ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามจีน–พม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 114:
* '''การบุกครั้งที่ 3''' [[จักรพรรดิเฉียนหลง]] เห็นแล้วว่ากองธงเขียวไม่สามารถเอาชนะพม่าได้ จึงได้ส่งกองทัพที่ดีที่สุดของราชวงศ์ชิงในยุคนั้นอย่าง[[กองทัพแปดกองธง]] และยังส่งแม่ทัพที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งของราชวงศ์ชิงอย่าง [[หมิงรุ่ย]]แห่งกองธงเหลือง ผู้พิชิตมองโกลและซินเจียงมาแล้ว โดยแบ่งกำลังเป็น 2 ส่วน แต่ครั้งนี้กองทัพต้าชิงก็ต้องมาเจอกับแม่ทัพที่ฝีมือดีที่สุดคนหนึ่งแห่งยุคอย่าง[[อะแซหวุ่นกี้]] ที่สามารถวางแผนล่อกองทัพต้าชิงมายังจุดที่ต้องการได้ โดยแสร้งทำเป็นแพ้ให้กองทัพต้าชิงบุกลึกเข้ามาเผชิญหน้ากับ[[พระเจ้ามังระ]] หมิ่งรุ่ยไม่สามารถเอาชนะได้ทำให้กองทัพถูกตรึงเอาไว้แถบชานเมืองอังวะ ในขณะนั้นเองพระเจ้ามังระได้ตัดสินใจส่งกองกำลังพิเศษของพระองค์นำโดย[[เนเมียวสีหตู]] และเตงจามินกองออกไปทำส่งครามกองโจรตัดเสบียงที่ส่งมาจากเมืองแสนหวีอย่างได้ผล ทำให้กองทัพของหมิงรุ่ยที่บุกลึกเข้ามาเริ่มอดอาหาร ส่วนอะแซหวุ่นกี้ก็นำทัพกลับมาตีตลบหลังสามารถยึดเมืองแสนหวี และเมืองต่างๆกลับคืนมาได้หมด ทำให้เส้นทางเสบียงของหมิ่งรุ่ยถูกตัดขาด อีกทาง[[บาลามินดิน]]ก็สามารถใช้กำลังทหาร 7,000 นาย ต้านทานกองทัพต้าชิง 20,000 นาย เอาไว้ได้ที่เมืองก้องโตน สุดท้ายกองทัพต้าชิงที่บุกทางเส้นนี้ต้องถอยเนื่องจากเสียหายอย่างหนัก ในตอนนี้ทัพรองแตกพ่าย ทัพหนุนถูกทำลาย เส้นทางเสบียงถูกตัดขาด หมิงรุ่ยรู้จุดจบของศึกครั้งนี้ทันที แต่เขาก็เลือกที่จะสู้เป็นครั้งสุดท้ายพร้อมทหารแปดกองธงที่ยังภักดีต่อเขา แต่แล้วกองทัพของ[[พระเจ้ามังระ]]และ[[อะแซหวุ่นกี้]]ก็สามารถพิชิตกองทัพของหมิงรุ่ยลงได้ในยุทธการเมเมียว คำสั่งสุดท้ายของหมิงรุ่ยคือให้ทหารที่เหลือไม่ถึง1พันนายยอมแพ้ ส่วน[[หมิงรุ่ย]]เลือกที่จะจบชีวิตตนอย่างมีเกียรติในแผ่นดินอังวะนั่นเอง
 
* '''การบุกครั้งที่ 4''' จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่งต่อความพ่ายแพ้ของ[[หมิงรุ่ย]]ยอดแม่ทัพแห่งราชวงศ์ชิง ครั้งนี้พระองค์ทรงเรียก[[ฟู่ เหิง|องคมนตรีฟู่เหิง]]นักการทหารผู้ยิ่งใหญ่แห่งต้าชิง กลับมารับตำแหน่งผู้บัญชาการ รวมถึงเสนาบดีกลาโหม[[อากุ้ย]] แม่ทัพใหญ่อาหลีกุน และเอ้อหนิงข้าหลวงใหญ่แห่งยูนานและกุ้ยโจว ซึ่งล้วนแต่เจนจบในพิชัยสงครามให้มารวมตัวกันเพื่อหวังพิชิตพม่าเป็นครั้งที่ 4 โดยคุมกองทัพที่ดีที่สุดของราชวงศ์ชิงอย่างแปดกองธงมาอีกครั้งเพื่อจะสยบ[[พระเจ้ามังระ]]ให้ได้ แต่ก็เป็นอีกครั้งที่ต้าชิงต้องมาเจอกับยอดแม่ทัพของพระเจ้ามังระอย่าง [[อะแซหวุ่นกี้]] [[บาลามินดิน]] [[เนเมียวสีหตู]] รวมถึง[[เนเมียวสีหบดี]]ที่กลับมาจากการศึกกับอยุธยา ซึ่งทั้งสี่คนนับเป็นหัวใจหลักที่สามารถต้านทานการบุกทั้งทางบกและทางทะเลของต้าชิงเอาไว้ได้ โดยครั้งนี้พระเจ้ามังระได้ส่งกองทัพไปรบแถบชายแดน เพื่อไม่ให้กองทัพต้าชิงรวมตัวกันได้ในพื้นที่ภาคกลางเหมือนการบุกครั้งที่3 การบุกครั้งนี้แม้ฝ่ายจีนจะพยายามอย่างมากในการเข้ายึดเมืองกองตนก้องโตนอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ แต่ก็เป็นอีกครั้งที่[[บาลามินดิน]]สามารถต้านทานกองทัพต้าชิงเอาไว้ได้ ส่วนอีกด้านหนึ่งกองทัพจีนก็รุกคืบได้ช้ามาก เนื่องจากอะแซหวุ่นกี้ได้ส่ง[[เนเมียวสีหตู]]คอยทำสงครามปั่นป่วนแนวหลังของต้าชิงเอาไว้ และด้วยความชำนาญการรบแบบจรยุทธของเนเมียวสีหตูนี้เองทำให้กองทัพจีนประสบปัญหาเป็นอย่างมาก เพราะต้องคอยพะวงหลังตลอดการศึก ถึงอย่างนั้น[[อะแซหวุ่นกี้]]เองก็มีกำลังไม่มากพอที่จะเอาชนะต้าชิงในตอนนี้ จนจุดเปลี่ยนสำคัญได้มาถึงเมื่อกองทัพของ[[เนเมียวสีหบดี]]เสร็จศึกกับอยุธยา ทำให้อะแซหวุ่นกี้ที่ตอนนี้มีกำลังพลมากพอ สามารถเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากที่คอยตั้งรับอย่างเหนียวแน่น เป็นการรุกตอบโต้อย่างเด็ดขาดโดยสั่งทหารเข้าโจมตีจุดสำคัญของต้าชิงพร้อมๆกัน จนทำให้กองทัพต้าชิงที่กระจายตัวอยู่ต้องถอยร่นมารวมตัวกัน จากนั้นอะแซหวุ่นกี้จึงใช้วิธีโอบล้อมโจมตีกองทัพต้าชิงโดยค่อยๆบีบเข้ามาเรื่อยๆ การสู้รบครั้งนี้เป็นไปอย่างดุเดือด สุดท้ายกองทัพต้าชิงถูกกองทัพของพม่าล้อมเอาไว้ได้ แม้ชัยชนะจะอยู่ต่อหน้าแล้ว แต่อะแซหวุ่นกี้ก็เลือกจบสงครามครั้งนี้ลง ด้วยการบีบกองทัพต้าชิงที่ติดอยู่ในวงล้อมให้ตัดสินใจเจรจา เกิดเป็น[[สนธิสัญญากองตน]] เป็นการจบสงครามระหว่าง [[พระเจ้ามังระ]] กับ [[จักรพรรดิเฉียนหลง]] ลงในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2312
[[ไฟล์:สงครามจีน-พม่า ครั้งที่3.png|thumb|250px|การเดินทัพในสงครามจีน-พม่าครั้งที่3 </br>หมิงรุ่ยแบ่งกองทัพบุกพม่า 2 ทาง]]