ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยายมราช (บุนนาค ยมนาค)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
|ก่อนหน้า = เจ้าพระยายมราช (แสง)
|ถัดไป = [[เจ้าพระยายมราช (ศุข สินศุข)]]
| เกิด = พ.ศ. 2319
| death_type = ถึงแก่กรรม
|death2 = 4 ธันวาคม พ.ศ. 2389
|สถานที่ = พระนคร {{flag|Siam}}
}}
'''เจ้าพระยายมราช''' นามเดิม '''บุนนาค''' หรือ "เจ้าพระยายมราชตะเฆ่ทับ" (?พ.ศ. 2319 - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2389) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยายมราชในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นแม่ทัพผู้มีบทบาทสำคัญในสงคราม[[อานัมสยามยุทธ]] เป็นแม่กองกำกับการสร้าง[[วัดราชนัดดารามวรวิหาร|วัดราชนัดดาราม]] และเป็นต้นสกุล"ยมนาค"
 
เมื่อเจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อพ.ศ. 2389 สิริอายุประมาณเจ็ดสิบกว่าปี<ref name=":0">เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''.</ref> จึงอนุมานว่าเจ้าพระยายมราช (บุนนาค) เกิดเมื่อประมาณพ.ศ. 23152319 ในรัชสมัย[[สมเด็จพระเจ้าตากสิน]] ปรากฏครั้งแรกรับราชการเป็นพระอภัยโนฤทธิ์ หรือพระอภัยรณฤทธิ์ จางวางกรมพระตำรวจซ้ายในรัชกาลที่ 3 ก่อนหน้านั้นดำรงตำแหน่งใดมาบ้างไม่ปรากฏ<ref>สมมตอมรพันธุ์, กรมพระ. '''เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์'''. กรมศิลปากร.</ref> พระอภัยโนฤทธิ์ (บุนนาค) เข้าร่วมกองทัพเรือของ[[เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)]] ในสงครามอานัมสยามยุทธเมื่อพ.ศ. 2377 ในยุทธนาวีที่คลองหวั่มนาว (Vàm Nao) พระอภัยโนฤทธิ์ (บุนนาค) นำกองเรือทัพหน้าเข้าโจมตีทัพเรือฝ่ายญวน แต่กองเรือที่ตามหลังพระยาอภัยโนฤทธิ์มานั้นไม่ยอมถอนสมอ<ref name=":0" />ขึ้นเพื่อแล่นเรือไปสู้กับญวน พระยาอภัยโนฤทธิ์เห็นว่าไม่มีกองเรือตามมาจึงถอยกลับ ยุทธนาวีที่คลองหวั่มนาวครั้งนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาพระอภัยโนฤทธิ์ (บุนนาค) จึงได้เลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยายมราช อธิบดีกรมพระนครบาล
 
เมื่อพ.ศ. 2381 เกิด[[กบฏหวันหมาดหลี]] ทัพของชาวมลายูไทรบุรีเข้าโจมตีเมือง[[สงขลา]]และ[[ปัตตานี]] ในพ.ศ. 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) และ[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)|พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค)]] ยกทัพเรือออกไปช่วย[[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)|เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)]] และ[[พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง)]] ปราบกบฏทางใต้ เมื่อทัพเรือของเจ้าพระยายมราช (บุนนาค) และพระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) ไปถึงเมืองสงขลาแล้ว ปรากฏว่าทัพฝ่ายกบฏไทรบุรีได้ถอยกลับไปแล้ว
 
ในปีพ.ศ. 2384 [[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] ที่เมือง[[พระตะบอง]] ทูลขอพระราชทานตัวเจ้าพระยมเจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ไปช่วยราชการ<ref name=":0" />ที่เมืองเขมรเนื่องจาก[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)|เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)]] ล้มป่วยและกลับไปยังเมืองนครราชสีมาแล้ว<ref name=":0" /> เจ้าพระยมเจ้าพระยายมราช (บุนนาค) จึงเดินทางไปช่วยราชการที่เมือง[[อุดงมีชัย|อุดง]] ในพ.ศ. 2385 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการให้แต่งทัพไปโจมตีคลองหวิญเต๊ (Vĩnh Tế) ที่[[จังหวัดอานซาง]] เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ร่วมกับ[[เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี)|พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว สิงหเสนี)]] และ[[นักองค์ด้วง]] จึงยกทัพจากเมืองอุดงเข้าโจมตีคลองหวิญเต๊และจังหวัดอานซางของเวียดนาม ทัพฝ่ายสยามสามารถเข้ายึดคลองหวิญเต๊ได้ชั่วคราว เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ยกทัพเข้าประชิดเมืองโจดกหรือ[[เจิวด๊ก]] (Châu Đốc) แต่ถูกทัพญวนนำโดย "องเตียนเลือก"<ref name=":0" />เข้าตีแตกพ่ายเจ้าพระยายมราชถูกปืนเข้าที่หน้าอกแต่ลูกปืนถูกกระดุมเสื้อ<ref name=":0" /> เจ้าพระยายมราช พระพรหมบริรักษ์ และนักองค์ด้วงจึงล่าถอยไปอยู่ที่[[พนมเปญ]] จากนั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) จึงมอบหมายให้เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ไปสร้างป้อมปราการให้แก่นักองค์ด้วงที่เมืองอุดง<ref name=":0" />
 
เมื่อพ.ศ. 2389 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะสร้าง[[วัดราชนัดดารามวรวิหาร|วัดราชนัดดาราม]]เพื่อเป็นเกียรติแก่[[สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี|พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี]]พระราชนัดดา โดยโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ค้นหาสถานที่เพื่อสร้างวัดราชนัดดาราม เจ้าพระยายมราช (บุนนาค) ได้เลือกสวนผลไม้ริมกำแพงพระนครด้านตะวันออก<ref name=":1">https://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000101039