ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไปรษณียาคาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53:
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกิจการไปรษณีย์ไทย เมื่อวันที่ [[4 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2426]] โดย[[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์]] ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้สำเร็จราชการไปรษณีย์และโทรเลขพระองค์แรก ได้ใช้บ้านเดิมของพระปรีชากลการ เป็นที่ทำการ ใช้ชื่อเรียกว่า "ไปรสะนียาคาร"
 
ใน[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] อาคารไปรษณีย์ยาคารเป็นสถานที่แห่งแรกที่ทาง[[คณะราษฎร]]จะต้องทำการบุกยึด เนื่องจากเป็นสถานที่ ๆ เป็นชุมทางการสื่อสาร คือ โทรเลขและโทรศัพท์ เพื่อตัดระบบการสื่อสาร โดยกลุ่มคณะราษฎรสายพลเรือนที่นำโดย [[หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)]] และนาย[[ประยูร ภมรมนตรี]] เหตุเพราะรับราชการที่นี่ จึงรู้ถึงระบบการทำงานดี โดยที่มีคณะราษฎรสายทหารเรือคุ้มกันเพียงไม่กี่คน ซึ่งต้องทำการยึดและตัดการสื่อสารให้ได้ภายในเวลา 04.00 น. และต้องทำให้เสร็จก่อนเวลา 05.00 น. เพื่อมิให้ผู้คนสงสัย แม้คณะราษฎรสามารถกระทำการได้สำเร็จ แต่ทว่าก็มีเจ้าพนักงานคนหนึ่งหนีไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ ทางตำรวจโดย [[พระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช)]] อธิบดีกรมตำรวจจึงทราบเรื่องจากเหตุนี้เอง จึงรุดเข้า[[วังบางขุนพรหม]]เพื่อถวายรายงานแด่ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ผู้สำเร็จราชการ<ref >{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=นายหนหวย
|ชื่อหนังสือ=ทหารเรือปฏิวัติ
บรรทัด 66:
</ref>
 
อาคารไปรษณียาคาร ถูกทุบทิ้งเมื่อ พ.ศ. 2525<ref name="แสตมป์ไทย"/> เพื่อเปิดทางให้กับการก่อสร้าง[[สะพานพระปกเกล้า]] ซึ่งเป็นสะพานคู่ขนานอยู่ทางทิศใต้ของ[[สะพานพระพุทธยอดฟ้า]] ปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ตามแบบเดิม ในตำแหน่งใกล้เคียงกับที่ตั้งเดิม เพื่อใช้เป็น[[พิพิธภัณฑ์]]กิจการไปรษณีย์ไทย
 
== อ้างอิง ==