ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภีมราว รามชี อามเพฑกร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 1:
{{ปรับอ้างอิง}}
{{Infobox Person
| name = ภีมราว รามชีจี อามเพฑกร
| image = Young Ambedkar.gif
| caption =
เส้น 14 ⟶ 15:
| height =
| term =
| parents = รามชีจี มาโลชี สักปาล<br>ภีมาพาอี สักปาล
| spouse = รามาพาอี อามเพฑกร (พ.ศ. 2449)<ref name="Columbia2">{{cite web| last = Pritchett| first = Frances| url = http://www.columbia.edu/itc/mealac/pritchett/00ambedkar/timeline/1900s.html| title = In the 1900s| format = PHP| accessdate = 5 January 2012}}</ref><br>สาวิตา อามเพฑกร (พ.ศ. 2491)<ref name="Columbia6">{{cite web |last=Pritchett | first=Frances |url=http://www.columbia.edu/itc/mealac/pritchett/00ambedkar/timeline/1940s.html| title=In the 1940s |accessdate=2012-06-13}}</ref>
| children =
เส้น 24 ⟶ 25:
}}
 
ดร.'''ภีมราว รามชีจี อามเพฑกร''' ({{lang-mr|भीमराव रामजी आंबेडकर}}) หรือบางครั้งเรียกอิงการนิยมทับศัพท์อังกฤษว่าเป็น '''เอ็มเอมเบดการ์''' อดีตรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย และเป็นประธานร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ท่านถูกยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย" อีกด้วย อามเพฑกร เป็นผู้อุปถัมภพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย และได้เดินร่วม ขบวนกับ [[มหาตมา คานธี]] และ[[ชวาหระลาล เนห์รู]] เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ต่อมาเนห์รูได้เป็นนายกรัฐมนตรีและได้แต่งตั้งให้อามเพฑกร เป็นรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและกระทรวงยุติธรรม
 
== ประวัติ ==
ภีมราว รามชี อามเพฑกร หรือ ดร.เอ็มเบดการ์ เกิดที่เมืองมหูม จังหวัดภาคกลาง (ปัจจุบันคือ[[รัฐมัธยประเทศ]]) เป็นบุตรสุดท้องในจำนวน 14 คน ของรามชี มาโลชี สักปาล ({{lang-mr|रामजी मालोजी सकपाल}}) กับภริยาชื่อภีมาพาอี ({{lang-mr|भीमाबाई}}) พื้นเพครอบครัวมาจากหมู่บ้านอัมพาวดีในอำเภอรัตนคีรี [[รัฐมหาราษฏระ]] พวกเขาถูกกดขี่จากสังคมอย่างรุนแรงเพราะเป็นจัณฑาล บรรพบุรุษของอามเพฑกรได้ทำงานให้กับ[[บริษัทอินเดียตะวันออก]]มานานพอสมควร และพ่อของเขาเคยถูกเกณฑ์เป็นทหารให้กับกองทัพอินเดียในเมืองมฮาว เขาได้สนับสนุนลูกๆของเขาในการผลักดันให้เรียนต่อ
 
รามชี สักปาล สนับสนุน ให้ลูกของเขาได้เรียนพื้นฐานของ[[ศาสนาฮินดู]] และใช้ตำแหน่งทางทหารของเขาในการ
ให้เรียนที่โรงเรียนรัฐบาล แต่ก็ต้องอดทนกับการกดขี่ของพวกที่วรรณะอื่น
 
อามเพฑกรและเด็กที่เป็นจัณฑาลคนอื่นๆ ถูกแยกจากเพื่อน ๆ คนอื่นโดยแม้กระทั่งครูก็ยังรังเกียจความเป็นจัณฑาลในตัวเขา พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้เรียนในชั้นเรียนและเมื่อเวลาดื่มน้ำจากคนวรรณะอื่น ก็ต้องอ้าปากให้น้ำกรอกลงมาที่ปาก สร้างความเจ็บช้ำใจแก่อามเพฑกรอย่างมาก
 
พ่อของเขาได้ลาออกจากกองทัพเมื่อปี [[ค.ศ. 1894]] ครอบครัวเขาย้ายไปที่เมือง ซาร์ตารา สองปีต่อมา นางภีมาไพได้เสียชีวิตลง ป้าของเขาได้เลี้ยงดูและต้องอยู่เพียงห้าคน
 
อามเพฑกร นามสกุลนี้มาจากหมู่บ้านของบรรพบุรุษ คือ หมู่บ้านอัมพาวดี ครูที่สงสารเขาได้ไปแก้ที่ทะเบียนของโรงเรียน ทำให้ตั้งแต่นั้น คนอื่นก็เข้าใจว่า เขามาจากวรรณะพราหมณ์
 
พ่อของเขาได้แต่งงานใหม่ในปี [[ค.ศ. 1898]] และย้ายไปที่เมืองบอมเบย์(หรือ[[มุมไบ]]ในปัจจุบัน) อามเพฑกรเป็นนักเรียนในวรรณะจัณฑาลคนแรกของโรงเรียน ถึงแม้เขาจะถูกเลือกปฏิบัติ แต่ในปี [[ค.ศ. 1907]] เขาได้รับการยอมรับให้ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยบอมเบย์ เป็นคนในวรรณะจัณฑาลคนแรกที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยในอินเดียเอง โดยมีการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ในหมู่บ้านของเขา
 
หลังจากครั้งนั้นแล้ว เขาได้พบกับประวัติของ[[พระโคตมพุทธเจ้า|พระพุทธเจ้า]]โดยอาจารย์ กฤษณะ อาจัน คีลูสการ์ หรือ ดาดา คีลูสการ์ นักวิชาการด้านวรรณะ
 
อามเพฑกรได้แต่งงานกับนางรามาไบที่มาจากเมืองตาโพลี
 
ปี [[ค.ศ. 1908]] เขาได้รับทุนพระราชทานจากพระราชาสัญจีราวที่3แห่งเมืองพาโรตะ ปี [[ค.ศ. 1912]] เขาได้รับปริญญาทางเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบอมเบย์ และเตรียมทำงานให้กับเมืองพาโรตะ
 
ภรรยาของเขาได้กำเนิดบุตรชายคนแรกที่ชื่อว่า ยาชวัน ในปีเดียวกัน เขากลับไปย้ายที่เมืองมุมไบเพื่อเฝ้าดูอาการป่วยของพ่อและพ่อได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ [[2 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1913]]
 
==การเปลี่ยนศาสนา==
{{วิกิคำคม|บี.อาร์.อามเพฑกร}}
เนื่องจากเดิมอามเพฑกรเป็นชาวจัณฑาล ภายหลังได้เลิกนับถือ[[ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู]] เนื่องจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีการใช้ระบอบวรรณะ ถูกคนวรรณะอื่นรังเกียจเดียดฉันท์ ซึ่งเขาเคยเผชิญมากับตนเองตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อทำลายความอยุติธรรมนั้น อามเพฑกรจึงได้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปุระ พร้อมกับบุคคลวรรณะศูทรกว่า 500,000 คน เมื่อวันที่ [[14 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2499]] โดยในการนั้นมีพระภิกษุอยู่ในพิธี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย 3 รูป คือ ท่านพระสังฆรัตนเถระ (Ven. M. Sangharatana Thera) พระสัทธราติสสเถระ (Ven. S. Saddratissa Thera) และพระปัญญานันทเถระ (Ven. Pannanand Thera) ในพิธีมีการประดับธงธรรมจักรและสายรุ้งอย่างงดงาม ในพิธีนั้น ผู้ปฏิญาณตนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
 
อย่างไรก็ตามในการเปลี่ยนศาสนาครั้งใหญ่ในครั้งนี้ มีทั้งผู้สนับสนุน และคัดค้านเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีผู้นำคำสุนทรพจน์ของอามเพฑกรไปตีพิมพ์เป็นหนังสือ เป็นคำปราศรัยยาว 127 หน้า ขนาด 8 ยก
 
==ถึงแก่อสัญกรรม==
หลังจากการประกาศเป็นพุทธมามกะได้เพียง 3 เดือน ก็ได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ [[6 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2499]]<ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=58806 Dr. B.R. Ambedkar บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดีย]</ref> ท่ามกลางความเสียใจของเหล่าบรรดาชนชั้นวรรณะต่ำในอินเดีย ชวาหระลาล เนห์รู ได้กล่าวอย่างเศร้าสลดว่า ''"เพชรของรัฐบาลหมดไปเสียแล้ว"'' มุขมนตรีของบอมเบย์ในขณะนั้น คือนายชะวาน ได้ประกาศให้วันเกิดของอามเพฑกรถือเป็นวันหยุดราชการของรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ดวงวิญญาณของอามเพฑกร ภรรยาของเขาต้องการจะนำศพของท่านอามเพฑกร ไปทำพิธียังบอมเบย์ รัฐบาลก็ได้จัดเที่ยวบินพิเศษให้ เมื่อเครื่องบินนำศพมาถึงบอมเบย์ ประชาชนหลายหมื่นคนได้มารอรับศพของอามเพฑกรอย่างเนืองแน่น
 
หลังจากการอสัญกรรมของอามเพฑกร [[ชวาหระลาล เนห์รู]] นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศอินเดีย ได้กล่าวสรรเสริญนายอามเพฑกร ความว่า
 
{{คำพูด|''ชื่ออามเพฑกร จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อลบล้างความอยุติธรรมในสังคมฮินดู อามเพฑกรต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำต้องต่อสู้ อามเพฑกร ได้เป็นคนปลุกให้สังคมฮินดูตื่นจากหลับ''|[[ชวาหระลาล เนห์รู]]}}
 
==สิ่งสืบเนื่อง==
แม้อามเพฑกรจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ด้วยความดีความชอบและคุนูปการต่อประเทศ รวมไปถึงบุคคลวรรณะต่ำ กระแสการเปลี่ยนศาสนามาเป็นพุทธศาสนายังคงมีอยู่ โดยชาวพุทธในอินเดีย เมื่อมีการสวดสังฆรัตน์จบแล้ว พวกเขาก็สวดโดยให้อามเพฑกรเป็นสรณะด้วย โดยสวดว่า ''ภีมพัง สรณัง คัจฉามิ'' จนถึงทุกวันนี้
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://huexonline.com/knowledge/15/38/ ชีวประวัติบุคคลสำคัญ(ดร.อัมเบดก้าร์)]
* [https://www.sarakadee.com/2011/03/29/babasaheb/ ประวัติ ดร.อัมเบดก้าร์ จากเว็บไซด์สารคดี]
 
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2434]]