ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์ก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
โฮลชไตน์→ฮ็อลชไตน์
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 62:
 
==ดัชเชสแห่งลอแรน==
[[ไฟล์:François Ier duc de Lorraine.jpg|thumb|left|ฟรานซิสที่ 1 ดยุกแห่งลอแรน]]
ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1541 เจ้าหญิงคริสตินาเสกสมรสกับ[[ฟรานซิสที่ 1 ดยุกแห่งลอแรน|ฟรานซิส ดยุกแห่งบาร์]]ที่บรัสเซลส์ ฟรานซิสเคยหมั้นกับ[[แอนน์แห่งคลีฟส์ พระราชินีแห่งอังกฤษ|แอนน์แห่งคลีฟส์]] ผู้ซึ่งต่อมาเป็นพระมเหสีองค์ที่สี่ในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ในเดือนสิงหาคม เจ้าหญิงคริสตินาและดยุกฟรานซิสได้เสด็จมาถึง[[ปงอามัวส์ซง]]ในลอแรน โดยเสด็จไปเข้าเฝ้าดัชเชสพระพันปีหลวงฟิลิปปา จากนั้นก็เดินทางต่อไปยังเมืองหลวง คือ นองซี ชบวนเสด็จได้รับการอารักขาจากตระกูลกีส์ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1541 เจ้าหญิงคริสตินา พร้อมพระสวามี และ[[อองตวน ดยุกแห่งลอแรน]] พระสัสสุระได้เสด็จไปเยือนราชสำนักฝรั่งเศสที่ฟองแตนโบล ซึ่งพระสัสสุระได้ทรงถูกบีบบังคับให้ยกป้อมปราการสเตอเนแก่ฝรั่งเศส เจ้าหญิงคริสตินาทรงป้องกันไม่ให้เหตุการณ์นี้สร้างความแตกฉานระหว่างลอแรนกับจักรพรรดิ ในระหว่างสงครามฝรั่งเศสกับจักรพรรดิในปี ค.ศ. 1542 เจ้าหญิงประทับที่ราชสำนักฝรั่งเศสในหลายโอกาส โดยทรงเข้าเฝ้า [[เอเลนอร์แห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส|สมเด็จพระราชินีเอเลนอร์]] พระปิตุจฉา ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1544 เจ้าหญิงคริสตินาและเจ้าหญิงโดโรเทีย พระเชษฐภคินีได้เสด็จไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิที่[[ชไปเออร์]] มีรายงานว่าทรงพยายามโน้มน้าวให้จักรพรรดิสงบศึกกับฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
 
ในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1544 ฟรานซิสสืบตำแหน่งดยุกแห่งลอแรนต่อจากพระบิดา ในเดือนกรกฎาคม พระองค์และเจ้าหญิงคริสตินาได้เชิญจักรพรรดิให้เสด็จมาที่ลอแรน แต่ล้มเหลวที่จะโน้มน้าวให้พระองค์สงบศึก ในเดือนสิงหาคม จักรพรรดิทรงมีพระบัญชาให้สถานที่พำนักของตระกูลกีส์ในโจอินวิลล์ให้สำรองพื้นที่ไว้สำหรับกองทัพของจักรวรรดิตามคำขอของเจ้าหญิงคริสตินา ซึ่งพระองค์ทรงเคยทูลขอจักรพรรดิไว้เพื่อตอบแทน[[แอนนาแห่งลอแรน]] ในเดือนเดียวกัน จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ได้ขอให้เจ้าหญิงคริสตินาหลีกเลี่ยงที่จะพบ[[พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส]] ขณะเสด็จเยือนราชสำนักฝรั่งเศส ซึ่งพระองค์อาจจะพยายามหาทางสงบศึก แต่เจ้าหญิงก็ทรงตอบไปว่าพระเจ้าฟร็องซัวเสด็จกลับไปแล้ว เมื่อสงครามสิ้นสุดลงในปลายปีเดียวกัน เจ้าหญิงคริสตินาทรงเฉลิมฉลองสันติภาพในบรัสเซลส์ เจ้าหญิงคริสตินาทรงกลายเป็นที่ปรึกษาทางการเมืองของพระเจ้าฟร็องซัว<ref>Dansk Kvindebiografisk Leksikon. KVinfo.dk</ref> การทำเช่นนี้ถูกตั้งข้อสังเกตใน[[สภาแห่งชไปเออร์]] ปี ค.ศ. 1544 ซึ่งความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์เป็นไปได้ด้วยดี ทั้งสองพระองค์ทรงแลกเปลี่ยนความสนพระทัยซึ่งกันและกันในด้านดนตรีและสถาปัตยกรรม และทรงช่วยกันวางแผนตกแต่งพระราชวังในน็องซี ในช่วงชีวิตการอภิเษกสมรสของพระองค์ครั้งนี้ เจ้าหญิงคริสตินาทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็นผู้หญิงที่มีความสุขที่สุดในโลก
 
==ผู้สำเร็จราชการแห่งลอแรน==
ฟรานซิส ดยุกแห่งลอแรนสิ้นพระชนม์ในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1545 ขณะมีอายุได้ 27 ปี เจ้าหญิงคริสตินาจึงกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งลอแรนในนามของพระโอรสที่ยังทรงพระเยาว์ พินัยกรรมของดยุกฟรานซิสถูกต่อต้านโดยกลุ่มการเมืองที่นำโดย ฌ็อง เดอ ซาล์ม ซึ่งมองว่าเจ้าหญิงคริสตินาเป็นหุ่นเชิดของจักรพรรดิ และต้องการให้[[นิโคลัส ดยุกแห่งเมอซัวร์|นิโคลัสแห่งวอเดอมอนต์]] อนุชาของดยุกฟรานซิสขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมด้วย ขณะนั้นเจ้าหญิงคริสตินายังทรงพระครรภ์ทำให้ต้องเลื่อนพิธีฝังศพออกไป ต้องถูกเพิกถอนสิทธิในกองมรดก เจ้าหญิงจึงส่งข่าวให้จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ในวันที่ 6 สิงหาคม หลังจากจักรพรรดิทรงเข้ามาไกล่เกลี่ย เจ้าหญิงคริสตินาและอนุชาของสวามีได้รับการประกาศเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมในช่วงที่ประมุขยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยทั้งสองมีตราประทับที่ใช้ในการลงนามคำสั่งเช่นเดียวกัน แต่เจ้าหญิงคริสตินาทรงได้เป็นผู้สำเร็จราชการหลักในฐานะผู้ปกครองแต่เพียงผู้เดียวของประมุข ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1546 เจ้าหญิงทรงเชิญ[[พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส]]ให้เสด็จมาที่เมืองบาร์ กษัตริย์พยายามชักจูงให้เจ้าหญิงเสกสมรสกับ[[ฟร็องซัว ดยุกแห่งกีซ|ฟร็องซัว ดยุกแห่งออแมร์]] แต่เจ้าหญิงปฏิเสธที่จะเสกสมรสอีก เจ้าหญิงคริสตินาเสด็จไปร่วมประชุมที่สภาแห่ง[[เอาก์สบูร์ก]]ในปีค.ศ. 1547 พร้อมกับ[[แมรีแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีและโบฮีเมีย|สมเด็จพระพันปีหลวงแมรีแห่งฮังการี]]และ[[แอนนาแห่งลอแรน|เจ้าหญิงพันปีหลวงแอนน์แห่งออเรนจ์]] มีการพิจารณาการเสกสมรสของเจ้าหญิงคริสตินาแห่งเดนมาร์กกับ[[พระเจ้าซึกมุนต์ที่ 2 ออกัสตัสแห่งโปแลนด์]]ในสภา อีกทั้งเจ้าหญิงยังคงถูกเกี้ยวพาโดยมาควิสอัลเบิร์ตแห่งบรันเดินบวร์ค ลอร์ดแห่งคลัมบาร์ชและบาร์เกรฟแห่งนูเรมเบิร์ก ซึ่งหลงใหลในพระสิริโฉมของพระนาง เจ้าหญิงคริสตินาทรงต่อต้านการเสกสมรสของนิโคลัสแห่งวอเดอมอนต์ อนุชาของอดีตพระสวามี ที่จะเสกสมรสกับมาร์กาเร็ตแห่งเอ็กมอนด์ ตระกูลขุนนางชาวดัตช์ เนื่องจากทรงเกรงว่าอาจทำให้ฝรั่งเศสไม่พอใจ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1549 พระนางทรงเยือนบรัสเซลส์อย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมการต้อนรับ[[พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน|เจ้าชายเฟลีเปแห่งสเปน]]ที่จะเสด็จไปยังเนเธอร์แลนด์ ในโอกาสนี้ เจ้าชายเฟลีเปทรงสนพระทัยในตัวพระนางมากจนเกินไปและทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้น เป็นเหตุให้เจ้าหญิงต้องเสด็จกลับลอแรนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ในลอแรน เจ้าหญิงคริสตินาทรงระมัดระวังในการรักษาความสัมพันธ์กับตระกูลกีซ ซึ่งเป็นตระกูลพันธมิตรที่แนบแน่นกับราขสำนักฝรั่งเศส และพระนางทรงมีบัญชาให้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของป้อมปราการที่สเตเนย์ น็องซีและที่อื่นๆเพื่อป้องกันการโจมตีจากฝรั่งเศส ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1550 พระนางทรงจัดให้มีการฝังพระศพ[[ชาร์ลผู้อาจหาญ|ชาร์ลผู้อาจหาญ ดยุกแห่งบูร์กอญ]]ขึ้นใหม่ที่ลอแรน ในปีเดียวกัน เจ้าหญิงทรงเข้าร่วมประชุมที่สภาแห่ง[[เอาก์สบูร์ก]]เป็นครั้งที่สอง และทรงได้รับการยกย่องในฐานะเจ้าบ้านผู้ต้อนรับประมุขแขกบ้านเมืองเป็นอย่างดี ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1551 พระนางทรงเชิญพระเชษฐภคินีและพระสวามีของพระเชษฐภคินีให้เสด็จมาลอแรน