ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
สมัยอยุธยา
บรรทัด 64:
''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก เลขทะเบียน ๒๒๒ ๒/ก ๑๐๔'' กล่าวถึง[[สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2]] (เจ้าสามพระยา) “อยู่ปีหนึ่ง ท่านให้ก็ตกแต่งช้างม้ารี้พล ทั้งปวงจะยกไปเมืองพิมายพนมรุ้งไซร้ พอเจ้าเมืองทั้งหลายถวายบังคมพระบาทผู้เป็นเจ้าๆก็ให้พระราชทานรางวัลแล้วคืนไปอยู่ตามภูมิลำเนา”<ref name=":1">ศานติ ภักดีคำ. '''เขมรรบไทย'''. กรุงเทพ; สำนักพิมพ์มติชน, 2554.</ref> ซึ่งตรงกับศิลา[[จารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพ]]ซึ่งจารึกขึ้นเมื่อพ.ศ. 1974 และพบที่[[อำเภอลำสนธิ]][[จังหวัดลพบุรี]] กล่าวถึงสมเด็จพระอินทราบรมจักรพรรดิธรรมิกราชโปรดฯให้[[ขุนศรีไชยราชมงคลเทพ]] "เอาจตุรงค์ช้างม้ารี้พลไปโจมจับพระนครพิมายพนมรุ้ง"<ref name=":1" /> แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรอยุธยาแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและ[[ที่ราบสูงโคราช]]ด้านตะวันตกในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสามพระยาฯ
 
ในสมัยอยุธยาเมืองนครราชสีมาคือ "เมืองโคราฆะ" ริมแม่น้ำลำตะคองในตำบลโคราชอำเภอสูงเนินในปัจจุบันซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเมืองเสมา เมืองนครราชสีมามีความสำคัญในฐานะเป็นฐานการปกครองของอยุธยาในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและเป็นรอยต่ออาณาเขตของอยุธยากับ[[อาณาจักรล้านช้าง]]และ[[เขมรป่าดง]] ในรัชสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]จาก[[กฎมณเฑียรบาล]]เมืองนครราชสีมาเป็นหนึ่งในเมืองพระยามหานครแปดเมืองซึ่งเจ้าเมืองต้องถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ใน[[พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง]] ปรากฎราชทินนามของเจ้าเมืองนครราชสีมาว่า '''ออกญากำแหงสงครามรามภักดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ''' ศักดินา 10,000 ไร่ พงศาวดารเขมรระบุว่าในพ.ศ. 21182113 เมื่อ[[สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก)|สมเด็จพระบรมราชาที่ 3]] แห่ง[[อาณาจักรเขมรละแวก]]เข้าตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จจึงยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้สำเร็จกวาดต้อนผู้คนไปจำนวนมาก<ref ในสมัย[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]]name=":1" กองทัพเมืองนครราชสีมาได้ถูกมอบหมายให้เป็นกำลังหลักในการโจมตีเมืองเสียมราฐ/> และภาคตะวันออกของทะเลสาบจนได้ชัยชนะเหนือ[[พระยาละแวก]] ในที่สุด สมเด็จพระนเรศวร|สมเด็จพระนเรศวรฯ]]ทรงจัดการปกครองหัวเมืองขึ้นใหม่โดยเมืองนครราชสีมามีฐานะเป็นเมืองชั้นโท นอกจากนี้พงศาวดารเขมรยังระบุอีกว่าในพ.ศ. 2173 รัชกาล[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]] พระศรีธรรมราชาที่ 2 แห่ง[[อาณาจักรเขมรอุดง]]ยกทัพมากวาดต้อนผู้คนในเขตเมืองนครราชสีมา<ref name=":1" />
 
[[ไฟล์:Corazema-Map-1693.JPG|thumb|left|เมืองโคราชสีมาในแผนที่ของ ลา ลูแบร์ พ.ศ. 2236|248.991x248.991px]]
ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ทรงเห็นว่านครราชสีมามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาวล้านช้าง จึงโปรดฯให้ย้ายเมืองนครราชสีมาจากเมืองโคราฆะเดิมและเมืองเสมามาสร้างเมืองใหม่ที่[[อำเภอเมืองนครราชสีมา]]ในปัจจุบัน วางผังเมืองโดยเดอลามาร์ (De la Mare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส<ref name=":2">http://www.koratdaily.com/blog.php?id=8613</ref> เป็นตารางรูปสีเหลี่ยมกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ตามแบบตะวันตกมีป้อมค่ายหอรบ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรวมชื่อเมืองโคราฆะและเมืองเสมา<ref>http://koratth.weebly.com/3611361936323623363336053636.html</ref>แล้วพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า "'''เมืองนครราชสีมา'''" เมื่อจุลศักราช 1036 (พุทธศักราช 2217) และทรงแต่งตั้งให้[[พระยายมราช (สังข์)]]เป็นเจ้าเมือง [[ซีมง เดอ ลา ลูแบร์]] บันทึกไว้ใน[[จดหมายเหตุลาลูแบร์|''จดหมายเหตุลาลูแบร์'']]ว่า '''เมืองโคราชสีมา''' (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่หนึ่งในเจ็ดมณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมืองได้แก่ เมืองนครจันทึก (อำเภอสีคิ้ว) เมือง[[จังหวัดชัยภูมิ|ชัยภูมิ]] เมืองพิมาย เมือง[[จังหวัดบุรีรัมย์|บุรีรัมย์]] และเมือง[[อำเภอนางรอง|นางรอง]]<ref name=":2" />
 
เมื่อ[[สมเด็จพระเพทราชา]]ทรงยึดอำนาจในพ.ศ. 2231 พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมาที่แต่งตั้งโดยสมเด็จพระนารายณ์ฯแข็งเมืองไม่ไปถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระเพทราชาทรงส่งทัพเข้าล้อมเมืองนครราชสีมาในพ.ศ. 2232 แต่ไม่สำเร็จและถอยกลับไป พระเพทราชาจึงทรงส่งทัพมาอีกครั้งในปีถัดมาสามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้ในที่สุด พระยายมราช (สังข์) หลบหนีไปยังเมือง[[นครศรีธรรมราช]] จากนั้นปีพ.ศ. 2241 ชาวบ้านในเมืองนครราชสีมาชื่อบุญกว้างพร้อมพรรคพวกอีกยี่สิบแปดคน<ref>จิตรสิงห์ ปิยะชาติ. '''กบฏกรุงศรีอยุธยา'''. กรุงเทพฯ: ยิปซีสำนักพิมพ์, พฤศจิกายน 2551.</ref>สามารถยึดอำนาจในเมืองนครราชสีมาจากเจ้าเมืองคนใหม่ได้ นำไปสู่[[กบฏบุญกว้าง]] พระเพทราชาทรงส่งทัพเข้าล้อมเมืองนครราชสีมาอีกครั้งกินเวลายืดเยื้ออยู่นานถึงสามปี ฝ่ายอยุธยาใช้อุบายผูกหม้อดินระเบิดกับว่าวจุฬาแล้วชักให้ลอยไปตกในเมืองนครราชสีมาเพื่อให้เกิดเพลิงไหม้ จนกระทั่งบุญกว้างและพรรคพวกหลบหนีออกจากเมืองและทัพหลวงกลับไป
ในแผ่นดิน [[สมเด็จพระเพทราชา]] พระยายมราชเจ้าเมืองนครราชสีมาที่แต่งตั้งโดย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ได้แข็งเมือง เนื่องจากไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชา ที่ก่อการยึดอำนาจและเปลี่ยนราชวงศ์ จึงไม่ขอขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาปราบปรามโดยล้อมเมืองอยู่ประมาณ 2 ปี โดยใช้อุบายและกลยุทธปราบลงได้ พระยายมราช เจ้าเมืองนครราชสีมาได้หนีไปพึ่ง เจ้าพระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชาเช่นกัน แต่ถูกกองทัพอยุธยาตามไปปราบปรามลงได้ นับแต่นั้นเมืองนครราชสีมาได้ถูกลดความสำคัญลงไม่เข้มแข็งดังแต่ก่อน
 
เมื่อทัพพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาในพ.ศ. 2309 [[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]พระโอรสใน[[พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]เสด็จจากหัวเมืองชายทะเลตะวันออกมาเกลี้ยกล่อมให้พระยานครราชสีมาเจ้าเมืองนครราชสีมาให้การสนับสนุนแด่พระองค์ในการกอบกู้อยุธยาจากการล้อมของพม่า แต่พระยานครราชสีมาไม่ยินยอมด้วย กรมหมื่นเทพพิพิธจึงทรงส่งหม่อมเจ้าประยงพระโอรสและหลวงมหาพิชัยลักลอบนำกองกำลังเข้าเมืองนครราชสีมาและทำการลอบสังหารพระยานครราชสีมา<ref name=":3">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref> กรมหมื่นเทพพิพิธจึงทรงสามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้แต่เพียงไม่นานน้องชายของพระยานครราชสีมาที่ถูกสังหารไปนั้นคือหลวงแพ่งหลบหนีไปยังเมืองพิมายขอความช่วยเหลือจากพระพิมายผู้เป็นเจ้าเมืองพิมายในการยึดเมืองนครราชสีมาคืนจากกรมหมื่นเทพพิพิธ พระพิมายและหลวงแพ่งยกทัพจากเมืองพิมายเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้สำเร็จและจับกุมกรมหมื่นเทพพิพิธ พระพิมายไว้พระชนม์ชีพกรมหมื่นเทพพิพิธและเชิญกรมหมื่นเทพพิพิธไปประทับที่เมืองพิมาย หลวงแพ่งได้เป็นพระยานครราชสีมา
 
=== สมัยกรุงธนบุรี ===
หลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย]]ในพ.ศ. 2310 เจ้าเมืองพิมายจึงยกให้กรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็น"เจ้าพิมาย" เกิด[[ชุมนุมเจ้าพิมาย]]ขึ้น เจ้าพิมายกรมหมื่นเทพพิพิธทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองพิมายเดิมเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (พระพิมาย) ยกทัพเข้าลอบสังหารพระยานครราชสีมา (หลวงแพ่ง) ชุมนุมเจ้าพิมายมีเขตอำนาจตั้งแต่สระบุรี<ref name=":3" />ขึ้นไปจรดเขตแดนของอาณาจักรล้านช้าง เป็นหนึ่งในชุมนุมต่างๆที่เกิดขึ้นหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาโดยมีกรมหมื่นเทพพิพิธหรือเจ้าพิมายป็นผู้นำ ในพ.ศ. 2311 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกแล้ว มองย่าปลัดทัพฝ่ายพม่าหลบหนีมาเข้าพวกกับชุมนุมพิมาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงยกทัพติดตามขึ้นมาตีชุมนุมเจ้าพิมาย เจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ตั้งรับอยู่ที่ด่านจอหอ (ตำบลจอหอ อำเภอเมือง) และให้พระยาวรวงษาธิราชบุตรชายของเจ้าพระศรีสุริยวงษ์ตั้งทัพอยู่ที่[[อำเภอด่านขุนทด|ด่านขุนทด]]<ref name=":3" /> ทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพเข้ายึดค่ายของเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (เจ้าพิมาย) ที่จอหอได้สำเร็จ เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ถูกจับกุมและประหารชีวิต พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) ต่อมาคือ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] และพระมหามนตรี (บุญมา) ต่อมาคือ[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] เข้ายึดค่ายของพระยาวรวงษาธิราชที่ด่านขุนทดได้สำเร็จ เมื่อทัพทั้งสองพ่ายแพ้แก่ธนบุรีเจ้าพิมายจึงหลบหนีจากเมืองพิมายไปยังลาวล้านช้างแต่ขุนชนะจับเจ้าพิมายมาถวายแด่พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีฯทรงสำเร็จโทษเจ้าพิมายและแต่งตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยากำแหงสงครามครองเมืองนครราชสีมา<ref name=":3" /> ชุมนุมเจ้าพิมายจึงสิ้นสุดลงและนครราชสีมาจึงเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของธนบุรี
 
ในสมัยธนบุรีปรากฎมีนามเจ้าเมืองนครราชสีมาได้แก่ พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) และ"เจ้าพระยานครราชสีมา"<ref>https://pantip.com/topic/37872872</ref> ในพ.ศ. 2323 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) ย้ายไปรับราชการที่ธนบุรีและแต่งตั้งให้หลวงนายฤทธิ์ (ทองอิน) เป็นพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์|เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์]]) และพระอภัยสุริยา (บุญเมือง) เป็นปลัดเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์|เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์]]) ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีฯเมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น พระยาสุริยอภัยเจ้าเมืองนครราชสีมาได้นำกำลังทหารของนครราชสีมาเข้าควบคุมสถานการณ์ที่กรุงธนบุรีไว้ก่อนที่[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]]และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]]จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน