ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครราชสีมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
สมัยอยุธยา
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ธนบุรี
บรรทัด 67:
 
[[ไฟล์:Corazema-Map-1693.JPG|thumb|left|เมืองโคราชสีมาในแผนที่ของ ลา ลูแบร์ พ.ศ. 2236|248.991x248.991px]]
ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] ทรงเห็นว่านครราชสีมามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาวล้านช้าง จึงโปรดฯให้ย้ายเมืองนครราชสีมาจากเมืองโคราฆะเดิมและเมืองเสมามาสร้างเมืองใหม่ที่[[อำเภอเมืองนครราชสีมา]]ในปัจจุบัน วางผังเมืองโดยเดอลามาร์ (De la Mare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส<ref name=":2">http://www.koratdaily.com/blog.php?id=8613</ref> เป็นตารางรูปสีเหลี่ยมกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ตามแบบตะวันตกมีป้อมค่ายหอรบ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรวมชื่อเมืองโคราฆะและเมืองเสมา<ref>http://koratth.weebly.com/3611361936323623363336053636.html</ref>แล้วพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า "'''เมืองนครราชสีมา'''" เมื่อจุลศักราช 1036 (พุทธศักราช 2217) และทรงแต่งตั้งให้[[พระยายมราช (สังข์)]]เป็นเจ้าเมือง [[ซีมง เดอ ลา ลูแบร์]] บันทึกไว้ใน[[จดหมายเหตุลาลูแบร์|''จดหมายเหตุลาลูแบร์'']]ว่า '''เมืองโคราชสีมา''' (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่หนึ่งในเจ็ดมณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมืองได้แก่ เมืองนครจันทึก (อำเภอสีคิ้ว) เมือง[[จังหวัดชัยภูมิ|ชัยภูมิ]] เมืองพิมาย เมือง[[จังหวัดบุรีรัมย์|บุรีรัมย์]] และเมือง[[อำเภอนางรอง|นางรอง]]<ref name=":2" />
 
ในแผ่นดิน [[สมเด็จพระเพทราชา]] พระยายมราชเจ้าเมืองนครราชสีมาที่แต่งตั้งโดย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ได้แข็งเมือง เนื่องจากไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชา ที่ก่อการยึดอำนาจและเปลี่ยนราชวงศ์ จึงไม่ขอขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาปราบปรามโดยล้อมเมืองอยู่ประมาณ 2 ปี โดยใช้อุบายและกลยุทธปราบลงได้ พระยายมราช เจ้าเมืองนครราชสีมาได้หนีไปพึ่ง เจ้าพระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชาเช่นกัน แต่ถูกกองทัพอยุธยาตามไปปราบปรามลงได้ นับแต่นั้นเมืองนครราชสีมาได้ถูกลดความสำคัญลงไม่เข้มแข็งดังแต่ก่อน
 
เมื่อทัพพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาในพ.ศ. 2309 [[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]พระโอรสใน[[พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]เสด็จจากหัวเมืองชายทะเลตะวันออกมาเกลี้ยกล่อมให้พระยานครราชสีมาเจ้าเมืองนครราชสีมาให้การสนับสนุนแด่พระองค์ในการกอบกู้อยุธยาจากการล้อมของพม่า แต่พระยานครราชสีมาไม่ยินยอมด้วย กรมหมื่นเทพพิพิธจึงทรงส่งหม่อมเจ้าประยงพระโอรสและหลวงมหาพิชัยลักลอบนำกองกำลังเข้าเมืองนครราชสีมาและทำการลอบสังหารพระยานครราชสีมา<ref name=":3">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref> กรมหมื่นเทพพิพิธจึงทรงสามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้แต่เพียงไม่นานน้องชายของพระยานครราชสีมาที่ถูกสังหารไปนั้นคือหลวงแพ่งหลบหนีไปยังเมืองพิมายขอความช่วยเหลือจากพระพิมายผู้เป็นเจ้าเมืองพิมายในการยึดเมืองนครราชสีมาคืนจากกรมหมื่นเทพพิพิธ พระพิมายและหลวงแพ่งยกทัพจากเมืองพิมายเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้สำเร็จและจับกุมกรมหมื่นเทพพิพิธ พระพิมายไว้พระชนม์ชีพกรมหมื่นเทพพิพิธและเชิญกรมหมื่นเทพพิพิธไปประทับที่เมืองพิมาย หลวงแพ่งได้เป็นพระยานครราชสีมา
 
=== สมัยกรุงธนบุรี ===
หลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย]]ในพ.ศ. 2310 เจ้าเมืองพิมายจึงยกให้กรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็น"เจ้าพิมาย" เจ้าพิมายกรมหมื่นเทพพิพิธทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองพิมายเดิมเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (พระพิมาย) ยกทัพเข้าลอบสังหารพระยานครราชสีมา (หลวงแพ่ง) ชุมนุมเจ้าพิมายมีเขตอำนาจตั้งแต่สระบุรี<ref name=":3" />ขึ้นไปจรดเขตแดนของอาณาจักรล้านช้าง เป็นหนึ่งในชุมนุมต่างๆที่เกิดขึ้นหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาโดยมีกรมหมื่นเทพพิพิธหรือเจ้าพิมายป็นผู้นำ ในพ.ศ. 2311 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกแล้ว มองย่าปลัดทัพฝ่ายพม่าหลบหนีมาเข้าพวกกับชุมนุมพิมาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงยกทัพติดตามขึ้นมาตีชุมนุมเจ้าพิมาย เจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ตั้งรับอยู่ที่ด่านจอหอ (ตำบลจอหอ อำเภอเมือง) และให้พระยาวรวงษาธิราชบุตรชายของเจ้าพระศรีสุริยวงษ์ตั้งทัพอยู่ที่[[อำเภอด่านขุนทด|ด่านขุนทด]]<ref name=":3" /> พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพเข้ายึดค่ายของเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (เจ้าพิมาย) ที่จอหอได้สำเร็จ เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ถูกจับกุมและประหารชีวิต พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) ต่อมาคือ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] และพระมหามนตรี (บุญมา) ต่อมาคือ[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] เข้ายึดค่ายของพระยาวรวงษาธิราชที่ด่านขุนทดได้สำเร็จ เมื่อทัพทั้งสองพ่ายแพ้แก่ธนบุรีเจ้าพิมายจึงหลบหนีจากเมืองพิมายไปยังลาวล้านช้างแต่ขุนชนะจับเจ้าพิมายมาถวายแด่พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสำเร็จโทษเจ้าพิมายและแต่งตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยากำแหงสงครามครองเมืองนครราชสีมา<ref name=":3" /> ชุมนุมเจ้าพิมายจึงสิ้นสุดลงและนครราชสีมาจึงเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของธนบุรี
หลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย]] เจ้าเมืองพิมายและ[[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]ได้ตั้งตัวเป็นชุมนุมอิสระที่สำคัญชุมนุมหนึ่งแต่ถูกปราบลงโดย[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|พระเจ้าตาก]] หลังจากนั้นเมืองนครราชสีมาได้เป็นฐานกำลังทางทหารและการปกครองที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด โดยในสมัยกรุงธนบุรีได้ถูกใช้เป็นฐานรวบรวมกำลังของ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก|พระยาอภัยรณฤทธิ์]] และ [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยาอนุชิตราชา]] ในการสงครามกับล้านช้างและกัมพูชา ในคราวสงครามตีเมืองเวียงจันทน์และได้พระแก้วมรกต หลวงยกกระบัตรเมืองพิมายอยู่ในทัพหน้า มีความดีความชอบจึงได้รับการแต่งตั้งเป็น พระยานครราชสีมา และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ในที่สุด ต่อมาพระยากำแหงสงคราม (บุญคง) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา
 
หลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย]] เจ้าเมืองพิมายและ[[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]ได้ตั้งตัวเป็นชุมนุมอิสระที่สำคัญชุมนุมหนึ่งแต่ถูกปราบลงโดย[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|พระเจ้าตาก]] หลังจากนั้นเมืองนครราชสีมาได้เป็นฐานกำลังทางทหารและการปกครองที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด โดยในสมัยกรุงธนบุรีได้ถูกใช้เป็นฐานรวบรวมกำลังของ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก|พระยาอภัยรณฤทธิ์]] และ [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยาอนุชิตราชา]] ในการสงครามกับล้านช้างและกัมพูชา ในคราวสงครามตีเมืองเวียงจันทน์และได้พระแก้วมรกต หลวงยกกระบัตรเมืองพิมายอยู่ในทัพหน้า มีความดีความชอบจึงได้รับการแต่งตั้งเป็น พระยานครราชสีมา และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ในที่สุด ต่อมาพระยากำแหงสงคราม (บุญคง) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา
ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้าตาก เมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น [[สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข|พระสุริยอภัย]] กรรมการเมืองนครราชสีมา ได้นำกำลังทหารชาวนครราชสีมากลับเข้าควบคุมสถานการณ์ในกรุงธนบุรีไว้ได้ก่อนที่ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช|เจ้าพระยาจักรี]] และ [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|เจ้าพระยาสุรสีห์]] จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน ในครั้งนั้น [[พระยากำแหงสงคราม (บุญคง)]] เจ้าเมืองนครราชสีมา ที่นำทัพไปกัมพูชาพร้อมกับ [[สมเด็จพระมหาอุปราช เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์|เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์]] ถูกประหารชีวิตไปพร้อมกับเชื้อพระวงศ์ และขุนนางเดิมของพระเจ้าตาก จำนวนหนึ่ง และได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นพระยานครราชสีมา (เที่ยง) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)