ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังดุสิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8928594 โดย 171.97.47.83ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 30:
'''พระราชวังดุสิต''' ตั้งอยู่ที่[[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]] สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เพื่อเป็นที่เสด็จประทับชั่วคราว เนื่องจากภายใน[[พระบรมมหาราชวัง]] ซึ่งเป็น[[พระราชนิเวศน์]]ที่ประทับนั้นประกอบด้วย[[พระราชมณเฑียร]] หมู่พระตำหนัก หมู่เรือนในเขตพระราชฐานชั้นใน และหมู่เรือนข้าราชบริพาร ปลูกสร้างอยู่กันอย่างแออัด ปิดทางลม ทำให้ที่ประทับร้อนจัด ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ ต่อมา จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชวังที่ประทับถาวรจนตลอดรัชกาล แต่ได้สร้างแล้วเสร็จในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
 
ปัจจุบัน เป็นที่ประทับของ[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระภัทรมหาราชเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ซึ่งประทับที่ [[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]]
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 48:
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้เรียกพระราชวังสวนดุสิตว่า "พระราชวังดุสิต" <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/113.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ ขนานนามประตูพระราชวังสวนดุสิต], เล่ม 33, ตอน 0ก, 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2459, หน้า 113</ref> และโปรดให้สร้าง[[สวนจิตรลดา]]ในบริเวณระหว่างพระราชวังดุสิตกับ[[วังพญาไท]] เพื่อเป็นที่เสด็จประพาสและประทับแรม และสร้างพระตำหนักขึ้นหลังหนึ่ง พระราชทานนามว่า [[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] ซึ่งในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้ผนวกสวนจิตรลดาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต <ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/A/4.PDF ประกาศสวนจิตรลดา], เล่ม 42, ตอน 0ก, 5 เมษายน พ.ศ. 2468, หน้า 4 </ref>
 
พระราชวังดุสิตได้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเป็นที่ทำการของรัฐบาล ยังคงเหลือเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นเขตพระราชวังที่ประทับของ[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระภัทรมหาราชเกล้าเจ้าอยู่หัว]]และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] บริเวณ[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]]
 
== สถานที่ภายในพระราชวังดุสิต ==
บรรทัด 73:
====[[พระที่นั่งอัมพรสถาน]]====
เป็นพระที่นั่งองค์แรกและองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งอัมพรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้นายซันเดรสกีเป็นสถาปนิก มีพระสถิตนิมานการ (ม.ร.ว. ชิด อิศรศักดิ์) เป็นแม่กอง ตัวอาคารเป็นรูปตัว H มีสถาปัตยกรรมแบบวิลล่าในชนบทของยุโรป ลักษณะเด่นอยู่ตรงที่มุขด้านหน้า ๒ ข้างซึ่งทำเป็นผนังโค้งเรียงซ้อนกัน ๓ ชั้น ชั้นนอกเป็นระเบียงหุ้มพื้นที่ภายในผนังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปดอกไม้และใบไม้ประยุกต์เข้ากับรูปทรงเลขาคณิตขอบบนประตูหน้าต่างเป็นลวดลายแถบยาวรูปพรรณพฤกษาในแบบสีปูนเปียกคาดรอบตึก นอกจากนี้ยังมีราวระเบียงและลูกกรงที่ทำจากโลหะเป็นลายเลขาคณิตประกอบดอกไม้และโลหะผนังภายในอาคารตกแต่งด้วยลายปูนปั้นและการเขียนสีปูนแห้งลายพรรณพฤกษาและปักษาซึ่งวาดโดย ซีซาร์เร เฟร์โร ศิลปินชาวอิตาเลียน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ณ ห้องพระบรรทมชั้น 3 ที่พระที่นั่งองค์นี้ ในสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ก็เสด็จมาประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถานแต่ประทับที่บริเวณชั้น 2 เพราะถือว่าชั้น 3 เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จมาประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานเมื่อครั้งเสด็จนิวัติพระนคร และพระที่นั่งองค์นี้เป็นสถานที่เสด็จพระราชสมภพของ[[พระบาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร]] วชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึง[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีสิริวัฒนาพรรณวดี]] และ[[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ในปี พ.ศ. 2542 พระบาทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ทรงโปรดให้มีการบูรณะพระที่นั่งอัมพรสถานเพื่อเป็นสถานที่ให้ประชาชนชมความสวยงามของพระที่นั่งอัมพรสถานและให้สถานที่ที่ประทับของพระราชอาคันตุกะที่เยือนประเทศไทยเป็นการตอบแทนตราบจนถึงปัจจุบัน
 
====[[พระที่นั่งอุดรภาค]]====