ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วรรณคดีสโมสร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา วรรณคดีสโมสร จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร พ.ศ. 2457 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย โดยคัดเลือกหนังสือดีที่เป็นตัวอย่างชั้นเลิศในการประพันธ์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งต้องเป็นหนังสือดีและแต่งดีวรรณคดีสโมสรจึงจะรับไว้พิจารณา หนังสือที่พิจารณาจัดไว้ทั้งสิ้น 5 ประเภท เนื้อหา 1 ประวัติ 2 วรรณคดีสโมสร 10 ประเภท[4] 3 ดูเพิ่ม 4 อ้างอิง ประวัติ พระบาทสมเด็จพระ
บรรทัด 1:
**สวัสดี
'''วรรณคดีสโมสร''' จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสร พ.ศ. 2457 ตรงกับรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย โดยคัดเลือกหนังสือดีที่เป็นตัวอย่างชั้นเลิศในการประพันธ์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งต้องเป็นหนังสือดีและแต่งดีวรรณคดีสโมสรจึงจะรับไว้พิจารณา หนังสือที่พิจารณาจัดไว้ทั้งสิ้น 5 ประเภท
**
 
== ประวัติ ==
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตรา[[พระราชกฤษฎีกา]] ตั้งวรรณคดีสโมสร ขึ้นเมื่อวันที่ [[23 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2457]] เพื่อส่งเสริมการแต่งหนังสือให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย และได้สาระประโยชน์ เนื่องจากในยุคนั้นการแต่งหนังสือมักเลียนแบบการแต่งหนังสือภาษาต่างประเทศ ทำให้หลักไวยากรณ์ผิดเพี้ยนไป คำว่า "[[วรรณคดี]]" ก็ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกพร้อมกับพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เพื่อให้มีความหมายสอดคล้องกับคำว่า "literature" ในภาษาอังกฤษ
 
คณะกรรมการของวรรณคดีสโมสรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ทรงแต่งตั้งขึ้นทำหน้าที่คัดเลือกหนังสือดี หนังสือที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับพระราชทานรางวัล และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ประทับตราพระราชลัญจกรรูปพระคเณศร์ นับเป็นการมอบรางวัลทางวรรณกรรมอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย<ref>[http://www.ryt9.com/s/tpd/1042367 ร้อยเรื่องเมืองไทย: วรรณคดีสโมสร, บุคคลสำคัญของโลกชาวไทย]</ref>
 
ตามพระราชกฤษฎีกา ได้แบ่งประเภทของหนังสือไว้ 5 ประเภท<ref>[http://www.krupannee.net/wan.html]</ref> ดังนี้
# [[กวีนิพนธ์]] คือ งานประพันธ์[[โคลง]] [[กลอน]] [[กาพย์]] [[ฉันท์]]
# ละครไทย คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็นกลอนแปด
# [[นิทาน]] คือ เนื้อเรื่องที่ประพันธ์เป็น[[ร้อยแก้ว]]
# ละครพูด คือ เนื้อเรื่องที่เขียนขึ้นสำหรับแสดงบนเวทีใช้หลักการน้ำเสียง ความชัดเจน
# ความอธิบาย คือ การแสดงศิลปะด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ที่ไม่ใช่แบบเรียน ตำรา หนังสือโบราณคดี หรือพงศาวดาร
 
วรรณคดีสโมสร ยุติบทบาทลงในปี [[พ.ศ. 2468]] แต่หลังจากนั้น [[สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ได้ทรงก่อตั้ง "[[สมาคมวรรณคดี]]" ขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน [[พ.ศ. 2474]] และยังใช้มาตรฐานเดิมในการพิจารณาวินิจฉัย หนังสือกลอนลิลิต อยู่<ref>พิเชฐ แสงทอง, [http://www.human.cmu.ac.th/~thai/sompong/local%20lit.htm วรรณกรรมท้องถิ่น]</ref>
 
== วรรณคดีสโมสร 10 ประเภท<ref>[http://learners.in.th/blog/banpuyud/27184]</ref> ==
* ประเภทลิลิต ได้แก่ [[ลิลิตพระลอ]]
* ประเภทฉันท์ ได้แก่ [[สมุทรโฆษคำฉันท์]]
* ประเภทกาพย์ ได้แก่ [[มหาชาติกลอนเทศน์]]
* ประเภทความเรียงเรื่องนิทาน ได้แก่ [[สามก๊ก]] ฉบับ[[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)]]
* ประเภทกลอนสุภาพ ได้แก่ เสภาเรื่อง [[ขุนช้างขุนแผน]]
* ประเภทบทละครรำ ได้แก่ [[อิเหนา]]
*ประเภทบทละครร้อง ได้แก่ [[สาวเครือฟ้า]]
* ประเภทบทละครพูด ได้แก่ [[หัวใจนักรบ]]
*ประเภทบทละครพูดคำฉันท์ ได้แก่ [[มัทนะพาธา]]
* ประเภทความเรียงอธิบาย ได้แก่ [[พระราชพิธีสิบสองเดือน]]
 
== ดูเพิ่ม ==
*'''หนังสือและบทความ'''
**''100 ปี วรรณคดีสโมสร''. (2558). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
**ธนาพล ลิ่มอภิชาต และวริศา กิตติคุณเสรี. (2551, ต.ค.-ธ.ค.). ประวัติศาสตร์และการเมืองของวาทกรรม “หนังสือดี”. ''อ่าน''. 1(3): 38-60.
**[https://www.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/65145/53314 อาทิตย์ ศรีจันทร์. (2559, ม.ค.-เม.ย.). วรรณคดีสโมสรกับองค์ความรู้เรื่องวรรณกรรมในสังคมไทย: ข้อวิพากษ์ในบริบทของสังคมการเมืองของการทำให้เป็นสมัยใหม่ (Modernization). ''สงขลานครินทร์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์''. 22(1): 147-187.]
**Thanapol Limapichart. (2014). The Royal Society of Literature, or, The Birth of Modern Cultural Authority in Thailand. In ''Disturbing Convention Decentering Thai Literary Cultural''. edited by Rachel V. Harrison et al. pp. 37-62. London: Rowman& Littlefield International.
*'''เว็บไซด์'''
**[[โบราณคดีสโมสร]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}