ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดสุรินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
47JL (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 392:
;ชาวไทยอื่น ๆ
ในปัจจุบันทุกชาติพันธุ์ในจังหวัดสุรินทร์และบริเวณจังหวัดใกล้เคียงได้อาศัยอยู่กันอย่างกลมกลืนตามความเชื่อของตนเอง มีการผสมผสานกันทางภาษา ประเพณี และวัฒนธรรม ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
=== ภาษาและวรรณกรรม ===
ภาษา ประชากรในจังหวัดสุรินทร์ยังใช้ภาษท้องถิ่นเขมร ส่วย และลาว เป็นภาษาที่ ๑ ควบคู่กับภาษาไทย ประชากรจังหวัดสุรินทร์ ใช้ภาษาเขมรเหนือเป็นภาษาที่หนึ่งมากที่สุดคือ ประมาณร้อยละ ๕๐ ของประชากร ภาษาส่วยหรือกูย ร้อยละ ๓๐ ภาษาลาวร้อยละ ๑๒ ภาษาจีนและอื่น ๆ ร้อยละ ๘
ภาษาเขมร เป็นภาษาที่พูดที่กระจายอยู่ทุกอำเภอในจังหวัดสุรินทร์ แต่หนาแน่นที่สุดที่อำเภอเมือง ฯ อำเภอท่าตูม อำเภอลำดวน อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง อำเภอสังขะ กิ่งอำเภอพนมดงรัก กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอศีขรภูมิ และอำเภอจอมพระ
ภาษาส่วยหรือภาษากูย นับเป็นภาษาพูดของกลุ่มชนเก่าแก่กลุ่มหนึ่ง แต่ไม่มีภาษาเขียน ใช้กันมากที่อำเภอสำโรงทาบ อำเภอท่าตูม กิ่งอำเภอศรีณรงค์ อำเภอจอมพระ และอำเภอศีขรภูมิ
ภาษาลาว ใช้มากในอำเภอสนม อำเภอรัตนบุรี อำเภอชุมพลบุรี และกิ่งอำเภอโนนนารายณ์
ภาษาผีปะกำ เป็นภาษาพิเศษของชนชาวส่วยช้าง ใช้สื่อสารกันเฉพาะระหว่างกำลวงพืด หมอช้างและมะข่างกับเทพเจ้า ผีปะกำ และบริวารของผีปะกำ ในช่วงเวลาของการเดินทางไปกูบเทวะค้า (คล้องช้าง) แต่เมื่อกลุ่มผู้จับช้างอยู่บ้านตามปกติจะใช้ภาษาส่วยโดยทั่วไป
จากการรวบรวมภาษาผีปะกำของจังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๓๖๕ คำ พบว่าตรงกับภาษาบาลี สันสกฤต ประมาณร้อยละ ๒๐ ต่างกันเฉพาะสำเนียง เป็นภาษาเขมรโบราณร้อยละ ๔๐ - ๕๐ ที่ยังหาไม่ได้ว่าเป็นภาษาใดอีกร้อยละ ๓๐ <ref>http://www.thaiheritage.net/nation/oldcity/oldcity.htm</ref>
 
== การศึกษา ==