ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามปราบฮ่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 113:
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้กรมมหาดไทยมีตราถึงพระภิรมย์ราชาข้าหลวงไปราชการเมืองพิชัย ทำการรวมเสบียงอาหารเหลือจ่ายกองทัพตกค้างที่เมืองพิชัย เมืองพิษณุโลก และให้พระยาศรีธรรมศุภราช ผู้ว่าราชการเมืองสุโขทัยเป็นข้าหลวงสำเร็จราชการเมืองพิชัย จัดการลำเลียงเสบียงอาหารซึ่งจะจ่ายกองทัพตั้งแต่เมืองพิชัยไปถึงบ้านปากลาย และรวบรวมช้าง ม้า โคต่าง ในเมืองพิชัย เมืองขึ้น และเมืองใกล้เคียง และให้มีศุภอักษรถึงเจ้านครเมืองน่าน ให้แต่งกำลังพลมาเมืองนครหลวงพระบางตามที่เจ้าเมืองนครหลวงพระบางขอไป ถ้ากองทัพฮ่อยังอยู่ในเมือนครหลวงพระบางพอที่จะตีได้ก็ให้ตีแตกไป ถ้ายังตีไม่ได้ให้รอกองทัพจากกรุงเทพฯ ถ้าฮ่อถอนไปจากเมืองนครหลวงพระบางแล้ว ให้กองทัพเมืองน่านตั้งมั่นรักษาเมืองนครหลวงพระบางจนกองทัพกรุงเทพฯ จะขึ้นไปถึง และให้เกณฑ์ช้างลงมารับกองทัพกรุงเทพฯ ที่เมืองพิชัย และคิดส่งลำเลียงเสบียงอาหารลงมารับกองทัพทางเมืองฮุง บ้านนาดินดำทางหนึ่ง ทางปากแบ่งทางหนึ่ง ให้มากพอที่จะเลี้ยงกองทัพ และโปรดฯ ให้[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพประสิทธิประสงค์]] เสด็จไปตรวจการลำเลียงเสบียงอาหาร และส่งกองทัพ ณ เมืองพิชัย
 
โปรดฯ ให้นายร้อยเอก หลวงดัษกรปลาศ คุมทหารกองทัพกรุงเทพฯ พร้อมเจ้าราชบุตรว่าที่เจ้าราชวงศ์ เจ้าราชภาคินัยเมืองหลวงพระบาง รวมทหารและไพร่พล 250 ยกไปเมืองนครหลวงพระบาง ตั้งมั่นรอกองทัพใหญ่ไปถึง และให้พระยานนทบุรีศรีเกษตราราม (ทัด สิงหเสนี) เป็นข้าหลวงใหญ่สำหรับเมืองนครหลวงพระบางราชธานี ให้ขึ้นไปพร้อมกองทัพหน้า ตั้งรักษาราชการเกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎร์ให้เข้ามาอยู่ ณ เมืองนครหลวงพระบาง และโปรดเกล้าฯ ให้นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) คุมทหารไพร่พล 3,000 คน ยกขึ้นไปเมืองนครหลวงพระบาง เมื่อจัดการเสบียงอาหารเรียบร้อยแล้ว ให้ยกไปปราบปรามพวกฮ่อข้าศึกให้ทันฤดูแล้ง พ.ศ. 2430 และฝ่าย[[ฝรั่งเศส]]ก็ได้จัดกองทัพขึ้นไปปราบฮ่ออีกทางด้วย ข้าหลวงฝรั่งเศสที่ไปกับกองทัพไทยคือ กัปตันกือเป (Captain Cupet) และเลฟเตแนนท์นิโคล็อง (Lieutenant Nicolon) ข้าหลวงฝ่ายไทยที่ไปกับกองทัพฝรั่งเศส คือ พระไพรัชพากย์ภักดี และหลวงคำนวณคัคคนาน
 
เมื่อนายร้อยเอกหลวงดัษกรปลาศ แม่ทัพหน้าได้นำกองทัพถึงเมืองนครหลวงพระบางพร้อมพระยานนทบุรีข้าหลวงที่ 1 และหลวงพิศณุเทพข้าหลวงที่ 2 ราชการสงบเป็นปรกติเรียบร้อยดีอยู่ และได้ส่งนายทหารและพลทหารพร้อมด้วยคำสาม บุตรท้าวไล ขึ้นไปตรวจราชการทางด่านเมืองแถงและเมืองไล [[โอกุสต์ ปาวี]]ได้แจ้งกับพระยานนทบุรีข้าหลวง ว่าได้รับแจ้งจากราชฑูตและกงสุลฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯว่า กองทัพฝรั่งเศสจะยกจากเมืองลาวกายมายังเมืองไล โอกุสต์ ปาวีจึงขึ้นไปเพื่อพบกับกองทัพฝรั่งเศสก่อน ท้าวเมืองจันท้าวเมืองขวาพากองทัพฝรั่งเศส ไพร่พลประมาณ 3,000 มาตีเมืองไล พวกเมืองไลไปตั้งสู้ที่ปากน้ำตัน แต่สู้ไม่ได้จึงพาครอบครัวหนีไปเมืองเหมือน ส่วนที่เมืองไลมีคนรักษาอยู่ 700 พวกเมืองไลที่ตั้งอยู่เมืองแถงจึงจะกลับไปเมืองไล มาเกณฑ์ข่าเพี้ยจันให้ไปส่งที่เมืองเหมือน กองทัพฝรั่งเศส ท้าวเมืองจันท้าวเมืองขวากับพวกญวนยกเข้ามาตั้งที่เมืองแถง ประมาณ 2,000 เกณฑ์เสบียงอาหารจากพวกเย้า แม้ว ข่า ผู้ไทไปเลี้ยงกองทัพ พระยานนทบุรีเห็นว่าจะรอกองทัพใหญ่ยกมาถึงเมืองนครหลวงพระบางอาจเสียราชการและทางพระราชไมตรี จึงปรึกษานายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศนายทัพหน้าคุมรี้พล 341 ยกไปเมืองแถง ส่วนกองกำลังฝรั่งเศส ท้าวจันท้าวเมืองขวาที่เมืองแถงมีประมาณ 500-600 เศษ พักอยู่ที่ค่ายเชียงแล ปักธงฝรั่งเศสขึ้นไว้ และตั้งที่เมืองไลกองหนึ่ง ส่วนกองทัพใหญ่พักอยู่ที่เมืองจัน
 
กองทัพใหญ่ของนายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรี ยกออกจากเมืองพิชัย ถึงเมืองปากลาย จัดให้พระพลัษฎานุรักษ์ ปลัดทัพ แบ่งกำลังล่วงหน้ายกไปเมืองนครหลวงพระบางก่อน พร้อมพนักงานเซอร์เวย์แผนที่ เมื่อกองทัพใหญ่ยกจากบ้านปากลายทางเรือมาถึงบ้านท่าเลื่อน ทราบว่าเมื่อพวกฮ่อเข้าเมืองนครหลวงพระบางนั้น ท้าวพระยาและราษฎรเมืองนครหลวงพระบางได้นำ[[พระบาง]]มาซ่อนไว้ที่ถ้ำบ้านน้ำพูน นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรีพิจารณาเห็นว่า พระบางเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองประชาชนเลื่อมใสศรัทธามาก จึงได้อัญเชิญพระบางไปกับกองทัพด้วย เมื่อถึงเวลาสมควรจะได้จัดการฉลองให้ต่อไป ราษฎรเมืองนครหลวงพระบางได้ทราบข่าวเรื่องพระบางพากันมาต้อนรับและแห่แหนอย่างล้นหลาม
บรรทัด 121:
กัปตันเจริญ พระยาเชียงเหนือ พระยานาใต้ ยกออกจากเมืองนครหลวงพระบางไปเมืองซ่อนแขวงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ถึงเมืองงอยได้ปรึกษากับเจ้าราชภาคินัยเห็นควรจัดกำลังล่วงหน้าขึ้นไปก่อนเพื่อสืบสวนราชการ และเสบียงอาหารให้ชัดแจ้งก่อน จึงจัดให้ นายแช่ม สัปลุตเตอร์แนนท์นำทหาร 31 คน และพระยานาใต้คุมคนอีก 30 ยกไปเมืองซ่อนโดยเร็ว นายแช่ม สัปลุตเตอร์แนนท์ออกจากเมืองงอยและมีแผนปกครองรักษาเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ว่าจะแยกกองทัพไปรักษาเมืองแวน เมืองสบแอด เมืองเชียงค้อ เมื่อโอกุส ปาวีกลับมาถึงเมืองแถงนั้น มีทหารฝรั่งเศสและทหารญวนมาส่งด้วยประมาณ 170 คน นายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์ขึ้นไปเยี่ยม โอกุสต์ ปาวีถามว่ามาอยู่ที่นี่ทำไม มีหนังสือของท่านแม่ทัพมาด้วยหรือไม่ นายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์ตอบว่าไม่มี โอกุสต์ ปาวีจึงว่า ถ้าเช่นนั้นก็อยู่ไม่ได้พรุ่งนี้ให้กลับไปด้วยกัน นายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์พยายามทัดทาน และว่าต้องรายงานนายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศเสียก่อน แต่โอกุสต์ ปาวีว่าไม่ต้องมีหนังสือไปบอก และบังคับให้นายชุ่มนำกองทหารกลับลงมาพร้อมกับตน นายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์จะพูดจาขัดขืนก็เกรงว่าจะมีความผิด และเกิดเป็นการใหญ่โตเสียทางพระราชไมตรี จึงยกออกจากค่ายเชียงแลพากันเดินทางต่อมา ส่วนทหารฝรั่งเศสและทหารญวนมาส่งมองซิเออร์ ปาวียังคงตั้งพักอยู่ที่ค่ายเชียงแล เมืองแถง เมื่อโอกุสต์ ปาวีออกจากเมืองแถงไปเกือบจะถึงเมืองหลวงพระบาง ได้พบพวกฮ่อประมาณ 50 คน แต่ได้ทหารไทยที่ไปด้วยต่อสู้พวกฮ่อเป็นสามารถได้ช่วยชีวิตโอกุสต์ ปาวีไว้ได้
 
นายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์ซึ่งไม่รอรับคำสั่งนายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศผู้บังคับบัญชาเสียก่อนนั้น นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรีสั่งการให้นายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศออกคำสั่งถอดนายชุ่ม สัปลุตเตอร์แนนท์ออกจากยศนายทหารเป็นพลทหาร ต่อมารัฐบาลฝรั่งเศสได้ส่งตราและเหรียญเมืองญวนรูปมังกรห้าเล็บในดวงตราและเหรียญมาให้แม่ทัพและนายทหารชั้นรองๆ และพลทหารที่ได้ไปส่งและช่วยชีวิตโอกุสต์ ปาวี นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ส่งตราและเหรียญทูลเกล้าฯ ถวายให้ทอดพระเนตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงพอพระราชหฤทัย ทรงเห็นว่าฝรั่งเศสเหยียดไทยเสมอกับญวนซึ่งเป็นเมืองขึ้น ส่วนนายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศได้รับคำสั่งให้ถอนกำลังก่อนฝนตกหนัก จึงออกคำสั่งเรียกนายทหารซึ่งไปประจำการอยู่นั้นให้ถอยกลับเมืองหลวงพระบาง และสั่งให้กัปตันเจริญ ซึ่งไปรักษาราชการแขวงเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกให้รักษาอยู่ที่เมืองสบแอด เมืองเชียงค้อต่อไป และให้นายนิ่ม นอนกอมมิชชันกับทหาร 4 คน ไปสืบข้อราชการ ณ เมืองแถง โอกุสต์ ปาวีและกัปตันกือเปซึ่งกลับลงมาพักเมื่อ ณ เมืองนครหลวงพระบางขอกลับไปเมืองฮานอยก่อนฤดูฝน นายพลตรี พระยาสุรศักดิ์มนตรีได้จัดให้นายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศเป็นหัวหน้าคุมไพร่พลเสบียงอาหารยานพาหนะตามสมควร กับสั่งให้ตรวจราชการและทำแผนที่เขตแดนโดยละเอียดด้วย จากเมืองสบแอด นายร้อยเอกหลวงดัสกรปลาศ และมองซิเออร์ ปาวี เดินทางต่อไปจนถึงเมืองเชียงทราย แขวงเมืองสิบสองจุไท องบา นายฮ่อท่าขวา(ธงดำ) มาคอยรับ องบาได้ทำเสาธงสูงและชักธงช้างไว้ยอดเสาด้วย นายร้อยเอก หลวงดัสกรปลาศได้แนะนำองบากับโอกุสต์ ปาวีให้รู้จักกัน โอกุสต์ ปาวี ได้พูดจาเอาใจองบาว่า ถ้าองบามีธุระเดือดร้อนประการใดแล้ว โอกุสต์ ปาวีจะช่วยเป็นธุระให้ทั้งสิ้น และชวนให้ไปฮานอยด้วยกันแต่องบาไม่ไป อ้างว่าเป็นห่วงพี่น้อง โอกุสต์ ปาวีว่าถ้าไปด้วยกันจะชุบเลี้ยงตั้งให้เป็นขุนนางมียศยิ่งใหญ่กว่าท้าวจัน ท้าวขวา องบาก็นิ่งอยู่มิได้ตอบประการใด
 
นายพลตรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเห็นว่าไม่เป็นอันตรายแล้ว วันพุธ แรม 7 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2431 จึงเชิญเจ้ามหินทรเทพนิภาธร (เจ้าอุ่นคำ) เจ้านครหลวงพระบางกลับขึ้นมายังเมืองหลวงพระบาง วันเสาร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ. 2431 นาย ฉุน ลุตเตอร์แนนท์ พระยาหมื่นน่า พระยาเมืองแพนซึ่งรักษาการ ณ เมืองงอยฝ่ายพวกฮ่อได้ตีเมืองอู นอกพระราชอาณาเขตประมาณ 500-1,000 มาตีปล้นราษฎร ยกมาเป็น 2 กอง ตั้งค่ายที่คุ้มหม่อมและวัดหลวง ข่าวว่าเป็นพวกคำฮุม บุตรท้าวไล และได้ข่าวว่าจะยกมาตีเมืองภูน้อยซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองหลวงพระบาง จึงสั่งการให้ นายดวง กัปตัน นายเพ็ชร์ ลุตเตอร์แนนท์ นายแปลก สัปลุตเตอร์แนนท์ คุมทหาร 100 ยกไปรักษาราชการตามลำน้ำอู และเมืองวา ให้ปราบปรามโจรผู้ร้ายที่ยกล่วงล้ำเข้ามา แต่หากมิได้ล่วงล้ำพระราชอาณาเขตให้กองทหารตั้งรักษาราชการอยู่ก่อน
 
วันศุกร์ แรม 5 ค่ำ เดือน 12 นายเจริญ กัปตันที่เมืองแอด ส่งคำให้การฮ่อมาให้มีใจความว่า โอกุสต์ ปาวีเอาเรือมาถึงแก่งซอง พ่วงเรือไฟมาจมลงที่แก่ง ให้ราษฎรลงไปลากเรือไฟที่จมน้ำ เรือก็หาขึ้นไม่ แล้วว่าองบาตาย และมองซิเออร์ ปาวี สั่งว่าเมืองหลวงพระบางและเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกเป็นของฝรั่งเศสแล้ว อย่าให้พวกฮ่อไปหาไทยเลย ถ้าพวกฮ่อมีทุกข์ร้อนอย่างใดให้ไปบอก จะช่วยเหลือให้เป็นกำลัง และนายเจริญกัปตันได้ร้องทุกข์มาว่า อ้ายพวกฮ่อกำเริบมากถึงกับจะต้องรบกัน นายพลตรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีพิจารณาแล้ว เห็นเป็นจริงโดยมากพวกฮ่อจึงได้มีความกำเริบ บางทีอาจจะได้รบกันกับกองทัพเป็นแน่ และสั่งการให้เรียกทหารขึ้นไปช่วยอีกให้พอแก่การ และกำชับนายเจริญกัปตันให้อดใจ อย่าให้มีเหตุถึงกับรบพุ่งกัน เพราะกองทัพหน้ายกมาจวนจะถึงแล้ว เมื่อเรือกองทัพถึงเมืองแถง นายร้อยเอก หลวงดัษกรปลาศจัดทหารลงมารับแม่ทัพที่ที่เรือจอด โอกุสต์ ปาวีกับออฟฟิเซอร์ฝรั่งเศส 3 นาย และทหารญวน 60 มาคอยรับกองทัพอยู่ที่ค่ายเชียงแล นายพลตรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีและมองซิเออร์ ปาวีได้หารือข้อราชการ แจ้งว่ามีความประสงค์อยากจะให้ทำแผนที่ในเขตสิบสองจุไทตลอดหัวพันทั้งห้าทั้งหกเสียชั้นหนึ่งก่อนและให้ทำโดยเร็ว โอกุสต์ ปาวีตอบว่า ส่วนหัวพันทั้งห้าทั้งหกที่ทหารไทยเข้าไปตั้งอยู่แล้วนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสมิได้ล่วงล้ำเข้าไป แต่เมืองสิบสองจุไทนั้น ฝรั่งเศสได้เข้าไปตั้งอยู่แล้ว ครั้นจะขึ้นไปทำการเกรงจะเป็นที่บาดหมางกันขึ้น ด้วยการแผนที่ฝ่ายฝรั่งเศสได้ทำไว้โดยเรียบร้อยพอที่จะตัดสินเขตแดนได้แล้ว เห็นว่าไม่ต้องทำอีก และว่าข้าหลวงทั้งสองฝ่ายที่อยู่ในกองทัพของแต่ละฝ่ายก็ได้กลับไปแล้ว เห็นว่าเป็นการสิ้นคราวทำแผนที่แล้ว 2 วันถัดมา โอกุสต์ ปาวีมาพบนายพลตรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีอีกกล่าวว่า เมืองแถง เมืองสิบสองจุไท และหัวพันทั้งห้าทั้งหกเป็นเมืองขึ้นของญวนโดยแท้ บัดนี้รัฐบาลได้มีคำสั่งให้โอกุสต์ ปาวีมาจัดการรักษาเมืองเหล่านี้ ขอให้นายพลตรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีถอนทหารไทยออกจากเมืองเหล่านี้ นายพลตรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีไม่ยอมถอน จนกว่ารัฐบาลทั้งสองจะตัดสินเขตแดนตกลงกัน โอกุสต์ปาวีรับรองและได้ทำหนังสือสัญญา เมืองแถง
1. ฝ่ายฝรั่งเศสจะตั้งอยู่ในตำบลแขวงสิบสองจุไท ฝ่ายทหารไทยจะตั้งอยู่ในเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก และเมืองพวน
2. เมืองแถงนั้น ทหารไทยและทหารฝรั่งเศสจะพร้อมกันตั้งรักษาการอยู่ในเมืองแถงทั้ง ๒ ฝ่าย จะรักษาการโดยสุภาพเรียบร้อย เมื่อฝ่ายใดจะมีการหรือจะใช้คนไปมาในตำบลที่อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ ก็ให้บอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบก่อน จะได้ช่วยการนั้นให้สำเร็จตามสมควร
บรรทัด 137:
การกล่าวมาข้างต้นทั้ง 9 ข้อ ได้พร้อมกันทั้ง 2 ฝ่ายเห็นตกลงกันได้เซ็นชื่อไว้ในท้ายหนังสือนี้ทั้ง 2 ฝ่าย ที่เมืองแถง ณ วันเสาร์ แรม 4 ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. 2431
 
ต่อมาดอกเตอร์มาเซ (Doctor Massie) และกัปตันนิโคล็อง (เลื่อนยศจากเลฟเตแนนท์) ได้พยายามหว่านล้อมให้สั่งถอนทหารไทยจากเมืองแถง นายพลตรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงตอบว่าเมืองแถงนี้เป็นเมืองกลางตั้งรักษาอยู่ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าฝรั่งเศสเอาอาวุธเข้ามาในเขตแขวงที่เมืองไทยรักษาอยู่โดยไม่บอกกล่าวแล้วจะขอรบกับฝรั่งเศส กัปตันนิโคล็องและดอกเตอร์มาเซก็ได้เดินทางกลับกรุงเทพฯ 7 เดือนต่อมา นายพลตรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้รับท้องตราให้กลับกรุงเทพฯ ให้พระพลัษฎานุรักษ์เป็นข้าหลวงและบังคับทหารอยู่เมืองหลวงพระบางแทน นายร้อยเอก หลวงดัษกรปลาศอยู่ช่วยราชการ นายพลตรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ<ref>http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5545.0</ref> ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์]]คุมเรือหลวงหลายสิบลำขึ้นไปรับกองทัพถึงเมืองสระบุรี
 
เมื่อนายพลตรี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียังอยู่เมืองหลวงพระบางนั้น ได้สร้างวัดตรงฝั่งเชียงแมน เรียกว่าวัดจอมเพชร (ວັດຈອມເພັດ)