ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรบที่เมืองรุมเมืองคัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{Infobox Military Conflict
| conflict = การรบที่เมืองรุมเมืองคัง
| partof =
| image = [[ไฟล์:Naresuan life - Wat Suwan Dararam - Section 04 (2121 BE).jpg|200px]]
| caption = จิตรกรรมเรื่องพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตอนพระนเรศวรนำกองทหารเข้าตีเมืองรุมเมืองคัง, [[วัดสุวรรณดาราราม]] [[จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]]
| date =
| place = [[เมืองรุมเมืองคัง]] (ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าคือที่ใด)
| territory =
| result = เมืองรุมเมืองคังแตก
| status =
| combatant1 = [[ราชวงศ์ตองอู|อาณาจักรตองอู]]<br>[[เมืองตองอูหงสาวดี]]
| combatant2 = [[เมืองรุมเมืองคัง]]
| combatant3 =
| combatant4 =
| commander1 = [[มังสามเกียด]]<br>[[นัดจินหน่องสิริสุธรรมราชาแห่งเมาะตะมะ|พระสังขทัต]] (เมืองตองอู) <br> [[พระนเรศวร]]<br>[[นรธาเมงสอ|นรธามังช่อ]]
| commander2 = เจ้าฟ้าเมืองรุมเมืองคัง
| commander3 =
| commander4 =
บรรทัด 28:
}}
 
'''การรบที่เมืองรุมเมืองคัง''' เป็นผลมาจากการสวรรคตของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]] พระมหากษัตริย์พม่า ทำให้เจ้าประเทศราชไทยใหญ่เมืองรุมเมืองคังกระด้างกระเดื่องต่อพม่า พม่าต้องการปราบปรามเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ประเทศราชอื่น ๆ [[พระเจ้านันทบุเรง]]ทรงต้องการให้มีการแข่งขันในการรบ จึงทรงจัดให้เจ้านายพม่าและ[[พระนเรศวร]]เข้าตีเมืองรุมเมืองคังคนละวัน เจ้านายพม่าทั้งสองไม่สามารถเข้าตีเมืองได้ จนถึงวันที่สาม พระนเรศวรทรงใช้เส้นทางลับเข้าตีเมืองจนสำเร็จ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวว่ามีกองทัพของพระเจ้าเชียงใหม่[[นรธาเมงสอ|นรธามังช่อ]] ร่วมสงครามด้วย สงครามนี้ปรากฏเฉพาะในพงศาวดารฝ่ายไทย ไม่ปรากฏในพงศาวดารพม่า
 
== การรบ ==
กองทัพพระมหาอุปราชา ทำการเข้าตีวันแรกในตอนกลางคืนก็ถูกฝ่ายข้าศึกผลักก้อนศิลาลงมาทับผู้คนล้มตายเป็นอันมาก มิอาจจะเข้าตีต่อไปได้ ในที่สุดต้องถอยทัพกลับลงมายังค่ายเชิงเขา
 
กองทัพพระสังกะทัตสังขทัต ทำการเข้าตีวันที่สอง เกิดการรบพุ่งกันเป็นสามารถ แต่ฝ่ายข้าศึกอยู่บนที่สูง ชัยภูมิมั่นได้ผลักก้อนศิลาลงมาถูกรี้พลพระสังกะสังขทัตล้มตายเป็นอันมาก จะขึ้นหักเอามิได้ ก็ต้องถอยทัพกลับลงมาเช่นกัน
 
กองทัพพระนเรศวร ในระหว่างกองทัพพม่าเข้าตีสองวันแรก พระนเรศวร ได้นำทหารออกสำรวจภูมิประเทศรอบ ๆ เมืองคัง และสังเกตผลการรบของกองทัพพม่าจนกระทั่งพบเส้นทางลับด้านหลังเมืองคัง ซึ่งสามารถเข้าตีเมืองคังได้ง่ายกว่า โดยดำเนินการใช้กลยุทธในการเข้าตี พระนเรศวรแบ่งกำลังพลออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งทำการเข้าตีทางด้านหน้าระดมยิงปืนนกสับขึ้นไปอย่างแน่นหนา ในขณะที่ข้าศึกกำลังสาละวนผลักก้อนศิลา และทำการยิงโต้ตอบทางด้านหน้า พระนเรศวรทรงนำทหารจำนวนหนึ่งจู่โจมเข้าตีกระหนาบทางด้านหลังทำให้ข้า ศึกพะว้าพะวัง พระองค์ทรงนำทหารเข้าตีโดยมีการวางแผนอย่างรอบคอบ ใช้กำลังส่วนน้อยเข้าตีลวงข้าศึกเมืองคังด้านหน้า แล้วใช้กำลังส่วนใหญ่เข้าตีทางด้านหลังเมืองคังและสามารถเข้ายึดเมืองคังได้เป็นผลสำเร็จ
 
==เรื่องพระสังขทัต==
== ผลการรบ ==
ในพงศาวดารไทยในตอนศึกเมืองรุมเมืองคัง ได้กล่าวถึงกองทัพของพระสังขทัตที่ยกมาตีเมืองรุมเมืองคัง ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงว่าเป็นใครมาจากไหน [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงสันนิษฐานว่าคือโอรสพระเจ้านันทบุเรงที่ได้เป็นพระเจ้าแปร ต่อมาทรงเปลี่ยนสันนิษฐานเป็น[[นะฉิ่นเหน่าง์]]ในพระนิพนธ์หนังสือ[[ไทยรบพม่า]] และในหนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำให้เชื่อกันว่าพระสังขทัตคือนะฉิ่นเหน่าง์ แต่จากพงศาวดารเกตุมดีตองอูระบุว่านะฉิ่นเหน่าง์มีอายุได้ 13 ปีในสงครามยุทธหัตถี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในศึกเมืองรุมเมืองคัง นะฉิ่นเหน่าง์จะมีอายุประมาณ 2-3 ปี ทำให้พระสังขทัตไม่น่าจะเป็นคนเดียวกันกับนะฉิ่นเหน่าง์
กองทัพอยุธยาสามารถเข้าตีเมืองคังได้ ทำให้พระนเรศวรมีชื่อเสียงเกรียงไกรไปทั่วทุกสารทิศ เมื่อพระเจ้านันทบุเรงได้ประจักษ์ในความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในการรบของพระนเรศวรก็ทรงดำริว่า อันพระนเรศวรนั้น ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ มีพระสติปัญญามั่นคงกล้าหาญ ละไว้นานจะเป็นอันตรายต่อกรุงหงสาวดี จึงคิดอุบายเพื่อนำตัวขึ้นมาสำเร็จโทษที่กรุงหงสาวดี เพื่ออำนาจกรุงหงสาวดีจะได้แผ่ไพศาลโดยไม่ต้องระแวงภัยจากกรุงศรีอยุธยา แต่ฝ่ายสมเด็จนเรศวรทรงทราบความก่อน จึงได้ยกกองทัพกลับอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
 
ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระสังขทัตควรเป็น[[สิริสุธรรมราชาแห่งเมาะตะมะ|พระเจ้าเมาะตะมะสิริสุธรรมราชา]] พระราชโอรสของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]]กับ[[พระนางราชเทวีแห่งหงสาวดี|พระนางราชเทวี]] ซึ่งมีพระนามเดิมว่า'''สังฆทัตถ''' (သင်္ဃဒတ္ထ) หรือ '''สังฆาทัตถ''' (သင်္ဃာ ဒတ္ထ) อันมีความใกล้เคียงกับชื่อพระสังขทัตในพงศาวดารไทยมาก<ref>https://www.facebook.com/WipakHistory/posts/1238825226180945/</ref><ref>https://pantip.com/topic/32774880</ref>
 
==ในหลักฐานพม่าและจีน==
ศึกเมืองรุมเมืองคังปรากฏเฉพาะในพงศาวดารฝ่ายไทย ไม่ปรากฏในพงศาวดารพม่า ในพงศาวดารพม่ามีเหตุการณ์ที่คล้ายกันคือ ในพ.ศ. 2125 เจ้าฟ้าไทใหญ่เมืองจันตา (ปัจจุบันอยูในเขตใต้คงและเป่าซาน มณฑลยูนนาน) และเมืองสองสบ (ปัจจุบันอยู่ใกล้กับเมืองก๋อง รัฐกะชีน) ไม่ยอมส่งบรรณาการให้พม่า หนีไปตั้งหลักที่เมืองจันตา (盏达) ในเขตใต้คง [[มณฑลยูนนาน]] พระเจ้านันทบุเรงจึงให้[[ตะโธรรมราชาที่ 2|พระเจ้าแปรสะโตธรรมราชา]]และ[[นรธาเมงสอ|พระเจ้าเชียงใหม่นรธามังช่อ]]ยกกองทัพขึ้นไปปราบปราม ล้อมเมืองจันตา 5 เดือนจึงยึดเมืองได้ จับเจ้าฟ้าทั้งสองกลับหงสาวดีในพ.ศ.2126 ในหมิงสื่อลู่ได้ระบุว่ามีชาวจีนในยูนนานชื่อเยว่เฟิง (嶽鳳) และคนเมืองกึ๋งม้าชื่อห่านเฉียน (罕虔) ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกองทัพพม่า และกล่าวว่าพม่าได้โจมตีหัวเมืองไทใหญ่ในเขตยูนนานจำนวนมาก แต่ถูกราชวงศ์หมิงโต้กลับ โดยส่งหลิวทิง (劉綎) และเติ้งจื่อหลง (鄧子龍) สองแม่ทัพเข้ามาทำศึกกับพม่า สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของหงสาวดี ในปีพ.ศ. 2127<ref>https://www.facebook.com/WipakHistory/photos/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%8B%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99/2371150232948433/</ref><ref>https://www.facebook.com/AsianStudiesTH/posts/657184611023124/</ref>
 
==เมืองรุมเมืองคัง==
ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าเมืองรุมเมืองคังอยู่ที่ไหน [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์]] ทรงสันนิษฐานว่าเมืองรุมเมืองคังอาจเป็นเมืองเดียวกับเมืองก๋อง (မိုးကောင်း) ใน[[รัฐกะชีน]] ซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ตามหลักฐานพม่าและจีนแล้ว เมืองรุมเมืองคังอาจจะเป็นเมืองในกลุ่มหัวเมืองไทใหญ่ในยูนนานก็เป็นได้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรทรง "เสด็จไปเถิงเมืองล้านช้างแล้วเสด็จไปเถิงอัตปือแดนเมืองจาม" ปล่อยให้กองทัพที่เหลือตีเมืองรุมเมืองคัง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับมาจึงยกทัพไปเมืองรุมเมืองคัง จึงสันนิษฐานว่าเมืองรุมเมืองคังอาจจะเป็นเมืองใน[[ลาว]]ก็เป็นได้
== อ้างอิง ==
* http://cgsc.rta.mi.th/cgsc/index.php?option=com_content&view=article&id=73:870151-&catid=7:88&Itemid=25