ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชาธิราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dytoy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
| language = [[ภาษามอญ|มอญ]] (ต้นฉบับ)<br>[[ภาษาพม่า|พม่า]]<br>[[ภาษาไทย|ไทย]]
| series =
| genre = [[พงศาวดาร]], [[ประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์]]
| publisher =
| release_date = ราว พ.ศ. 2100<br>[[พ.ศ. 2328]] (ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง)
| english_release_date =
| media_type =
บรรทัด 23:
}}
 
'''ราชาธิราช''' หรือชื่อในภาษาพม่า '''ยาซาดะริต อเยดอว์บอง''' ({{lang-my|ရာဇာဓိရာဇ် အရေးတော်ပုံ}}) เป็นชื่อของพงศาวดาร[[บันทึกเหตุการณ์พม่า]] ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยประวัติศาสตร์ของ[[อาณาจักรหงสาวดี]]ของ[[ชาวมอญ]]ตั้งแต่ [[พ.ศ. 1830]] ถึง [[พ.ศ. 1964]] รายละเอียดภายในตัว[[พงศาวดาร]]บันทึกประกอบด้วยเรื่องราวของความขัดแย้งภายในราชสำนัก การกบฏ เรื่องราวทางการทูต การสงคราม เป็นต้น เนื้อหาประมาณกึ่งหนึ่งของเรื่องอุทิศพื้นที่ให้กับรัชกาลของ[[พระเจ้าราชาธิราช]] โดยลงลึกในรายละเอียดของ [[สงครามสี่สิบปี]] ระหว่างอาณาจักรกรุงหงสาวดีของมอญ กับ[[อาณาจักรอังวะ|กรุงอังวะ]]ของพม่า ภายใต้การนำของ[[พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง]] และอุปราชพระมหาอุปราช[[มังมังรายกะยอชวา]]<ref name=utk-29-30>Thaw Kaung 2010: 29–30</ref>
 
ต้นฉบับของเรื่องราชาธิราชฉบับภาษาพม่ามาจากพงศาวดาร[[ภาษามอญ]]เรื่อง "พงศาวดารกรุงหงสาวดี" ("Hanthawaddy Chronicle") และได้รับการแปลเป็นภาษาพม่าโดย[[พญาทะละ (เสนาบดี)|พญาทะละ]] เสนาบดีและกวีชาวมอญซึ่งรับราชการในอาณาจักรพม่าสมัย[[ราชวงศ์ตองอู]] นับได้ว่าเป็นเอกสารเกี่ยวกับชาวมอญในดินแดน[[พม่าตอนล่าง]]ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่หลงเหลืออยู่<ref name=mat-2005-133-135>Aung-Thwin 2005: 133–135</ref> และอาจเป็นพงศาวดารมอญเพียงฉบับเดียวที่เหลือรอดจากการเผาทำลายเมือง[[พะโค]] (หงสาวดี) โดยกบฏชาวมอญภายใต้การนำของอดีตขุนนางในอาณาจักรหงสาวดีในปี [[พ.ศ. 2107]]<ref name=geh-xviii>Harvey 1925: xviii</ref>
 
สำเนาใบลานของเรื่องราชาธิราชฉบับพญาทะละปัจจุบันเหลือรอดมาเพียง 4 ชุด สันนิษฐานว่าทำขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 23 (คริสต์ศตวรรษที่ 18) นอกจากนี้ยังมีฉบับแปลฉบับอื่นๆ อยู่อีก รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ตามการวิเคราะห์โดย[[นายปันหละ]]เมื่อปี [[พ.ศ. 2511]]<ref name=mat-2005-133-135/> นายปันหละได้แปลราชาธิราชฉบับหนึ่งกลับเป็นภาษามอญเมื่อปี [[พ.ศ. 2501]] และเรียบเรียงเรื่องราชาธิราชขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับเป็นภาษาพม่า (นับเป็นราชาธิราชฉบับที่ 10) โดยสังเคราะห์ข้อมูลจากราชาธิราชฉบับพญาทละ ฉบับ "ปากลัด"<ref> ราชาธิราชฉบับปากลัด เป็นราชาธิราชฉบับภาษามอญซึ่งพิมพ์ในประเทศไทย ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์วัดแค [[อำเภอพระประแดง]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]] โดยจัดพิมพ์เป็นชุด 2 เล่มต่อเนื่องกัน เมื่อ พ.ศ. 2453 และ 2455 - ดูเพิ่มเติมที่ องค์ บรรจุน. "ราชาธิราชฉบับภาษามอญ" http://blogazine.in.th/blogs/ong/post/2611 เผยแพร่ 29 ตุลาคม 2552. อ้างเมื่อ 20 ตุลาคม 2556.</ref> และบันทึกจาก[[พงศาวดารพม่ามหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว]] (มานนานยาซะเวง) รวมทั้งอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิจัยสมัยใหม่<ref name=npl-3-4>Pan Hla 1968: 3–4</ref>
 
== ราชาธิราชฉบับภาษาไทย ==
พงศาวดารเรื่องราชาธิราชได้มีการแปลจากฉบับภาษามอญเป็นภาษาไทยครั้งแรกในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]ตอนปลาย ซึ่งฉบับแปลครั้งแรกนั้นได้สูญหายไปเมื่อกรุงศรีอยุธยาล่มสลายในปี [[พ.ศ. 2310]] ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2328]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]แห่ง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] มีพระราชดำริว่า หนังสือเรื่องราชาธิราชเป็นหนังสือดี เคยได้รับการยกย่องมาแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการแปลและเรียบเรียงใหม่ โดยมี[[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)]] เป็นแม่กองกำกับการแปล ร่วมกับพระยาอินทรอัครราช พระภิรมรัศมี และพระศรีภูริปรีชา ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกที่โรงพิมพ์[[หมอบรัดเลย์]] เมื่อ [[พ.ศ. 2423]]
 
เนื้อหาของราชาธิราชฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีความแตกต่างจากราชาธิราชฉบับภาษาพม่าของพญาทะละอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆ คือ
บรรทัด 41:
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{reflist}}
 
== บรรณานุกรม ==
บรรทัด 58:
* [http://www.lokwannakadi.com/neo/shlumnum.php?ID=2 ราชาธิราช ตอน กำเนิดมะกะโท]
 
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์พม่า]]
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์มอญ]]
[[หมวดหมู่:วรรณคดีไทย]]
[[หมวดหมู่:งานแปล]]