ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 6:
ปี พ.ศ. 2411 ได้เข้ารับราชการในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษ เวรฤทธิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2427 ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น''หลวงศิลปสารสราวุธ'' ถือศักดินา ๘๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/032/284_2.PDF พระราชทานสัญญาบัตร ตั้งตำแหน่ง (หน้า ๒๘๕ ลำดับที่ ๒๙๔)] </ref>ถึงปี พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็น''จมื่นวิชิตไชยศักดาวุธ'' ถือศักดินา ๑๐๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/021/164.PDF สัญญาบัตรปีระกาสัปตศก]</ref>ต่อมาในปี พ.ศ. 2430 ได้รับพระราชทานยศ "พันตรี" ถือศักดินา ๑๕๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/009/66_2.PDF ข่าวพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนตำแหน่งข้าราชการ] </ref>และในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้เลื่อนเป็น''พระราชวัลภานุสิษฐ์'' มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,000<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/035/291_1.PDF พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง], เล่ม ๙, ตอน ๓๕, ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๕, หน้า ๒๙๑</ref> โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์ประจำการในตำแหน่ง ผู้บังคับการกองทหารมหาดเล็ก<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/035/295_1.PDF ประกาศกรมยุทธนาธิการ ศาลายุทธนาธิการ] </ref>
 
วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2437 ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรีพร้อมทั้งเลื่อนยศและบรรดาศักดิ์เป็น''นายพันโท พระยาราชวัลภานุสิษฐ์'' มีตำแหน่งราชการในกรมยุทธนาธิการ ถือศักดินา 1,500<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/045/382_1.PDF ทรงตั้งองคมนตรีและพระราชทานสัญญาบัตร เครื่องราชอิสริยาภรณ์], เล่ม ๑๑, ตอน ๔๕, ๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๓, หน้า ๓๘๒-๓</ref> ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ประจำรักษาพระองค์[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/045/383.PDF กราบถวายบังคมลา], เล่ม ๑๑, ตอน ๔๕, ๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๓, หน้า ๓๘๓</ref> อยู่ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2443 [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้ส่งสัญญาบัตรไปพระราชทาน พระยาราชวัลภานุสิษฐ์ เป็น '''พันเอก'''<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/019/232.PDF ส่งสัญญาบัตร์ทหารไปพระราชทาน] </ref> ต่อเนื่องมาจนทรงสำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับมาประทับ ณ พระนคร ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นลำดับจนถึง''นายพลตรี'' เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/008/118_2.PDF พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก] </ref>และพ้นจากหน้าที่ราชองครักษ์ประจำการเพราะครบกำหนดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/049/835.PDF แจ้งความกรมยุทธนาธิการ เรื่อง ให้พระยารามกำแหง เป็นผู้บัญชาการทหารบก มณฑลกรุงเทพ ฯ ให้พระพิเรนทรเทพ เป็นราชองครักษ์ประจำการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเปลี่ยนพระยาราชวัลภานุสิษฐ์], เล่ม ๒๐, ตอน ๔๙, ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๖, หน้า ๘๓๕-๖</ref>
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นราชองครักษ์ประจำการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2453<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2012.PDF แจ้งความกรมยุทธนาธิการ เรื่อง ให้นายพันโท พระยาอภัยพลภักดิ์ ออกจากตำแหน่งราชองครักษ์ประจำการ และรับพระราชทานเบี้ยบำนาญตามพระราชบัญญัติให้นายพลตรี พระยาราชวัลภานุศิษฎ์เป็นราชองครักษ์ประจำการ], เล่ม ๒๗, ตอน ๐ ง, ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๐๑๒</ref> ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมุหพระตำรวจตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 แทน[[พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี)]] ที่ลาออกด้วยปัญหาสุขภาพ<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/A/294.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ พระยาอนุชิตชาญไชย ลาออกจากตำแหน่ง สมุหพระตำรวจ และตั้งพระยาราชวัลภานุศิษฎ์ เป็นสมุหพระตำรวจแทน], เล่ม ๒๙, ตอน ก, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๒๙๔-๕</ref> วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461 ได้เลื่อนยศเป็น''พระตำรวจเอก''<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/2707.PDF ประกาศเลื่อนยศข้าราชการกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์], เล่ม ๓๕, ตอน ง, ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๒๗๐๗</ref> และในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในหิรัญบัฏว่า ''เจ้าพระยาราชศุภมิตร์ วัลลภานุศิษฏ์สุรเสนี เทพวัชรีศรีมหาสวามิภักดิ์พิเศษ วิเทศจิรวาสีอัคระวราภิบาล สุจริตไพศาลสุนทรพจน์ อดุลยยศราชองครักษ์ อัคระรัตนไตรยสรณธาดา เมตตาชวาธยาศัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ'' ถือศักดินา 10,000<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2463/A/289.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา], เล่ม ๓๗, ตอน ๐ ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๓, หน้า ๒๙๗-๓๐๐</ref>