ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ศึกเจ้าอนุวงศ์
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
อานามสยามยุทธ
บรรทัด 40:
เจ้าอนุวงศ์ซึ่งได้หลบหนีไปยังเวียดนาม[[ราชวงศ์เหงียน]]ได้กลับมายังเมืองเวียงจันทน์ในพ.ศ. 2371 พร้อมคณะฑูตของ[[จักรพรรดิมิญ หมั่ง|พระจักรพรรดิมิญหมั่ง]] เจ้าอนุวงศ์เข้าลอบสังหารกองกำลังฝ่ายไทยและเข้าครองเมืองเวียงจันทน์อีกครั้ง เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ซึ่งยกทัพมาตั้งมั่นที่เมืองพันพร้าว (ตำบลพานพร้าว [[อำเภอศรีเชียงใหม่]] [[จังหวัดหนองคาย]]) จึงล่าถอยไปทางใต้ไปยังยโสธร เจ้าอนุวงศ์จึงส่งโอรส[[เจ้าราชวงศ์ (เหง้า)]] ยกทัพลาวจากเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขงลงมาทางใต้เพื่อตามทัพของเจ้าพระยาราชสุภาวดี เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) เห็นว่าทัพลาวติดตามมาจึงตั้งรับที่บกหวาน (ตำบลบกหวาน [[อำเภอเมืองหนองคาย|อำเภอเมือง]]จังหวัดหนองคาย) เจ้าพระยาราชสุภาวดีได้ต่อสู้ตัวต่อตัวกับเจ้าราชวงศ์ (เหง้า) เจ้าพระยาราชสุภาวดีตกจากม้าล้มลง เจ้าราชวงศ์ใช้หอกแทกถูกเฉียดตัวเจ้าพระยาราชสุภาวดีเป็นแผลถลอก<ref>https://www.silpa-mag.com/history/article_34783</ref> เจ้าราชวงศ์จะให้ดาบฟันซ้ำหลวงพิพิธน้องชายของเจ้าพระยาราชสุภาวดีเข้ารับแทนทำให้หลวงพิพิธถูกฟันเสียชีวิต เจ้าพระยาราชสุภาวดีอาศัยจังหวะใช้มีดแทงที่ต้นขาของเจ้าราชวงศ์ประกอบกับฝ่ายไทยยิงปืนถูกเข่าของเจ้าราชวงศ์ล้มลงเสียโลหิตมาก ฝ่ายลาวจึงนำเจ้าราชวงศ์ขึ้นแคร่หามหนีไป เจ้าพระยาราชสุภาวดีแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บยังคงติดตามเจ้าราชวงศ์ไปแต่ไม่สำเร็จ
 
หลังจากชัยชนะของเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ที่บกหวานทำให้เจ้าอนุวงศ์หลบหนีออกจากเวียงจันทน์อีกครั้งไปยัง[[เมืองพวน]]อาณาจักรเชียงขวาง เจ้าพระยาราชสุภาวดียกทัพกลับไปพันพร้าวอีกครั้งและเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้เผาทำลายเมืองเวียงจันทน์ลงอย่างสิ้นเชิง ฝ่ายพระจักรพรรดิมิญหมั่งส่งฑูตมาอีกครั้งแต่เจ้าพระยาราชสุภาวดีไม่ไว้วางใจฝ่ายเวียดนามจึงออกอุบายให้จัดงานเลี้ยงให่แก่คณะฑูตเวียดนามและสังหารคณะฑูตเวียดนามเกือบหมดสิ้น<ref name=":1">เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''.</ref> [[เจ้าน้อยเมืองพวน]]ชี้เบาะแสให้แก่เจ้าพระยาราชสุภาวดีทำให้เจ้าพระยาราชราชสุภาวดีสามารถส่งคนไปจับกุมตัวเจ้าอนุวงศ์มาได้สำเร็จ หลังจากเสร็จศึกเจ้าอนุวงศ์แล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดีขึ้นเป็น '''เจ้าพระยาบดินทรเดชา''' อัครมหาเสนาบดีสมุหนายกในพ.ศ. 2372 เวลานั้นเจ้าพระยาบดินทรเดชาอายุห้าสิบสองปี
 
=== อานามสยามยุทธ ===
ในพ.ศ. 2376 เกิดกบฏขึ้นที่เมืองไซง่อน เมื่อเจ้าพระยาบดินทรเดชาอายุห้าสิบแปดปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพจำนวน 40,000<ref name=":1" /> ยกไปตีเมืองไซ่ง่อนโดยร่วมกับ[[เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)]] ซึ่งนำทัพเรือ และ[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)|พระยานครราชสีมา (ทองอิน)]] ผู้เป็นน้องเขย (ท่านผู้หญิงบุนนาคน้องสาวของเจ้าพระยาบดินทรเดชาฯสมรสกับพระยานครราชสีมา) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) และเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ตั้งมั่นที่เมืองโจฎกหรือเจิวด๊ก ([[ภาษาเวียดนาม|เวียดนาม]]: Châu Đốc) ของเวียดนามและเข้าโจมตีเมืองไซง่อน "องเตียนกุน"เจืองมิญสาง ([[ภาษาเวียดนาม|เวียดนาม]]: Trương Minh Giảng) สามารถป้องกันเมืองไซ่ง่อนได้ทำให้ทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชาและเจ้าพระยาพระคลังต้องล่าถอยกลับไปยังเมืองโจฏก ฝ่ายองเตียนกุนยกทัพตามมาตีเมืองโจฎกทำให้เจ้าพระยาบดิทรเดชาฯตัดสินใจถอยทัพไปทางอาณาจักรเขมรตั้งอยู่ที่เมือง[[พระตะบอง]] มอบหมายให้นักองค์อิ่มรักษาเมืองพระตะบองแล้วจึงกลับเข้ากรุงเทพฯ
อีกไม่กี่ปีต่อมา (พ.ศ. 2376) [[ญวน]]เกิดเข้าไปแทรกแซงหาทางจะเอา[[เขมร]]เป็นของตน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชายกทัพขึ้นไปสู้รบกับญวนอีก จนกระทั่งญวนยอมทำไมตรีกับไทยแล้ว และเหตุการณ์ในกัมพูชากลับเป็นปกติตามเดิมเจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทยใน พ.ศ. 2391 ท่านได้ควบคุมบ้านเมืองในเขมรนานถึง 15 ปีเต็ม
 
พ.ศ. 2379 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ได้รับโปรดเกล้าฯเดินทางไปสำรวจทำบัญชีกำลังพลในหัวเมือง[[เขมรป่าดง]]<ref name=":1" /> ระหว่างทางผ่านเมืองพระตะบองจึงบูรณะปรับปรุงสร้างกำแพงเมืองพระตะบองขึ้นใหม่ เจ้าพระยาบดินทรเดชาเดินทางถึงเมือง[[อำเภอขุขันธ์|ขุขันธ์]]ในพ.ศ. 2370 ทำบัญชีกำลังพลและสร้างป้อมเมืองพระตะบองเสร็จสิ้นแล้วจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ
ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้ใช้หลักความเฉียบขาดในการบังคับบัญชา จึงได้ผลคือยุติสงครามเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ และได้ช่วยป้องกันเขมรจากญวนได้สำเร็จตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนำเกียรติคุณมาสู่ทหารไทยและประเทศไทยอย่างมากมาย
 
หลังจากที่[[สมเด็จพระอุทัยราชา]]แห่งกัมพูชาสวรรคตแล้ว พระจักรพรรดิมิญหมั่งจึงตั้ง[[กษัตรีองค์มี]]ขึ้นครองกัมพูชาแทน นักองค์อิ่มเห็นเป็นโอกาสจึงกวาดต้อนผู้คนเมืองพระตะบองไปเข้ากับฝ่ายเวียดนามที่เมืองพนมเปญในพ.ศ. 2382 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) จึงออกไปรักษาเมืองพระตะบองอีกครั้ง ในปีนั้นชาวกัมพูชาลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของฝ่ายเวียดนาม เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึงยกทัพเข้าโจมตีเมือง[[โพธิสัตว์ (เมือง)|โพธิสัตว์]]พร้อมกับเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) "องเดดก"แม่ทัพเวียดนามสามารถป้องกันเมืองโพธิสัตว์ได้ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เจรจากับองเดดกแม่ทัพฝ่ายเวียดนาม องเดดกยินยอมถอยกำลังออกจากเมืองโพธิสัตว์<ref name=":1" /> ทำให้องเตียนกุนและฝ่ายเวียดนามล่าถอยไปอยู่ที่เมืองโจฎก เจ้าพระยาบดินทรเดชาตั้งอยู่ที่เมืองโพธิสัตว์และส่ง[[นักองค์ด้วง]]ไปตั้งมั่นที่เมือง[[อุดงมีชัย]] [[จักรพรรดิเถี่ยว จิ|จักรพรรดิเถี่ยวจิ]]ส่ง"องตาเตียงกุน"เหงียนจิเฟือง ([[ภาษาเวียดนาม|เวียดนาม]]: Nguyễn Tri Phương) ยกทัพจากโจฎกเข้ายึด[[พนมเปญ]]ได้ เจ้าพระยาบดินทรเดชาฯจึงยกทัพจากโพธิสัตว์ไปยังเมืองอุดงเพื่อช่วยเหลือนักองค์ด้วง หลังจากที่องตาเตียงกุนยึดเมืองพนมเปญได้แล้วจึงยกมาที่เมืองอุดงต่อ เจ้าพระยาบดินทรเดชานำทัพเข้าซุ่มโจมตีทัพเวียดนามแตกพ่ายแพ้กลับไป
 
ปีที่กลับจากเขมรมานั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชา มีอายุย่าง 71 ปี แต่ก็ยังเข้มแข็งสามารถรับราชการสนองพระเดชพระคุณได้ต่อมาจนกระทั่งถึงวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2392 ก็ถึงแก่อสัญกรรมบ้านริมคลองโอ่งอ่าง (บริเวณเชิงสะพานหันกับบ้านดอกไม้) ด้วย[[อหิวาตกโรค]]ซึ่งระบาดชุกชุมในปีนั้น รุ่งขึ้นปี พ.ศ. 2393 จึงได้พระราชทานเพลิงศพที่[[วัดสระเกศ]]