ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Savekmaner (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขเนื้อหา
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Savekmaner (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขเนื้อหา
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 36:
 
=== งานเขียน ===
หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ เริ่มงานเขียนเรื่องสั้นตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมปลายเมื่อ พ.ศ. 2489 ใช้นามปากกา "ภัฏฏินวดี" ตีพิมพ์ในนิตยสารเดลิเมล์ และไทยใหม่ ต่อมาได้ใช้นามปากกา "จุลลดา ภักดีภูมินทร์" เขียนนวนิยายเรื่อง "[[ปราสาทมืด]]" ตีพิมพ์ในนิตยสาร[[ศรีสัปดาห์]] เมื่อ พ.ศ. 2498 ได้รับความนิยมมาก ตีพิมพ์ใหม่หลายสิบครั้ง และมีผู้นำไปสร้าง[[ภาพยนตร์ไทย]]และละครโทรทัศน์หลายครั้ง ต่อมาได้ใช้นามปากกา "ศรีฟ้า ลดาวัลย์" เขียนเรื่องสั้น และนวนิยาย ส่วนนามปากกา "จุลลดา ภักดีภูมินทร์" ใช้เขียนนวนิยายชีวิตครอบครัว ในระยะหลังได้ใช้นามปากกานี้ เขียนสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของเชื้อพระวงศ์ในวัง ตีพิมพ์ในนิตยสาร[[สกุลไทย]] <ref>นามปากกา จุลลดา ภักดีภูมินทร์ มาจากพระนามของ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี]] ผู้เป็นทวด และเป็นต้นราชสกุลลดาวัลย์</ref>
 
หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ เขียนนวนิยายสะท้อนสังคม โดยใช้นามปากกาว่า "สีฟ้า" ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ตั้งให้โดย[[มานิต ศรีสาคร]] (สีน้ำ) เป็นนามปากกาที่สร้างชื่อเสียง ผลงานได้รับรางวัล และถูกนำไปสร้างภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก เช่นเรื่อง "วงเวียนชีวิต" "ข้าวนอกนา" "ทำไม" "แผ่นดินนี้ยังรื่นรมย์" "ใต้ฟ้าสีคราม" "เศรษฐีนี" "ตะวันไม่เคยเลยลับ" โดยเฉพาะเรื่อง[[ข้าวนอกนา]] และ [[ใต้ฟ้าสีคราม]] ได้รับการแปลเป็น[[ภาษาญี่ปุ่น]]โดย[[มูลนิธิโตโยต้า]] และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์
 
=== สมรส ===