ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิษวิทยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 68:
6.)ก๊าซพิษ มีหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมทจัมีก๊าซพิษบางชนิดที่อันตรายมาก โดยส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจน ทำให้ร่างกายระคายเคือง เช่น พอสจีน, ไนโตรเจนออกไซด์, คาร์บอนมอนอกไซด์<br />
 
7.)สารเจือปนเคมีผสมในอาหาร เป็นสารเคมีที่นำมาใส่เข้าไปในอาหารโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้อาหารเสีย และเพื่อคงหรือเพิ่มคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของอาหาร ตลอดจนเพื่อให้อาหารนั้นมีกลิ่น รส สี ที่น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น สารเคมีเหล่านี้ บางชนิดถ้าใส่ในปริมาณมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดเป็นพิษเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ตัวอย่าง เช่น สารไนเตรทไนไตรท์ ผงชูรส โซเดียม เบนโซเอท เป็นต้น นอกจากนี้สารเคมีบางชนิดก็เป็นสารที่เป็นพิษมีอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ตัวอย่างเช่น สีย้อมผ้า กรดกำมะถัน บอแรกซ์ กรดซาลิโซลิก เป็นต้น<br />
 
8.)สารที่สังเคราะห์โดยสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ สารที่สังเคราะห์จากเชื้อรา แบคทีเรีย พืช และสัตว์บางชนิด ตัวอย่างของสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา เช่น สารพิษ Aflatoxin เกิดจากเชื้อราพวก Aspergillus flavus ที่ขึ้นอยู่ในถั่วลิสง ข้าวโพดหรืออาหารแห้งอื่น ๆ หรือสารพิษ Botulinum toxin เกิดจากเชื้อแบททีเรีย Clostridium botulinum ที่ขึ้นในอาหารกระป๋องที่ผลิตไม่ได้มาตราฐานสารพิษ Trichothecene หรือ T-2 toxin เกิดจากเชื้อรา Fusarium tricinetum ที่ขึ้นในข้าวโพด เป็นต้น สำหรับพืชและสัตว์ที่สามารถสร้างสารพิษได้ เช่น เห็ดพิษ กลอย มันสำปะหลัง คางคก เหรา (สัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง) ปลาปักเป้า เป็นต้น<br />