ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาลิเลโอ กาลิเลอี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
การที่ผลงานของกาลิเลโอสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสกลายเป็นต้นเหตุของการถกเถียงหลายต่อหลายครั้งในชีวิตของเขา เพราะแนวคิดเรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลนั้นเป็นแนวคิดหลักมานานแสนนานนับแต่ยุคของ[[อาริสโตเติล]] การเปลี่ยนแนวคิดใหม่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีข้อมูลสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจนจากกาลิเลโอช่วยสนับสนุน ทำให้คริสตจักร[[โรมันคาทอลิก]]ต้องออกกฎให้แนวคิดเช่นนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะขัดแย้งกับการตีความตาม พระคัมภีร์<ref name="sharrat" /> กาลิเลโอถูกบังคับให้ปฏิเสธ[[แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล|ความเชื่อเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง]] และต้องใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในบ้านกักตัวในความควบคุมของศาลศาสนาโรมัน
 
== ประวัติ อิอิ ==
เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 ที่เมือง[[ปิซา]] [[ประเทศอิตาลี]] เป็นบุตรคนโตในจำนวนบุตร 6 คนของ[[วินเชนโซ กาลิเลอี]] นักดนตรี[[ลูท]]ผู้มีชื่อเสียง มารดาชื่อ จูเลีย อัมมันนาตี เมื่อกาลิเลโออายุได้ 8 ขวบ ครอบครัวได้ย้ายไปตั้งรกรากที่เมือง[[ฟลอเรนซ์]] แต่กาลิเลโอต้องพำนักอยู่กับจาโกโป บอร์กีนิ เป็นเวลาสองปี<ref name="ocorner">เจ. เจ. โอ'คอนเนอร์; อี. เอฟ. โรเบิร์ตสัน. "[http://www-history.mcs.st-andrews.ac.uk/Biographies/Galileo.html Galileo Galilei]". ''The MacTutor History of Mathematics archive''. มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์, สกอตแลนด์. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-07-24.</ref> เขาเรียนหนังสือที่อารามคามัลโดเลเซ เมืองวัลลอมโบรซา ซึ่งอยู่ห่างจากฟลอเรนซ์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 34 กิโลเมตร<ref name="ocorner" /> กาลิเลโอมีความคิดจะบวชตั้งแต่ยังหนุ่ม แต่เขาก็ได้สมัครเข้าเรียนวิชา[[แพทย์]]ที่[[มหาวิทยาลัยปิซา]]ตามความต้องการของพ่อ กาลิเลโอเรียนแพทย์ไม่จบ กลับไปได้ปริญญาสาขา[[คณิตศาสตร์]]มาแทน<ref>เจมส์ เรสตัน (2000). ''Galileo: A Life''. สำนักพิมพ์เบียร์ดบุ๊คส์. ISBN 1-893122-62-X.</ref> ปี ค.ศ. 1589 เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าวิชาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปิซา เมื่อถึงปี ค.ศ. 1591 บิดาของเขาเสียชีวิต กาลิเลโอรับหน้าที่อภิบาลน้องชายคนหนึ่งคือ มีเกลัญโญโล เขาย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัยแพดัวในปี ค.ศ. 1592 โดยสอนวิชา[[เรขาคณิต]] [[กลศาสตร์]] และ[[ดาราศาสตร์]] จนถึงปี ค.ศ. 1610<ref name="sharrat">ไมเคิล ชาร์รัตต์ (1996), ''Galileo: Decisive Innovator''. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, เคมบริดจ์. ISBN 0-521-56671-1</ref> ในระหว่างช่วงเวลานี้ กาลิเลโอได้ทำการค้นพบที่สำคัญมากมาย ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (เช่น จลนศาสตร์การเคลื่อนที่ และดาราศาสตร์) หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เช่น ความแข็งของวัตถุ และการพัฒนา[[กล้องโทรทรรศน์]]) ความสนใจของเขายังครอบคลุมถึงความรู้ด้าน[[โหราศาสตร์]] ซึ่งในยุคสมัยนั้นมีความสำคัญไม่แพ้คณิตศาสตร์หรือดาราศาสตร์ทีเดียว<ref>เอช. ดาร์เรล รัทคิน. "[http://www.stanford.edu/dept/HPST/colloquia0405.html Galileo, Astrology, and the Scientific Revolution: Another Look]". วิชาประวัติศาสตร์และปรัชญาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-04-15.</ref>