ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JulladaNARIT (คุย | ส่วนร่วม)
JulladaNARIT (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 172:
 
==== '''การพัฒนาเครื่องสเปกโตรกราฟ''' ====
[[ไฟล์:สเปกโตรกราฟแบบกำลังการแยกสเปกตรัมสูง.png|thumb|สเปกโตรกราฟแบบกำลังการแยกสเปกตรัมสูง]]
ห้องปฏิบัติการทัศนศาสตร์กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาเครื่องสเปกโตรกราฟแบบกำลังการแยกสเปกตรัมต่ำ (Low Resolution Spectrograph) และเครื่องสเปกโตรกราฟแบบกำลังการแยกสเปกตรัมสูง (High Resolution Spectrograph) สำหรับกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร และ กล้องโทรทรรศน์หลักของหอดูดาวภูมิภาคทุกแห่ง รวมถึงกล้องโทรทรรศน์อัตโนมัติควบคุมระยะไกลในต่างประเทศ การใช้งานของเครื่องมือนี้คือการวัดสเปกตรัมของวัตถุท้องฟ้า เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น องค์ประกอบทางเคมี และการเคลื่อนไหวสัมพัทธ์กับผู้สังเกต เป็นต้น ประโยชน์ของเครื่องวัดสเปกตรัมนี้ไม่เพียงแต่ใช้ในด้านดาราศาสตร์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปใช้อย่างแพร่หลายในสาขาเคมี ชีววิทยา ระบบการป้องกันและการรักษาความปลอดภัย การเกษตร และการควบคุมทางไกล ฯลฯ
 
เส้น 181 ⟶ 182:
 
===== '''การพัฒนาอุปกรณ์ลดระยะโฟกัส (Focal Reducer)''' =====
    โครงการนี้เป็นการพัฒนาอุปกรณ์ลดระยะโฟกัสสำหรับกล้องโทรทรรศน์ที่หอดูดาวแห่งชาติ เพื่อให้ได้มุมมองภาพอย่างเต็มประสิทธิภาพโดยใช้งานร่วมกับกล้องถ่ายภาพซีซีดีแบบ 4K อุปกรณ์นี้จะสามารถใช้ถ่ายภาพด้วยลำแสงที่ไม่ถูกบดบังที่มุมมองภาพ 15 ลิปดา (จากเดิมใช้ได้เพียง 7 ลิปดา) เมื่อใช้ร่วมกับกล้อง 4K ที่มีขนาด image scale 0.42 ฟิลิปดาต่อพิกเซล ทำให้มีกำลังการแยกภาพละเอียดอยู่ที่ 1.2 ฟิลิปดา ในช่วงความยาวคลื่น 400-800 นาโนเมตร ระบบนี้ประกอบด้วย ชุดเลนส์คู่ที่ติดตั้งบนรางไฟฟ้า อยู่บริเวณส่วนกลางของกล้องโทรทรรศน์ และชุดเลนส์สามชิ้นติดตั้งบริเวณส่วนหน้าของกล้อง 4K ห้องปฏิบัติการทัศนศาสตร์ได้ออกแบบระบบแสง ออกแบบโครงสร้าง รวมถึงการผลิตอุปกรณ์โครงสร้าง ผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างของอุปกรณ์ลดระยะโฟกัส ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ และวางแผนการติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ของหอดูดาวแห่งชาติ และจะทำการทดสอบภายในปี 2560-2561 คาดว่าจะสามารถใช้งานจริงได้ภายในปี 2561-2562
 
==== '''การออกแบบและการพัฒนากล้องโทรทรรศน์ขนาดกลาง''' ====
    สดร. อยู่ระหว่างการพัฒนากล้องโทรทรรศน์ขนาดกลาง (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เมตร) เพื่อใช้สำหรับการสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ในการประยุกต์ใช้ในทางวิทยาศาสต์ เราต้องการกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังการแยกภาพเชิงมุมสูง ที่ความยาวคลื่นช่วงปานกลางและต่ำ นักศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมออกแบบกล้องโทรทรรศน์ การออกแบบทางทัศนศาสตร์ เน้นการออกแบบระบบที่มีการบดบังบริเวณกึ่งกลาง (Central Obscuration) ที่เล็กมาก (น้อยกว่า 20%) และออกแบบร่วมกับอุปกรณ์อะแดปทีฟออปติกส์ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าภาพที่ได้จะไม่มีความคลาดทางทัศนศาสตร์ขณะทำการสังเกตการณ์
 
             ขั้นตอนการออกแบบ ได้ใช้โปรแกรม ZEMAX ซึ่งมีการจำลองการทดสอบประสิทธิภาพของระบบทัศนศาสตร์ต่อการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่างๆ โดยคำนึงถึงขั้นตอนการประกอบ การจัดวางชิ้นส่วนต่างๆ ของอุปกรณ์ และความเสถียรของโครงสร้างกล้องโทรทรรศน์ระหว่างการใช้งานซึ่งอาจมีผลต่อความคมชัดของภาพ ขั้นต่อไปเป็นการจัดซื้อชิ้นส่วนต่างๆ สำหรับการประกอบขึ้นเป็นกล้องโทรทรรศน์ และคาดการณ์ว่าจะสามารถใช้งานได้ในปี 2563
 
             วิธีการ ขั้นตอน และความรู้ที่ได้รับจากการทำงานนี้สามารถนำมาใช้ในการออกแบบกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ติดตั้งบนดาวเทียม หรือประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับสังเกตการณ์บนพื้นโลกได้ จากงานวิจัยนี้ ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัย การสังเกตการณ์ระยะไกล รวมทั้งคลื่นในบรรยากาศจากการสำรวจแบบ LIDAR อีกด้วย<br />
<br />
 
=== 2) ห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส​์ ===
บรรทัด 204:
เป้าหมายของ NARIT ในการสร้างเครื่องช่วยหายใจต้นแบบ ไม่ได้หยุดเพียงแค่แก้ปัญหาภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของบุคลากรและสามารถต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ต่อไปได้ในอนาคต
 
โครงการพัฒนาเครื่องช่วยหายใจ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ภายใต้คำแนะนำของทีมแพทย์ และบุคลากรจากโรงพยาบาโรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ และศูนย์สนับสนุนการบริการสุขภาพเขตที่ 1 กรมส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
 
==== '''การพัฒนาระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ (Development of Next Generation Telescope Control System)''' ====
[[ไฟล์:NARIT_Telescope_Control_System.jpg|thumb|ระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่|alt=]]
ปัจจุบันกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2.4 เมตร ของประเทศไทย ให้บริการแก่นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศแต่ละปีไม่น้อยกว่า 215 คืน มีอายุการใช้งานมาแล้วเกือบ 4 ปี ส่งผลให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์บางอย่างหมดอายุจนไม่สามารถทำงานอย่างปกติ เช่น บอร์ดควบคุมมอเตอร์ บอร์ดควบคุมการสื่อสารแบบ CAN bus เป็นต้น การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น ใช้วิธีจัดซื้อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นำไปทดแทนของเดิม เพื่อให้กล้องโทรทรรศน์สามารถใช้งานได้เป็นปกติ แต่เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ เป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างเฉพาะและมีความซับซ้อน บางอุปกรณ์หาซื้อได้ยากในปัจจุบันบางชิ้นส่วนได้ยกเลิกการผลิตไปแล้ว เป็นปัญหาและความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออายุการใช้งานกล้องโทรทรรศน์
 
บรรทัด 213:
 
นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับประเทศอังกฤษภายใต้การสนับสนุนจากกองทุน Newton และสถาบันไทย-เยอรมัน มาร่วมกันศึกษา ออกแบบ และพัฒนาระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของกล้องโทรทรรศน์
 
 
==== ระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ และระบบสังเกตการณ์วัตถุอวกาศ ====
NARIT ดำเนินโครงการเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ดังกล่าวควบคุมระยะไกลอัตโนมัติ (Thai Robotic Telescope Network : TRT) สามารถควบคุมการทำงานจากระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ช่วยให้นักดาราศาสตร์ไทยสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของวัตถุท้องฟ้าได้ตลอดเวลาทั้งซีกฟ้าเหนือและซีกฟ้าใต้  นอกจากนี้ ยังสนับสนุนงานวิจัยระดับโรงเรียนโดย เปิดโอกาสให้ครู อาจารย์ และนักเรียน สามารถเข้าใช้งานเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์นี้ใน สนับสนุนการทำโครงงานวิจัยดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสร้างครุวิจัย และยุววิจัยด้านดาราศาสตร์อีกด้วยววิจัย
[[ไฟล์:ระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ_และระบบสังเกตการณ์วัตถุอวกาศ.jpg|thumb|ระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ และระบบสังเกตการณ์วัตถุอวกาศ]]
เพื่อรองรับการใช้งานนี้ NARIT จึงพัฒนาและออกแบบระบบให้เครือข่ายสามารถใช้งานได้จากภายนอก พัฒนาระบบการรายงานผล เก็บข้อมูล และแสดงผลสถิติการใช้งานกล้องทั้งหมด เพื่อติดตามการใช้งาน จัดสรรการขอเข้าใช้งาน ทั้งยังตรวจเช็คข้อมูลย้อนหลังผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ รวมถึงออกแบบระบบแสดงผลเป็นแผนภาพ และยังสามารถตรวจสอบสถานะของงานวิจัยได้อีกด้วย
 
นอกจากนี้ NARIT ยังดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาระบบสังเกตการณ์วัตถุอวกาศ (Thai National Space-objects Observation: TNSO) โดยใช้กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ในโครงการเฝ้าระวังวัตถุใกล้โลกและวัตถุอวกาศของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ บริเวณสถานีรายงานดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้นแบบพัฒนาเชิงโครงสร้างของซอฟต์แวร์ระบบควบคุม เพื่อให้กล้องโทรทรรศน์สามารถประมวลผลข้อมูลการวัดทางดาราศาสตร์ และนำมาใช้เป็นฟังก์ชันพื้นฐานต่อยอดไปสู่เทคนิคการประมาณค่าพิกัดดาวเทียม ขยะอวกาศ รวมถึงวัตถุอวกาศใกล้โลก
 
ปัจจุบัน ระบบดังกล่าวสามารถสังเกตการณ์วัตถุอวกาศครอบคลุมทุกระยะวงโคจร อาทิ วงโคจรใกล้โลก วงโคจรระดับกลาง และวงโคจรสถิต ในฟังก์ชันติดตามแบบเวลาจริงเพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบ จึงมีแผนพัฒนาระบบการประมวลผลภาพดิจิทัล การประมาณค่าตัวแปร ตัวควบคุมแบบเหมาะสม และเทคนิคการประมวลสัญญาณผ่านทฤษฎีทัศนศาสตร์ และนำข้อมูลมาบูรณาการร่วมกับระบบจัดการจราจรทางอวกาศ เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาระบบแจ้งเตือนดาวเทียมที่เป็นทรัพยากรของชาติต่อไป
 
==== การพัฒนาระบบวัดค่าทัศนวิสัยท้องฟ้า ====
เส้น 224 ⟶ 234:
สำหรับอุปกรณ์และระบบที่พัฒนาขึ้นนั้น ใช้วิธีการ DIMM ในการวัดค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณกลางฟ้า (สูงจากขอบฟ้าประมาณ 60-90 องศา) ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว ใช้วิธีการปรับอุปกรณ์รับภาพให้อยู่นอกระยะโฟกัสเล็กน้อย (defocus) เพื่อแยกดาวออกเป็นสองดวง เมื่อเปิดระบบ ซอฟต์แวร์จะควบคุมการทำงานของกล้องโทรทรรศน์ตลอดทั้งคืน
<br />
 
==== การพัฒนาทางวิศวกรรมของเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ ====
สดร. ดำเนินการโครงการเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6-0.7 เมตร ณ สถานที่ที่มีสภาพท้องฟ้าเอื้ออำนวย มีสภาพทัศนวิสัยทางดาราศาสตร์ดีเยี่ยม ได้แก่ ชิลี อเมริกา จีน และออสเตรเลีย สามารถควบคุมการทำงานจากระยะไกล (Direct control mode)  ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากทั่วโลก
 
เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ดังกล่าวช่วยให้นักดาราศาสตร์ไทยสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของวัตถุท้องฟ้าได้ตลอดเวลาทั้งซีกฟ้าเหนือและซีกฟ้าใต้ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนงานวิจัยระดับโรงเรียนโดย ครู อาจารย์ และนักเรียน สามารถเข้าใช้งานเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์นี้ในการทำโครงงานวิจัยดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสร้างครุวิจัยและยุววิจัยด้านดาราศาสตร์อีกด้วย
 
ในการออกแบบและพัฒนา Thai Robotic Telescope Network ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์และทัศนศาสตร์ มาประยุกต์ร่วมกันอย่างลงตัว และแม้ว่า Thai Robotic Telescope Network จะไม่ได้เป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นระบบแรกของโลก แต่ก็ถือเป็นก้าวย่างอันสำคัญที่แสดงให้เห็นการบูรณาการเทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และยังช่วยจุดประกายความสนใจในการคิดค้นเทคโนโลยีให้กับคนไทยรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจในการเป็นนักประดิษฐ์ มากกว่าเป็นเพียงผู้ใช้งานที่คอยตามเทคโนโลยีแต่เพียงฝ่ายเดียว
 
=== 3) ห้องปฏิบัติการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง ===
เส้น 241 ⟶ 244:
 
·    สามารถขึ้นรูปชิ้นงานโดยมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 35 ไมครอน (เป้าหมายในอีก 2 ปีข้างหน้าจะสามารถลดความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 30 ไมครอน)
[[ไฟล์:ต้นแบบชิ้นส่วนโครงสร้างข้อสะโพกขาเทียม.jpg|thumb|ต้นแบบชิ้นส่วนโครงสร้างข้อสะโพกขาเทียม]]
 
·    สามารถออกแบบและวิเคราะห์ความแข็งแรงทางวิศวกรรมของชิ้นงาน (Part or Assembly) เพื่อช่วยในการประเมินคุณภาพของชิ้นงาน ช่วยปรับปรุงคุณภาพชิ้นงาน ก่อนการผลิตจริง
 
เส้น 252 ⟶ 255:
'''ผลงานเด่น : การขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูงสู่การผลิต “ชิ้นส่วนโครงสร้างขาเทียม”'''
 
ทีมวิศวกรจากห้องปฏิบัติการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง ได้วิจัยพัฒนา และออกแบบโครงสร้างชิ้นส่วนขาเทียม ให้มีความแข็งแรงคงทน มีน้ำหนักลดลง ปรับองศาให้เคลื่อนไหวได้อิสระ ตอบสนองการเดินของผู้ป่วยและผู้พิการได้ทุกรูปแบบ ลดปัญหาแรงกดจากการใช้งานจริง มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น<br />
<br />
 
=== 4) ห้องปฏิบัติการ'''เคลือบกระจก''' ===
เส้น 276 ⟶ 278:
สดร. พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสำหรับใช้ในงานวิจัยฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จักรวาลวิทยา และสภาพอวกาศ เพื่อรองรับความต้องการของนักวิจัยในประเทศไทยโดยเฉพาะโครงการวิจัยขั้นสูงในปัจจุบันและอนาคตที่ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่ กล้อง Gravitational-wave Optic Transient Observer (GOTO), Cherenkov Telescope Array (CTA), Jiangmen Underground Neutrino Observatory (JUNO), กล้องโทรทรรศน์ดาราศาสตร์วิทยุ,  Radio  Very  Long  Baseline Interferometry (VLBI) และ Square Kilometer Array (SKA)
 
ปัจจุบัน สดร. มีทรัพยากรเพื่อการคำนวณในงานวิจัยปี 2559 จำนวน 496 cores ประมวลผล (ขีดความสามารถ Rpeak รวมประมาณ 22 เทอระฟล็อปส์) หน่วยความจำหลัก 2 เทอระไบต์ ความเร็วระบบสื่อสารภายในคลัสเตอร์อยู่ที่ 56 จิกะบิตต่อวินาที มีหน่วยจัดเก็บข้อมูลระบบ Lustre filesystem ขนาดความจุประมาณ 90 เทอระไบต์ ซึ่งมีการใช้ในงานวิจัยภายในสถาบันฯ และรองรับการใช้งานของนักศึกษาทั้งระดับบัณฑิตศึกษาและปริญญาตรีที่ดำเนินงานวิจัยภายใต้ นักวิจัยของ สดร.  นอกจากนี้ สดร. ยังมีแผนที่จะเปิดให้นักวิจัยภายนอกและอาจารย์มหาวิทยาลัยสามารถเข้าใช้ ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลสมรรถนะสูงของ สดร. เพื่อดำเนินงานวิจัยดาราศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงานวิจัยด้าน Data science และ computational science อื่น ๆ เป็นต้น<br />
<br />
== '''การเข้าร่วมโครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลก''' ==
สดร. ได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมโครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลกหลายโครงการ แสดงถึงการยอมรับและศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยในเวทีโลก เข้าร่วมโครงการขนาดใหญ่นี้ของประเทศไทย เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยได้พัฒนาศักยภาพ และสามารถศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าได้ทัดเทียมกับประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก และมีโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทย
 
''ตัวอย่าง'' โครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่ สดร. เข้าร่วม มีดังนี้
[[ไฟล์:กระจกกล้องโทรทรรศน์ในโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ.jpg|thumb|กระจกกล้องโทรทรรศน์ในโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ]]
 
1)     การเข้าร่วมโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ ('''Cherenkov Telescope Array: CTA)''' เป็นความร่วมมือของ 25 ประเทศ มูลค่ารวม 400 ล้านยูโร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา High Energy Astroparticles จะติดตั้งหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ ณ ประเทศสเปน และชิลี สดร. เข้าร่วมโครงการ CTA ในส่วนการพัฒนาเครื่องเคลือบกระจกสะท้อนแสงของกล้องโทรทรรศน์ จำนวน 6,400 บาน โดยความร่วมมือกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
[[ไฟล์:อุปกรณ์ชดเชยสนามแม่เหล็กโลก.jpg|thumb|ต้นแบบอุปกรณ์ชดเชยสนามแม่เหล็กโลก ณ สถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง ประเทศจีน]]
 
2)     การเข้าร่วมโครงการ '''Jiangmen Underground Neutrino Observatory : JUNO''' ภายใต้สถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสร้างห้องปฏิบัติการศึกษาอนุภาคนิวตริโน มีหน่วยงานร่วมดำเนินการมากกว่า 70 สถาบัน จาก 16 ประเทศทั่วโลก มูลค่ารวม 300 ล้านเหรียญสหรัฐ  ประเทศไทยเข้าร่วมในลักษณะการเป็น Consortium ของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับผิดชอบการออกแบบคอยล์แม่เหล็ก เพื่อป้องกันอุปกรณ์รับสัญญาณจากสนามแม่เหล็กโลก
 
เส้น 317 ⟶ 318:
 
=== '''การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีดาราศาสตร์''' ===
[[ไฟล์:กิจกรรมในค่ายเยาวชนคนดูดาว.jpg|thumb|กิจกรรมในค่ายเยาวชนคนดูดาว]]
มีเป้าประสงค์ เพื่อส่งเสริมบรรยากาศ และความตื่นตัวทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยมีรูปแบบกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
 
เส้น 328 ⟶ 330:
 
=== โครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ “77 จังหวัดเปิดฟ้าส่องโลกดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้ทั่วหล้า” ===
[[ไฟล์:การฝึกปฏิบัติการใช้กล้องโทรทรรศน์ดอปโซเนียน.jpg|thumb|การฝึกปฏิบัติการใช้กล้องโทรทรรศน์ดอปโซเนียน]]
สดร. ได้ริเริ่ม โครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ “77 จังหวัดเปิดฟ้าส่องโลกดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้ทั่วหล้า” ตั้งแต่ปี 2558 ทำการคัดเลือกโรงเรียนจากทั่วประเทศเพื่อรับมอบกล้องโทรทรรศน์ และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ชุดใหญ่ สำหรับจัดการเรียนการสอน กิจกรรมทางดาราศาสตร์ และสังเกตการณ์ท้องฟ้า ภายในโรงเรียนและชุมชนรอบข้าง มุ่งสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ดาราศาสตร์ให้ทั่วถึงและทัดเทียมกันทั่วประเทศ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “60 พรรษา เจ้าฟ้านักดาราศาสตร์”
 
เส้น 338 ⟶ 341:
 
== รางวัลที่ได้รับ ==
[[ไฟล์:รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี_มูลนิธิโทเร_ปี_2561.jpg|thumb|รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มูลนิธิโทเร ปี 2561]]
 
* รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากมูลินิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ครั้งที่ 25 ปี 2561 (ประเภทสถาบัน)
* หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ มิวเซียม ไทยแลนด์ อวอร์ด 2018