ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรรม (ศาสนาพุทธ)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Thidatip kamalabhiromya (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Theo.phonchana
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
Thidatip kamalabhiromya (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9050150 สร้างโดย พุทธามาตย์ (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|พุทธศาสนา||กรรม (แก้ความกำกวม)}}
{{พุทธศาสนา}}
ในพระพุทธศาสนา '''กรรม''' ({{lang-sa|कर्म}} กรฺม, {{lang-pi|กมฺม}}) แปลว่า "การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก [[กายกรรม (ศาสนาพุทธ)|กายกรรม]] ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก [[มโนกรรม]]
 
=== '''ความเข้าใจเรื่องกรรม''' ===
การศึกษาพระพุทธศาสนา ถ้าไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจใน '''''หลักกรรม''''' ก็ชื่อว่ายังมิได้ศึกษาในข้อหลัก และการนับถือพระพุทธศาสนา ถ้ายังมิได้นับถือหลักของกรรมตามพระพุทธศาสนา ก็ชื่อว่ายังมิได้นับถืออย่างเข้าถึงหลัก คล้ายกับการนับถือมารดาบิดา ถ้าขาดความกตัญญูกตเวทีเสียแล้วก็ไม่ชื่อว่านับถืออย่างจริงใจ ฉะนั้น ศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงมุ่งให้เชื่อในหลักกรรม ประกอบกันไปกับความเชื่อในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
 
คำว่า '''''กรรม''''' มีใช้ในภาษาไทยมาก เช่น กรรมการ กรรมกร กรรมาธิการ แต่ในภาษาที่พูดกัน เคราะห์ร้ายมักตกอยู่แก่กรรม เคราะห์ดีมักอยู่แก่บุญ ดังเมื่อใครประสบเคราะห์ร้าย คือทุกข์ ภัยพิบัติต่าง ๆ ก็พูดว่าเป็นกรรม แต่เมื่อใครประสบเคราะห์ดีมักพูดว่าเป็นบุญ และมีคำพูดคู่กันว่าบุญทำกรรมแต่ง เกณฑ์ให้กรรมเป็นฝ่ายดำ ให้บุญเป็นฝ่ายขาว ความเข้าใจเรื่องกรรมและคำที่ใช้พูดกันในภาษาไทยจักเป็นอย่างไรให้งดไว้ก่อน ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามความหมายในพระพุทธศาสนา
 
คำว่า '''''กรรม''''' แปลว่า กิจการที่คนกระทำ คำว่า '''''ทำ''''' หมายถึง ทั้งทำด้วยกาย อันเรียกว่า '''''กายกรรม''''' ทั้งทำด้วยวาจาคือพูด อันเรียกว่า '''''วจีกรรม''''' ทั้งทำด้วยใจคือคิด อันเรียกว่า '''''มโนกรรม''''' บางทีเมื่อพูดกันว่าทำ ก็หมายถึงทำทางกายเท่านั้น ส่วนทางวาจาเรียกว่าพูด ทางใจเรียกว่าคิด แต่เรียกรวมได้ว่าเป็นการทำทุกอย่าง เพราะจะพูดก็ต้องทำคือทำการพูด จะคิดก็ต้องทำ คือทำการคิด จึงควรทำความเข้าใจว่า ในที่นี้คำว่า ทำ ใช้ได้ทุกทาง เมื่อได้ฟังว่าทำทางกายก็ให้เข้าใจว่าทำอะไรด้วยกายที่เข้าใจอยู่แล้ว เมื่อได้ฟังว่าทำทางวาจาก็ให้เข้าใจว่าพูดอะไรต่าง ๆ เมื่อได้ฟังว่าทำทางใจก็ให้เข้าใจว่าคิดอะไรต่าง ๆ ก็การฟังคำพูดอธิบายหลักวิชาอาจขวางหูอยู่บ้าง แต่เมื่อเข้าใจความหมายแล้วก็จักสิ้นขัดขวาง กลับจะรู้สึกว่าสะดวกเพราะเป็นคำที่มีความหมายลงตัวแน่นอน
 
คำว่า '''''กรรม''''' มักแปลกันง่าย ๆ ว่า''การทำ'' แต่ผู้เพ่งศัพท์และความแปลว่ากิจการที่บุคคลทำ ดังกล่าวแล้ว ถ้าแปลว่าการทำ ก็ไปพ้องกับคำว่า '''''กิริยา''''' คำว่ากิริยาแปลว่า การทำโดยตรง ส่วนคำว่ากรรมนั้นหมายถึงตัวกิจหรือการงานที่กระทำ ดังคำที่พูดในภาษาไทยที่ถูกต้อง เช่น กสิกรรม พาณิชยกรรม และคำอื่นที่ยกไว้ข้างต้น คำเหล่านี้ล้วนหมายถึงกิจการอย่างหนึ่ง ๆ ที่สำเร็จจากการทำ (กิริยา)
 
==== '''''กรรมคืออะไร''''' ====
กรรมแปลว่าอะไรได้กล่าวแล้ว แต่กรรมคืออะไร จำต้องทำ ความเข้าใจให้ลึกซึ้งเข้าไปอีก พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แปลความว่า ''“เรากล่าวเจตนา(ความจงใจ) ว่าเป็นกรรม เพราะคนจงใจ คือมีใจมุ่งแล้ว จึงทำทางกายบ้างทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง”'' ฉะนั้น กรรม คือ กิจที่บุคคลจงใจทำหรือทำด้วยเจตนา
 
ถ้าทำด้วยไม่มีเจตนาไม่เรียกว่ากรรม อย่างเช่นไม่มีเจตนาเหยียบมดตาย ไม่เป็นกรรมคือปาณาติบาต ต่อเมื่อ
 
เจตนาจะเหยียบให้ตายจึงเป็นกรรมคือปาณาติบาต แต่เมื่อจัดอย่างละเอียด สิ่งที่ทำด้วยไม่มีเจตนาท่านก็จัดเป็นกรรมชนิดหนึ่ง เรียกว่ากรรมสักว่าทำ เพราะอาจให้โทษได้เหมือนกัน เหมือนอย่างที่กฎหมายถือว่าผิดในฐานะประมาท
 
==== '''''กรรมเกี่ยวกับคนเราอย่างไร''''' ====
กรรมเกี่ยวกับคนเราหรือคนเรานั่นแหละเกี่ยวกับกรรมอยู่ตลอดเวลา เพราะคนเรานั้นตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นจนถึงหลับไปใหม่ก็มีเจตนาทำอะไรต่าง ๆ พูดอะไรต่าง ๆ คิดอะไรต่าง ๆ อยู่เสมอโดยปกติ ไม่มีใครหยุดนิ่งอยู่เฉย ๆ ได้ ถึงมือไม่ทำปากก็พูดถึง ปากไม่พูดใจก็คิดถึงเรื่องต่าง ๆ การต่าง ๆ ที่ทำนี่แหละเรียกว่า '''''กายกรรม''''' คำต่าง ๆ ที่พูดนี่แหละเรียกว่า '''''วจีกรรม''''' เรื่องต่าง ๆ ที่คิดนี่แหละเรียกว่า '''''มโนกรรม'''''
 
==== '''''กรรมนั้นดีหรือไม่ดี''''' ====
กรรมจะดีหรือไม่ดีก็สุดแต่ผลที่เกิดขึ้นจากกรรมนั้น ๆ ถ้าให้เกิดผลเป็นคุณเกื้อกูลแก่ตนเองและผู้อื่น ก็เป็นกรรมดี เรียกว่า '''''กุศลกรรม''''' แปลว่า กรรมที่เป็นกิจของคนฉลาด หรือ '''''บุญกรรม''''' กรรมที่เป็นบุญ คือ ความดีเป็นเครื่องชำระล้างความชั่ว เช่น การรักษาศีล ประพฤติธรรมที่คู่กับศีล หรือแม้กิจการที่ดีที่ชอบที่เป็นตามที่แสดงมาแล้วที่เป็นสุจริตต่าง ๆ เช่น การตั้งใจช่วยมารดาบิดาทำการงาน การตั้งใจเรียน การตั้งใจประพฤติตนให้ดี การช่วยเหลือเกื้อกูลมิตรสหาย การทำสาธารณสงเคราะห์ต่าง ๆ ส่วนกรรมที่ให้เกิดผลเป็นโทษเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นกรรมชั่วไม่ดีเรียกว่า '''''อกุศลกรรม''''' แปลว่ากรรมที่เป็นกิจของคนไม่ฉลาด '''''บาปกรรม''''' กรรมที่เป็นบาป เช่น การประพฤติผิดในศีลธรรมประพฤติทุจริตต่าง ๆ ที่ตรงกันข้ามกับกุศลกรรม
 
ตัวอย่างของกรรมดีและกรรมไม่ดีข้างต้นนั้น กล่าวตามแนวพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกแสดงเป็นทางปฏิบัติไว้ชัดเจน เรียกว่า '''''กรรมบถ''''' แปลว่า ทางของกรรม เรียกสั้น ๆ ว่า ทางกรรม ทรงชี้แจงไว้เพียงพอและเข้าใจง่ายว่าทางไหนดีทางไหนไม่ดี คือ
 
===== '''''กายกรรม''''' (กรรมทางกาย) นั้น =====
ฆ่าเขา ๑ ลักของเขา ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ เป็นอกุศลไม่ดี เว้นจากการทำอย่างนั้นและอนุเคราะห์เกื้อกูลเขา ๑ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบ ๑ สังวรในกาม ๑ เป็นกุศล เป็นส่วนดี
 
===== '''''วจีกรรม''''' (กรรมทางวาจา) นั้น =====
พูดมุสา ๑ พูดส่อเสียดเพื่อให้เขาแตกกัน ๑ พูดคำหยาบด้วยใจมีโทสะเพื่อให้เขาเจ็บใจ ๑ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ๑ เป็นอกุศลไม่ดี เว้นจากการพูดอย่างนั้นและพูดแต่คำจริง ๑ พูดสมัครสมาน ๑ พูดคำสุภาพระรื่นหูจับใจ ๑ พูดมีหลักฐานถูกต้องชอบด้วยกาลเทศะ ๑ เป็นกุศล เป็นส่วนดี
 
===== '''''มโนกรรม''''' (กรรมทางใจ) นั้น =====
คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขามาเป็นของของตนเอง ๑ คิดพยาบาทมุ่งร้ายเขา ๑ เห็นผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว ๑ เป็นอกุศลไม่ดี ไม่คิดอย่างนั้นและคิดเผื่อแผ่ ๑ คิดแผ่เมตตาจิตให้เขาอยู่เป็นสุข ๑ คิดเห็นชอบตามคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๑ เป็นกุศลเป็นส่วนดี
 
คนที่เว้นจากทางกรรมเป็นอกุศล ดำเนินไปในทางกรรมที่เป็นกุศลเรียกว่า '''ธรรมจารี''' แปลว่า ผู้ประพฤติธรรม '''''สมจารี''''' แปลว่า ผู้ประพฤติเรียบร้อยสม่ำเสมอ ความประพฤติดังนี้เรียกว่า '''''ธรรมจริยา''''' หรือ '''''ธรรมจรรยา''''' สมจริยาหรือสมจรรยา
 
สมจริยาดังนี้แหละคือหลักสมภาพในพระพุทธศาสนา '''''สมภาพ''''' คือความเสมอกันนั้น อาจทำให้เสมอกันได้ในทางที่อาจจะทำได้ แต่ไม่อาจทำให้เสมอกันได้ในทางที่ไม่อาจจะทำ ในทางที่ไม่อาจจะทำนั้น เช่นคนเกิดมามีเพศต่างกันมีรูปร่างสูงต่ำดำขาวต่างกันเป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครจะทำให้เสมอกันได้ เช่นทำให้สูงต่ำเท่ากันหมด แม้ในคนเดียวกันนิ้วทั้ง ๕ ก็ไม่เท่ากัน จะทำให้เท่ากันได้ อย่างไร สิ่งที่ไม่อาจทำให้เท่ากันได้ ถ้าใครไปพยายามจัดทำเข้าก็เหมือนกับนิทานเรื่องเปรตจัดระเบียบ
 
เรื่องมีอยู่ว่า มีคนเดินทางหลายคนเข้าไปนอนพักอยู่ในศาลา ซึ่งเป็นที่พักของคนเดินทางหลังหนึ่ง เมื่อพากันนอนหลับแล้ว มีเปรตเจ้าระเบียบตนหนึ่งเข้าไปในศาลา เห็นคนนอนอยู่เป็นแถว จึงไปตรวจดูทางเท้าก็เห็นเท้าของคนนอนหลับไม่เสมอกัน จึงดึงเท้าของคนเหล่านั้นลงมาให้เสมอกัน ครั้นตรวจดูเห็นเท้าเป็นแถวเสมอเรียบร้อยดีแล้วก็ไปตรวจดูทางด้านศีรษะ เห็นศีรษะของคนเหล่านั้นไม่อยู่ในแถวเสมอกันอีก จึงดึงศีรษะให้ขึ้นมาเสมอกันเป็นแนวเดียวทั้งหมด แล้วก็ย้อนกลับไปตรวจดูทางเท้าอีก ก็เห็นเหลื่อมล้ำไม่เสมอกันอีก ก็ดึงเท้าให้เสมอกันใหม่ อีกคนก็ไม่เป็นอันได้หลับได้นอนเป็นสุขเพราะต้องถูกดึงเท้าบ้าง ดึงศีรษะบ้างขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่รู้จักแล้ว ทั้งเปรตเจ้าระเบียบนั้นก็ไม่สามารถจัดให้เสมอกันได้ การจัดให้เสมอกันในบางทีไม่อาจจะจัดได้เช่นนี้เป็นการจัดที่ไม่สำเร็จ รังแต่จะให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายไม่สงบสุขอย่างเดียว ส่วนการจัดให้เสมอกัน
 
ในทางที่อาจจัดได้นั้น พระพุทธเจ้าทรงจัดด้วยหลักสมจริยานี้ คือเว้นจากทางกรรมฝ่ายอกุศลดำเนินในทางกรรมฝ่ายกุศลตามที่ทรงสั่งสอนไว้นั้น คราวนี้มาพิจารณาดูว่า เมื่อปฏิบัติในสมจริยานั้นเป็นสมภาพได้อย่างไร
 
'''''สมภาพ''''' แปลว่าความเสมอกัน คือตัวเราเองกับผู้อื่นหรือผู้อื่นกับตัวเราเองเสมอกัน ตัวเราเองรักสุขเกลียดทุกข์ ผู้อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน ตัวเราเองไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นมาก่อกรรมที่ไม่ดีแก่เราทุก ๆ ข้อ พอใจแต่จะให้เขามาประกอบกรรมที่ดีแก่เราทั้งนั้น ถึงผู้อื่นก็เหมือนกัน เขาก็ไม่ประสงค์ให้เราไปก่อกรรมที่ชั่วร้ายแก่เขา ประสงค์แต่จะให้เราไปประกอบกรรมที่ดีแก่เขาเท่านั้น เมื่อทั้งเราทั้งเขาต่างมีความชอบและไม่ชอบเสมอกันอยู่เช่นนี้ ทางที่จะให้เกิดสมภาพได้โดยตรง ก็คือ ทั้งสองฝ่ายต่างดำเนินเข้าหาจุดที่เสมอกันนี้ คืองดเว้นจากทางกรรมที่ชั่วร้ายซึ่งต่างก็ไม่ชอบให้ใครมาทำแก่ตนด้วยกัน และดำเนินไปในทางกรรมที่ดีซึ่งเกื้อกูลกันที่ต่างก็ชอบจะให้ใครมาทำแก่ตนด้วยกัน เมื่อประพฤติดังนี้สมภาพที่ถูกต้องก็เกิดขึ้น และเป็นสมภาพคือเป็นความเสมอกันจริง ๆ และเมื่อมีสมภาพดังนี้ '''''ภราดรภาพ''''' คือความเป็นพี่น้องกันหรือเป็นญาติที่คุ้นเคยไว้วางใจกันได้ก็เกิดขึ้น '''''เสรีภาพ''''' คือความมีเสรีในอันที่จะไปไหน ๆ ได้ทำอะไรโดยที่ไม่ถูกใครเบียดเบียนและก็ไม่เบียดเบียนใครด้วยก็เกิดขึ้น
 
สมจริยาของพระพุทธเจ้าอันยังให้เกิด สมภาพ ภราดรภาพ เสรีภาพดังกล่าวมานี้เป็นธรรมจรรยาความ
 
ประพฤติธรรมประกอบอยู่ด้วยหลักยุติธรรมและศีลธรรมต่าง ๆ บริบูรณ์ ถ้ามีปัญหาประพฤติธรรมคือประพฤติ
 
อย่างไร ก็ตอบได้ว่า ประพฤติให้เป็นสมจริยาดังกล่าวนั่นเอง และเมื่อเข้าใจความดังนี้แล้ว คำว่า '''''สมจริยา''''' จะแปลว่าความประพฤติเรียบร้อย สม่ำเสมอก็ได้ ความประพฤติสมควรหรือเหมาะสมก็ได้ ความประพฤติโดยสมภาพก็ได้เป็นคำแปลที่ถูกต้องกับความหมายทั้งนั้น ดังนี้แหละเป็น'''ธรรมจรรยา''' ฉะนั้น หลักธรรมจรรยาของพระพุทธเจ้าก็เป็นหลักที่เป็นแม่บทของหลักทั้งหลายแห่งความสุขสงบของชุมนุมชนทั้งปวงนั่นเอง ถ้าไม่อยู่ในแม่บทนี้แล้วจะเกิดความสงบสุขขึ้นไม่ได้ สมภาพ ภราดรภาพ เสรีภาพก็จักมีขึ้นไม่ได้ จะมีได้ก็เช่น เสรีภาพของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และผู้ที่จัดทำไปนอกแม่บทก็จะเป็นเหมือนเปรตจัดระเบียบดังกล่าวแล้ว ซึ่งต้องจัดกันไม่รู้จักเสร็จ ทั้งเป็นการก่อภัยก่อเวร ก่อศัตรูและความวุ่นวายเดือดร้อนจัดกันไปจนโลกแตกก็ไม่เสร็จ
 
กรรมตามที่กล่าวมานี้ ที่ชี้ระบุลงไปว่ากรรมคืออะไร และทำอย่างไรเป็นกรรมดี ทำอย่างไรเป็นกรรมไม่ดี เป็นทางกรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็พอประมวลเป็นหลักใหญ่ ๆ ได้เป็น ๓ ข้อ คือ
 
๑. พระพุทธศาสนาแสดงว่ามีกรรม ใครทำดีก็เป็นกุศลกรรมติดตัวอยู่ ใครทำชั่วก็เป็นอกุศลกรรมติดตัวอยู่
 
๒. พระพุทธศาสนาแสดงว่ามีกรรม วิบาก คือผลของกรรม ผลที่ดีเกิดจากกรรมที่ดี ผลที่ชั่วเกิดจากกรรมที่ชั่ว ไม่สับสนกัน เหมือนอย่างผลมะม่วงเกิดจากต้นมะม่วง ผลขนุนเกิดจากต้นขนุน หว่านพืชเช่นไรก็ได้ผลเช่นนั้น
 
๓. พระพุทธศาสนาแสดงว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน คือตัวเราเองทุก ๆ คนเป็นเจ้าของกรรมที่เราทำ และเป็นเจ้าของผลของกรรมนั้น ๆ ด้วย เมื่อตัวเราเองทำดีก็มีกรรมดีติดตัวและต้องได้รับผลดี เมื่อตัวเราเองทำไม่ดีก็มีกรรมชั่วติดตัวและต้องได้รับผลชั่วไม่ดี จะปัดกรรมที่ตัวเราเองทำให้พ้นตัวออกไปด้วยหาได้ไม่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อกรรมของตนเอง
 
เมื่อหลักกรรมของพระพุทธศาสนามีอยู่ดังนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้ทุก ๆ คนหมั่นนึกคิดอยู่เสมอ ๆ ว่าเรามีกรรมเป็นของตน เป็นกรรมทายาท คือเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัยเฉพาะตน เป็นคน ๆ ไป นอกจากนี้ พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและดีต่าง ๆ กัน เป็นต้น
 
ส่วนในลัทธิอื่น บางลัทธิปฏิเสธกรรมเสียเลย บางลัทธิรับรองหลักกรรมบ้าง ปฏิเสธบ้าง แต่การระบุว่าทำอะไรเป็นกรรมดี ทำอะไรเป็นกรรมไม่ดีก็มีกล่าวไว้ต่าง ๆ กัน ลัทธิที่ปฏิเสธหลักกรรมเสียเลยนั้น คือปฏิเสธว่ากรรมดีชั่วไม่มี ผลของกรรมดีชั่วก็ไม่มี เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่มีกรรมเป็นของของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของของกรรม เพราะเมื่อใครทำอะไรทำ แล้วก็แล้วไป ไม่เห็นมีอะไร ที่เรียกว่ากรรมเหลือติดตัว และที่ว่าดีไม่ดีนั้นก็เป็นการว่าเอาเอง ใครชอบก็ว่าดี ใครไม่ชอบก็ว่าไม่ดี เหมือนอย่างฝนตกแดดออก ใครชอบก็ชม ใครไม่ชอบก็ติ โดยที่แท้เป็นเรื่องของดินฟ้าอากาศ เป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่มีผลอะไรของกรรมอะไร ส่วนผลต่าง ๆ ที่ได้รับนั้นเกิดขึ้นตามคราวตามสมัย เหมือนอย่างผลไม้ต่าง ๆ ถึงคราวจะมีผล ก็มีผลขึ้นตามชนิด ลัทธิที่รับบ้างปฏิเสธบ้าง เช่น รับว่าเมื่อทำอะไรไปก็เป็นบุญเป็นบาป ทำนองรับรองว่ากรรมมี แต่เมื่อคราวจะต้องรับผลของกรรม ก็อยากจะรับแต่ผลของกรรมดี ไม่อยากรับผลของกรรมชั่ว จึงแสดงวิธีทำให้หายบาป เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ทำเองจึงมิใช่เป็นเจ้าของของกรรมที่ทำอย่างแน่นอน แต่มีเจ้าของอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นผู้บันดาลผลอะไรให้เกิดแก่ใครก็ได้ อาจเป็นผู้ยกบาปเพิ่มบาปให้ก็ได้ มีเรื่องเล่าไว้ใน'''''พงศาวดารลังกา'''''ว่า ในระหว่างพุทธ-ศตวรรษที่ ๒๒ โอรสของเจ้าผู้ครองรัฐที่อยู่กลางเกาะนามว่า '''''ราชสิงหะ''''' ได้ทำปิตุฆาต (ปลงพระชนม์พระบิดา)
 
แล้วเกิดกลัวบาป จึงได้ประชุมพราหมณ์ถามหาวิธีล้างบาป ฝ่ายภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาตอบว่า เป็น'''อนันตริยกรรม''' (กรรมหนักที่ให้ผลในอันดับสืบไปทีเดียว ไม่มีอะไรมาคั่นได้) ไม่มีทางจะล้างบาปได้ พวกพราหมณ์ตอบว่ามีวิธีล้างบาป ราชสิงหะจึงขัดเคืองภิกษุสงฆ์ ไปนับถือศาสนาพราหมณ์ เรื่องนี้เป็นตัวอย่างของคนที่อยากจะรับแต่ชอบ ไม่อยากรับผิดจากกรรมของตน อนึ่ง ลัทธิใด ๆ แม้จะรับรองหลักกรรมอยู่บ้าง แต่ก็แสดงว่าทำอะไรดีอะไรไม่ดีต่าง ๆ กัน เพราะถือหลักต่าง ๆ กัน เหมือนอย่างการฆ่าสัตว์ที่ทางพระพุทธศาสนาแสดงว่าเป็นบาปแต่ลัทธิอื่นแสดงว่าเป็นบุญก็มี หลักในการชี้ว่าอะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาปในพระพุทธศาสนานั้น ควรทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าคือหลักธรรมจริยา สมจริยาดังกล่าวข้างต้น หรือหลักเมตตา หลักยุติธรรม ดังแสดงแล้วในเรื่องเบญจศีลเบญจธรรม ฉะนั้น ที่พูดว่าทุกลัทธิศาสนาสอนให้คนละชั่วทำดี จึงนับถือได้เหมือน ๆ กัน อาจจะเป็นคำพูดเพื่อประนีประนอม หรือเพื่อแสดงมารยาทว่าไม่ยกตนข่มท่าน เจตนาก็ดีอยู่ แต่
 
ถ้าจะต้องนับถือกันจริง ๆ และต้องพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นว่าไม่เหมือนกัน ปฏิบัติกันไปคนละอย่าง เพราะเห็นว่าเป็นการถูกผิด เป็นบุญบาป หรือดีชั่วกันไปคนละอย่างเหมือนอย่างการฆ่าสัตว์ดังกล่าวแล้ว ได้ทราบว่าคราวหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้รับสั่งถามท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาสว่า เห็นว่าฆ่าสัตว์บูชายัญไปสวรรค์เป็นสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) หรือมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ตอบว่าเป็นสัมมาทิฏฐิแขกดังนี้ ท่านตอบเพียงเท่านี้ จะพูดกลับอีกที่หนึ่งก็ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิทางพุทธศาสนาเรื่องนี้เป็นตัวอย่างว่ามิได้นับถือได้เหมือนกันจริง
 
ไม่ต้องกล่าวถึงผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่น แม้พุทธศาสนิกชนเองซึ่งมีศรัทธาในกรรมอยู่บ้าง ก็ยังคลางแคลงกันอยู่โดยมากว่า ผู้ทำกรรมจะได้รับผลเมื่อไร เพราะตามที่ปรากฏเห็นกันอยู่ บางคนทำดีแต่ไม่เห็นว่าได้ดี บางคนทำชั่วแต่ไม่เห็นว่าได้ชั่ว บางทีกลับได้รับผลตรงกันข้าม จะมีอะไรมาพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วตามที่แสดงไว้ในพระพุทธศาสนา
 
เดี๋ยวนี้เมื่อพูดว่าอะไรเป็นอะไรก็มักจะถูกถามว่าพิสูจน์ได้หรือไม่ เหมือนอย่างวิธีพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อันทุก ๆ สิ่งที่ปรากฏขึ้น หรือดังที่เรียกว่าปรากฏการณ์นั้นต้องเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้แน่ในเมื่อมีเครื่องพิสูจน์ที่เพียงพอ แต่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ชนิดไหนก็สุดแต่สิ่งที่จะพิสูจน์ ถ้าสิ่งที่พิสูจน์นั้นเป็นวัตถุหรือสสาร ก็พึงพิสูจน์ด้วยเครื่องพิสูจน์ สำหรับวัตถุหรือสสารนั้นทางวิทยาศาสตร์ดังนี้เป็นต้น ถ้าสิ่งที่จะพิสูจน์เป็นอย่างอื่น จะใช้เครื่องพิสูจน์สำหรับวัตถุหรือสสารนั้นก็หาได้ไม่ ถ้าจะพึงใช้เครื่องพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวได้ทุกอย่างแล้ว ศาลหลวงก็ไม่ต้องตั้งขึ้น เพราะเมื่อใครถูกกล่าวหาฟ้องร้องว่าทำผิด ก็จับตัวมาเข้าห้องวิทยาศาสตร์พิสูจน์ ไม่ต้องขึ้นศาล ในบัดนี้แม้จะมีเครื่องจับเท็จก็ใช้เป็นเพียงเครื่องมือประกอบเท่านั้น ใช้เป็นเครื่องวินิจฉัยเด็ดขาดหาได้ไม่ ฉะนั้น จะพิสูจน์อะไรก็ต้องมีเครื่องพิสูจน์ที่ควรกัน กล่าวอย่างสรุป เมื่อสิ่งที่พิสูจน์เป็นวัตถุหรือสสารก็ใช้เครื่องพิสูจน์ในทางนั้น เมื่อสิ่งที่พิสูจน์เป็นความจริงที่นอกไปจากวัตถุหรือสสาร ก็ต้องใช้เครื่องพิสูจน์อย่างอื่นที่จะชี้ถึงความจริงนั้น ๆ ได้ดังวิธีที่ทั่วโลกใช้กันอยู่แล้ว เป็นต้นว่า
 
'''''การพิสูจน์ความผิด''''' เมื่อบุคคลถูกกล่าวหาฟ้องร้องว่าทำผิดกฎหมาย ก็ต้องพิสูจน์กันตามวิธีบัญญัติไว้ในกฎหมาย เช่น สืบสวน สอบสวน ไต่สวน พิจารณา วินิจฉัยโดยยุติธรรมตามกฎหมาย
 
'''''การพิสูจน์ภูมิรู้สติปัญญา''''' เรื่องนี้จะชั่งตวงวัดอย่างวัตถุ หรือจะคำนวณด้วยวิธีคณิตศาสตร์ให้รู้ว่าใครมีภูมิสติปัญญาเท่าไรหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นสิ่งที่มีส่วนกว้างบางตื้นลึกหนักเบาอย่างสิ่งของ ฉะนั้น จึงต้องใช้วิธีให้แสดงออกเหมือนอย่างในครั้งโบราณ ผู้ที่ไปเรียนสำเร็จศิลปศาสตร์มาแล้วก็แสดงศิลปศาสตร์นั้นในที่ประชุมชน ในบัดนี้ก็ใช้การสอบต่าง ๆ ตั้งข้อสอบให้ตอบ เมื่อตอบได้ตามกฎเกณฑ์ก็รับรองว่าสอบได้ มีภูมิรู้ชั้นนั้นชั้นนี้ แม้การวัดภูมิสติปัญญาที่เรียกว่าไอคิวของฝรั่งก็เป็นวิธีตั้งปัญหาให้ตอบเช่นเดียวกัน แล้วก็ตัดสินว่ามีสติปัญญาขนาดนั้นขนาดนี้ วิธีพิสูจน์ด้วยการสังเกตจากการแสดงออกนี้ก็คล้ายเป็นการทำนายอย่างหมอดู ซึ่งทำนายไปตามหลักเกณฑ์ ไม่ใช่เป็นความจริงอย่างเต็มที่เหมือนอย่างรู้ด้วยญาณ (ความหยั่งรู้จริง) แต่เรียกว่าเป็นญาณสมมติก็พอได้ คือต่างว่าเป็นญาณ เมื่อใช้วิธีซึ่งเป็นที่รับรองกันแล้ว เช่นวิธีสอบดังกล่าวก็เป็นใช้ได้
 
'''''การพิสูจน์มติและจิตใจ''''' เมื่อต้องการจะรู้ว่าใครมีความคิดเห็นอย่างไร จะใช้เครื่องชั่งตวงวัดเป็นต้นก็ไม่ได้เหมือนกัน ต้องใช้วิธีให้แสดงออกมา ในทางการเมืองเช่นออกเสียงเลือกตั้ง ออกเสียงแสดงประชามติ ในการประชุม เช่นการอภิปราย การลงมติ และในส่วนปลีกย่อย เฉพาะเรื่อง เฉพาะบุคคล ก็ใช้วิธีแหย่ให้บุคคลนั้นแสดงออกมาและสังเกตจากอาการที่เขาแสดงออกมานั้น แต่ถ้าเขาไม่แสดงอาการอะไรออกมาแล้วก็จะรู้ไม่ได้ เว้นไว้แต่จะมีญาณหยั่งรู้จิตใจของเขาเท่านั้น
 
การพิสูจน์ต่าง ๆ ตามที่กล่าวมานี้ แสดงว่าเครื่องพิสูจน์นั้นมีต่าง ๆ เมื่อเป็นวัตถุก็นำเข้าห้องวิทยาศาสตร์ เมื่อเป็นความผิดก็นำเข้าโรงศาล เมื่อเป็นภูมิรู้ก็นำเข้าสอบไล่ เมื่อเป็นจิตใจก็แหย่ให้แสดงออก ดังนี้เป็นต้น คราวนี้เป็นกรรมจะนำเข้าวิธีไหน? จะนำเข้าโรงศาลหรือจะนำเข้าห้องสอบไล่ดังกล่าวแล้วเป็นต้นก็คงไม่ได้ผล จึงต้องนำเข้าพิสูจน์ตามหลักเหตุผล อันเป็นเหตุผลอย่างธรรมดาสามัญที่สามารถจะเข้าใจ
 
ได้ด้วยสามัญสำนึกของทุก ๆ คนดังจะกล่าวต่อไปนี้
 
ทุก ๆ คนเมื่อตากแดดก็ร้อน เมื่ออาบน้ำก็เย็น เมื่อได้รับความร้อนเย็นตามที่ต้องการก็เป็นสุข เมื่อได้รับเกินต้องการก็เป็นทุกข์ สิ่งที่ทำให้เป็นสุขหรือเป็นทุกข์เหล่านี้เรียกว่าเหตุ ส่วนความสุขหรือทุกข์ที่ได้รับเรียกว่าผล ถ้าเป็นเหตุผลในทางให้เกิดสุขก็เรียกว่าดี ถ้าเป็นเหตุผลในทางให้เกิดทุกข์ก็เรียกว่าชั่วร้าย เหตุผลที่เกิดจากการทำของบุคคลก็เช่นเดียวกัน เช่น เมื่อผู้ใดมารังแกตัวเราให้เดือดร้อนเราก็เห็นว่าคนนั้นไม่ดี เกเร เมื่อมีผู้ใดมาช่วยเหลือเกื้อกูลตัวเราให้เป็นสุขสบาย เราก็เห็นว่าคนนั้นเป็นคนดีเป็นคนมีคุณเกื้อกูล ตัวอย่างง่าย ๆ ดังกล่าวนี้เป็นเครื่องแสดงว่าทุก ๆ คนต่างก็มีสามัญสำนึกบอกตัวเองอยู่ว่า ความดีและความชั่วมีจริง เพราะเรารู้สึกตัวของเราเองว่า คนนั้นทำดีแก่เรา คนโน้นทำชั่วร้ายแก่เรา และในทำนองเดียวกันตัวเราเองก็มีความรู้สึกเหมือนกันว่า ตัวเราเองทำดีหรือไม่ดีอย่างไร จนถึงบางทีรู้สึกภูมิใจในความดีของเรา หรือเสียใจในความชั่วของเรา ในเมื่อเกิดรู้สึกตัวขึ้น อันความดีหรือความชั่วที่ตัวเราเองทำหรือที่คนอื่นทำซึ่งปรากฏในความรู้สึกของเรานั้นคืออะไรเล่า? ก็คือ กรรมนั่นเองเป็น '''''กุศลกรรม''''' (กรรมดี) บ้าง เป็น '''''อกุศลกรรม''''' (กรรมชั่ว) บ้าง ฉะนั้นกรรมจึงมีจริง และมีตัวอยู่จริง เพราะติดอยู่ในความรู้สึก ในจิตใจของตัวเราเอง ท่านผู้ทำความดีให้แก่ตัวเรา เช่นมารดาบิดาและผู้มีอุปการคุณทั้งหลาย พระคุณของท่านเหล่านี้ย่อมติดอยู่ในจิตใจของตัวเรา เกิดเป็นความกตัญญู(รู้พระคุณที่ท่านได้ทำ) และกตเวที(ประกาศพระคุณที่ท่านได้ทำแล้ว คือการตอบแทนพระคุณท่าน) ในทางตรงกันข้าม เมื่อใครทำไม่ดีต่อเราก็มักจะติดใจตัวเรา กลายเป็นผูกเวรกันต่อไปได้เหมือนกัน กรรมของคนอื่นยังติดใจตัวเราเองอยู่ได้ถึงเช่นนี้ ไฉนกรรมของเราเองจะติดใจตัวของเราเองอยู่ไม่ได้
 
เราไม่สามารถจะแกล้งลืมกรรมของเราได้ ถึงจะลืมไปแล้วก็ยังฝังอยู่อย่างลึกซึ้งในจิตใจ เพราะกรรมเกิดจากเจตนาของเรา จึงเป็นรอยจารึกของจิตใจ
 
เมื่อรู้สึกว่ากรรมมีจริง ทำดีเมื่อใดเป็นกรรมดีเมื่อนั้น ทำไม่ดีเมื่อใดเป็นกรรมชั่วเมื่อนั้น ปัญหาต่อไปจึงมีว่ากรรมวิบากคือผลของกรรมมีหรือไม่และมีอย่างไร คิดดูง่าย ๆ ในเวลาสอบไล่ เมื่อได้รับข้อสอบ คิดออกตอบได้ สอบไล่ได้ การที่ตอบได้สอบไล่ได้เป็นผลดีเกิดจากความตั้งใจเรียนดี นี้แหละคือกรรมดี ทำให้เกิดผลดีคือสอบไล่ได้ ถ้าตรงกันข้ามเรียนอย่างเหลวไหลจนถึงสอบไม่ได้ นี้เป็นกรรมชั่ว ทำให้เกิดผลชั่วคือ สอบตก ฉะนั้นผลของกรรมจึงมีอยู่จริง และมีตามชนิดของกรรม คือ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว เพราะกรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่วเสมอ ไม่สับสนกัน เหมือนอย่างต้นมะม่วงให้ผลเป็นมะม่วง ต้นขนุนให้ผลเป็นขนุน เป็นไปตามชนิด
 
แต่ยังมีปัญหาต่อไปอีก กรรมและกรรมวิบากนั้นเป็นของใคร คิดดูง่าย ๆ อย่างการเรียนการสอบดังกล่าวแล้ว คนไหนเรียนคนนั้นรู้ คนไหนไม่เรียนคนนั้นก็ไม่รู้ ถ้าไม่เรียนใครจะมาบันดาลให้ใครรู้ขึ้นเองหาได้ไม่ ฉะนั้น กรรมและกรรมวิบากจึงเป็นของของคนที่ทำกรรมนั้นเอง ผู้ใดทำกรรมอย่างใดก็ย่อมได้ผลกรรมอย่างนั้น เหมือนอย่างหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น ทุก ๆ คนจึงต้องรับผิดชอบต่อกรรมของตนเอง จะป้ายไปให้คนอื่นไม่ได้ คนที่ทำดี เช่น ประพฤติตนเรียบร้อย ช่วยทำกิจที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น จะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม ก็เป็นคนดีขึ้นเพราะกรรมของตน ใครจะรู้จะชมหรือไม่ก็ตาม ตัวผู้ทำเองก็รู้สึกตัวเองว่าทำดี คนที่ทำไม่ดี เช่น ประพฤติตนเกะกะระราน เป็นคนหัวขโมย เป็นต้น ก็เป็นคนชั่วขึ้นเพราะกรรมของตน ใครจะรู้จะติหรือไม่ก็ตาม ตัวผู้ทำเองก็รู้สึกว่าตัวของตัวทำชั่ว อาจจะป้ายความผิดให้ผู้อื่นด้วยการหลอกให้คนอื่นเข้าใจผิด แต่จะหลอกตัวเองไม่ได้ ตัวเองย่อมรู้สึกสำนึกตัวเองอย่างเต็มที่ ฉะนั้นเมื่อทำดีทำชั่วแล้วจึงปัดดีปัดชั่วออกไปให้พ้นตัวเองไม่ได้ เพราะรู้สึกตัวเองอยู่ทางจิตใจของตน ใครจะแย่งดีไป จะใส่ชั่วให้ก็ไม่ได้ นอกจากจะหลอกให้คนอื่นเข้าใจผิดเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นความจริง
 
สรุปความว่า เมื่อคิดพิสูจน์ด้วยสามัญสำนึกตามเหตุผลอย่างง่าย ๆ ในเรื่องความดีความชั่วทั่ว ๆ ไปที่มีอยู่เฉพาะหน้า ก็จะเห็นได้แล้วว่า
 
๑. กรรมมี คือ มีความดีความชั่วในการทำของทุก ๆ คน
 
๒. กรรมวิบากมี คือ มีผลดีของความดี มีผลชั่วของความชั่ว
 
๓. กรรมเป็นของผู้ทำ คือ ใครทำกรรมอย่างใดก็ได้รับผลกรรมอย่างนั้น
 
เมื่อกล่าวเฉพาะตัวของเราเองแล้ว เมื่อเป็นกรรมของเราเองยิ่งพิสูจน์ได้ง่าย คือ นำเข้าพิสูจน์ในห้องใจของเราเอง เพราะเรารู้ตัวเราเองได้ดี แต่ข้อสำคัญเราต้องมียุติธรรม คือ ไม่ลำเอียง เหมือนอย่างการพิสูจน์วัตถุ
 
หรือสสารในห้องวิทยาศาสตร์ เครื่องพิสูจน์ต้องใช้ได้หรือการพิสูจน์ความผิดในโรงศาล โรงศาลก็ต้องสถิตยุติธรรม
 
คำเก่า ๆ มีกล่าวว่า “ถึงคนไม่เห็นเทวดาก็เห็น” เดี๋ยวนี้อาจเห็นว่าพ้นสมัย แต่ถ้ารู้จักคิด คำนี้ก็ยังใช้ได้ คือเทวดาในดวงใจของเราเอง หมายความว่ามี '''''หิริ''''' (ละอายใจ) และ '''''โอตตัปปะ''''' (เกรงบาป) ซึ่งท่านเรียกว่าเป็นเทวธรรม (ธรรมของเทวดา หรือธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา) ใจที่มีละอายมีเกรงต่อบาปคือ ความชั่วช้าต่าง ๆ นี้แหละเทวดา แต่ใจกระด้าง ด้าน หยาบช้า แข็งกร้าว ชั่วร้ายอาจมองไม่เห็น ภาษิตมอญมีกล่าวว่า “เมื่อกาจับที่ใบต้นหญ้า ด้วยคิดว่าไม่มีใครเห็น ถึงกระนั้นก็มีผู้เห็นอยู่ถึงสองเป็นอย่างน้อย” ผู้เห็นทั้งสอง
 
ในภาษิตมอญนี้คือใคร ขอให้คิดเอาเอง ถ้าคิดไม่เห็นก็ให้ส่องหน้าในกระจก ก็จะเห็นผู้ที่เห็นกา แม้พระพุทธภาษิตก็มีกล่าวไว้ว่า ''“ชื่อว่าที่ลับย่อมไม่มีแก่ผู้ทำชั่ว”''
 
ข้อที่ควรกล่าวย้ำอีกก็คือ มักจะเข้าใจกันอีกอย่างหนึ่งว่า เรื่องของกรรมเป็นเรื่องอดีตคือล่วงมาแล้ว ในปัจจุบันเรามักมีหน้าที่ปล่อยตนให้เป็นไปตามกรรมที่เรียกกันว่ายถากรรมเท่านั้น จึงไม่คิดจะทำอะไร ถ้าเห็นดังนี้เป็นความเห็นผิด ดังลัทธิของอำมาตย์ที่ถือว่าอะไร ๆ เกิดเพราะกรรมปางก่อน (ปุพเพกตเหตุ) ดังกล่าวแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนมิให้เชื่อ ลัทธินี้ถือว่าเป็นลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา และตรัสยก '''''เวทนา สุข ทุกข์''''' ที่ทุก ๆ คนได้รับอยู่เป็นตัวอย่าง ว่าเกิดเพราะโรคต่าง ๆ ในปัจจุบันก็มี เกิดเพราะกรรมเก่าก็มี ฉะนั้น เมื่อโรคเกิดขึ้นก็ต้องเยียวยา และต้องป้องกันรักษาตัวไม่ให้เกิดโรค ในด้านความประพฤติต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน ให้ละกรรมที่ชั่วทำกรรมที่ดี กรรมปัจจุบันนี้แหละเป็นข้อสำคัญแห่งชีวิตของทุก ๆ คน คือ การที่เราทำอยู่เดี๋ยวนี้ ถ้อยคำที่เราพูดอยู่เดี๋ยวนี้ เรื่องที่เราคิดอยู่เดี๋ยวนี้ เป็นหน้าที่ของเราจะต้องคอยตรวจตราดูให้ตัวเราเองทำพูดคิดแต่ในทางที่ถูก ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ส่วนเดียวเท่านั้น อย่าเอาเรื่องกรรมเก่ามาเป็นเครื่องตัดรอนคุณประโยชน์ มาทำให้นอนรอโชคลาภ ดังมีเรื่องเล่าเป็นคติไว้ว่า มีชาย ๒ คนไปให้หมอดู หมอทำนายทางคนหนึ่งว่าจะได้เศวตฉัตร ทำนายอีกคนหนึ่งว่าจะลำบาก ชายคนที่ได้รับทำนายว่าจะได้เศวตฉัตรก็ดีใจ นั่งนอนรอไม่ทำมาหากินอะไร ในที่สุดก็สิ้นทรัพย์สมบัติไปนอนเจ็บอยู่อย่างอนาถในป่าทุ่ง มีพระธุดงค์เดินผ่านมาพบเข้า มีจิตสงสารจึงเอากลดไปปักให้ ชายผู้นั้นก็สิ้นใจในกลดของพระธุดงค์ก็ได้เศวตฉัตรเหมือนกัน เพราะคำว่าเศวตฉัตรแปลว่าร่มขาว กลดของพระธุดงค์ก็เป็นร่มขาวชนิดหนึ่ง ส่วนชายอีกคนหนึ่งซึ่งได้รับทำนายว่าจะลำบาก เกิดความกลัวลำบากจึงตั้งหน้าขวนขวายพากเพียรทำมาหากิน เก็บออมทรัพย์สินอยู่เรื่อย ๆ มา จึงมีหลักฐานเป็นสุขสบายขึ้นโดยลำดับ แต่ก็ลำบากมาก่อนเป็นอันมาก เรื่องนี้เป็นคติสอนใจว่าหน้าที่ของเราทุก ๆ คนก็คือทำกรรมปัจจุบันนี้แหละให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปแล
 
ในจิตใจที่มีสามัญสำนึกของทุก ๆ คน ย่อมมีความรู้สึกว่า มีความดีความชั่ว มีผลของความดีความชั่ว และผู้ทำนั้นเองเป็นผู้มีความดีความชั่วติดตัวอยู่ เพราะใครทำกรรมอันใด กรรมอันนั้นย่อมจารึกอยู่ในจิตใจ และผู้ทำนั้นเอง ต้องเป็นผู้รับผล คือ รับผิดชอบต่อการกระทำของตน ความพิสดารในเรื่องนี้ได้แสดงแล้ว แต่การที่คนไม่น้อยยังไม่มีความเชื่อตั้งมั่นลงไปในกรรมตามหลักที่กล่าว ซึ่งรวบรัดโดยกล่าวย่อว่า ''“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”'' ก็เพราะเหตุ ๒ ประการคือ ๑. ความลำเอียงเข้ากับตนเอง หรือถือเอาแต่ใจตน ๒. ไม่เห็นผลสนองที่สาสมทันตาทันใจ
 
๑. ความลำเอียงเข้ากับตนเองนั้น คือมุ่งประโยชน์ตน หรือมุ่งจะได้เพื่อตนเท่านั้น ไม่คำนึงถึงความเสียหายทุกข์ยากของผู้อื่น ดังเช่นเมื่อโกรธขึ้นมาก็ทำร้ายเขา เมื่ออยากได้ขึ้นมาก็ลักของของเขา เมื่อทำได้สำเร็จดังนี้ก็มีความยินดีและอาจเข้าใจว่าทำดี แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากให้ใครมาทำร้ายตัวเรา มาลักของของเรา ถ้าใครมาทำเข้าเราก็ต้องว่าเขาไม่ดี ถึงเราจะไปยั่วให้เขาโกรธ เมื่อเขาโกรธขึ้นแล้วมาทำร้ายร่างกายเรา เราก็ยังว่าเขาไม่ดีอยู่นั่นเอง การกระทำอย่างเดียวกันจะดีบ้างไม่ดีบ้างอย่างไรได้ เหมือนอย่างการทำร้าย
 
ร่างกาย การลักทรัพย์ เมื่อเราทำแก่เขาได้ก็เป็นดี แต่ถ้าเขาทำแก่เราเป็นไม่ดี จะเป็นดังนี้หาถูกต้องไม่ เพราะ
 
เป็นการที่เราพูดเอาเองอย่างไม่ยุติธรรม แต่การลำเอียงเข้ากับตนเองข้อนี้แหละ เป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้คนเป็นอันมากยังประกอบกรรมชั่วเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือประโยชน์แก่ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับตน ถึงจะมีกรรมศรัทธาอยู่อย่างผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนามีอยู่ทั่ว ๆ ไปก็ตาม
 
เมื่อความมุ่งจะได้ (โลภะ) ความโกรธแค้นขัดเคือง (โทสะ) ความหลงผิด (โมหะ) มีกำลังแรงกล้ากว่ากำลังศรัทธา คนก็ประกอบกรรมที่ชั่วได้สุดแต่ใจที่อยากได้ ที่โกรธ ที่หลง จะฉุดชักนำไป ที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะ
 
ไม่มีความรู้สึกสำนึกรู้ในความดีความชั่ว ก็มีความรู้สึกสำนึกรู้เหมือนกัน แต่ไม่มีกำลังใจในฝ่ายสูงที่จะห้ามกำลังใจในฝ่ายต่ำ จึงยับยั้งตนเองไว้ไม่ได้ มีคนเป็นอันมากเมื่อทำไปแล้วเกิดเสียใจในภาย
 
หลัง ดังเช่นเมื่อทำอะไรลงไปในขณะที่อยากได้หรือรักชอบอย่างจัด ในขณะที่โกรธจัด ในขณะที่หลงจัดอย่างที่เรียกว่าหลงอย่างไม่ลืมหูลืมตา หรือในขณะที่กำลังเมาสุราอันเรียกได้ว่าหลงเหมือนกัน ครั้นเมื่อสร่างรัก สร่างชัง สร่างหลงสร่างเมาแล้ว ก็กลับเสียใจในกรรมที่ตนได้ประกอบไปแล้วในขณะที่ใจวิปริตเช่นนั้น และทำให้เกิดความเกลียดตนเองหรือรังเกียจตนเองจนถึงต้องหลบหน้าเพื่อนฝูงมิตรสหายไปก็มี แต่ถึงจะหลบหน้าคนอื่นเป็นส่วนมากได้ แต่หลบตนเองไปไม่พ้น เมื่อเกิดความเกลียดหรือรังเกียจตนเองมากขึ้นจนไม่สามารถจะทนอยู่ในโลกได้ต้องพยายามทำลายตนเองไปก็มี
 
ฉะนั้น เมื่อเกิดแผลในใจขึ้นก็มักเป็นชนิดโรคเรื้อรังที่รักษาหายยาก สู้ป้องกันไม่ให้มีขึ้นไว้ก่อนไม่ได้ ทั้งนี้ด้วยวิธีปลูกกรรมศรัทธาคือความเชื่อ กรรมนี้แหละให้ตั้งมั่นขึ้นในใจ ให้มีเป็นกำลังใจจนพอที่จะเชื่อใจได้ว่าจะไม่ประกอบกรรมที่ชั่วที่ผิดอะไร ๆ ถ้ายังคลางแคลงสงสัยไม่เชื่อใจตนเองว่าจะยับยั้งใจไว้ได้ ก็ต้องเว้นจากสิ่งยั่วยุเย้าแหย่ต่าง ๆ ฉะนั้น ทางบิดามารดาหรือผู้ปกครองและทางโรงเรียนจึงได้คอยแนะนำสั่งสอนห้ามปรามไม่ให้อ่านหนังสือบางชนิด ไม่ให้ดูภาพยนตร์บางชนิดที่เป็นเครื่องยุแหย่ยั่วเย้าให้ประพฤติผิดศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดี คำแนะนำห้ามปรามนั้นก็สมควรที่จะเชื่อฟังและปฏิบัติตาม เป็นการป้องกันตัวเราเองไว้ตั้งแต่เบื้องต้น ท่านผู้ใหญ่ที่กรุณาให้คำแนะนำตักเตือนก็ดี พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมสั่งสอนก็ดี ท่านก็ได้แต่เป็นเพียงผู้บอกกล่าวแนะนำ ส่วนความเชื่อฟังเป็นหน้าที่ของเราเอง เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่ในใจของเรา ถ้าใจของเราเกิดดื้อดึงขัดแย้งไม่เชื่อฟังเสียแล้ว คำแนะนำตักเตือนต่าง ๆ ก็ไม่มีประโยชน์ หรือมีประโยชน์น้อยมาก ฉะนั้น จึงควรที่จะคอยตรวจดูใจของเราเองว่ามีความเชื่อฟังต่อคำแนะนำสั่งสอนอยู่เพียงไร มีความดื้อดึงขัดแย้งอยู่เพียงไร และคิดต่อไปว่าเพราะเหตุไร เมื่อนั้นคิดอยู่ดังนี้แล้วจะเห็นผลเทียบเคียงได้เอง หรือถ้ายังไม่เห็นได้เองก็ต้องซักถาม และท่านผู้แนะนำอบรมก็มักจะชี้แจงให้รู้ให้เข้าใจ ถ้าคิดตั้งใจฟังคำชี้แจงของท่าน ไม่ตั้งป้อมดื้อดึงเสียก่อนแล้ว ก็คงจะได้ความกระจ่างในคำแนะนำของท่าน และจะได้ความซาบซึ้งในเมตตากรุณาของท่าน
 
การหัดมีความเชื่อฟังอย่างมีเหตุผลนี้ เป็นวิธีแก้ความลำเอียงเข้ากับตนเอง ที่เป็นเหตุให้ทำอะไรตามใจตนเองโดยส่วนเดียว ผู้ใหญ่ที่ดีจึงไม่ตามใจเด็กในทางที่ผิด คอยแนะนำห้ามปราม หรือแม้ต้องปราบเอาบ้างตามสมควร เป็นการหัดไม่ให้ลำเอียงเข้ากับตนเอง หรือถือเอาแต่ใจตนเองมาตั้งแต่อ่อน เข้าใจคำ
 
ว่าดัดไม้ตั้งแต่อ่อน เพราะดัดเมื่อแก่นั้นเป็นการดัดที่ยาก เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นการสั่งสอนให้เป็นคนรู้ผิดรู้ถูกอย่างมีเหตุผลในเรื่องที่เกี่ยวข้องทุก ๆ วัน ทำให้รู้จักเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อว่ามีถูกมีผิด มีเหตุมีผล ซึ่งเมื่อเป็นความผิดแล้ว ตัวเราเองทำก็ผิด คนอื่นทำก็ผิด เมื่อเป็นความถูกแล้ว ตัวเราเองทำก็ถูก คนอื่นทำก็ถูก ข้อนี้แหละเป็นกรรมศรัทธา ที่ผู้ใหญ่สมควรปลูกฝังให้แก่เด็กมาตั้งแต่ต้น และผู้ใหญ่ก็ควรเว้นจากการกระทำสิ่งที่ไม่เหมาะไม่งามให้เด็กเห็นและอ้างได้ว่าทำไมผู้ใหญ่ทำได้ เช่น ห้ามไม่ให้เด็กทะเลาะวิวาทกัน แต่ผู้ใหญ่เมาสุราทะเลาะวิวาทกัน ห้ามไม่ให้เด็กเล่นการพนันเที่ยวเตร่ แต่ผู้ใหญ่เล่นการพนันเที่ยวเตร่ เหล่านี้เป็นต้น เมื่อทำให้เห็นเป็นตัวอย่างไม่ดี ก็ทำให้เด็กอยากเอาอย่าง ทำให้น้ำหนักในคำอบรมห้ามปรามน้อยลงไปจนเกือบจะไม่มีความหมายอะไรและจะเข้าทำนองคำที่ว่า จงทำตามคำที่ฉันพูดแต่อย่าประพฤติอย่างที่ฉันทำ
 
๒. ไม่เห็นผลสนองที่สาสมทันตาทันใจ โดยมากต้องการเห็นผลของกรรมเกิดสนองให้เห็นอย่างสาสมทันตาทันใจ เช่น เมื่อทำกรรมดีก็อยากเห็นกรรมดีให้ผลเป็นรางวัลอย่างมากมายทันตาทันใจ เมื่อเห็นหรือได้ทราบว่าใครทำกรรมชั่ว และไม่เห็นว่าเขาเสื่อมเสียอย่างไร หรือกลับเจริญรุ่งเรือง ก็สงสัยว่าทำชั่วไม่ได้ชั่วจริงกระมัง อันที่จริงกรรมดีต้องให้ผลดี กรรมชั่วต้องให้ผลชั่ว ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อย่างไม่ผิดโดยแน่นอน และผลที่สนองนั้นจะเรียกว่าเป็นผลที่สาสมก็ได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นตัวอย่างในพระสูตร ๑ ว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย (หมายถึงทั้งคนทั้งดิรัจฉานเป็นต้น ที่เกี่ยวข้องอยู่ในโลกทั้งหมด) ให้เลวและดีต่าง ๆ กัน คือ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทำให้มีอายุสั้น การเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทำให้มีอายุยืน การเบียดเบียนเขาให้ลำบากทำให้มีโรคมาก การไม่เบียดเบียนเขาให้ลำบาก ทำให้มีโรคน้อย ความมักโกรธหุนหันขึ้งเคียดแค้นขัดเคืองกระเง้ากระงอด ทำให้ผิวพรรณเศร้าหมองไม่งดงาม ความไม่มักโกรธเคียดแค้นทำให้ผิวพรรณผ่องใสงดงาม ความมักริษยาผู้อื่นทำให้มีศักดิ์ต่ำต้อยน้อยหน้า ความไม่ริษยาทำให้มีศักดิ์สูงใหญ่ ความไม่เผื่อแผ่เจือจานทำให้มีโภคสมบัติน้อย ความเผื่อแผ่เจือจานทำให้มีโภคสมบัติมาก ความแข็งกระด้างถือตัวดูหมิ่นท่าน
 
ทำให้เกิดในสกุลต่ำ ความไม่แข็งกระด้างถือตัวดูหมิ่นท่าน มีความอ่อนน้อมเคารพนับถือผู้ที่ควรอ่อนน้อมเคารพนับถือทำให้เกิดในสกุลสูง ความไม่เข้าหานักปราชญ์หรือผู้รู้ศึกษาไต่ถามทำให้มีปัญญาทราม การเข้าหานักปราชญ์หรือผู้รู้ศึกษาไต่ถามทำให้มีปัญญามาก
 
==== สถานการณ์ ๔ อย่าง ====
ผลที่สาสมกันของกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นตัวอย่างดังที่กล่าวมานี้ เป็นผลของกรรมเก่า คือกรรมที่ทำไว้แล้วในอดีตกาล ส่วนกรรมใหม่คือกรรมที่ทำในปัจจุบันนี้ ท่านแสดงว่าจักให้ผลในชาติปัจจุบันนี้ เหมือนอย่างในวันนี้ ในเดือนนี้ ในปีนี้เองก็มี จักให้ผลในชาติหน้า เหมือนอย่างในวันพรุ่งนี้ ในเดือนหน้า ในปีหน้าก็มี จักให้ผลในชาติต่อ ๆ ไปเหมือนอย่างในวันมะรืนนี้ หรือในเดือนโน้น ในปีโน้นเป็นต้นก็มี ฉะนั้น การให้ผลของกรรมจึงเกี่ยวแก่กาลเวลาเป็นสำคัญ การกระทำทุก ๆ อย่างที่ให้ผลนั้นต้องเกี่ยวแก่กาลเวลาทั้งนั้น เช่น การปลูกต้นไม้ มีผลก็มิใช่ว่าต้นไม้นั้นจะให้ผลทันที ต้องรอจนต้นไม้เจริญเติบโตและถึงฤดูกาลให้ผล จึงจะให้ผลตามชนิด การเรียนหนังสือก็มิใช่ว่าจะเรียนให้สอบไล่ได้ในวันเดียว ต้องเรียนเรื่อยไปจนถึงกำหนดสอบไล่จึงเข้าสอบไล่ บางทีก็ต้องเรียนซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เมื่อไม่ละความพยายามก็อาจจะสอบไล่ได้ การทำการค้าประกอบการอุตสาหกรรมต่าง ๆ รับราชการ หรือประกอบอาชีพทุกอย่างก็เหมือนกัน จะได้รับผลก็อาศัยกาลเวลาทั้งนั้น และผลที่ได้รับนั้นจะดีหรือไม่ดีอย่างไร จะรวดเร็วหรือช้าอย่างไรก็สุดแต่สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แม้ในเรื่องกรรมให้ผล ท่านก็แสดงว่าเกี่ยวแก่สถานการณ์ ๔ อย่าง คือ
 
===== '''''๑. คติ''''' =====
คือที่ไป แสดงในปัจจุบัน คือ ไปทุก ๆ แห่ง จะไปเที่ยว ไปพักอาศัยชั่วคราว หรือไปอยู่ประจำก็ตาม คนที่ทำดีมาแล้ว ถ้าไปในที่ที่ไม่ดี ความดีที่ทำไว้ก็อาจจะยังไม่ให้ผล เหมือนอย่างนักเรียนที่เรียนมัธยม ๖ มาแล้วจากต่างจังหวัด เรียกว่าได้ทำความดีมาแล้วถึงขั้นนั้น และเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ แต่ไปอยู่ในหอพักที่ไม่ดี เมื่อควรจะไปโรงเรียนก็ไม่ไป แต่ไปเถลไถลเสียที่อื่น อย่างนี้เรียกว่ามีคติที่ไปไม่ดี ความดีเท่าที่ทำไว้คือที่เรียนมาจนจบมัธยม ๖ ในต่างจังหวัดก็ไม่ส่งเสริมให้เจริญวิทยฐานะขึ้นต่อไป ส่วนนักเรียนที่เรียนมาไม่สู้ดี ไม่จบถึงชั้นไหน แต่เกิดความตั้งใจดี ไปพักอาศัยอยู่ในที่ที่ดีและไปเรียนกวดวิชาอย่างจริงจังก็อาจจะสอบขึ้นชั้นสูงได้ ตัวอย่างนี้เป็นเพียงตัวอย่างเฉพาะเรื่องเท่านั้น เมื่อกล่าวโดยส่วนรวมแล้ว คนที่มีกรรมเก่าไม่ดีแต่ว่ามีคติใหม่ดี อย่างที่เรียกว่า กลับตนดำเนินทางใหม่ คือเว้นจากทางไม่ดีเก่า ๆ ที่เคยดำเนินมา มาเปลี่ยนดำเนินทางใหม่ที่ดีอันตรงกันข้าม กรรมชั่วที่ทำไว้แล้วแต่ก่อนก็อาจยังไม่ให้ผล ได้ในคำว่า มืดมาสว่างไป ถ้าทางเก่าก็ไม่ดีทางใหม่ก็ไม่ดี ได้ในคำว่า มืดมามืดไป ก็เป็นอันเอาดีไม่ได้เลย ส่วนคนที่ทำความดีมาแล้วเรียกว่าเดินทางถูกมาแล้ว แต่ต้องกลับไปเดินทางผิด กรรมดีที่ทำไว้แล้วก็อาจยังให้ผลไม่ได้ ได้ในคำว่า สว่างมามืดไป ฝ่ายคนที่มาดี คือเดินทางมาถูกแล้วและก็เดินทางถูกต่อไป เป็นอันว่าความดีที่ทำไว้สนับสนุนให้ดีอีกต่อไปไม่ขาดสาย ได้ในคำว่าสว่างมาสว่างไป ฉะนั้น คติที่ไปหรือการไป คือทางที่ทุก ๆ คนดำเนินอยู่ในปัจจุบันนี่แหละสำคัญมาก ในส่วนที่ล่วงมาแล้วจะผิดหรือถูกเราก็ได้ดำเนินมาแล้ว ฉะนั้น ให้ถือว่าเป็นอันแล้วไป หรือให้ถือเป็นบทเรียน ถ้าเดินทางดีมาแล้วก็จงเดินทางดีนั้นต่อไป ถ้าทางที่เดินมาแล้วไม่ดีก็เปลี่ยนทางใหม่ เลือกเดินไปในทางที่ดี นับว่าเป็นผู้ที่กลับตัวได้ เข้าในคำว่ามืดมาสว่างไป พระพุทธเจ้าโปรดปรานบุคคลเช่นนี้ ดังเช่น องคุลิมาลโจรเป็นตัวอย่าง เพราะทุก ๆ คนย่อมมีผิดพลาดมาแล้วมากบ้างน้อยบ้าง ยิ่งผ่านชีวิตมามากยิ่งมีโอกาสผิดพลาดได้มาก จนถึงมีคำพังเพยว่า ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ ข้อสำคัญจึงอยู่ที่เมื่อทำผิดไปแล้วก็ให้รู้ตัวว่าทำผิดและตั้งใจไม่ให้ทำผิดอีก เป็นอันนำตัวให้เข้าทางที่ถูกนี่แหละคือคติที่ดีของชีวิตปัจจุบัน
 
===== '''''๒. อัตภาพ''''' =====
หมายถึง ความมีร่างกายสมบูรณ์ประกอบด้วยพลานามัย สามารถทำสิ่งที่ควรทำได้ตามต้องการ พลานามัยของร่างกายนี้เป็นสิ่งสำคัญ ความดีจะให้ผลเต็มที่ต่อเมื่อร่างกายสมบูรณ์ด้วย เช่น เรียนหนังสือมาได้ถึงชั้นใดชั้นหนึ่ง นับว่าได้ทำความดีมา จะเรียนต่อไปได้จนสำเร็จก็ต้องมีร่างกายสมบูรณ์ที่สามารถจะเรียนต่อไปได้ ถ้าป่วยเป็นโรคกระเสาะกระแสะ การเรียนต่อก็ขัดข้องไม่สะดวก หรือคนที่กำลังทำงาน ถ้าล้มป่วยลง ความเจริญก็ชะงัก ในทางตรงกันข้าม คนที่เคยประพฤติผิดพลาดเหลวไหลมาแล้ว แต่ต่อมาได้คติของชีวิตที่ดีดังกล่าวแล้วในข้อคติ ก็อาจประกอบกรรมที่ดีสืบต่อไปได้ ความเหลวไหลที่แล้วมาก็อาจยังไม่มีโอกาสให้ผล ความมีอัตภาพร่างกายสมบูรณ์เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตทุกอย่าง เพราะเครื่องบั่นทอนต่าง ๆ นั้นมีเป็นอันมาก กล่าวโดยเฉพาะในทางการแพทย์ปัจจุบันนี้ก็แสดงว่ามีเชื้อโรคต่าง ๆ ในที่ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกโดยรอบร่างกายมากมายหลายชนิด เมื่อร่างกายมีกำลังต้านทานเชื้อโรคเพียงพอก็ไม่เกิดอาการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนแอลงเมื่อใดเชื้อโรคก็ได้ช่องเมื่อนั้น ฉันใดก็ดี กรรมดีกรรมชั่วต่าง ๆ ที่บุคคลทำไว้ในปางหลังก็มีมากมาย ถ้าเราตั้งตัวไว้ดี กรรมชั่วก็อาจไม่มีโอกาสให้ผล กรรมดีมีโอกาสส่งเสริม แต่เมื่อเพลี่ยงพล้ำลงเมื่อใดกรรมชั่วก็มีโอกาสให้ผลซ้ำเติมเมื่อนั้น
 
===== '''''๓. กาลสมัย''''' =====
หมายถึงว่า ในกาลสมัยที่สมบูรณ์ มีผู้ปกครองดี มีหมู่ชนที่ดี กรรมดีก็มีโอกาสให้ผลได้มากกรรมชั่วก็อาจสงบผลอยู่ก่อน เพราะในกาลสมัยเช่นนี้จะพากันยกย่องอุดหนุนคนดี ไม่สนับสนุนคนชั่ว ทำให้คนดีมีโอกาสปรากฏตัว ประกอบกรรมที่ดี อำนวยให้เกิดประโยชน์สุขแก่ส่วนรวมยิ่งขึ้น แต่ในกาลสมัยที่บกพร่อง มีผู้ปกครองไม่ดี มีหมู่ชนไม่ดี ยกย่องคนชั่วนับว่าเป็นกาลวิบัติ อีกอย่างหนึ่ง ในกาลสมัยที่มีการกดขี่เบียดเบียนกันจนถึงทำสงครามกันดังเช่นสงครามโลกที่แล้ว ๆ มา คนในโลกได้รับภัยสงครามกันเป็นอันมาก นี่เรียกว่าเป็นโอกาสที่กรรมชั่วซึ่งได้กระทำไว้ในอดีตให้ผลทำให้ต้องประสบภัยต่าง ๆ ตลอดถึงความทุกข์ยากขาดแคลนกันทั่ว ๆ ไป แต่ในกาลสมัยที่มีความสงบเรียบร้อยก็เป็นไปตรงกันข้าม ต่างไปเล่าเรียนศึกษาประกอบการงานกันได้ตามปกติ
 
===== '''''๔. การประกอบกรรม''''' =====
หมายถึงการประกอบกระทำในปัจจุบัน ถ้าประกอบกระทำกรรมที่ดีที่ชอบอยู่ในปัจจุบัน กรรมชั่วที่ทำไว้ในอดีตก็อาจยังระงับผล หรือแม้กำลังให้ผลอยู่แล้วก็อาจเบาลงได้ ดังเช่นผู้ที่ต้องถูกกักขังจองจำ เมื่อประพฤติตัวดีก็ย่อมได้รับผ่อนผันและลดเวลากักขังจองจำนั้นให้น้อยเข้า ถ้ากรรมเก่าดีอยู่แล้วก็ยิ่งจะส่งเสริม เหมือนอย่างนักเรียนที่ตั้งใจเรียนดีมาแล้ว และตั้งใจเรียนดีอยู่ในปัจจุบันก็ช่วยกันให้เรียนดียิ่งขึ้น แต่ถ้าในปัจจุบันนี้ประกอบกรรมที่ชั่วเสียหายก็จะตัดผลของกรรมดีที่เคยทำมาแล้วด้วย เหมือนอย่างข้าราชการที่ทำงานมาโดยสุจริตแล้ว แต่มาทำทุจริตขึ้นก็อาจตัดผลของความดีที่ทำมาแล้วในเมื่อการทำทุจริตในหน้าที่นั้นปรากฏขึ้น
 
การให้ผลของกรรมย่อมเกี่ยวแก่กาลเวลา ประกอบกับสถานการณ์ทั้งสี่ดังกล่าวมานี้ ท่านเล่าเรื่องเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบไว้ว่า เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้หนึ่งรับราชการ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองแห่งหนึ่ง แต่บุรุษผู้นั้นมิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ไปข่มขู่ถือเอาทรัพย์ต่าง ๆ ของประชาชนในเมืองที่ปกครองโดยพลการ แต่ก็ยังไม่มีใครอาจจะฟ้องร้องว่ากล่าว เพราะกลัวอำนาจ บุรุษนั้นกำเริบยิ่งขึ้น ถึงกับไปผิดในบุคคลที่เป็นใหญ่กว่าตน มีอำนาจยิ่งกว่าตน จึงถูกจับไปเข้าเรือนจำ และมีประกาศให้ประชาชนที่ถูกข่มเหงร้องทุกข์กล่าวโทษ จึงมีเสียงร้องทุกข์กล่าวโทษขึ้นตั้งร้อยตั้งพัน บุรุษนั้นจึงถูกลงโทษไปตามความผิด เรื่องนี้พึงเห็นความเปรียบเทียบดังนี้ เวลาที่บุรุษนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกำลังรุ่งเรือง ก็เท่ากับเวลาตั้งอยู่ในคติ คือตำแหน่งมีอำนาจ ประกอบด้วยมีฐานะของตนสูงทำอะไรได้ตามต้องการ อยู่ในสมัยที่ตนมีอำนาจ ทั้งอยู่ในหน้าที่เป็นโอกาสให้ประกอบกระทำอะไรได้ อกุศลกรรมจึงยังไม่มีโอกาสจะให้ผล ต่อเมื่อถูกจับเข้าเรือนจำ เสียงร้องทุกข์กล่าวโทษเกิดขึ้นตั้งร้อยตั้งพันเรื่อง ก็เท่ากับถึงกาลวิบัติของตน สถานการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวที่เคยดีก็กลับเลวลง เข้าในคำว่า น้ำลดตอผุด อกุศลกรรมที่ตนทำไว้จึงมีโอกาสให้ผล
 
รวมความว่า ทุก ๆ คนทำกรรมใด ๆ ไว้ กรรมนั้น ๆ ย่อมให้ผลในปัจจุบันบ้าง ในภายหน้าบ้าง ในเวลาต่อ ๆ ไปบ้าง ตามแต่กรรมนั้น ๆ จะหนักเบาอย่างไร ท่านเปรียบเหมือนอย่างยืนอยู่บนที่สูงและโยนสิ่งต่าง ๆ มีก้อนหิน ก้อนดิน กิ่งไม้ ใบหญ้า เป็นต้นลงมา ของที่มีน้ำหนักมากย่อมตกลงสู่พื้นดินก่อน ส่วนของที่มีน้ำหนักน้อยกว่าก็ตกถึงพื้นดินภายหลังโดยลำดับ กรรมก็ฉันนั้น กรรมที่หนักให้ผลก่อน ส่วนกรรมที่หนักน้อยกว่าหรือเบากว่าก็ให้ผลตามหลัง การให้ผลของกรรมจึงเกี่ยวกับกาลเวลา ประกอบกับสถานการณ์สี่อย่างคือ (๑) คติ (๒) อัตภาพ (๓) กาลสมัย (๔) การประกอบกรรมในปัจจุบัน แต่กรรมย่อมให้ผลแน่นอนตามพระพุทธภาษิตว่า
 
'''''กลฺยาณการี กลฺยาณํ''''' ทำดีได้ดี
 
'''''ปาปการี จ ปาปกํ''''' ทำชั่วได้ชั่ว{{ความหมายอื่น|พุทธศาสนา||กรรม (แก้ความกำกวม)}}
{{พุทธศาสนา}}
 
== กรรม 2 ==
เส้น 17 ⟶ 168:
=== จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม ===
การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ
# '''ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม''' หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ กรรมที่ให้เสวยผลในปัจจุบันนั้น หมายถึงกรรมอย่างแรงมากที่ให้ผลในปัจจุบันนี้ทีเดียว เทียบได้เหมือนอย่างว่าบุคคลที่ได้กระทำความชอบเป็นพิเศษ ต่อชาติ ศาสนา หรือพระมหากษัตริย์ และได้รับสุขสนองผลในปัจจุบัน ในด้านตรงกันข้ามก็เหมือนกับบุคคลที่ประกอบกรรมมีโทษร้ายแรง ได้รับทุกข์สนองผลในปัจจุบัน ในด้านของศาสนาก็มีตัวอย่างเช่น การที่บำเพ็ญทานในพระอรหันต์โดยเฉพาะที่ได้เล่าไว้ในเรื่องต่าง ๆ ได้ใส่บาตรแก่พระปัจเจกโพธิหรือพระอรหันต์ที่เข้านิโรธสมาบัติ โดยปกติว่าท่านเข้า ๗ วัน ออกจากนิโรธสมาบัตินั้นแล้วก็บิณฑบาต แล้วใครได้ใส่บาตรท่านตอนนั้นละก็กุศลแรงนักให้ผลในภพชาติปัจจุบัน
# '''ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม''' หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
# '''อุปปัชชเวทนียกรรม''' หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ก็ได้แก่อนันตริยกรรมในฝ่ายชั่ว หรือว่ามหัคคตกรรมในฝ่ายดี หมายถึงการได้สมาธิอย่างสูงจนเป็นชั้นรูปฌานและอรูปฌาน คือถ้าประกอบอนันตริยกรรมในฝ่ายชั่วก็ให้ผลคือว่าไปนรกในภพชาติอันดับนั้นทีเดียว ถ้ามีมหัคคตกรรมดั่งกล่าวในฝ่ายดีก็ไปเป็นรูปพรหมอรูปพรหมในภพอันดับไปทีเดียว
# '''อปราปริเวทนียกรรม''' หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อ ๆ ไป ไม่กำหนดว่าภพไหน
# '''อโหสิกรรม''' หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก หรือว่ากรรมที่ชื่อว่าให้ผลเสร็จเพราะไม่มีโอกาสจะให้ผล ได้แก่ กรรมที่พระอรหันต์ได้ทำไว้ก่อนแต่ท่านสำเร็จและมีเวลากำหนดที่จะให้ผลแก่ท่านในชาติต่อ ๆ ไป แต่ว่าท่านสิ้นภพสิ้นชาติเสียแล้ว ฉะนั้นกรรมดั่งกล่าวก็ไม่มีโอกาสที่จะให้ผลอันนี้ก็เรียกว่าอโหสิกรรมเหมือนกัน
# '''อโหสิกรรม''' หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
 
=== จำแนกตามหน้าที่ของกรรม ===
กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ
# '''ชนกกรรม''' หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด
# '''อุปัตถัมภกกรรม''' หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม หรือเรียกว่า กรรมที่อุปถัมภ์ ได้แก่ กรรมที่คอยอุปถัมภ์ อุปถัมภ์อะไร ก็อุปถัมภ์ชนกกรรมนั้นเอง ถ้าชนกกรรมส่งเกิดมาดี ก็อุปถัมภ์ให้ดีนานและมากขึ้น ถ้าชนกกรรมส่งให้เกิดมาไม่ดี ก็อุปถัมภ์ให้ไม่ดีนานและให้ไม่ดีมากขึ้น คือว่าดีก็อุปถัมภ์ให้ดีนานและมากขึ้น ชั่วก็อุปถัมภ์ให้ชั่วนานและมากขึ้น
# '''อุปปีฬกรรม''' หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอน[[วิบาก]]มิให้เป็นไปได้นาน หรือเรียกว่า กรรมที่เบียดเบียน ได้แก่ ถ้าชนกกรรมส่งให้เกิดมาดีก็เบียดเบียนให้ดีน้อยเข้าหรือว่าให้ดีนั้นมีสั้นเข้า คือแปลว่าให้ดีไม่สะดวก ต้องขัดข้องอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าชนกกรรมส่งให้เกิดมาไม่ดีก็เบียดเบียนให้ไม่ดีนั้นน้อยเข้าสั้นเข้า ทำให้ผลที่ไม่ดีต่าง ๆ ดำเนินไปไม่สะดวก
# '''อุปฆาตกกรรม''' หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว อันนี้แรงกว่าอุปปีฬกกรรม คือถ้าชนกกรรมแต่งให้เกิดมาดี ก็ตัดรอนให้เป็นไม่ดีตรงกันข้ามทีเดียว ถ้าชนกกรรมแต่งให้เกิดมาไม่ดี ก็ตัดรอนให้กลับเป็นดีตรงข้ามทีเดียว บางทีก็ตัดรอนถึงชีวิต คือควรจะได้จะถึงอะไรสักอย่างหนึ่งก็มามีอันเป็นให้สิ้นชีวิตลงโดยฉับพลัน
 
=== จำแนกลำดับการให้ผลของกรรม ===
เส้น 35 ⟶ 186:
# '''อาสันนกรรม''' หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น
# '''กตัตตากรรม''' หรือ '''กตัตตาวาปนกรรม''' (กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วา ปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม) หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว นอกจากกรรม 3 อย่างข้างต้น, ฏีกากล่าวว่า กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป กรรมนี้จึงจะให้ผล เป็นกรรมทั้งฝ่ายดีและไม่ดีที่ทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่มีเจตนาจะให้เป็นอย่างนั้น กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ภาษาวินัยว่าเป็นอจิตตกะ ทำไปก็สักแต่ว่าทำ แม้มีโทษก็ไม่รุนแรง ถือว่าเป็นกรรมที่มีโทษเบาที่สุดในบรรดากรรมทั้งหลาย ถ้าไม่มีกรรมที่หนักกว่าเช่นพหุลกรรม หรือต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล กรรมข้อนี้ ท่านเปรียบเหมือนคนบ้ายิงลูกศร เพราะคนปกติที่ไม่มีฤทธิ์จะไม่รู้เลยว่า เป็นกรรมอะไรที่จะมาให้ผลนำเกิด เนื่องจากทำไว้ในอดีตชาตินั่นเอง<ref name="คำวัด"/>
ท่านแสดงว่า ครุกรรมให้ผลก่อน เมื่อครุกรรมไม่มี อาสันนกรรมก็ให้ผล เมื่ออาสันนกรรมไม่มี อาจิณณกรรมคือกรรมที่ทำมาบ่อย ๆ ก็ให้ผล เมื่ออาจิณณกรรมไม่มี กตัตตากรรมก็ให้ผล
 
ท่านเปรียบเหมือนอย่างว่า ยืนอยู่บนภูเขาหรือบนที่สูงแล้วก็โยนสิ่งต่าง ๆ ลงมามีก้อนหิน ก้อนอิฐ ชิ้นไม้ ใบไม้ใบหญ้าอะไรเป็นต้น ของที่หนักก็มาถึงพื้นดินก่อน ของที่เบากว่าก็หล่นมาถึงพื้นทีหลัง กรรมทั้ง ๔ นี้เหมือนกัน กรรมที่หนักก็ให้ผลก่อน กรรมที่อ่อนก็รอง ๆ ลงมา
 
แต่ว่าข้อเปรียบเทียบอันนี้เคยถูกค้าน คือถูกค้านว่าไม่ถูกเสมอไปที่ว่าโยนของลงมาและของก็จะตกลงมาตามลำดับน้ำหนัก เพราะว่าถ้าไปโยนในที่แห่งหนึ่งซึ่งสูบอากาศออกหมดแล้ว ของจะไม่ตกลงมาตามลำดับอย่างนั้นจะเท่ากันหมด ที่จริงข้อค้านนี้เห็นจะต้องใช้เป็นข้อยกเว้นให้ใช้สำหรับพระอรหันต์ ที่เหมือนอย่างว่าสูบเอากิเลสออกหมดแล้ว และเมื่อดับขันธ์ไปแล้วก็เป็นอันว่าเป็นอโหสิกรรมเสียทีเป็นหมดเรื่อง
 
=== จำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม ===
เส้น 79 ⟶ 235:
* [[:s:พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ - พราหมณวรรค - ๘. วาเสฏฐสูตร|วาเสฏฐสูตร]]
* [http://abhidhamonline.org/aphi/p0/%e0%c3%d4%e8%c1%b5%e9%b9%b5%c3%a7%b9%d5%e9.html พระอภิธรรมออนไลน์.]
* "ธรรมาภิธาน เล่ม ๑".PDF พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก.
{{จบอ้างอิง}}