ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไม้ม้วน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 11:
 
== ประวัติ ==
ไม้ม้วนมีปรากฏในภาษาเขียนของไทย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ใน[[ศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง]] ของ[[พ่อขุนรามคำแหง]] ในคำว่า ใคร ใคร่ ใด ใส ใหญ่ ใน ให้ ใช้ ใต้ ใศ่ ใว้ เป็นต้น เสียงสระของไม้ม้วนเดิมเป็นเสียง[[สระผสม]] อะ+อึ (/[[/a/|a]][[/ɰ/เสียงเปิด เพดานอ่อน|ɰ]]/) <ref>[http://thaiqa.swu.ac.th/wp/?p=684 พื้นฐานภาษาไทยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน], ศูนย์ให้คำปรึกษาปัญหาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.</ref> ซึ่งหายไปจากภาษามาตรฐาน แต่ก็ยังมีร่องรอยให้เห็นในภาษาไทยถิ่นและ[[ภาษาไท]]กลุ่มต่าง ๆ นอกประเทศไทย ภาษาไทยปัจจุบันออกเสียง อะ+ย เหมือน[[ไม้มลาย]] (ไ) นอกจากภาษาไทยมาตรฐานแล้วยังมีภาษาไทกลุ่มอื่นเช่น [[ภาษาลาว]] และ[[ภาษาไทใหญ่]] ที่ปรากฏไม้ม้วนในภาษาเขียน
 
ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] มีตำราเรียนระบุการใช้ไม้ม้วน ในคำศัพท์จำนวน 20 คำ โดยมีคำกลอนแต่งไว้ในหนังสือ[[จินดามณี]]ดังนี้