ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนนครสวรรค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 39:
บริเวณนครสวรรค์ ป่าสัก เชิงเขากบนี้ เดิมเป็นที่ดินของราชพัสดุเต็มไปด้วยต้นสักที่อุดมสมบูรณ์ มีประชาชน ปลูกที่อยู่อาศัยกันเพื่อหาของป่า พระยา อรรถกวีสุนทร ซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลในขณะนั้น พร้อมด้วย[[ขุนวิวรณ์สุขวิทยา]] และอาจารย์เกษม พุ่มพวง ได้ร่วมกันจับจองไว้ เพื่อจะใช้เป็นสถานที่สร้างโรงเรียนเกษตรกรรมแห่งใหม่ (เดิม อยู่ที่สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ปัจจุบันนี้) แต่การสร้างโรงเรียนต้องระงับลงเนื่องจาก พระยาอรรถกวีสุนทรย้ายไปเนื่องจาก มีการยุบมณฑลนครสวรรค์ อย่างไรก็ตามยังถือว่าบริเวณป่าสักเป็นของกระทรวงศึกษาธิการอยู่
 
ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2479 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย [[หลวงบูรบุรกรรมโกวิท]] ได้ มาราชการที่จังหวัดนครสวรรค์ ขุนวิวรณ์สุขวิทยา จึงได้พูดปรารภกับจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า โรงเรียนนครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดหัวเมืองมีพื้นที่ คับแคบมาก ต้อง การย้ายมาอยู่ในบริเวณป่าสักเชิงเขากบ และได้รับการเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ขุนวิวรณ์สุขวิทยา จึงได้นำเรื่องเสนอ ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อ ของบประมาณก่อสร้าง ได้รับงบประมาณจำนวน 4 ล้านบาท ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิดการปฏิวัติ ภายหลังขุนวิวรณ์สุขวิทยา นายอวยชัย ธนศรี ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพร้อมด้วยนายโชติ สุวรรณชิน ครู ใหญ่โรงเรียนนครสวรรค์ในขณะนั้น ได้ริเริ่มดำเนินการสร้างต่อ แต่เนื่องจากเทศบาลเมืองนครสวรรค์ ประสงค์จะใช้ที่บริเวณนี้ก่อสร้างสวนสาธารณะ ผู้ ริเริ่มก่อสร้างโรงเรียน จึงประสานงานขอความร่วมมือจากศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ปกครอง และประชาชนเรียกร้องด้วยการเขียนข้อความ
และเดินขบวนอย่างสงบในตลาดปากน้ำโพ ขอ ใช้บริเวณป่าสักเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน จนในที่สุดได้รับการอนุญาตจากทางราชการการก่อสร้างโรงเรียนครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติงบประมาณสร้างรั้วและบ้านพักครู จำนวน 2 หลัง เป็นเงิน 100,000 บาท