ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dukeadinbera (คุย | ส่วนร่วม)
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
==เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย==
 
ระหว่าง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ได้ “ทรงสมัครเข้าเป็นทหารเสรีไทยสายอังกฤษ ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]” ตามบันทึกเล่าของหม่อมเจ้าการวิก เป็นคณะที่ 6 ที่มาโดดร่มเข้าไทย ท่านว่าช้ามาก รอเสียนาน โดยท่านหม่อมเจ้าการวิกทรงถูกจับคู่ให้เข้ามาปฏิบัติการกับ นาย[[อรุณ สรเทศน์]] ผู้มีชื่อรหัสว่าหรือ “ไก่ฟ้า”ไก่ฟ้า ซึ่งอรุณรับหน้าที่เป็นหัวหน้า เข้ามาโดดร่มจริงในเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2488 ตอนนั้นเป็นสมัยรัฐบาลที่มี[[ควง อภัยวงศ์]] เป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย]] สถานที่ซึ่งท่านทั้งสองโดดร่มลงมานั้นอยู่ที่สถานีทดลองเกษตร [[อำเภอศรีสำโรง]] [[จังหวัดสุโขทัย]] ที่มี[[แสวง กุลทองคำ]] เป็นหัวหน้าสถานี ท่านได้มารับพร้อมกับภรรยาและตำรวจภรรยา เฝ้ารอรับเสด็จ พร้อมทั้งยังมีคณะของ[[ทศ พันธุมเสน]] ที่โดดร่มลงมาก่อนได้มารับด้วยและตำรวจ ดูจะเป็นความลับน้อยหน่อย แต่หม่อมเจ้าการวิกก็ต้องไปทรงตั้งค่ายฝึกอาสาสมัคร คือแม้วชาวเขาที่[[จังหวัดตาก]] รวมเวลาที่ท่านปฏิบัติการทรงฝึกคนรอวันการรบนั้นนานถึง 5 เดือน แต่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้เสียก่อนเมื่อถูกโจมตีด้วยระเบิดมหาประลัย ท่านหม่อมเจ้าการวิกและคณะจึงไม่ต้องออกแรงรบ ท่านกับอรุณ สรเทศน์ จึงและได้เดินทางเข้าพระนคร เพื่อไปที่ศูนย์บัญชาการ[[ขบวนการเสรีไทย]] [[จังหวัดพระนคร]] หม่อมเจ้าการวิก ทรงบันทึกเล่าไว้ว่า
 
''“เช้าวันแรกที่มาถึงกรุงเทพฯ ผู้ว่าปรงพาเราเข้าพบนายปรีดีที่ทำเนียบท่าช้าง (ปัจจุบันเป็นที่ทำการขององค์การยูนิเซฟ) ซึ่งนายปรีดีได้จัดงานเลี้ยงเป็นการขอบคุณและแนะนำบรรดาเสรีไทย ที่ได้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ และท่านได้แนะนำว่าใครมาจากไหน พอถึงผมก็บอกว่าเป็น ‘เจ้า’ ที่มาจากอังกฤษ ทำเอาพรรคพวกเพื่อนฝูงทั้งผู้ว่าฯ และผู้ใหญ่บ้านหลายคนตกใจ เพราะเรียก ‘ท่านขุน’ หรือ ‘พี่ขุน’ หรือ ‘อาจารย์’ กันมาตลอด ตอนหลังเจอกัน เขาเข้ามาไหว้ และใช้ราชาศัพท์พูดด้วย ทำเอาเขินวางตัวไม่ถูกเหมือนกัน”''
 
เมื่อสงครามสงบลง ไทยได้ประกาศสันติภาพในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และมีรัฐบาลหลังสงครามที่ได้หัวหน้าเสรีไทยสายอเมริกา คือ [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] มาเป็นหัวหน้ารัฐบาล พวกเหล่าอาสาทำงานเสรีไทยก็กลับสู่สถานะเดิม ใครเป็นนักเรียนก็กลับไปเรียนศึกษาต่อกัน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์ ก็จึงเสด็จกลับไปอังกฤษ ไปและทรงงานถวาย[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] ซึ่งยังประทับอยู่ที่อังกฤษ<ref>นรนิติ เศรษฐบุตร. ฐานข้อมูลบุคคลสำคัญของเมืองไทย</ref>{{ต้องการอ้างอิงเต็ม}}
 
== ด้านศิลปะ ==