ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 142:
==การให้บริการ==
===ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้า===
ในคราวการประชุมร่วมระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย [[กระทรวงคมนาคม]] และ[[คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ]] หรือ คนร. เพื่อขออนุมัติโครงการส่วนต่อขยาย[[รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] ช่วงพญาไท - บางซื่อ - ดอนเมือง เมื่อ พ.ศ. 2559 คนร. ได้มีการพิจารณาเรื่องบทบาทการให้บริการระบบขนส่งมวลชนของการรถไฟแห่งประเทศไทยใหม่ หลังจากที่ ร.ฟ.ท. ได้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในการบริการโครงการรถไฟฟ้าโดย [[รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.|บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด]] ไม่ว่าจะเป็น ความล้มเหลวในการรับมือกับภาวะขาดแคลนอะไหล่จนทำให้ขบวนรถเกิดความขัดข้องเนื่องจากเข้าสู่ระยะการเดินรถเกินระยะรับประกัน ความล้มเหลวในการกำหนดนโยบายการบริหารและจัดเก็บค่าโดยสาร ความล้มเหลวในการบริหารโครงการรถไฟฟ้าด่วนและจุดตรวจบัตรโดยสารภายในเมือง รวมถึงความล่าช้าในการดำเนินโครงการมักกะสัน คอมเพล็กซ์ ด้วยเหตุผลข้างต้น คนร. จึงลงมติให้ ร.ฟ.ท. เปิดประมูลหาเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนและดำเนินโครงการทั้งส่วนของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในขณะนั้น และโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ภายใต้กรอบการลงทุนแบบ[[หุ้นส่วนมหาชน-เอกชน]] (Public-Private Partnership) ตามแต่เห็นสมควร อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท. ได้ยื่นเรื่องขอทบทวนมติด้วยการขอรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงกลับมาบริหารเอง คนร. จึงมีมติให้ ร.ฟ.ท. จัดตั้งบริษัทเดินรถไฟฟ้าแห่งใหม่เพื่อขึ้นมาดำเนินการทดแทน โดยมีเงื่อนไขให้กระทรวงคมนาคมทำการประเมิน[[ตัวชี้วัดสมรรถนะหลัก]] (Key Performance Indicator: KPI) ของโครงการในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันเปิดให้บริการ หากบริษัทดังกล่าวไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามแผน หรือเกิดกรณีแบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิิขึ้นสุวรรณภูมิขึ้น ร.ฟ.ท. จะต้องเปิดประมูลโครงการหาเอกชนเข้ามาดำเนินการทันทีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
 
โดย ร.ฟ.ท. ได้ยื่นเรื่องขอปรับสถานะของ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ใหม่ โดยปรับสถานะให้เป็นรัฐวิสาหกิจที่ถือหุ้นโดยกระทรวงการคลัง เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทจาก 140 ล้านบาทเป็น 3,000 ล้านบาท พร้อมทั้งของบประมาณในการส่งเจ้าหน้าที่เข้าฝึกอบรมการใช้เครื่องกล และการเดิินรถไฟฟ้า ณ​ ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากระบบอาณัติสัญญาณและระบบรถไฟฟ้าที่นำมาใช้งานเป็นระบบใหม่ที่ไม่เคยใช้งานในประเทศไทยมาก่อน จึงต้องมีการเรียนรู้ระบบเพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้า<ref>[https://www.thansettakij.com/content/headline/349414 แอร์พอร์ตลิงค์ดึงงบ ร.ฟ.ท. เพิ่มทุน 3 พันล้าน!!]</ref> และต่อมา ร.ฟ.ท. ได้อนุมัติสัญญาสัมปทานโครงการให้กับ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. เป็นระยะเวลา 30 ปี พร้อมทั้งโอนระบบรถไฟฟ้าที่เป็นผลสำเร็จจากสัญญาที่ 3 ให้เป็นทรัพย์สินของ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. โดยตรง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารให้กับ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. อันจะส่งผลให้สามารถบริหารโครงการได้เต็มที่กว่าครั้งที่บริหารรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพราะ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. มีรายได้เป็นของตัวเอง และการดำเนินการไม่จำเป็นต้องเปิดประมูลตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เสมือนว่า รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. มีสถานะบริษัทเทียบเท่า [[การบินไทย]] ที่สามารถดำเนินการต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง