ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏหวันหมาดหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
 
== การสู้รบ ==
เป็นเหตุการณ์[[กบฏ]]ที่เกิดที่หัวเมืองปักษ์ใต้ รัชสมัยของ[[รัชกาลที่ 3]] เมื่อ[[ปีระกา]] นพศก จ.ศ. 1199 ([[พ.ศ. 2380]]) [[กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย]] สมเด็จพระราชชนนีใน[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] สวรรคต มีงานถวายพระเพลิงพระบรมศพในต้น[[ปีจอ]] สัมฤทธิศก จ.ศ. 1200 ([[พ.ศ. 2381]]) บรรดาผู้ว่าราชการในหัวเมืองต่าง ๆ ได้เดินทางเข้ามาร่วมงานพระราชพิธีใน[[กรุงเทพมหานคร|พระนคร]]กันเกือบหมด จึงไม่มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ดูแล
 
=== มลายูเข้ายึดเมืองไทรบุรี ===
ในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2381 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดอาศัยจังหวะซึ่งทัพเรือของอังกฤษที่รักษาเกาะปีนังนั้นย้ายไปทำการปราบโจรสลัดที่ตรังกานู<ref name=":1" /> ยกทัพเรือจากเกาะสุมาตรามายังเซอเบอรังเปอไร (Seberang Perai) หรือโปร์วินซ์เวลส์เลย์ซึ่งเป็นเขตแดนของอังกฤษ สมทบกับกองกำลังโจรสลัดของหวันมาลี ตนกูมูฮาหมัดซาอัดป่าวประกาศร้องเรียกให้ชาวมลายูผู้สนับสนุนอดีตสุลต่านฯออกมารวบรวมเป็นกองกำลังที่แม่น้ำมุดา (Muda River) และแม่น้ำเมอร์บก (Merbok River) ซึ่งเป็นเขตแตนรอยต่อระหว่างไทรบุรีและโปร์วินซ์เวลส์เลย์ ในเดือนพฤษภาคมตนกูมูฮาหมัดทาอิบ (Tunku Muhammad Taib) ผู้เป็นน้องชายของตนกูซาอัด<ref>https://www.royalark.net/Malaysia/kedah4.htm</ref> นำกองกำลังชาวมลายูตั้งขึ้นที่แม่น้ำเมอร์บกรวมกับทัพของตนกูซาอัดได้กำลัง 1,000 คน ตนกูซาอัดยกทัพมลายูเข้าโจมตีป้อมกัวลาเกอดะฮ์ (Kuala Kedah) หรือป้อมปากน้ำไทรบุรีในเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2381 โดยที่ฝ่ายสยามไม่ทันตั้งตัว พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) เจ้าเมืองไทรบุรีรวบรวมกำลังพลจัดตั้งทัพขึ้นประกอบด้วยชาวไทยได้ 200 คน ได้ชาวมลายู 800-900 คน มาตั้งรับ ในชั้นแรกฝ่ายสยามสามารถป้องกันป้อมปากน้ำไทรบุรีไว้ได้ ตนกูซาอัดเข้ายึดป้อมปากน้ำไม่สำเร็จ ต่อมาในเดือนสิงหาคม ตนกูอากิบได้นำตัวครอบครัวของทหารชาวมลายูซึ่งป้องกันป้อมอยู่ฝ่ายสยาม ประกอบด้วยเด็กสตรีและคนชรามาเดินนำหน้าทัพ เมื่อเด็กสตรีและคนชราเหล่านั้นถูกสังหารในที่รบ ทำให้ทหารฝ่ายมลายูซึ่งอยู่ฝ่ายสยามแปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายกบฏ ตนกูทาอิบจึงเข้ายึดป้อมปากน้ำไทรบุรีได้ พระยาอภัยธิเบศร์และทัพสยามจึงล่าถอยกลับเข้าเมืองอาโลร์เซอตาร์ ทัพฝ่ายมลายูของตนกูซาอัดและตนกูทาอิบเข้ายึดเมืองอาโลร์เซอตาร์ได้ในเดือนสิงหาคมพ.ศ. 2381 พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) รวมทั้งพระเสนานุชิต (นุช) ปลัดเมืองไทรบุรีผู้เป็นน้องชายและครอบครัวหลบหนีไปยังกูปังบาซู และหลบหนีต่อไปจนถึงเมืองพัทลุงในที่สุด
 
=== การรบฝั่งอันดามัน ===
เมื่อยึดเมืองอาโลร์เซอตาร์ไว้ได้แล้ว ในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2381 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดจึงส่งหวันมาลี หรือเจ๊ะหมัดอาลี ยกทัพเรือไปยึดเมืองปะลิส ยึดเกาะลังกาวี และยกทัพเรือจำนวน 95 ลำ 1,000 คน<ref name=":2">กรมศิลปากร. ''จดหมายหลวงอุดมสมบัติ''. พุทธศักราช ๒๕๓๐.</ref> เข้าโจมตีเมือง[[ตรัง]] ซึ่งเป็นสถานที่ต่อเรือของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) พระสงครามวิชิตเจ้าเมืองตรังนำทัพออกสู้รับกับทัพของหวัดมาลีที่ปากน้ำพระม่วงและเขาราชสีห์<ref name=":2" />แต่ชาวมลายูซึ่งอยู่ด้านหลังเขาโจมตีกระหนาบหลังทำให้ทัพของพระสงครามวิชิตแตกพ่ายไป หวันมาลีจึงสามารถเข้ายึดเมืองตรังได้ กวาดต้อนผู้คนเมืองตรังไปอยู่ที่เกาะลังกาวี
 
[[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช]] (น้อย)<ref>http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=23320.0</ref> เจ้าเมืองตรัง กลับมาถึงก็ระดมกำลังทหารตั้งค่ายอยู่ที่ ต.ทุ่งค่าย [[อ.ย่านตาขาว]] จ.ตรัง (ในปัจจุบัน) เพื่อเตรียมยกโอบไปตีหวันหมาดหลีซึ่งยึดชัยภูมิอยู่ที่ควนธานี โดยส่งกองกำลังลำเลียงไปทางคลองลำเลียง เมื่อหวันหมาดหลีทราบข่าวว่าเจ้าพระยานคร (น้อย) ยกทัพมา ประกอบกับรับรู้ถึงกิตติศัพท์การออกทัพจับศึกของเจ้าพระยานคร (น้อย) ว่าเก่งกาจ จึงถอยร่นหนีไป
 
=== การรบที่สงขลาและปัตตานี ===
ตนกูมะหะหมัด สะอัด และ ตนกูอับดุลเลาะห์ เชื้อพระวงค์แห่งมลายูได้คบคิดกับ[[หวันหมาดหลี]] ซึ่งเป็น[[โจรสลัด]][[อันดามัน]]ได้ยกกำลังเข้าจู่โจมเมือง[[ไทรบุรี]] ฝ่ายไทยที่ดูแลเมืองไทรบุรีไม่อาจรับมือได้ จึงถอยร่นแตกทัพมาที่เมือง[[พัทลุง]] กบฏจึงได้ใจบุกต่อเข้าไปตีเมือง[[ตรัง]]และสามารถยึดครองเมืองไว้ได้ จากนั้นจึงปล่อยให้หวันหมาดหลีรักษาเมืองไว้โดยลำพัง กองกำลังส่วนใหญ่ได้เดินบกจากตรังข้ามไปพัทลุงและ[[สงขลา]] ตีสงขลาแล้วเกลี่ยกล่อมเจ้าเมืองที่เป็น[[มุสลิม]]ด้วยกันอีก 7 หัวเมืองให้ร่วมมือกันก่อการกบฏ
 
ทางพระนคร เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข่าวก็พิโรธ มีพระบรมราชโองการสั่งให้เจ้าเมืองต่าง ๆ เร่งกลับไปป้องกันดูแลเมืองของตนเอง และทรงวิตกว่า การที่กบฏสามารถประชิดสงขลาได้แล้วจะเป็นเหตุให้มุสลิมทางหัวเมืองหน้าในแถบทะเล[[อ่าวสยาม]]คิดการกบฏขึ้นมาด้วย จึงโปรดให้[[พระยาศรีพิพัฒน์]] (ทัด บุนนาค) เป็นแม่ทัพใหญ่ลงไปปราบ ในส่วนของเมืองตรัง [[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช]] (น้อย)<ref>http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=23320.0</ref> เจ้าเมืองตรัง กลับมาถึงก็ระดมกำลังทหารตั้งค่ายอยู่ที่ ต.ทุ่งค่าย [[อ.ย่านตาขาว]] จ.ตรัง (ในปัจจุบัน) เพื่อเตรียมยกโอบไปตีหวันหมาดหลีซึ่งยึดชัยภูมิอยู่ที่ควนธานี โดยส่งกองกำลังลำเลียงไปทางคลองลำเลียง เมื่อหวันหมาดหลีทราบข่าวว่าเจ้าพระยานคร (น้อย) ยกทัพมา ประกอบกับรับรู้ถึงกิตติศัพท์การออกทัพจับศึกของเจ้าพระยานคร (น้อย) ว่าเก่งกาจ จึงถอยร่นหนีไป
 
หลังจากเหตุการณ์นี้ มีการสืบสวน พบว่ามีข้าราชการและขุนนางจำนวนหนึ่งที่เข้าพวกกบฏ มีการลงโทษต่าง ๆ รวมถึงการประหารชีวิตด้วย
 
<br />
 
== อ้างอิง ==