ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หออัครศิลปิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{issues|เก็บกวาด=yes}}
'''หออัครศิลปิน''' จัดตั้งขึ้นโดย[[สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ|สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในปัจจุบัน)]]<ref>http://paimuseum.com/museum/detail/11</ref>ในปี พ.ศ. 2539 เนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติที่[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหามหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] [[งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539|ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี]]<ref>http://www.museumthailand.com/th/museum/The-Supreme-Artist-Hall-</ref> ก่อสร้างบนพื้นที่ 5 ไร่ ในรูปแบบ[[สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย]]<ref>http://www.culture.go.th/sah/main.php?filename=index</ref> ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองห้า [[อำเภอคลองหลวง]] [[จังหวัดปทุมธานี]] ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ[[กรมส่งเสริมวัฒนธรรม]] [[กระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)|กระทรวงวัฒนธรรม]]
 
ตัวอาคารประกอบด้วยอาคารหลักที่ใช้จัดแสดงนิทรรศการ[[พระราชประวัติ]]และ[[ผลงานศิลปะฝีพระหัตถ์]]ขององค์อัครศิลปิน รายล้อมด้วยอาคารรูปตัวยู ที่จัดแสดงนิทรรศการประวัติและผลงานของ[[ศิลปินแห่งชาติ]]ภายใต้แนวคิดอัครศิลปิน ซึ่งรายล้อมด้วยศิลปินแห่งชาติที่ทรงให้การอุปถัมภ์<ref>http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=37&chap=3&page=t37-3-infodetail05.html</ref>
 
== ประวัติ ==
ในปีพุทธศักราช 2539 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในปัจจุบัน)ได้จัดตั้งหออัครศิลปินขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหามหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 โดยในพิธีเปิด '''สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม'''[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานที่ควบคุมบริหารจัดการกิจการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด "[[อัครศิลปิน]]" แปลว่า "ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ" หรือ "ผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน"<ref>https://mgronline.com/travel/detail/9590000112825</ref> หออัครศิลปิน ออกแบบโดย นาย [[สตวัน ฮ่มซ้าย]] และคณะ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ[[กรมศิลปากร]]<ref>https://www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=5625</ref> ในปี พ.ศ. 2554 ใน[[มหาอุทกภัย พ.ศ. 2554]] ซึ่งเป็น[[มหาอุทกภัย]]น้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ทำให้หออัครศิลปิน ซึ่งอยู่ในพื้นที่จ.ปทุมธานี ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ทำให้หออัครศิลปินได้รับความเสียหายกว่า 2 ล้านบาท<ref>https://www.thairath.co.th/content/217083</ref>
 
== ส่วนจัดแสดงผลงาน ==
หออัครศิลปิน มีส่วนประกอบหลักนำเสนอพระราชประวัติและ[[พระราชกรณียกิจ]]ของ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9]] ด้านศิลปะและวัฒนธรรม และผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมของ'''สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม'''สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และผลงานของศิลปินแห่งชาติทุกสาขาโดยจัดแสดงเป็นหมวดหมู่สาขาของศิลปินแห่งชาติในแต่ละด้าน<ref>การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย [https://thai.tourismthailand.org/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99--970 หออัครศิลปิน]</ref>
 
== ส่วนประกอบของอาคาร ==
หออัครศิลปินมีทั้งหมด 3 ชั้น อันได้แก่ ห้องบริหาร ห้อง[[นิทรรศการชั่วคราว]] และห้อง[[นิทรรศการถาวร]] โดยห้องที่มีความสำคัญที่สุดคือ ห้องอัครศิลปิน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน[[บุษบก]]ไม้ประดับกระจก ปิดทองตรงกึ่งกลางห้องและภายในบุษบกประดิษฐาน[[พระราชลัญจกร]]ประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 จำลองบน[[พานแว่นฟ้า]] เปรียบเสมือนตัวแทนของพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งฐานโดยรอบมี[[สื่อวีดิทัศน์]]แสดงพระราชประวัติและ[[พระราชกรณียกิจ]]จำนวน 9 ตอน โดยนำเสนอเป็น[[สื่อคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส]] เมื่อผู้ชมคุกเข่าตามจุดต่าง ๆ จะได้รับชมอย่างต่อเนื่อง โดยมีฉากหลังเป็น[[จิตรกรรมฝาผนัง]]เรื่อง[[ไตรภูมิ]] ด้านซ้ายและด้านขวาเป็นกระจกแกะลายเทพชุมนุม มีความหมายว่า เหล่าเทวดาต่างสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเปรียบเสมือน[[สมมติเทพ]]
นอกจากพื้นที่จัดแสดงแล้วหออัครศิลปินยังมีห้องฝึกอบรม ร้านขายของที่ระลึก ห้องสมุดที่รวมพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และผลงาน[[วรรณกรรม]]ของศิลปินแห่งชาติทุกท่าน โดยใช้สื่อผสมที่ทันสมัย มีห้องบรรยาย ห้องพักศิลปิน เวทีการแสดง โรงภาพยนตร์ และห้องคาราโอเกะ สำหรับฝึกเพลงของศิลปินแห่งชาติที่รู้จักเป็นอย่างดี โดยรายละเอียดใน'''หออัครศิลปินในชั้นที่ 2''' ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้
 
=== หออัครศิลปิน ในชั้นที่ 2 ===