ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wittawin Panta (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มคำอธิบาย
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Roman Republic Empire map.gif|thumb|สีแดง: [[สาธารณรัฐโรมัน]], สีม่วง: [[จักรวรรดิโรมัน]], สีเขียว: [[จักรวรรดิโรมันตะวันออก]] (จักรวรรดิไบเซนไทน์), สีฟ้า: [[จักรวรรดิโรมันตะวันตก]]]]
'''การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก''' (อังกฤษ: {{lang-en|The Fall of the Western Roman Empire}}) เรียกอีกอย่างว่า '''การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน''' หรือ '''การล่มสลายของกรุงโรม ''' เป็นกระบวนการของการเสื่อมถอยในจักรวรรดิโรมันตะวันตกซึ่งล้มเหลวในการปกครอง ศูนย์เสียอธิปไตยเดิมที่จักรวรรดิเคยมี และ ดินแดนอันกว้างใหญ่ถูกแบ่งออกเป็นหลายเมือง จักรวรรดิโรมันสูญเสียความเเข็งแกร่งทางการทหารในการปกครองอย่างมีประสิทธิภาพเหนือจังหวัดทางตะวันตกของตน นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่แสดงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเสื่อมถอย ประกอบด้วย จำนวนประชากรชาวโรมัน จำนวนทหารในกองทัพ ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการปกครองของจักรพรรดิ การต่อสู้แย่งชิงอำนาจภายใน การเปลี่ยนแปลงทางศาสนาในยุค และประสิทธิภาพของการบริหารงานโยธา นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากภายนอก โดยการรุกรานของชนป่าเถื่อนนอกวัฒนธรรมโรมัน ก็มีส่วนทำให้เกิดการล่มสลายเช่นกัน<ref>https://en.wikipedia.org/wiki/Fall_of_the_Western_Roman_Empire#cite_note-1</ref> การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในยุคนั้นก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก<ref>McMichael, Anthony (6 February 2017). ''Climate Change and the Health of Nations''. Oxford: Oxford University Press. pp. 141–159. ISBN <bdi>9780190262952</bdi>.</ref> เหตุผลในการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกเป็นวิชาหลักของประวัติศาสตร์ของโลกยุคโบราณ ที่บอกเล่าเรื่องความล้มเหลวของรัฐในอดีตและปัจจุบัน <ref>Diamond, Jared (January 2011). ''Collapse''. Penguin Books. pp. 13–14. ISBN <bdi>9780143117001</bdi>.</ref><ref>e.g. Why Nations Fail. Acemoglu D and Robinson JA. Profile Books (Random House Inc.) 2012. <nowiki>ISBN 978-1-84668-429-6</nowiki>. pp. 166–175</ref><ref>Ward-Perkins 2007, p. 1.</ref>
 
ในปี ค.ศ.376 ชาว[[กอธ|ก็อธ]] (Goths) และชนเผ่าที่ไม่ใช่ชาวโรมัน หนีจากพวก[[ชาวฮัน|ฮัน]]มาลี้ภัยอยู่ในจักรวรรดิ ในปี ค.ศ.395 หลังจากชนะสงครามกลางเมือง 2 ครั้ง [[จักรพรรดิเทออดอซิอุสที่ 1]] สวรรคต ทิ้งกองทัพที่ล่มสลายและจักรวรรดิที่ยังคงถูกครอบงำโดยชาวก็อธ มีการแบ่งฝักฝ่ายระหว่างแม่ทัพ ผู้เป็นลูกชายของโธโดสิอุสที่ 1 ทั้งสองคน ผู้ไร้ความสามารถในการปกครองจักรวรรดิ นอกจากนั้นกลุ่มคนเถื่อนได้ทำการข้าม[[แม่น้ำไรน์]]และเขตแดนอื่น ๆ และเช่นเดียวกับชาวก็อธ ชนเผ่าที่เข้ามาอยู่อาศัยไม่ถูกกำจัดถูกขับไล่ หรือ ถูกปราบปราม กองกำลังติดอาวุธของจักรวรรดิตะวันตกมีจำนวนน้อยและไม่มีประสิทธิภาพ ถึงแม้จะมีการฟื้นตัวระยะสั้นภายใต้ผู้นำที่มีความสามารถ ไม่เคยมีการรวมศูนย์กำลังทางการทหารและการปกครองอีกเลยในจักรวรรดิโรมันตะวันตก<ref>Burns, Thomas S. ''Barbarians Within the Gates of Rome : A Study of Roman Military Policy and the Barbarians, ca. 375–425 A. D.'' Indiana University Press 1995. <nowiki>ISBN 978-0-253-31288-4</nowiki>.</ref>