ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาตินิยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vitthaya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Vitthaya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37:
3. ควบคุมการขยายตัวของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศ และรวมถึงชาวต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมือง
 
4. สร้างกระแสการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการต่อต้านแนวคิดการค้าเสรี{{ปรัชญาสังคม}}
 
'''แนวคิดพื้นฐานของอุดมการณ์ชาตินิยม '''
 
แนวคิดพื้นฐาน (Regulative Ideas) ของแนวคิดชาตินิยม จะมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
 
'''1. ธรรมชาติของมนุษย์ (Human Nature)''' นักชาตินิยมถือว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม ('''Social Begins''') ซึ่งการเป็นสัตว์ สังคม หมายความว่ามนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่าและเป็นผู้กำหนดบทบาท ('''Roles''') ต่าง ๆ ที่จะใช้ แสดงถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มนุษย์จึงเป็นสัตว์โลกที่สร้างวัฒนธรรม ('''Culture-producing Creatures''') ให้แก่ตัวเอง โดยมนุษย์ค้นพบความหมายของตัวเองและสร้างสรรค์วัฒนธรรมได้ก็แต่ ในกรอบของชุมชนของมนุษย์ที่เรียกว่า ชาติ ('''National Communities)''' เป็นสำคัญ กล่าวอีก อย่างหนึ่งก็คือ ปัจเจกบุคคลไม่สามารถสร้างบทบาทและวัฒนธรรมที่มีความหมายให้แก่ตนเองได้ ชีวิตของบุคคลจะมีความหมายต้องขึ้นอยู่กับชุมชนที่เรียกว่า ชาติ และนักชาตินิยมขยายความคิด ต่อไปอีกขั้นหนึ่งว่า ถ้าชีวิตของบุคคลจะมีความหมาย และความสมบูรณ์ได้ต้องขึ้นอยู่กับชุมชน ที่เรียกว่า ชาติ แล้วชาติก็จะต้องเป็นอิสระ '''(Independent''') และสามารถกำหนดทิศทางหรือชะตาชีวิตของตนเองได้ ('''Self-determination''') ชาติที่ไม่เป็นอิสระย่อมไม่สามารถเป็นสถานที่ทำให้ ปัจเจกบุคคลสามารถสร้างบทบาทและบุคลิกภาพที่เหมาะสมขึ้นมาได้ ชาติที่ทำหน้าที่นี้ไม่ได้ก็เท่ากับ ว่าชาติไม่อาจตอบสนองต่อธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ในทัศนะของแนวคิดชาตินิยมได้ดังนั้น เมื่อนักชาตินิยมพูดถึงธรรมชาติของมนุษย์เขาจึงหมายถึงการที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่สร้างวัฒนธรรม ขึ้นใช้เอง และการสร้างวัฒนธรรมที่มีคุณค่าดีงามจะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะในชุมชนของมนุษย์ที่เรียกว่า ชาติ ซึ่งมีอิสระและสามารถกำหนดทิศทางของตนเองได้เท่านั้น
 
         '''2. ภาษา (Language)''' นักปรัชญาแนวชาตินิยมชาวเยอรมันอย่าง Herder กล่าวว่าภาษาไม่ใช่ เป็นแต่เครื่องมือในการสื่อสารของมนุษย์เท่านั้น แต่ภาษาเป็น “อวัยวะที่แสดง อำนาจของจิตใจ เป็น สื่อที่แสดงให้เห็นถึงรากเหง้าแห่งอุปนิสัยใจคอ ('''Bildung)''' และการศึกษาของเรา” ภาษาแต่ละภาษาก็ เปรียบเสมือนจิตวิญญาณของชาติแต่ละชาติภาษาทำหน้าที่เป็น “รากเหง้าแห่งอุปนิสัยใจคอ” ('''Bildung''') ของชาติตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ภาษาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำาหรับการพัฒนา ความเข็มแข็งของรัฐต่าง สำหรับนักชาตินิยม ภาษา คือ ความเป็นธรรมชาติ ('''Naturalness''') และ ความเก่าแก่ '''(Antiquity''') ชาติที่มีภาษาของตนเองใช้จึงสามารถอวดอ้างได้ว่าเป็นชาติที่มีอารยธรรม และยิ่งสามารถแสดงให้เห็นว่าภาษาเก่าแก่เท่าใด ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ที่ยาวนานของชาติ มากขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้นักชาตินิยมจึงคิดที่จะแสดงให้เห็นว่าภาษาและชาติของตนเองเก่าแก่เกิน ความเป็นจริงทั้งสิ้น ภาษาจะถูกตีพิมพ์ในรูปแบบหนังสือในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่สุด ที่ทำให้คนอ่านสามารถพัฒนาสำนึกเรื่องความเป็นชาติของตนเองขึ้นมาได้และใช้สำนึกดังกล่าว จินตนาการต่อไป ตนสามารถส ร้างภาพของชาติที่เป็นชุมชนแห่งจินตนาการ '''( Imagined Communities''') ได้
 
'''         3. วัฒนธรรมโรแมนติก (Romantic Culture)''' เกิดในยุโรปช่วงกลางศตวรรษที่ 18 มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ขนาดใหญ่หนึ่งในนั้น คือ การเกิดปฏิกิริยาต่อต้านปรัชญาแบบวัตถุนิยม (Materialism) เหตุผลนิยม (Rationalism) และอรรถประโยชน์นิยม ('''Utilitarianism''') ซึ่งกำลังมีอิทธิพลในขณะนั้น ต่อมา ขบวนการเคลื่อนไหวทางปรัชญานี้ถูกเรียกว่า ขบวนการลัทธิโรแมนติก ('''Romantic Culture''') ลัทธิ โรแมนติกมีส่วนช่วยส่งเสริมลัทธิชาตินิยมอย่างมาก เพราะลัทธิโรแมนติกทำหน้าที่เหมือนสิ่งที่มา แทนที่ศาสนา ในช่วงที่ศาสนาถูกลดบทบาทลงไปมากในยุคแห่งความรู้แจ้ง ('''Enlightenment''') หรือ เหตุผลนิยม ('''Rationalism''') แนวคิดชาตินิยมช่วยทำให้ผู้คนมีความผูกพันทางอารมณ์ ถูกปลุกให้เห็น คุณค่าทางศีลธรรมขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ชาติทำหน้าที่เป็นอำนาจจิตใจที่จะช่วยให้ผู้คนมีที่ยึดเหนี่ยวไว้ ต่อสู้กับกระแสวัตถุนิยมและการไม่ใส่ใจในพระศาสนา ชาตินิยมให้ความแน่นอนหรือความมั่นคงทางจิตใจในโลกที่เต็มไปด้วยความสงสัยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในปลายศตวรรษที่ 20 ขบวนการเคลื่อนไหว ทางวัฒนธรรมที่คล้ายกับยุคโรแมนติกเริ่มกลับมาอีก แต่ถูกเรียกว่าเป็นความเคลื่อนไหวแบบ โรแมนติกใหม่ ('''Neo-romantic''') แบบหลังโรแมนติก '''(Post-romantic''') ลักษณะการเคลื่อนไหวที่ ต่อต้านพลังของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลครอบง าวิถีชีวิตของมนุษย์จนทำให้ชีวิตแห้ง แล้งเหมือนกับเครื่องจักร ในกระแสความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมแบบใหม่นี้ลัทธิชาตินิยมได้รับ ความสนใจจากผู้คนอีกครั้งหนึ่งในหลายปีต่อหลายภูมิภาคของโลก สิ่งที่เห็นได้ค่อนข้างแพร่หลาย คือ สิ่งที่เรียกว่า “การเมืองเพื่อเอกลักษณ์ หรือ อัตลักษณ์” '''(Politics of Identity)'''
 
'''         4. รัฐประชาชาติ (Nation state)''' เป็นความสัมพันธ์ที่มีลักษณะพิเศษระหว่าง “รัฐ” กับ “ชาติ” หรือ “ประชาชาติ”
 
“ประชาชาติ” (The Nation) ในที่นี้ คือ ประชาชน (The People) และ “ประชาชน” ในที่นี้ หมายถึง “ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์กลุ่มหนึ่งซึ่งถือว่าตนเป็นชาติ หรือประชาชาติเดียวกัน” (A Political Community that perceives itself as a nation)
 
“ประชาชาติ” ในที่นี้จึงหมายถึงเจตนารมณ์ทางการเมือง (Political Will) ของหมู่ชนที่ถือว่าพวกตนเป็นพวกเดียวกัน” (A Political Community that perceives itself as a nation) การที่มีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกันมีประวัติศาสตร์ร่วมกันก็ควรจะต้องมีรัฐและ เป็นอิสระปลอดจากการครอบอำนาจหรือแทรกแซงของหมู่ชนอื่น ความสัมพันธ์พิเศษระหว่าง “รัฐ” กับ “ประชาชาติ” ตามความหมายที่ได้กล่าวมานี้เป็นหลักที่มีการยอมรับกันว่าชอบที่จะใช้ใน การอยู่ร่วมกันระหว่างรัฐหรือบ้านเมืองทั้งหลายภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1789 หลักการแห่งรัฐประชาชาติเป็นหลักที่ใช้มองโลกว่าโดยธรรมชาติแล้วโลก ประกอบด้วย ประชาชาติ ต่าง ๆ มากมายหลายประชาชาติ โดยธรรมชาติประชาชาติหนึ่ง ๆ ก็ต้องมีรัฐของตนเอง สำหรับยุโรป ในศตวรรษที่ 19 หลักแห่งรัฐประชาชาติมีความหมายและความสำคัญยิ่งใหญ่เสมือนหนึ่งเป็นกฎ แห่งธรรม (Natural Laws) โดย Paine กล่าวว่า เอกลักษณ์ประจำชาติของพลเมือง จะได้รับการค้า ประกันได้ดีที่สุดในรัฐประชาชาติเท่านั้น เพราะอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของประชาชาติเท่านั้น อำนาจ อธิปไตยจะไม่สามารถเป็นของปัจเจกบุคคลได้Herder ได้กล่าวว่า “รัฐเป็นธรรมชาติที่สุดคือรัฐที่ ประกอบด้วยประชาชนกลุ่มเดียวและมีลักษณะประจำชาติแบบเดียว (A Single People with a single national character) ไม่มีอะไรที่จะดูผิดธรรมชาติมากกว่าการที่รัฐบาลจะขยายพรมแดนของ รัฐ ให้เกินไปกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาตินั่นคือไปครอบครองประชาชาติหรือมนุษย์เผ่าพันธุ์อื่น ๆ จำนวนมากเข้ามาไว้ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกัน”
 
'''5. อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Popular Sovereignty)''' นักวิชาการด้านลัทธิชาตินิยมบางคน ถือว่าหัวใจสำคัญของลัทธิชาตินิยม อยู่ที่การที่ประชาคมหนึ่ง ๆ สามารถประยุกต์ใช้หลักการเรื่องอำนาจอธิปไตยของประชาชนในยุคแห่ง ความรู้แจ้ง (Enlightenment) ได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้นส่วนอื่น ๆ ที่เหลือของลัทธิชาตินิยมนั้นถือ ว่าเป็นเพียงวาทศิลป์ประกอบ “คำประกาศว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง” (Declaration of the Rights of Man and of Citizen) ของการปฏิวัติฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1789 ระบุหลักการที่สำคัญ 2 ประการคือ ประการแรก “ประชาชน” (People) ที่หมายถึง “ชาติ” (Nation) และประการต่อมา คือ หลักที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยอยู่ที่ชาติ(The Principle of Sovereignty Lies in the Nation) เมื่อ รวมหลักการทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน จึงได้ความหมายแบบเดียวกันว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน หรือประชาชนนั่นเอง หลักการเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนเป็นหลักการหนึ่งที่มีพลังมากและ ให้พลังนี้แก่ลัทธิชาตินิยมแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยจึงถือว่าเป็นสิ่ง เดียวกันหรือใช้แทนกันได้ด้วยประชาชนหรือชาติที่เรียกได้มีอำนาจอธิปไตย จะต้องมีความสูงสุด เด็ดขาดหรืออิสระในตัวเองในอันที่จะสร้างกฎหมายหรือปกครองตนเอง
 
'''6. เศรษฐกิจแห่งชาติ (National Economy)''' แนวคิดชาตินิยมโดยส่วนใหญ่มักให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเศรษฐกิจ แห่งชาติ(National Economy) ความสนใจพิเศษต่อเศรษฐกิจแห่งชาตินี้ เรียกว่าชาตินิยม ทางเศรษฐกิจ (Economic Nationalism) หลักของแนวคิดชาตินิยมทางเศรษฐกิจ คือ การทำให้ ประเทศพึ่งพาตนเองได้ในยามสงครามและมั่งคั่งรุ่งเรืองในยามสงบ การที่จะทำเช่นนี้ได้ประชาชน ในชาติจะต้องนิยม ให้การสนับสนุนสินค้าและอุตสาหกรรมของประเทศตนมากกว่าสินค้าของต่างชาติ ชาตินิยมทางเศรษฐกิจจึงทำให้ความสำคัญแก่เศรษฐกิจแห่งชาติหรือโครงสร้างการผลิต ภายในประเทศมากกว่าการค้ากับต่างประเทศ ชาตินิยมทางเศรษฐกิจมักได้รับการอธิบายในตำรา ต่าง ๆ ว่าหมายถึง ลัทธิพาณิชย์นิยมใหม่ (Neo-mercantilism)
 
'''7. ชาติในฐานะที่เป็นองคาพยพ (Nation as Organism)''' แนวคิดที่ว่าชาติเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบขึ้นมาจาก ประชาชนจำนวนมาก มาจากคำในภาษาเยอรมันว่า Volksgeist (แปลว่า จิตวิญญาณของประชาชน) จิตวิญญาณนี้ทำหน้าที่เช่นเดียวกับจิตใจของสิ่งมีชีวิต คือ รู้ร้อน รู้หนาว ดีใจ เสียใจ เป็นต้น จิตวิญญาณของชาติ (Volksgeist) แสดงออกผ่าน เพลง นิยายปรัมปรา และตำนานต่าง ๆ โดยการ ที่คิดถึงชาติในฐานะที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง จึงเท่ากับเป็นการให้ความหมายว่าชาติเป็นหน่วยที่เป็น ธรรมชาติ (Natural) เมื่อชาติเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งตามธรรมชาติ ชาติจึงมีลักษณะพื้นฐาน เหมือนกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ คือ การดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด
 
ชาติจึงเข้มแข็งและเจริญเติบโตและหลีกเลี่ยงความอ่อนแอ เจ็บป่วย ถูกทำลาย หรือการถึงแก่ความตาย เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ การคิดว่าชาติในฐานะสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ตามธรรมชาติ ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวที่เรียกว่าชาตินิยม (Nationalism) คือ ความพยายาม และการเรียกร้องต้องการให้ชาติของตนเข้มแข็งและยิ่งใหญ่ในทุก ๆ ทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนทุกคนในฐานะที่ต่างเป็นหน่วยย่อย ๆ ส่วนหนึ่งของชาติต้องดำเนินการประสานสัมพันธ์กัน อย่างมีเอกภาพ สิ่งที่ทำให้คนเราคิดถึงชาติของตนในแบบที่เทียบเคียงกับร่างกายของสิ่งที่ชีวิต ได้สำเร็จคือการที่สมาชิกยอม รับแนวคิดเรื่องเอกภาพ (Unity) หรือความสำมัคคีแล ะ ประการที่สองคือการยอมรับในแนวคิดเรื่องความสำคัญมากน้อยที่ต่างกันของแต่ละส่วนย่อย (hierarchy) ดังนั้นชาติหนึ่ง ๆ ประชาชนแต่ละคนก็มีความสำคัญไม่เท่าเทียมกัน เช่น การที่ “ผู้นำ” มีความสำคัญมากกว่า “ผู้ตาม” และการที่มองว่าชาติเปรียบเหมือนร่างกายของสิ่งมีชีวิต จึงสามารถ เรียกร้องความสามัคคี การมีระเบียบวินัยหรือแม้แต่การเสียสละของสมาชิกแต่ละคนที่จะมีให้ แก่ชาติด้วยพลเมืองที่ดีตามอุดมคติของชาตินิยมจึงต้องฟังผู้นำทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม
 
'''องค์ประกอบของชาตินิยม'''
 
ชาตินิยมที่เกิดขึ้นในหลายยุคสมัย ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกล้วนมีลักษณะที่แตกต่างกัน ไปในรายละเอียด อย่างไรก็ดีมีผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านพยายามอธิบายชาตินิยมในส่วนที่นอกเหนือจาก คำนิยามของมันเพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะของชาตินิยมดียิ่งขึ้น ย่อมต้องเข้าใจองค์ประกอบหรือ โครงสร้างสำคัญของความเป็นชาตินิยม
 
'''เจน ซาเจนน์ (Jane Sargern)''' นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวว่า ชาตินิยมเป็นคำที่ ซับซ้อนและยังไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับนิยามที่ชัดเจน แต่คำนิยามส่วนใหญ่ประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
 
(1) บุคคลตระหนักว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือมีสำนึกในความเป็นชาติซึ่งสำนึกนี้อาจ เกิดจาก สัญชาตญาณหรือการขัดเกลาทางสังคม
 
(2) แสดงตนต่อกลุ่มหรือพิสูจน์ความเป็นชาติได้ใน ที่นี้หมายถึง มีหลักฐานอันเป็นอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของชาติเช่น เชื้อชาติชาติพันธุ์ศาสนา เป็น ต้น
 
(3) มีมิติทางภูมิศาสตร์ที่ยืนยันความเป็นกลุ่มได้
 
(4) รักกลุ่มหรือมีความรักชาติ
 
(5) มีความสนใจที่ จะกระทำสิ่งที่เป็นการส่งเสริมกลุ่ม
 
 
'''ฮันส์ โคห์น (Hans Kohn)''' นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์ชาวเช็กได้เสนอแนวคิด เกี่ยวกับลักษณะร่วมของชาตินิยมไว้3 ประการ ได้แก่
 
'''(1) มีความเป็นตัวของตัวเองทางวัฒนธรรม ( Cultural self- determination)''' ความเป็นตัวของตัวเองทางการเมือง (Political selfdetermination) หรือ อธิปไตยของประเทศนั้นเคยเป็นส่วนสำคัญของชาตินิยมในยุคแรกเริ่ม เขาว่า ต่อมาโดยเฉพาะนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา พวกที่เชิดชูชาตินิยมก็หันมามุ่งศึกษาเกี่ยวกับ วัฒนธรรมของชาติตนกันมากขึ้น และพยายามหยิบยกวัฒนธรรมประจำชาติขึ้นเป็นองค์ประกอบของ กระบวนการชาตินิยม อย่างไรก็ดีเป็นการถูกเถียงว่าในปัจจุบันความเป็นตัวของตนเองทางวัฒนธรรม ไม่อาจจัดเข้าเป็นแนวทางของชาตินิยมได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากโลกาภิวัตน์ได้นำพากระแสวัฒนธรรม ตะวันตกเข้ากลืนกินทุกภูมิภาคของโลกจนกลายเป็นวัฒนธรรมสากลไปเกือบทั้งสิ้น อาทิ ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดการศึกษา การทหาร การเมือง การปกครอง ระบบเศรษฐกิจแบบ เสรีทุนนิยม แม้กระทั่งภาษี ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนสำคัญในการสร้างชาติให้มั่นคงก็ยังถูกลดทอน ความสำคัญลง ในขณะที่ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาราชการในหลายประเทศ
 
'''(2) ความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติเป็นหลักการสำคัญในการสร้างชาติ''' และบ่อยครั้งที่นำไปสู่แนวคิด ชาตินิยมที่เข้มข้น อาทิ ในการรวมชาติยิวครั้งที่สอง ชาวยิวไม่รับรองภรรยาชาวต่างชาติและไม่รับรอง บุตรที่เกิดจากภรรยานั้น ในทางกลับกัน การสร้างชาติเยอรมันในสมัยนาซีก็เน้นเชื้อสายอารยัน บริสุทธิ์และให้อภิสิทธิ์เหนือชนชั้นเลือดผสม ลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นนี้กลายเป็นความรู้สึกที่รุนแรงและ นำไปสู่ความคิดว่าชาติของตนสูงสุด
 
'''(3) การถือว่าชาติของตนเป็นองค์ประกอบที่มีความชัดเจนที่สุด''' เนื่องจากความบริสุทธิ์ของเชื้อชาตินั้นพิสูจน์ได้ยากในทางปฏิบัติเนื่องจากในชาติที่มีอาณาเขตชัดเจน อย่างมาก เป็นองค์ประกอบที่มีความชัดเจนที่สุด ยังมีคนเชื้อชาติใกล้เคียงกัน เช่น จีนกับเวียดนาม มาเลเซียกับอินโดนีเซีย ไทยกับลาว เป็นต้น แต่ความคิดที่ว่าชาติตนสูงสุดนั้นเป็นสิ่งที่ปลูกฝังให้เกิดขึ้นภายหลังและสามารถส่งผลในทางปฏิบัติ เช่น การ รวมกลุ่มต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬในศรีลังกา การต่อสู้พวกเคิร์ดในอิหร่าน เด่นชัดที่สุด คือ ความ เชื่อของชาวยิวที่ว่า ตนเป็นชนชาติที่พระเจ้าเลือกแล้ว (Chosen people) และมีหน้าที่ปกป้อง ดินแดนแห่งพันธสัญญา (Promised land) ความเชื่อดังกล่าวนำไปสู่ชาตินิยมรุนแรง
 
หลวงวิจิตรวาทการ นักชาตินิยมยุคแรกเริ่มของประเทศไทย เคยสรุปลักษณะสำคัญ 2 ประการของลัทธิชาตินิยมไว้ว่า
 
(1) ชาตินิยมเป็นไปเพื่อความกลมเกลียว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ศัตรูสำคัญของชาตินิยม คือ การยุแยงให้คนในชาติแตกความสามัคคีกัน
 
(2) ชาตินิยมเป็นปฏิปักษ์แก่ การแบ่งชนชั้น หมายความว่า ชาตินิยม คือ การรวมคนในชาติให้อยู่ในสถานะเดียวกัน ไม่สูงไม่ตำไป กว่ากัน เพื่อป้องกันการข่มเหงกัน
 
'''อุทัย หิรัญโต''' เรียบเรียงและสรุปพื้นฐานของชาตินิยมไว้ว่า “การรวมชาติ” ดังนั้น องค์ประกอบของชาตินิยมจึงเป็นองค์ประกอบของชาติ อันได้แก่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ภาษา ศาสนา เชื้อชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนประสบการณ์และความบันดาลใจร่วมกัน
 
นอกเหนือจากแนวคิดต่าง ๆ ข้างต้น ยังมีการเสนอแนวคิดพื้นฐาน (Regulative ideas) ที่มักปรากฏควบคู่กับกระบวนการชาตินิยมในทุก ๆ แห่ง ได้แก่
 
(1) ธรรมชาติของมนุษย์ (Human nature)
 
(2) ภาษา (Language)
 
(3) วัฒนธรรมโรแมนติก (Romantic culture)
 
(4) รัฐประชาชาติ (Nation state)
 
(5) อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Popular sovereignty)
 
(6) เศรษฐกิจแห่งชาติ (National economy)
 
(7) ชาติในฐานะที่เป็นองคาพยพ (Nation as organism) หรือ ชาติในฐานะที่ เป็นอินทรียภาพ (Nation as organicism)
 
ซึ่งการเกิดชาตินิยมในแต่ละท้องที่มักจะประกอบขึ้นจากแนวคิดพื้นฐานข้างต้น ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป หรืออีกนัยหนึ่ง คือ อาจเน้นหนักแนวคิดพื้นฐานข้อใดข้อหนึ่งมากเป็น พิเศษ โดยแต่ละข้อมีความหมายและลักษณะ ดังนี้
 
'''(1) ธรรมชาติของมนุษย์นักชาตินิยมถือว่ามนุษย์ เป็นสัตว์สังคม (Social beings)''' นั่นหมายถึงว่า มนุษย์เป็นผู้กำหนดบทบาทต่าง ๆ ที่พวกเขาจะใช้ แสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มนุษย์จึงเป็นสัตว์โลกที่สร้างวัฒนธรรม (Culture-producing) ให้แก่ตัวเอง มนุษย์จะค้นพบความหมายของตนเองและสร้างสรรค์ว่าถ้าทำได้ก็แค่ในกรอบของชุมชน มนุษย์หรือชาติ ทั้งนี้มนุษย์เป็นปัจเจกบุคคลไม่อาจสร้างบทบาทและวัฒนธรรมเองได้ ชีวิตของพวก เขาขึ้นอยู่กับชาติ จากแนวคิดนี้ นักชาตินิยมขยายมุมมองที่ว่า ถ้าชีวิตของบุคคลจะมีความหมาย (ชีวิต ที่สมบูรณ์หรือชีวิตในอุดมคติ) ชาติก็ต้องเป็นอิสระและสามารถกำหนดทิศทางหรือชะตาชีวิตของ ตัวเองได้ ชาติที่ไม่เป็นอิสระย่อมไม่สามารถบ่มเพาะปัจเจกชนที่มีบทบาทและบุคลิกภาพที่เหมาะสม ได้
 
'''(2) ภาษา ในทัศนะคติของ แฮร์เดอร (Herder)''' นักปรัชญาแนวชาตินิยมชาวเยอรมัน ภาษาเป็นยิ่งกว่าเครื่องมือสื่อสารของ มนุษย์ ภาษาเป็นอวัยวะที่แสดงถึงอำนาจของจิตใจ เป็นสื่อที่แสดงถึงอุปนิสัยใจคอของชาติ แต่ละชาติ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าชนชั้นหรือกลุ่มคนที่ขึ้นเป็นผู้ปกครองประเทศมักเลือกใช้ภาษาของตนเป็นภาษา ทางการ และบังคับให้กลุ่มที่เหลือใช้ภาษาเดียวกัน เพื่อให้พูดกันเข้าใจและสามารถรับสารจากชนชั้น ปกครองได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ นักชาตินิยมบางกลุ่มยังเชื่อว่า ภาษา คือ ความเป็นธรรมชาติและ ความเก่าแก่ ชาติที่มีภาษาของตนเอง สามารถอ้างได้ว่าเป็นชาติที่มีอารยธรรม และยิ่งภาษาของตนมี ความเป็นมายาวนานก็ยิ่งแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของชาติขึ้นไปอีก
 
'''(3) รัฐประชาชาติหรือรัฐชาติ''' หมายความว่า รัฐที่ประชาชนอาศัยอยู่นั้นพิจารณาเห็นว่าตนเองเป็นชาติหรือประชาชน ตระหนักว่า ตนเป็นพวกเดียวกัน มีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกันมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน ด้วยเหตุผลนี้เองจึง จำเป็นต้องมีรัฐ(The state) เดียวกัน เพื่อที่จะทำให้หมู่คณะของตนสามารถพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ และเป็นอิสระ ปลอดจากการครองอำนาจหรือแทรกแซงของหมู่ชนอื่น
 
'''(4) อำนาจอธิปไตยของปวงชน''' คติเรื่องอำนาจอธิปไตยของปวงชนช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับแนวคิดชาตินิยมในแง่ที่ว่า ประชาชนมีสิทธิ์เด็ดขาดในการชี้นำทิศทางของประเทศ ประชาชนสามารถปกครองตัวเองได้และมี อิสระเต็มที่ในการสร้างกฎเกณฑ์ ในทางกลับกันรัฐก็มีแนวโน้มจะเชื่อมโยงประชาชนให้เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ซึ่งเป็นช่องให้รัฐเกิดแนวคิดชาตินิยม
 
 
'''ประเภทของชาตินิยม'''
 
ชาตินิยมมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและมีบ่อเกิดที่ซับซ้อนจึงมีข้อเท็จจริงอยู่ว่า กระบวนการชาตินิยมในหลายประเทศแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มีการจัดหมวดหมู่ของชาตินิยม ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ไว้อาทิ '''ฮันส์ โคห์น (Hans Kohn)''' อธิบายผ่านงานเขียนของเค้าว่าชาตินิยม สามารถแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ แบบตะวันตกและแบบตะวันออก
 
'''ชาตินิยมแบบตะวันตก''' คือ ชาตินิยมแบบพลเมืองและการเมือง กล่าวคือ ชาติเกิดจาก คนในอาณาเขตที่แน่นอนมาตัดสินใจใช้อำนาจทางการเมืองของตนอย่างสมัครใจเพื่อกำหนด ความเป็นรัฐและความเป็นชาติขึ้น เช่น ชาตินิยมในอเมริกา ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งชาติเหล่านี้ ล้วนมีการเติบโตทางพาณิชย์และอุตสาหกรรมมาก่อน จึงมีชนชั้นกลางจำพวกพ่อค้า นักธุรกิจ นาย ธนาคาร มารวมกลุ่มกันแสดงความคิดเห็นทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม โดยผ่าน สโมสรชมรมอ่านหนังสือวรรณกรรม จึงอาจเรียกชาตินิยมแบบนี้ว่าแบบประชาสังคม (Civil Nationalism)
 
ส่วนชาตินิยมแบบตะวันออกเริ่มต้นในเยอรมันและขยายออกไปยังยุโรปตะวันออก จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย เป็นต้น เป็นแบบที่เกิดจากแรงผลักดันของความเป็นกลุ่มชนที่ให้ความสำคัญที่พวกเขา มีร่วมกันซึ่งอาจเป็นเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา แล้วก่อตัวขึ้นเป็นชาติ ชาตินิยมแบบนี้จะมีลักษณะที่เน้น ความเป็นเอกเทศของตน อันได้แก่ จารีตประเพณีแต่ดั้งเดิม เราเรียกชาตินิยมแบบนี้ว่า ชาตินิยมแบบ วัฒนธรรม (Cultural Nationalism)
 
ฮันส์ โคห์น (Hans Kohn) ยังได้หยิบยกวิธีแบ่งประเภทของนักคิดอีกท่านหนึ่ง คือ '''วอล์ทวิทแมน (Walt Whitman)''' มานำเสนอซึ่งเค้าแยกชาตินิยมเป็นแบบปิด (Closed Nationalism) และชาตินิยมแบบเปิด (Open Nationalism)  โดยแบบแรกเน้นที่วัฒนธรรมประจำชาติเน้นเชื้อชาติ และความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติตน เน้นการมีบรรพบุรุษเดียวกัน สายเลือดเดียวกัน และ มีถิ่นกำเนิดเดียวกัน ชาตินิยมแบบปิดนี้เป็นแบบที่พบกันแพร่หลาย และวิทแมนวิจารณ์ว่าเป็นแนวคิด ที่ไม่ยืดหยุ่น ส่วนลัทธิชาตินิยมแบบเปิดเน้นเพียงอาณาเขตที่แน่นอน มีระบบการเมืองเป็นของตัวเอง โดยสมบูรณ์ไม่เน้นการสืบสายโลหิต ชาตินิยมแบบนี้ได้แก่ สหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศที่รวมพล หลากหลายชาติและหลากหลายภาษา แต่มีแนวคิดเดียวกัน คือ เน้นอิสระเสรีและความสำคัญของ ปัจเจกบุคคล การจำแนกแนวคิดชาตินิยมของคนไทยนั้น หลวงวิจิตรวาทการ ได้มีการเขียนไว้ว่า ชาตินิยมนั้นมีสองประเภท คือ ค่านิยมแบบธรรมดาซึ่งมุ่งเน้นถึงความรักชาติและสำนึกถึงส่วนรวม เป็นความรักคนในชาติที่เหมือนกับคนในครอบครัวเดียวกัน กับชาตินิยมแบบรุนแรงหรือที่เรียกว่า “Ultra-Nationalism” ซึ่งเป็นการแบ่งแยกและเหยียดเชื้อชาติอย่างรุนแรง
 
'''นักรัฐศาสตร์ได้มีการแบ่งชาตินิยมในลักษณะต่าง ๆ ออกเป็น 4 รูปแบบ'''
 
'''1. ชาตินิยมแนวเสรี (Liberal Nationalism)''' ศตวรรษที่ 19 เมื่อแนวคิดเสรีนิยมได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นและเติบโต ในประเทศยุโรป ความคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยของประชาชนและชาตินิยมแนวเสรีก็เกิดขึ้น หลักสำคัญของชาตินิยมแนวเสรีคือ การยึดถือว่ามนุษยชาติถูกแบ่งออกเป็นเผ่าพันธุ์หรือชนชาติ ต่าง ๆ ตามธรรมชาติจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน เช่น คนแอฟริกา คนไทย คนจีน หรือมีความ แตกต่างในแต่ละเผ่าพันธุ์ เช่น ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ตัวอย่างที่ได้กล่าวมานี้สามารถทำให้เราแบ่งแยก ความแตกต่างได้ ดังนั้นชาติจึงเป็นชุมชนที่แท้จริงและเป็นอินทรียภาพไม่ใช่เป็นการสร้างขึ้นของ ผู้สร้างชาติ หรือของชนชั้นปกครองผู้รวบรวมชาต
 
'''2. ชาตินิยมแนวอนุรักษ์ (Conservative Nationalism)''' หลักสำคัญคือตรงข้ามกับชาตินิยมแนวเสรี ชาตินิยมแนวอนุรักษ์เกิดขึ้น เพราะมีกลุ่มคนที่ไม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ชนิดถอนรากถอนโคนจากระบบ การปกครอง ระบบธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมายาวนาน เช่น จากการปกครองโดยระบอบกษัตริย์มาเป็นการปกครองโดยคณะผู้ปกครองสามัญชน ดังนั้นชาตินิยมแนวอนุรักษ์จึงเป็น อุดมการณ์ชาตินิยมที่ต้องการรักษาสิ่งเก่าที่ดีเอาไว้เป็นการผสมอุดมการณ์ชาตินิยมร่วมกับ อนุรักษ์นิยม
 
'''3. ชาตินิยมขยายอำนาจ (Expansionist Nationalism)''' เป็นชาตินิยมที่เน้นการขยายอำนาจด้วยการยึดดินแดน ยึดประชากร ประเทศอื่นมาเป็นของตนเพื่อสร้างเกียรติภูมิและขยายความยิ่งใหญ่ของประเทศ หลายประเทศ ในยุโรปยึดครองดินแดนทวีปต่าง ๆ ทั่วโลกมาเป็นอาณานิคมของตนเอง เกิดเป็นการสร้างจักรวรรดิ หรือเรียกกว่าจักรวรรดินิยม (Imperialism) เช่น ฝรั่งเศส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ
 
'''4. ชาตินิยมต่อต้านการล่าอาณานิคม (Anticolonial Nationalism)''' ชาตินิยมต่อต้านการล่าอาณานิคมเริ่มมีมากขึ้นหลังสิ้นสุดสงครามโลก ครั้งที่ 2 เนื่องจากการที่เจ้าอาณานิคม เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศสอ่อนแอลงมากหลังสงคราม ผนวกกับ ความคิดชาตินิยมตะวันตกได้แผ่ขยายในหมู่ประเทศที่เป็นอาณานิคม ทำให้เกิดอาณานิคมต่าง ๆ ต้องการประกาศเอกราชแก่ตนเอง ยกตัวอย่างเช่น อินเดียได้เอกราชจากอังกฤษ ชาวเวียดนามขับไล่ ฝรั่งเศส{{ปรัชญาสังคม}}
 
[[หมวดหมู่:ชาตินิยม| ]]