ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัลกุรอาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Seza x1 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
QueerEcofeminist (คุย | ส่วนร่วม)
Undid edits by Seza x1 (talk) to last version by Feedamourmail
บรรทัด 2:
{{อิสลาม}}
 
'''อัลกุรอาน''' บ้างเรียก '''โกหร่าน''' หรือ '''โก้หร่าน'''<ref>ส.พลายน้อย. ''เกร็ดภาษา หนังสือไทย ฉบับปรับปรุง''. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ, 2560, หน้า 150</ref> ({{lang-ar|الْقُرآن}}) เป็น[[คัมภีร์]]ใน[[ศาสนาอิสลาม]] ชาว[[มุสลิม]]เชื่อว่าเป็นพระวจนะของ[[อัลลอฮ์]]ที่ประทานผ่านทางเทวทูต[[กาเบรียล|ญิบรีล]] มาสู่ท่าน[[นบี]][[มุฮัมมัด]] คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ใน[[ภาษาอาหรับ]]แปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน
 
[[อัลลอฮ์]]ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานลงมาแก่ท่านนบีแก่นบีมุฮัมมัด ซล ซึ่งในอัลกรุอานระบุเอาไว้ชาว[[มุสลิม]]ถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่าๆเก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์[[โทราห์|เตารอต]] ที่เคยทรงประทานมาแก่นบี[[มูซา]] คัมภีร์[[หนังสือสดุดี|ซะบูร]] ที่เคยทรงประทานมาแก่นบี[[ดาวิด|ดาวูด]] (ดาวิด) และคัมภีร์[[พระวรสาร|อินญีล]]ที่เคยทรงประทานมาแก่นบี[[อีซา]] (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือ[[ภาษาอาหรับ]] ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน
 
การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง{{cn-span|ไม่มีการสังคายนาคัมภีร์อัลกุรอานเลย}} ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก
 
ลักษณะการบรรจุเนื้อหาในคัมภีร์อัล-กุรอานแบ่งออกเป็น “ซูเราะฮฺ” หรือ บทมี 114 บท (หรือจะเรียกว่า “บรรพ” ก็ได้) แต่ละบทประกอบด้วย “อายะฮฺ” หรือโองการ มีทั้งหมด 6,666 โองการ (หรือจะเรียกว่า “วรรค” ก็ได้) จำนวนโองการของแต่ละบทจะไม่เท่ากัน ถ้าคิดเป็นคำทั้งหมดในคัมภีร์มีจำนวนนับได้ 77,639 คำ แต่ละบท (ซูเราะฮฺ) จะมีชื่อหัวข้อกำกับและบอกว่า ทรงส่งข้อความลงมา ณ ที่ไหน คือ ที่เมืองเมกกะหรือที่เมืองเมดินะ ทั้ง 2 เมืองนี้มีเนื้อหาสาระแตกต่างกัน คือ
 
          1.ซูเราะฮฺที่เมืองเมกกะ เรียกว่า มักกียะฮฺ มีจำนวน 93 ซูเราะฮฺ เป็นโองการสั้น ๆ กล่าวถึง
 
          1.1 เรื่องราวของชนชาติต่าง ๆ และความพินาศล่มจมแห่งสังคมชนชาติต่าง ๆ
 
          1.2 ลักษณะอันเป็นเอกภาพของพระองค์อัลลอฮฺ และศรัทธาที่ควรมีต่อพระองค์
 
          1.3 ข้อพิสูจน์ความเป็นเจ้าของอัลลอฮฺ และคำสอนให้ประพฤติดี เว้นชั่ว
 
          2.ซูเราะฮฺที่เมืองเมดินะ เรียกว่า “มะดะนียะห์” มีจำนวน 21 ซูเราะฮฺ เป็นโองการที่ค่อนข้างยาวกล่าวถึง
 
          1.1 ประมวลกฎหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมายมรดก การซื้อขาย การหย่าร้าง ฯลฯ
 
          1.2 หลักปฏิบัติของมุสลิม เช่น การถือศีลอด การประกอบพิธีฮัจญ์ ฯลฯ  
 
                               ข้อควรทราบอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ปราชญ์มุสลิมในสมัยต่อมาได้นำเอาซูเราะฮฺทั้งหมดในคัมภีร์อัล-กุรอานมาแบ่งเป็น 30 บท แต่ละบทมีความยาวใกล้เคียงกัน เรียกว่า “ญุซฮ์” เพื่อให้มุสลิมผู้มีศรัทธาได้ใช้อ่านวันละบทในระหว่างถือศีลอดในเดือน รอมดอนครบ 30 วัน 30บทพอดี ปัจจุบันนี้คัมภีร์อัล-กุรอานได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ เกือบทุกภาษา และแพร่หลายไปทั่วโลก รวมทั้งฉบับภาษาไทย
 
                               นอกจากนี้ยังมีอัล-ฮะดีต (Al-Hadith) แปลตามศัพท์ว่า “อธิบาย” เป็นการบันทึกหรืออธิบายเกี่ยวกับคำสอน ตลอดจนจริยาวัตรของท่านศาสดานบีมูฮัมมัด เดิมเป็นเรื่องเล่าและจดจำสืบต่อกันมา ภายหลังจึงมีผู้รวบรวมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มีหลายสำนวนหลายภาษา และมีมากมาย ฉบับภาษาไทยก็มี กล่าวกันว่ามีจำนวนไม่น้อยกว่า 4000 ข้อ เช่น
 
-มนุษย์ที่ดีที่สุด คือผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์
 
-ผู้ใดมีความพยายาม ผู้นั้นจะได้รับความสำเร็จ
 
-บุรุษที่อิ่มหนำสำราญในขณะที่เพื่อนบ้านของเขากำลังตกยากนั้น ไม่ใช่มุสลิม
 
-อย่าริอ่านเป็นคนติดเหล้าหรือเล่นการพนัน
 
-ผู้ที่ดีที่สุดในพวกท่าน คือ ผู้ปฏิบัติต่อครอบครัวของเขาอย่างดีที่สุด
 
== การประทานคัมภีร์ ==
เส้น 46 ⟶ 16:
 
ตั้งแต่นั้นมามุฮัมมัดก็ได้กลายเป็นศาสนทูตของพระเจ้า ที่ต้องรับหน้าที่ประกาศศาสนาของพระเจ้า นั่นคือศาสนาอิสลาม ที่ตั้งอยู่บนหลักการไม่บูชาสิ่งอื่นใดนอกจากพระเจ้าองค์เดียว การวิวรณ์ การรับสาส์น หรือโองการจากพระเจ้านั้นเรียกในภาษาอาหรับว่า[[วะฮีย์]] ศาสดามุฮัมมัดได้รับวะฮีย์เป็นคราว ๆ ทะยอยลงมาเรื่อย ๆ จากวะฮีย์แรกถึงวะฮีย์สุดท้ายใช้เวลา 23 ปี ทุกครั้งที่วะฮีย์ลงมา ท่านศาสนทูตจะประกาศให้สาวกของท่านทราบ เพื่อจะได้ไปประกาศให้คนอื่นทราบอีกต่อไป สาวกจะพยายามท่องจำวะฮีย์ที่ลงมานั้นจนขึ้นใจ และท่านศาสดาจะสั่งให้อาลักษณ์ของท่านบันทึกลงในสมุดที่ทำด้วยหนังสัตว์ กระดูก หรือสิ่งอื่น ๆ ที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้
 
คัมภีร์อัล-กุรอานนี้ได้มีการรวบรวมบันทึกไว้ด้วยภาษาอาหรับ เป็นรูปเล่มอย่างสมบูรณ์ครั้งแรกหลังจากที่ท่านนบีสิ้นชีวิตแล้ว 5 เดือน มีขนาดหนังสือน้อยกว่าคัมภีร์ไบเบิ้ลของศาสนาคริสต์ บันทึกไว้ในทำนองร้อยแก้ว และมีบางตอนในบทท้ายเล่มทีถ้อยคำสอดคล้องกัน มีจังหวะรับกันเหมือนโคลงกลอนในกวีนิพนธ์ มีเนื้อหาหลายตอนที่คล้ายคลึงกับคัมภีร์ของศาสนายิวและศาสนาคริสต์ ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่ว่าความจริงแล้วคัมภีร์อัล-กรุอาน ถือเป็นคัมภีร์สุดท้ายที่บูรณ์ที่สุดเพราะได้เพิ่มเติมสิ่งที่ขาดในคัมภีร์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางทฤษฎีหรือการปฏิบัติไว้อย่างครบถ้วน สำหรับบุคคลและสังคมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตการอยู่รวมกัน การแต่งงาน การตาย อาชีพการทำมาหากิน เศรษฐกิจ สังคม การปกครอง และการเมือง
 
ชาว[[อาหรับ]]สมัยนั้นเก่งกาจในเชิงกวีนิพนธ์ มีกวีลือนามปรากฏอยู่ทุกเผ่า ที่[[กะอ์บะฮ์]]นั้นก็มีบทกวีที่แต่งโดยเจ็ดยอดกวีอาหรับ เขียนด้วยน้ำทองคำแขวนอยู่ ในงานแสดงสินค้าประจำปีที่ [[อุกาซ]] ในอาราเบีย ที่จัดให้อาหรับทุกเผ่าพันธุ์มาพบปะแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรม ก็จะมีกิจกรรมที่สำคัญที่สุดร่วมอยู่ด้วยนั่นคือการประชันบทกวี