ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตระกูลบุนนาค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BenBoonnak (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Siamhistory9 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 127:
ที่ ๑๐ เจ้าคุณหญิงแก้ว คนทั้งหลายเรียกว่า "เจ้าคุณบางช้าง" บุตรหลานใช้นามสกุลว่า "ณ บางช้าง"
 
พระญาติวงศ์ของ[[สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี]] ทั้ง ๑๐ ท่านนี้นับเป็นชั้นที่ ๑ ไม่มีบุตรธิดาสืบสกุล ๖ วงศ์ เหลือเพียง ๔ วงศ์ เป็นราชสกุล ๑ วงศ์ คือ สายของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ เป็น[[ราชวงศ์จักรี]] นอกจากนั้นเป็นราชินิกุลสายตรง ๓ วงศ์ ได้แก่ สายเจ้าคุณชาย ชูโต เป็นต้นสกุลชูโต สวัสดิ์-ชูโต และแสง-ชูโต สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล เป็นสกุลบุนนาค และสายเจ้าคุณหญิงแก้วเป็นสกุล ณ บางช้าง ส่วนพระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีซึ่งมีนิวาสสถาน อยู่ในตำบลอัมพวา แขวงอำเภอบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นพระนิวาสสถานเดิมนั้นเรียกว่า ราชินิกุลบางช้าง ซึ่งแยกเป็น ๒ สาย ได้แก่ ราชินิกุลบางช้างสายตรง คือ ผู้สืบวงศ์ลงมาจากพระชนกชนนีของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชชนนี กับราชินิกุลสายสาขาคือ ผู้สืบวงศ์นอกจากสายตรง
 
[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ได้ทรงอธิบายความหมายของคำว่า "[[ราชินิกุล]]" ต่างกับคำว่า "ราชนิกุล" ดังนี้ ราชนิกุล หมายถึงเป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมชนกนาถ ราชินิกุล เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี ต่างกันอีกอย่างหนึ่ง คือ ราชนิกุล ย่อมเป็นเชื้อเจ้า เพราะสืบสายลงมาจากเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ในพระราชวงศ์ร่วมสกุลอันเดียวกัน ดั่งใช้นามสกุลว่า ณ อยุธยา อยู่ในปัจจุบันนี้ แต่ราชินิกุลนั้น เพราะสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ย่อมมีพระญาติเป็นสกุลอื่นต่างกันทุกองค์ ราชินิกุลจึงมีหลายสกุล
 
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จขึ้นครองราชย์ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงออกพระราชบัญญัติขนานนามสกุล กำหนดให้ภายใน ๖ เดือน ให้หัวหน้าครอบครัวทุกครัวเรือน เลือกสรรถือเอาชื่อสกุลอันหนึ่งแล้วให้จดทะเบียนชื่อสกุลนั้น ณ ที่สำนักงานอำเภอท้องที่ของตน ฯลฯ พระราชบัญญัตินี้ทำให้คนไทยทุกคนในพระราชอาณาจักรสยาม ต้องมีนามสกุลใช้ และต้องเรียกขานชื่อตัวและชื่อสกุลตั้งแต่วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นต้นมา
 
ส่วนข้าราชบริพาร ข้าราชการ และเจ้านายทั้งหลายได้ขอพระราชทานนามสกุล กราบทูลประวัติของบรรพบุรุษ ของตน ตำแหน่งหน้าที่ราชการขอพระราชทานนามสกุล ให้เป็นศิริมงคลเป็นเกียรติแก่วงศ์สกุล
บรรทัด 137:
[[เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)]] เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ซึ่งสืบสายสกุลมาจากเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธุ์ (นวล) ขอพระราชทานนามสกุลว่า "บุนนาคนวล" เพื่อให้มีนามเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) และนามของเจ้าคุณพระราชพันธุ์ (นวล) ราชินิกุลบางช้าง ติดอยู่ในนามสกุล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลว่า "บุนนาค" ให้บุตรหลานของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ใช้ได้ทุกคน ส่วนบุตรหลานของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ที่ปรารถนาจะตั้งสกุลขึ้นใหม่ ได้ขอพระราชทานนามสกุล และได้รับพระราชทานตั้งให้ใหม่ ได้แก่
 
๑. พระยาราชสมบัติ (เอิบ) บุตรพระยาวิเศษโภชนา (จีน) หลานพระยาอรรคราชนารถภักดี (เมือง) เหลน[[เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา]] (บุนนาค) ขอพระราชทานนามสกุล ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "บุรานนท์" โดยเอานามพระยาอรรคราชนารถภักดี (เมือง)
๒. จมื่นเสมอใจราช (เจ๊ก) บุตรหลวงแก้วอายัติ (จาด) ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ขอพระราชทานนามสกุลใหม่ ได้พระราชทานว่า "จาติกรัตน์"
๓. เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด) สมุหพระตำรวจ เหลนเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ในขณะนั้นยังเป็นพระยาราชวัลภานุสิษฐ์ ขอพระราชทานนามสกุล ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "ศุภมิตร"
บรรทัด 145:
สกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ ๒ ได้แก่ [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์]] (ดิศ) และ[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ]] (ทัต) ตามลำดับ ซึ่งคนทั่วไปเรียกนามท่านคู่กันว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่และสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย"
 
สกุลบุนนาคชั้นที่ ๓ แยกออกเป็นสกุลบุนนาคสาย[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์]] (ดิศ บุนนาค) ซึ่งผู้สืบสกุลโดยตรงคือ บุตรของท่านและท่านผู้หญิงจันทร์ คือ [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] (ช่วง บุนนาค) ในรัชกาลที่ ๕ และ[[พระยามนตรีสุริยวงศ์]] (ชุ่ม บุนนาค) ในรัชกาลที่ ๔ ส่วนสายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา พิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) มีผู้ที่สืบเชื้อสายสายตรง คือ พระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค) ซึ่งเกิดด้วยท่านผู้หญิงน้อย แต่พระสุริยภักดี เจ้ากรมตำรวจได้ถึงแก่กรรมในรัชกาล ที่ ๓ เมื่ออายุเพียง ๒๗ ปี บุตรของสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยที่เป็นผู้นำสกุล ได้แก่ [[เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์]] (แพ บุนนาค) พระยาอิศรานุภาพ (เอี่ยม บุนนาค) และพระยานานาพิธภาษี (โต บุนนาค) ตามลำดับ
 
สำหรับสกุลบุนนาคชั้นที่สี่ ผู้สืบสกุลโดยตรง คือ บุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น ได้แก่ เจ้าพระยาสุรวงศ์ ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหม ในรัชกาล ที่ ๕ และพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) บุตรของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) กับเจ้าคุณหญิงเป้า ซึ่งเป็นที่สมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ ๕
 
[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]]สัมพันธ์กับราชตระกูลสายพระปฐมบรมราชวงศ์ ได้เเก่ ราชสกุล อิศรางกูร ต้นราชสกุลคือ[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์|สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์]] เเละ ราชสกุล เทพหัสดิน ต้นราชสกุลคือ [[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์|สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์]] ทหารคู่พระองค์ของรัชกาลที่1 ทางภรรยาเอกคือท่านผู้หญิงกลิ่น มารดาธิดาของท่านผู้หญิงกลิ่นหลวงเเก้วอายัติเเละท่านลิ้ม ราชินิกูลสายบุนนาคบุนนาค มีพี่น้องเเละสกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ห้า สืบสายวงศ์ญาติสายสกุลในสายราชินิกุล บุนนาค ที่โดยสมรสไปกับ พระปฐมบรมราชวงศ์ ได้เเก่ อุไร อิศรางกูร ณ อยุธยา สกุลบุนนาคชั้นที่หก (ธิดาท่านลิ้ม บุนนาค) สมรสกับเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา (บิดาของพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรองนายกรัฐมนตรี) นางอุไร อิศรางกูร ณ อยุธยา ก่อนหน้านี้สมรส กับ นายวีระ ชำนาญกิจ สืบสายสกุลบุนนาคในชั้นที่เจ็ดเเละเเปดได้เเก่ กนุท (บุนนาค) ชำนาญกิจ
#ยสฬิ์ศิวะ อิสรสิงหนาท (บุนนาค) กฤษนา อิศรางกูร ณ อยุธยา ทิพย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา นายอนันต์ สุขะศิริวัฒน์ หลานปู่ของนาย อิน สุขะศิริวัฒน์ ข้าราชบริพารมหาดเล็กใกล้ชิดถวายงานตำหมากเเละงานส่วนพระองค์ต่างๆใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
 
# นางอุไร สกุลเดิม บุนนาค อิศรางกูร ณ อยุธยา สมรส กับ นาย เสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา (บิดาของพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรองนายกรัฐมนตรี เเละมารดาคือนางสุขใจ) นางอุไร (บุนนาค) อิศรางกูร ณ อยุธยา ก่อนหน้านี้สมรส กับ นายวีระ ชำนาญกิจ มีบุตรหลาน ได้เเก่ พ.ต.ท. กนุท (บุนนาค) ชำนาญกิจ นาย ยสฬิ์ศิวะ (บุนนาค) อิสรสิงหนาท
# นางกฤษนา อิศรางกูร ณ อยุธยา
# นางทิพย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
# นายอนันต์ สุขะศิริวัฒน์ หลานปู่ของนาย อิน สุขะศิริวัฒน์ ข้าราชบริพารใกล้ชิดถวายงานตำหมากเเละงานส่วนพระองค์ต่างๆในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
สกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ห้า มีผู้สืบเชื้อสายคือ บุตรชายของ[[เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์]] (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอ่วม ได้แก่ พระยาประภากรวงศ์ (ชาย บุนนาค) [[เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์]] (โต บุนนาค) และพระยาราชานุวงศ์ (เล็ก บุนนาค) ตามลำดับ แต่พระยาประภากรวงศ์ (ชาย) ถึงอนิจกรรมในรัชกาลที่ ๕ ทายาท สายตรงของสกุลในชั้นนี้จึงได้แก่ เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ในรัชกาลที่ ๕ ส่วนพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) มีบุตรกับคุณหญิงเลื่อน คือ วิเชียร เป็นผู้สืบสกุล ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์เช่นเดียวกับปู่และบิดา