ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Stanglavine (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 118.172.19.56 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย BotKung
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว SWViewer [1.4]
บรรทัด 22:
|relatedto =
}}
'''วันแม่แห่งชาติ''' ในประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ [[12 สิงหาคม]] ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2519 ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ 10 มีนาคม, 15 เมษายน, และ 4 ตุลาคม
 
สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิซึ่งมีสีขาว ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยตีความเปรียบกับความรักบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลายไป และเป็นดอกไม้ที่ได้รับความปรารถนาดีเป็นที่รักและคิดถึงของคนทั่วไป และเป็นสื่อแทนความกตัญญู
 
== ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย ==
งานวันแม่แห่งชาติจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดย[[กระทรวงสาธารณสุข]] แต่ช่วงนั้นเกิด[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน<ref>[http://webserv.kmitl.ac.th/~s7035655/index4.html ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวันแม่]</ref>
 
ต่อมา[[สมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย]] ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการ[[สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์]] จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นาบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เรียงลำดับ|มแแห่งชาติ}}