยาจากประชาคมระดับนานาชาติก็คือการคว่ำบาตรต่อโรดีเซีย แม้กระนั้นการบริหารประเทศของเอียน สมิธ ก็ยังสามารถอยู่รอดมาได้เกือบทศวรรษ<ref>Bond, p. 66; Pimlott, pp. 345–354</ref>
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร [[เอ็ดวาร์ด ฮีธ]] ทูลเกล้าให้ทรงยุบสภาและจัด[[การเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2517|การเลือกตั้งทั่วไป]]ขึ้นในขณะที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในออสเตรเลีย ทำให้ทรงต้องเสด็จฯ กลับสหราชอาณาจักร<ref>Bradford, p. 181; Pimlott, p. 418</ref> ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าไม่มีพรรคใดได้เสียงมากพอจะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ พรรคอนุรักษนิยมของฮีธไม่ได้รับเลือกให้มีเสียงมากที่สุดในสภา แต่ยังสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคเสรีประชาธิปไตยได้ ซึ่งฮีธเลือกที่จะลาออกหลังจากการเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ สมเด็จพระราชินีนาถจึงทรงมีกระแสรับสั่งให้พรรคฝ่ายค้านในรัฐสภา [[พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)|พรรคแรงงาน]]ของนาย[[แฮโรลด์ วิลสัน|เฮโรลด์ วิลสัน]] จัดตั้งรัฐบาล<ref>Bradford, p. 181; Marr, p. 256; Pimlott, p. 419; Shawcross, pp. 109–110</ref>
 
ในปีถัดมาในช่วงตึงเครียดที่สุดของ[[วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญออสเตรเลีย พ.ศ. 2518]] [[กอฟ วิทแลม]] [[นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย]] ถูก[[ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลีย|ผู้สำเร็จราชการ]] เซอร์ จอห์น เคอร์ ปลดออกจากตำแหน่ง หลังจากที่วุฒิสภาออสเตรเลียซึ่งฝ่ายค้านมีเสียงส่วนใหญ่ไม่ผ่านร่างงบประมาณที่เสนอโดยวิทแลม<ref name=Aus>Bond, p. 96; Marr, p. 257; Pimlott, p. 427; Shawcross, p. 110</ref> และเนื่องจากวิทแลมมีเสียงส่วนมากในสภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย โฆษกประจำสภาผู้แทนราษฎร กอร์ดอน สโคลส์ จึงทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาแด่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ให้ทรงเพิกถอนคำสั่งปลดของเซอร์ จอห์น เคอร์ แต่สมเด็จพระราชินีนาถทรงปฏิเสธฎีกาดังกล่าว โดยตรัสว่าจะมิทรงเข้าแทรกแซงอำนาจการตัดสินใจของผู้สำเร็จราชการแห่งออสเตรเลียซึ่งรับรองโดย[[รัฐธรรมนูญแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย|รัฐธรรมนูญแห่งออสเตรเลีย]]<ref>Pimlott, pp. 428–429</ref> วิกฤตการณ์ในครั้งนี้จึงเท่ากับเป็นการเติมเชื้อไฟให้แก่แนวคิดสาธารณรัฐนิยมในออสเตรเลีย<ref name=Aus/>
บรรทัด 204:
 
=== รัชดาภิเษก ===
ในปี พ.ศ. 2520 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปีในพระราชพิธีรัชดาภิเษก การเฉลิมฉลองและงานรื่นเริงต่าง ๆ จัดขึ้นทั่วทุกหนแห่งในประเทศเครือจักรภพ และหลายแห่งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงาน การเฉลิมฉลองเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความนิยมในตัวพระองค์ของเหล่าพสกนิกร แม้ว่าจะมีการนำเสนอข่าวด้านลบเกี่ยวกับชีวิตคู่ที่ล้มเหลวของเจ้าหญิงมาร์กาเรตกับพระสวามีออกมาประจวบเหมาะกับช่วงเวลาดังกล่าว<ref>Pimlott, p. 449</ref> ในปี พ.ศ. 2521 ทรงต้องฝืนพระองค์ให้การต้อนรับการเดินทางมาเยือนสหราชอาณาจักรของผู้นำเผด็จการคอมมิวนิสต์แห่งโรมาเนีย [[นิโคไล เชาเชสกู]] พร้อมด้วยภริยา เอเลนา เชาเชสกู<ref>Hardman, p. 137; Roberts, pp. 88–89; Shawcross, p. 178</ref> ซึ่งในพระทัยก็ทรงมองว่าทั้งสองเป็นพวก "มือเปื้อนเลือด"<ref>Elizabeth to her staff, quoted in Shawcross, p. 178</ref> ในปีถัดมามีเหตุการณ์สองเหตุการณ์ใหญ่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์: เหตุการณ์แรกคือการเปิดโปง แอนโทนี บลันท์ อดีตผู้กลั่นกรองพระบรมฉายาลักษณ์ส่วนพระองค์ ว่าเป็น[[สายลับ]]คอมมิวนิสต์ อีกเหตุการณ์ก็คือการลอบสังหาร[[หลุยส์ เมาท์แบตเตนเมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมาท์แบตเตนที่เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า|หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า]] โดยกองกำลังติดอาวุธไออาร์เอ (Provisional Irish Republican Army; IRA)<ref>Pimlott, pp. 336–337, 470–471; Roberts, pp. 88–89</ref>
 
ตามคำกล่าวอ้างของพอล มาร์ติน ซีเนียร์. ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 พระราชินีนาถทรงกังวลว่าสถาบันกษัตริย์ "มีความหมายเพียงน้อยนิด" สำหรับนายกรัฐมนตรีแคนาดา ปีแยร์ ตรูโด<ref name=Post/> โทนี เบนน์ กล่าวว่าในสายพระเนตรของพระองค์ ปีแยร์ ตรูโด "ค่อนข้างน่าผิดหวัง"<ref name=Post>{{cite journal|last=Heinricks|first=Geoff|title=Trudeau: A drawer monarchist|journal=[[National Post]]|date=29 September 2000|page=B12}}</ref> ซึ่งแนวคิดสาธารณรัฐนิยมของปีแยร์เป็นที่แน่ชัดขึ้นจากท่าทีแสดงการล้อเลียนของเขา เช่น การลื่นไถลตัวเขาเองไปตามราวบันใดในพระราชวังบักกิงแฮม และการเต้นบัลเลต์ท่าหมุนรอบตัวเองอยู่ด้านหลังของพระราชินีนาถในปี พ.ศ. 2520 รวมไปถึงการที่เขาถอดถอนสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์แคนาดาหลายประการตลอดช่วงที่ดำรงตำแหน่ง<ref name=Post/> ในปี พ.ศ. 2523 นักการเมืองแคนาดาหลายคนได้รับการส่งไปกรุงลอนดอนในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งแคนาดา พวกเขาพบว่าพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรง "มีความรู้ความเข้าใจ&nbsp;... มากกว่านักการเมืองหรือข้าราชการชาวอังกฤษเป็นไหน ๆ "<ref name=Post/> ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยกับการแก้ไขครั้งนี้โดยเฉพาะหลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติซี-60 (Bill C-60) ไม่ผ่านรัฐสภา ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอาจมีผลต่อพระราชสถานะ[[ประมุขแห่งรัฐ]]ของพระองค์<ref name=Post/> การแก้ไขดังกล่าวเพิกถอนบทบาทของ[[รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร]]ที่มีต่อรัฐธรรมนูญแห่งแคนาดาแต่ยังคงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ปีแยร์กล่าวว่าในความทรงจำของเขาพระราชินีนาถทรงเห็นชอบกับความพยายามของเขาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและเขาประทับใจใน "พระจริยวัตรอันสง่างามที่ทรงแสดงต่อสาธารณชน" และ "พระอัจฉริยะภาพอันปราดเปรื่องที่ทรงแสดงเป็นการส่วนพระองค์"<ref>Trudeau, p. 313</ref>
บรรทัด 219:
ในปี พ.ศ. 2534 ช่วงที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะใน[[สงครามอ่าวเปอร์เซีย]] สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกาอีกครั้งและเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรพระองค์แรกที่ได้มีพระราชดำรัสแก่ที่ประชุมร่วมของ[[สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา|สภาผู้แทนราษฎร]]และ[[วุฒิสภาแห่งสหรัฐอเมริกา|วุฒิสภาสหรัฐอเมริกา]]<ref>Pimlott, p. 538</ref>
[[ไฟล์:Bundesarchiv Bild 199-1992-089-19Acropped.jpg|thumb|left|alt=Elizabeth, in formal dress, holds a pair of spectacles to her mouth in a thoughtful pose|เจ้าชายฟิลิปและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2535]]
ในพระราชดำรัสวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 เนื่องในวโรกาสครองราชสมบัติครบ 40 ปี ทรงกล่าวว่าปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) เป็น ''[[:en:Annus Horribilis|แอนนัสฮอริบิลิส]]'' ({{lang-la|annus horribilis}}; ปีแห่งความเลวร้าย) ของพระองค์เนื่องจากมีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นมากมาย ดังนี้:<ref>{{cite web|url=http://www.royal.gov.uk/ImagesandBroadcasts/Historic%20speeches%20and%20broadcasts/Annushorribilisspeech24November1992.aspx|title=Annus horribilis speech, 24 November 1992|publisher=Royal Household|accessdate=6 August 2009}}</ref> ในเดือนมีนาคม พระราชโอรสองค์ที่สอง เจ้าชายแอนดรูว์ทรงหย่าร้างกับซาราห์ ดัชเชสแห่งยอร์ก ต่อมาในเดือนเมษายน เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี ก็ทรงหย่าร้างกับพระสวามี [[มาร์ก ฟิลลิปส์]];<ref>Lacey, p. 319; Marr, p. 315; Pimlott, pp. 550–551</ref> ในช่วงการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเยอรมนีในเดือนตุลาคม กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงผู้โกรธแค้นใน[[เดรสเดิน]]ปาไข่ไก่ใส่พระองค์ สาเหตุมาจากปมการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในเดรสเดินช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปราว 25,000 คน;<ref>{{cite web|author=Stanglin, Doug|title=German study concludes 25,000 died in Allied bombing of Dresden|url=http://content.usatoday.com/communities/ondeadline/post/2010/03/official-german-study-concludes-25000-died-in-allied-bombing-of-dresden/1?csp=34|work=USA Today|date=18 March 2010|accessdate=19 March 2010}}</ref> ในเดือนพฤศจิกายน พระราชวังวินด์เซอร์ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุอัคคีภัย ด้านสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ได้รับเสียงวิพากษวิจารณ์และการจับจ้องจากสาธารณชนมากขึ้น<ref>Brandreth, p. 377; Pimlott, pp. 558–559; Roberts, p. 94; Shawcross, p. 204</ref> ในพระราชดำรัสส่วนพระองค์ซึ่งค่อนข้างจากผิดแปลกไปจากปกติ ทรงกล่าวว่าทุก ๆ สถาบันล้วนแล้วแต่ต้องได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่เว้นแม้แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่การวิพากษ์วิจารณ์ควรกระทำขึ้นบนพื้นฐานของ "อารมณ์ขัน, ความนุ่มนวล และความเข้าอกเข้าใจ"<ref>Brandreth, p. 377</ref> สองวันถัดมา นายกรัฐมนตรี[[จอห์น เมเจอร์]] ประกาศแผนปฏิรูปการเงินของพระราชวงศ์ซึ่งตระเตรียมไว้ตั้งแต่ปีก่อนหน้า ในแผนดังกล่าวประกอบด้วยการปฏิรูปต่าง ๆ เช่น การที่สมเด็จพระราชินีนาถจะต้องทรงชำระภาษีเงินได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป และการตัดลดงบประมาณรายจ่ายสำหรับพระมหากษัตริย์ (Civil list)<ref>Bradford, p. 229; Lacey, pp. 325–326; Pimlott, pp. 559–561</ref> ในเดือนธันวาคม [[เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์]] และ[[ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์]] ทรงแยกกันอย่างเป็นทางการ<ref>Bradford, p. 226; Hardman, p. 96; Lacey, p. 328; Pimlott, p. 561</ref> ในช่วงวันท้าย ๆ ของปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระราชินีนาถทรงฟ้องร้องหนังสือพิมพ์ ''[[เดอะซัน]]'' ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตีพิมพ์ร่างกระแสพระราชดำรัสเนื่องในวันคริสต์มาสสองวันก่อนการออกอากาศทางโทรทัศน์อย่างเป็นทางการ ศาลตัดสินให้หนังสือพิมพ์จ่ายเงินชดเชยแก่พระองค์ตามกฎหมายและบริจาคเงินให้การกุศลกว่า 200,000 ปอนด์<ref>Pimlott, p. 562</ref>
 
ในปีถัดมาการเปิดเผยเรื่องราวของเจ้าชายชาลส์และเจ้าหญิงไดอานาต่อสาธารณชนยังคงดำเนินต่อไป<ref>Brandreth, p. 356; Pimlott, pp. 572–577; Roberts, p. 94; Shawcross, p. 168</ref> ด้านการเมืองแม้ว่ากระแสสาธารณรัฐนิยมจะมีมากกว่าช่วงใด ๆ ในความทรงจำของพระองค์ แต่ประชาชนที่มีแนวคิดเช่นนี้ก็ยังคงเป็นกลุ่มคนส่วนน้อยของสังคม อีกทั้งการยอมรับสมเด็จพระราชินีนาถของสังคมก็ยังคงมีอยู่สูง<ref>MORI poll for ''[[The Independent]]'' newspaper, March 1996, quoted in Pimlott, p. 578 and {{cite news|author=O'Sullivan, Jack|date=5 March 1996|url=http://www.independent.co.uk/news/uk/watch-out-the-roundheads-are-back-1340396.html|title=Watch out, the Roundheads are back|work=The Independent|accessdate=17 September 2011}}</ref> การวิพากษ์วิจารณ์เปลี่ยนจากการจับจ้องแต่เพียงพระราชจริยวัตรและพระราชอัธยาศัยของพระราชินีนาถมาเป็นการจับจ้องสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในภาพรวม<ref>Pimlott, p. 578</ref> ในปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 หลังจากทรงปรึกษากับนายกรัฐมนตรีจอห์น เมเจอร์, [[อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี]] จอร์จ เครีย์, ราชเลขาธิการส่วนพระองค์ โรเบิร์ต เฟลโลว์ส และเจ้าชายฟิลิป พระราชสวามี จึงมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าชายชาลส์และเจ้าหญิงไดอานาว่าโปรดจะให้มีการหย่าร้างอย่างเป็นทางการ<ref>Brandreth, p. 357; Pimlott, p. 577</ref> หนึ่งปีหลังจากการหย่าร้างซึ่งมีขึ้นในปี พ.ศ. 2539 [[การสิ้นพระชนม์ของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์|ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์]]ในกรุงปารีส 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งพระราชินีนาถทรงอยู่ระหว่างการพักร้อนที่[[ปราสาทบาลมอรัล]]กับพระราชโอรสและพระราชนัดดา ในขณะนั้นพระโอรสทั้งสองของเจ้าหญิงไดอานาโปรดที่จะเสด็จไปยังโบสถ์ ดังนั้นพระราชินีนาถและเจ้าชายฟิลิปจึงนำเสด็จฯ ไปยังโบสถ์ในตอนเช้า<ref>Brandreth, p. 358; Hardman, p. 101; Pimlott, p. 610</ref> หลังจากการปรากฏพระองค์ในครั้งนั้น ห้าวันต่อมาพระราชินีนาถและเจ้าชายฟิลิปก็ทรงปิดกั้นพระนัดดาทั้งสองจากสื่อที่ให้ความสนใจต่อเหตุการณ์นี้อย่างล้นหลาม โดยประทับ ณ ปราสาทบาลมอรัลที่ซึ่งจะได้ใช้เวลาแห่งความโศกเศร้าเป็นการส่วนพระองค์<ref>Bond, p. 134; Brandreth, p. 358; Marr, p. 338; Pimlott, p. 615</ref> แต่การปิดกั้นตัวเองจากสาธารณชนของพระบรมวงศานุวงศ์และการที่พระราชวังบักกิงแฮมไม่ได้[[การลดธงครึ่งเสา|ลดธงลงครึ่งเสา]]สร้างความไม่พอใจแก่สาธารณชนเป็นอย่างมาก<ref name=MacQueen/><ref>Bond, p. 134; Brandreth, p. 358; Lacey, pp. 6–7; Pimlott, p. 616; Roberts, p. 98; Shawcross, p. 8</ref> ต่อมาหลังจากที่ทรงรับทราบกระแสความไม่พอใจ พระราชินีนาถจึงเสด็จฯ กลับลอนดอนและมีพระราชดำรัสแก่ประชาชนซึ่งแพร่ภาพสดไปทั่วโลกในวันที่ 5 กันยายน หนึ่งวันก่อนพระราชพิธีพระศพของเจ้าหญิงไดอานาจะมีขึ้น<ref>Brandreth, pp. 358–359; Lacey, pp. 8–9; Pimlott, pp. 621–622</ref> ในกระแสพระราชดำรัสทรงกล่าวชื่นชมเจ้าหญิงไดอานาและความรู้สึกในฐานะ "พระอัยยิกา" ของ[[เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์|เจ้าชายวิลเลียม]]และ[[เจ้าชายแฮร์รีแห่งเวลส์|เจ้าชายแฮร์รี]]<ref name="b&b">Bond, p. 134; Brandreth, p. 359; Lacey, pp. 13–15; Pimlott, pp. 623–624</ref> เป็นผลให้กระแสความไม่พอใจของสาธารณชนที่มีต่อพระบรมวงศานุวงศ์คลี่คลายลง<ref name="b&b"/>